กันยายน 2557

 
1
2
3
4
5
6
7
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
25
27
28
 
 
All Blog
วิ่ง เพื่อให้สุขภาพดี
ในปัจจุบันนี้ คนเราเริ่มที่จะหันมาดูแลรักษาสุขภาพกันเพิ่มมากขึ้น ทั้งเรื่องของการรับประทานอาหาร มีการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงการรับประทานอาหารเสริม และการออกกำลังกาย ทั้งกีฬาประเภทต่างๆ ฟิตเนส โยคะ รวมถึงการ วิ่ง ซึ่งมีผู้นิยมค่อนข้างมาก เพราะประหยัด ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ และสามารถปฏิบัติคนเดียวได้

การ วิ่ง เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ส่งผลให้เกิดการรับออกซิเจนของร่างกายดีขึ้น เพราะทำให้หัวใจ หลอดเลือด ปอด กล้ามเนื้อ และอวัยวะอื่น ๆ แข็งแรง นอกจากนี้ยังช่วย ให้ผู้ วิ่ง คลายความตึงเครียดทางจิตใจ และมีอารมณ์แจ่มใส

Fotolia_40971164_S-500x333

การ วิ่ง ที่ดีและปลอดภัย จะต้องคำนึงถึง ดังนี้

ผู้ วิ่ง ต้องรู้ถึงสุขภาพของตนเอง ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง เป็นโรคหัวใจ หรือมีประวัติคนในครอบครัว เป็นโรคหัวใจ จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หากมีอาการผิดปกติ อย่าฝืน ให้หยุด วิ่ง และปรึกษาแพทย์ทันที
เครื่องแต่งกายในการ วิ่ง รองเท้าดีมีความสำคัญช่วยให้เท้าอยู่ในที่ คือ มันจะมีส่วนบังคับเท้าไว้ไม่ให้ตะแคง หรือเลื่อนไหลไปซ้ายขวาเวลาลงน้ำหนัก การบิดของเท้า เป็นเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการบาดเจ็บ (รองเท้าอาจต้องลงทุนเล็กน้อย แต่ขอบอกว่าปลอดภัยกว่าเยอะเลยค่ะ) เสื้อและกางเกง เลือกชนิดใส่สบาย เนื้อผ้าไม่แข็ง หรือรัดรูปจนเกินไป
การอบอุ่นร่างกาย เพื่อทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นทีละน้อย โดยการออกกำลังกายเบาๆ จนกว่าจะถึง อุณหภูมิที่ร่างกายทำงานได้ดีที่สุด คือ ประมาณ ๓๘.๕ องศาเซลเซียส เราจะเริ่มรู้สึกร้อน เหงื่อซึม ปกติจะใช้ เวลาประมาณ ๑๐-๑๕ นาที โดยการเดินเร็วๆ หรือ วิ่ง เหยาะๆ และทำการยืดกล้ามเนื้อทุกส่วนของขา และหลัง โดยการยืดที่ถูกต้อง ต้องยืดอย่างนุ่มนวล เบาๆ พอให้ส่วนที่ยึดตรึงยืดออก เวลาที่ยืดของแต่ละท่าใช้เวลาประมาณ ๓๐-๖๐ วินาที ท่าละ ๑-๓ ครั้ง ควรยืดก่อนและหลังการออกกำลัง
สถานที่ วิ่ง ควรมีพื้นเรียบไม่เป็นหลุ่มเป็นบ่อ ไม่เอียงและชันมากเกินไป
เวลา วิ่ง เลือกเวลา วิ่ง ที่สะดวกและสามารถทำได้เป็นประจำสม่ำเสมอได้ ควรหลีกเลี่ยงการ วิ่ง หลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ และการ วิ่ง ในวันที่อากาศร้อนจัด
หากเกิดอาการดังต่อไปนี้ ควรจะหยุด วิ่ง ทันที คือ รู้สึกคล้ายหายใจไม่ทัน ใจสั่น แน่น เจ็บที่บริเวณหน้าอก หรือลมออกหู หูตึงกว่าปรกติ การเคลื่อนไหวร่างกายควบคุมไม่ได้ เวียนศรีษะ คลื่นไส้ หรือหน้ามืดเป็นลม

ถ้ามีอาการดังกล่าวขณะ วิ่ง ควรชลอความเร็วในการวิ่งลง หากอาการดีขึ้นหรือหายไป ให้วิ่งด้วยความเร็วที่ชลอแล้ว หากยังไม่ดีขึ้น ให้เปลี่ยนเป็นเดินช้าๆ สักระยะ แล้วประเมินอาการ หากไม่หายให้หยุด วิ่ง หรือนอนราบลง จนกว่าอาการจะดีขึ้น และการวิ่งในวันต่อไปควรลดความเร็วและระยะทางลง ถ้าเห็นว่าอาการยังไม่หายให้รีบปรึกษาแพทย์





ขอบคุณที่มาจาก : นักกายภาพบำบัด เยาวภา ใจรักดี
ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
//health.mthai.com/howto/health-care/6273.html



Create Date : 29 กันยายน 2557
Last Update : 29 กันยายน 2557 21:22:05 น.
Counter : 1008 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

มังกี้ ดี ลูฟี่ 01
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]