เมื่อวานเป็นเหตุ วันนี้เป็นผล วันนี้เป็นเหตุ พรุ่งนี้เป็นผล
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 

เทคนิคช่วยในการอ่านหนังสือ

หัวข้อสนทนา : เทคนิคช่วยในการจดจำในการอ่านหนังสือ

อย่างที่ผมเคยโพสไปหลายครั้งแล้วว่าคนเราเมื่ออะไรประมาณสี่ครั้ง จะจำได้เองโดยอัตโนมัติ แต่ที่เพื่อนหลายคนมีปัญหาคือเมื่ออ่านหนังสือไปแล้ว รู้สึกว่าตัวเองไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ กังวลว่ามีหนังสือหลายเล่มที่ต้องอ่าน ผมจึงอยากแนะนำคือว่าเราอ่านหนังสือรอบแรกก็เหมือนเราเพิ่งรู้จักเพื่อนคนใหม่ เรายังไม่สามารถรู้จักนิสัยเขาได้ดีพอในครั้งเดียว จำต้องใช้เวลาสักระยะ ดังนั้นการอ่านหนังงสืออย่าได้มัวที่จะกังวลว่าจำได้หรือไม่ได้ ให้พยายามอ่านให้ได้เยอะที่สุด มากที่สุด ให้เห็นในภาพรวมเพื่อความสบายใจว่าได้อ่านหนังสือเล่มนั้นๆ เรื่องนั้นจบแล้ว และคิดว่าเดี๋ยวคงได้กลับมาอ่านอีก

การอ่านหนังสือควรวางสายตาให้อยู่ตรงกลางของบรรทัดโดยพยายามถ่างสายตาเหมือนดูภาพรวมๆ ให้เร็วที่สุด แต่ตรงไหนที่อ่านเร็วๆแล้วรู้สึกว่าติดขัดจึงค่อยอ่านช้าลงในช่วงนั้น แต่ส่วนใหญ่ให้พยายามถ่างสายตา
โดยประมาณถ้าเป็นคำบรรยายทั่วไปชั่วโมงหนึ่งควรอ่านได้ประมาณ สิบห้า ถึง ยี่สิบหน้า
แต่ถ้าเป็นจูริสที่เป็นฎีกาจะได้ประมาณสิบถึงสิบห้าหน้า
(แรกๆจะช้าแต่ถ้าฝึกเรื่อยๆจะพัฒนาไปเอง และควรกำหนดว่าแต่ละวันจะอ่านกี่หน้า) หลายคนจะแย้งว่าอ่านมากหรือน้อยไม่สำคัญ สำคัญที่เข้าใจหรือไม่ แต่ที่ผมบอกคือว่าเรานักกฎหมายต้องอ่านหนังสือเยอะมาก และรอบแรกอ่านก็ไม่เข้าใจ ถ้ามั่วอ่านช้าๆและกว่าจะทำความเข้าใจทีละเรื่อง ก็อ่านไม่ทัน แถมเรื่องที่เข้าใจก็ไม่ออกข้อสอบ ดังนั้นรอบแรกควรพยายามอ่านให้จบตามเป้าหมาย
รอบสองตรงนี้คือสมองมนุษย์เราจะมีทั้งที่ใช้ในความจดจำทางสายตา ซึ่งทำงานเหมือนกล้องถ่ายรูป ก็คือเวลาเราอ่านก็จะจำและถ่ายทอดไปสู่สมอง(สังเกตุคนที่ท่องตัวบท จะไม่ค่อยเปลี่ยนเล่มเพราะรูปบรรทัดและย่อหน้าตัวบทที่เคยใช้แล้วจะคุ้นเคยกว่า) และสมองอีกส่วนหนึ่งคือส่วนนึกคิด ซึ่งตรงนี้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้ คือจะอ่านๆและก็อ่านซ้ำๆจนกว่าจะจำได้ ผมจึงอยากบอกว่าเราอาจใช้สมองทั้งสองส่วนในการช่วยจดจำกับการอ่านหนังสือครั้งหนึ่งๆได้คือ อย่างที่บอกว่าเราอ่านหนังสือครั้งหนึ่งสมาธิอยู่ได้ ๕๐ นาที ใช้เวลาจากเริ่มนั่งจนมีสมาธิ ๑๐ นาที รวมตั้งแต่เริ่มนั่งจนถึงลุกขึ้นเดิน ๑ ชั่วโมง ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำให้เมื่อนั่งอ่านหนังสือจบเรื่อง ใน ๑ ชั่วโมงแล้วให้รุกเดินให้สมองผ่อนคลายและนึกเรื่องที่ได้อ่านมาเมื่อชั่วโมงที่แล้ว เล่าให้เพื่อนหรือตนเองฟัง ถ้าเล่าได้แสดงว่าเข้าใจ ถ้าเล่าไม่ได้ก็แสดงว่าเข้าใจไม่จริง เล่าได้ถึงตรงไหน ติดขัดก็ไปเปิดตรงนั้นและพยายามเล่าต่อให้จบที่ผ่าน ก็จะทำให้เราสามารถเข้าใจเรื่องที่อ่านมาได้หมด

เพิ่มเติมในตอนต้นนิดนึง เพื่อนๆหลายคนที่มีปัญหาว่าอ่านแล้วก็ลืม เรื่องที่เคยเข้าใจแล้ว พอมาอ่านอีกวิชาหนึ่งก็ลืม ทำให้เครียดว่าจำอะไรไม่ได้เลย ตรงนี้อย่ากังวลนะครับ การที่เราอ่านอะไรแล้วลืมเป็นเรื่องธรรมดา เพียงแต่ถ้าเรามีทบทวนอีกรอบมันจะเร็วขึ้น การเลือนหายไปของความจำเป็นเรื่องธรรมดาแต่ถ้าเรานึกถึงบ่อยๆ ก็จะทำให้การเลื่อนหายน้อยลงไป

สรุปดังนี้นะครับ คือให้เราใช้สมองของเราทั้งสองส่วน ส่วนที่เป็นเหมือนกล้องถ่ายภาพคือการอ่านด้วยสายตา กับอีกส่วนคือส่วนนึกคิด ทั้งสองอย่างในการอ่านหนึ่งครั้ง จะทำให้จดจำดีขึ้น
มีเป้าหมายในการอ่านในแต่ละเดือน สัปดาห์ วัน หรือแบ่งเป็นช่วงเช้าบ่าย หรือแต่ละชั่วโมง อาจกำหนดเป็นหน้า หรือเป็นวิชา หรือเป็นบทๆ ไปก็ได้ และพยายามทำให้ได้ตามเป้าหมาย
ส่วนการทำโน้ทย่อก็ดีนะครับ ก็คือการสรุปอย่างที่ผมบอกข้างตนคือการเล่าให้ตัวเองฟังเป็นตัวหนังสือ(แต่บางทีเราไม่เข้าใจเพราะเพียงแต่จดหัวข้อลงไปในโน้ทเท่านั้น) แต่ถ้าเข้าใจด้วย โน้ทย่อด้วยยิ่งดีใหญ่
เรื่องการถ่างสายตาในการหนังสือก็ลองฝึกดูนะครับเป็นประโยชน์มากๆ เพราะเราต้องอ่านหนังสือเยอะ การอ่านเร็วๆทำให้เห็นภาพรวมได้ทั่วของแต่ละวิชาและสามารถเห็นได้ว่าตรงไหนสำคัญ ตรงไม่สำคัญ เมื่อมาอ่านรอบสองที่ต้องจำแล้วจะทำให้จัดลำดับความสำคัญได้ถูกต้อง

ผมพิมมาเรื่อยๆไม่ได้ทบทวนอีกครั้ง อาจวนๆบ้างนะครับ แต่หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆนะครับ
จากคุณ : นักกฎหมายมือสะอาด - [21 ม.ค.51 19:31]


ความคิดเห็นทั้งหมด 21 ความคิดเห็น แสดงหน้าที่ 1/1


ความคิดเห็นที่ 1 :
เอี๊ยดด...ด!!!! เกือบลืม
การอ่านหนังสือผมอยากให้เพื่อนๆจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่อ่านนะครับ คือว่า ในการสอบของแต่ละสนามเราจะสอบทั้งหมดแต่ละวันประมาณ ๑๐ วิชา ต้องเอาคะแนะมาเฉลี่ยกัน เกิน ๕๐ เปอร์เซ็น จึงจะผ่าน และคะแนน ที่ ๑-๕ ของแต่ละข้อได้ง่าย แต่คะแนนที่ ๗-๑๐ ได้ยาก ดังนั้นเราจึงควรทำให้ได้ทุกข้อ ดีกว่าเต็มขอหนึ่ง ศูนย์ข้อหนึ่ง

ด้วยเหตุผลข้างต้น ผมจึงอยากแนะนำให้เพื่อนๆ จัดเนื้อหาของแต่ละข้อออกเป็น สามส่วน

ส่วนแรก คือชั้นที่หนึ่ง ที่เป็นเนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบบ่อยๆ มีฎีกาข้อกฎหมายเยอะๆ ดูได้จากข้อสอบเก่าๆ ที่แต่งโจทก์แล้วเป็นประเด็นน่าสนใจ
ส่วนสอง คือชั้นที่สอง ที่เป็นเนื้อหาที่ออกข้อสอบบ้างบางครั้ง มีเอามีแต่งบ้าง แต่ก็ไม่บ่อย
ส่วนสาม คือส่วนที่เป็นทฤษฎี ที่แบบว่าถ้าเราอ่านมาไปเล่าให้คนอื่นฟังไม่มีคนรู้เรื่อง แม้แต่อาจารย์ที่สอนเองยังเห็นไม่ตรงกัน

เมื่อเห็นเนื้อหาสามส่วนข้างต้นแล้ว เพื่อนๆหลายคนที่อ่านหนังสือวันละหลายชั่วโมง แต่ไปอ่านส่วนที่สาม ก็จะทำให้สอบไม่ผ่าน เพราะส่วนดังกล่าวไม่ออกข้อสอบ (แม้เวลาคุยกับเพื่อนจะดูเท่ เพราะคนอื่นไม่รู้ เพราะไม่เคยอ่าน) หรือหลายคนที่อ่านทั้งสามส่วนของแต่ละข้อแล้วสอบตก เพราะทำได้แค่บ้างข้อ เนื่องจากอ่านข้ออื่นไม่ทัน
คำแนะนำของผมก็คือ เวลาที่เพื่อนๆอ่านหนังสือให้อ่านส่วนที่หนึ่ง ของแต่ละวิชาให้ครบ สิบข้อก่อน จะทำเราได้ ๑-๔ คะแนนของแต่ละข้อแล้ว(พอมั่วได้แล้ว) และต่อมาให้อ่านส่วนที่สองของแต่ละข้อ จะทำให้ข้อไหนทำได้ก็ ๖-๘ คะแนะ ทำไม่ได้ ก็ ๒-๕ คะแนน แต่เมื่อรวมแล้วก็เกิน ๕๐ คะแนน และเมือเวลาเหลือจริงๆ จึงอ่านส่วนที่สาม เพื่อให้ได้คะแนะเต็มเพื่อบางปีที่ออกข้อสอบบางข้อแหวกแนว
สรุปนะครับทุกสนามต้องการคนที่มีความรู้ผ่านมาตราฐานไม่ได้ต้องคนที่เก่งข้อใดข้อหนึ่ง แม้ได้สิบเต็มแต่รวมข้ออื่นแล้วไม่เกิน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ก็ไม่ผ่านนะครับ
จึงเห็นควรให้จัดเนื้อหาก่อนแล้วจึงเริ่มอ่านนะครับโดยพยายามอ่านส่วนที่หนึ่ง ครบทุกข้อ แล้วจึงอ่านส่วนที่สองให้ครบ แล้วเวลาเหลือจึงอ่านส่วนที่สาม ต้องพยายามเตือนตัวเองเวลาที่อ่านรอบแรกด้วยนะครับว่าเรากำลังเข้าไปอ่านในส่วนที่สามแล้วหรือไม่
(เพื่อนอย่ากังวลกับข้อสอบเก่าบางปีที่ออกมาตราแปลกๆมา เพราะข้อสอบเหล่านั้นคือฎีกาดังในช่วงนั้นๆและไม่ออกซ้ำในการอ่านหนังสือเอาที่สำคัญๆก่อน ส่วนที่แปลกให้ดูฎีกาหใหม่) หลายคนพยายามอ่านให้หมดทุกเรื่องแล้วทำให้อ่านไม่ทัน

***จากคุณ : นักกฎหมายมือสะอาด - [21 ม.ค.51 19:48]


จากคุณ : เคยเก็บน่านี้ไว้อ่ะ 1 - [12 ส.ค.51 02:03]
จากคุณ : ^___________________^ - [18 ส.ค.51 15:42]
ความคิดเห็นที่ 8 :
หัวข้อสนทนา : เทคนิคการอ่านหนังสือ
โดยทั่วไปการจดจำของมนุษย์ต้องทำอะไรประมาณสี่ครั้ง ถึงจะทำให้จำได้ แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจดจำของแต่ละคน ดังนั้นเราควรอ่านหนังสือประมาณสี่รอบ จะได้ให้เข้าใจได้เป็นอย่างดี
การอ่านหนังอย่างแรกต้องวางขอบเขตหรือหนังสือแต่ละวิชาที่เราจะอ่านก่อน โดยมีกำหนดเวลาที่เหมาะสมกับปริมาณหนังสือนั้นๆ
ในการอ่านรอบแรกอย่าพยายามจดจำทุกอย่างเพราะจะได้ให้อ่านได้ช้าและท้อ แต่ต้องพยายามอ่านให้เยอะที่สุดและคิดว่าเดี๋ยวก็กลับมาอ่านอีก หลายๆส่วนที่อ่านไปก็ไม่ได้ออกข้อสอบ แต่เราต้องอ่านให้จบเพราะจะได้ไม่กังวลว่ายังไม่ได้อ่าน เมื่อเราอ่านจบแล้วก็จะสบายใจ
พออ่านรอบที่สอง คราวนี้ต้องพยายามทำความเข้าใจ รอบนี้ เราจะจำได้ง่ายแล้ว พยายามอ่านจบหนึ่งเรื่องแล้วเล่าให้เพื่อนหรือตัวเองฟัง ถ้าเราแสดงว่าเราเข้าใจ เล่าไม่ได้ก็ไม่เข้าใจ ติดตรงไหน ก็ไปเปิดตรงนั้น
รอบสาม ให้ทำโน้ทย่อ ในส่วนที่สำคัญๆ
รอบสี่ อ่านโน้ทย่อไปแล้วก็ไปสอบ
แต่ถ้าทำได้สองรอบ คิดว่าคงทำข้อสอบได้แล้ว

การนั่งอ่านหนังสือไม่ควรอ่านเป็นเวลาสองสามชั่วโมงเพราะจะทำให้สมองล้า สมาธิคนเราจะมีประมาณ ๕๐ นาทีเท่านั้น เวลาเริ่มนั่งอ่านกว่าจะเข้าสมาธิได้ก็ประมาณ ๑๐ นาที ดังนั้นจึงควรอ่านครั้งละประมาณ ๑ ชั่วโมง แล้วเดินเล่าสิ่งที่อ่านให้ตัวเองฟัง จะทำให้เราได้ใช้สมองส่วนนึกคิดช่วยในการจำจด
หนึ่งสัปดาห์ควรมีเวลาพักผ่อนเล่นกีฬาด้วยนะครับอย่างน้อยหนึ่งวันให้ตัวเองรู้สึกผิด แล้วกลับมาอ่านหนังสืออย่างจริงจัง
เป็นกำลังใจให้ทุกๆคนที่เตรียมสอบทุกสนามนะครับ

***จากคุณ : นักกฎหมายมือสะอาด - [20 ม.ค.51 21:44
................................................................................

หัวข้อสนทนา : เทคนิคการท่องตัวบท
อย่างที่เคยบอกไปแล้วนะครับ ว่าสมองเราทำงานมีระบบในการจดจำสองส่วนคือที่ทำงานคล้ายกล้องถ่ายรูป กับส่วนนึกหรือระลึกถึง ในเรื่องการท่องตัวบทซึ่งเป็นเหมือนอาวุธหรือสิ่งสำคัญที่เราเหล่านักกฎหมายต้องใช้ในการสอบทุกคร้ง(บางคนบอกว่าจำแต่หลัก แล้วก็เขียนก็สอบผ่าน แต่เชื่อผมนะครับสำหรับการสอบทั้งสามสนาม คนตรวจยังเป็นนักกฎหมายรุ่นเก่าๆ จำนวนมาก ยังอดให้คะแนนตัวบทไม่ได้แน่นอน) ดังนั้นเราคงต้องพยายามจดจำหรือท่องตัวบทให้ได้
การท่องตัวบทเราก็ต้องจัดความสำคัญตัวบทที่เราจะท่องก่อนว่า มาตราไหนที่ต้องจำอย่างแม่นยำ มาตราไหนจำแต่หลักๆ มาตราไหนให้พอรู้ว่าเป็นเรื่องอะไร แบ่งเป็นสามส่วนเหมือนการจัดเนื้อหาในการอ่านหนังสือนั่นละครับ

เมื่อเราจัดลำดับมาตราเป็นสามส่วนแล้วก็มาถึงการที่จะท่องตัวบท ผมอยากให้เพื่อนๆวางตารางการท่องตัวบทตั่งแต่เนิ่นๆ เช่นก่อนสอบ สาม สี่เดือน โดยท่องทุกวันวันละ ๕-๒๐ มาตรา ใช้เวลาในช่วงเช้า รอบแรกก็จะจำได้ยากและท้อ แต่เราต้องท่องประมาณ ๓-๔ รอบจึงจะสามารถจำได้ หลายคนท่องไปแล้วลืมก็เครียด อันนี้อยากบอกว่าเป็นเรื่องปกติครับ ไม่ลืมสิแปลก แต่การที่เราท่องตัวบททุกวันจะทำให้สอง สาม วันก่อนสอบ เราสามารถทบทวนได้ทัน และจำได้เร็ว แต่ถ้าไม่ท่องก่อน ไปอัดๆช่วงใกล้สอบจะเอียน และไม่อยากจำ ทั้งมีความกังวลกดดดันทำให้จำไม่ได้
สรุปนะครับ คือเทคนิคการท่องตัวบท
๑. จัดลำดับความสำคัญของมาตราต่างๆ ในแต่ละเรื่อง ถ้าเวลาน้อยเลือกๆมาท่อง โดยจัดลำดับความสำคัญตามโอกาสในการออกข้อสอบ
๒. ท่องตัวบททุกวัน โดยวางตารางแต่ละวันให้ถึงวันสอบแล้วได้ประมาณ ๓ รอบ โดยให้แต่ละรอบเวลาน้อยลงตามลำดับ แรกๆวันละ ๕-๑๐ มาตรา ต่อมา ๑๐-๒๐ มาตรา ก่อนสอบอาจทบทวนวันเดียวทั้งหมดก็ได้ ( สมองพวกเราทำได้จริงๆนะครับ) และให้ท่องสลับวันสอบกัน เช่น เอามาตราวันสอบวันที่แรกมาท่องก่อน และท่องของวันที่สอง ประมาณเวลาการท่องทั้งสองรอบให้ครบก่อนวันสอบวันแรกหนึ่งสัปดาห์และใช้สัปดาห์สุดท้ายท่องของวันแรกแล้วเข้าไปสอบ และใช้สัปดาห์ก่อนสอบวันที่สองทบทวนตัวบทของวันที่สอง..............แล้วสมองเราจะไม่สับสน
๓. มาถึงสิ่งที่พวกเพือนๆอยากรู้คือทำยังไงจึงจะจำได้ อันนี้ลำบากนิดนึงแต่พยายามได้ครับ คือเราใช้สมองในการอ่านตัวบท ทำความเข้าใจ และพยายามใช้สมองที่เหมือนกล้องถ่ายรูปจดจำรูปประโยคและย่อ บรรทัด ของตัวบทที่เราใช้ แล้วปิดและนึกถึงสิ่งที่เราท่อง เวลาท่องควรเดินให้เกิดการหมุนเวียน สิ่งที่พยายามจำเข้าสู่สมอง(อันนี้ความเชื่อส่วนตัว)
๔. การใช้สมองส่วนนึกคิดนั้นนอกจากจะใช้ตอนอ่าน เพื่อนๆอาจใช้เวลาต่างๆได้อีก คือให้เราพยายามถือประมวลกฎหมายติดตัวไปทุกที่ เมือเราเห็นตัวเลข จากป้ายทะเบียนรถ หรือป้ายโฆษณา หรือจากที่ไหนก็ตามให้เราทำเหมือนเล่นเกม คือสมุด เราเห็น ตัวเลข ๕๔๒๐ ก็ให้เราพยายามนึกว่า มาตรา ๔๒๐ แพ่งคืออะไร อาญาคืออะไร วิแพ่งคืออะไร วิอาญา คืออะไร อันนี้ก็จะได้ตอบ ถ้าเป็นมาตราสำคัญต้องจำได้ทั้งหมด สำคัญบ้างต้องจำหลักได้ ถ้าไม่สำคัญต้องให้รู้ว่ามาตราดังกล่าวอยู่ในเนื้อหาส่วนไหน หรือต้องนึกให้ออกว่าตัวบทที่เราท่องมีถึงมาตรานั้นหรือไม่...........นึกไม่ออกก็เปิดตัวบทที่เราถือติดตัวมาดูนั่นละ เหมือนเราเล่นเกมสนุกกับตัวเองและได้ความรู้ตลอด

เราเป็นนักกฎหมายตราบใดที่ยังต้องพยายามสอบ ให้พยายามพกตัวบทติดตัวเสมอนะครับ เหมือนกระบี่ของพวกเรา
ผมพยายามอธิบายแต่คง งงๆบ้างนะครับ เพราะไม่เหมือนนั่งคุยกัน และยกตัวอย่างให้เห็นโดยการพูด แต่หวังว่าที่พิมมาข้างบนจะให้ประโยชน์กับเพื่อนๆบ้างนะครับ

จากคุณ : นักกฎหมายมือสะอาด - [22 ม.ค.51 22:45]


ความคิดเห็นทั้งหมด 32 ความคิดเห็น แสดงหน้าที่ 1/1


ความคิดเห็นที่ 1 :
จากตัวเลข ๕๔๒๐ข้างบนเราอาจเล่นต่อด้วยการปิดสองตัวแรก แล้วถามคำถามเดียวกันว่า มาตรา ๒๐ ของแต่ละประมวลคืออะไร หรือปิดตัวท้ายก็เช่นเดียว ก็จะได้ เลข ๕๔๒ ให้พยายามสนุกกับการเล่นกับตัวเลข ซึ่งบ้างครั้งเกินมาตราสุดท้าย ก็ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าประมวลนั้นมีไม่ถึงเลขดังกล่าว

***จากคุณ : นักกฎหมายมือสะอาด - [22 ม.ค.51 22:50]




จากคุณ : เครดิต ของคุณ นักกฎหมายมือสะอาด ครับ
จากคุณ : >_______________________< - [18 ส.ค.51 15:43]
ความคิดเห็นที่ 9 :
ความคิดเห็นที่ 5 :
อ่านคำบรรยายประกอบกับจูริสครับ

ถ้าเห็นคำบรรยายสิบกว่าเล่มแล้วบอกว่าเยอะไม่อยากอ่าน
ก็เลิกเรียนไปเถอะครับ พูดตรง ๆ นะ ไม่ต้องให้กำลังใจอะไรกันมากมาย

แค่นี้ยังอ่านไม่ไหว จะไม่ต่อไม่ได้แน่นอน

ยังไงก็ต้องอ่านครับ

อนาคตหลังจบเนติถ้าอยากไปต่อ หนักหนากว่านี้อีกเยอะครับ

อ่านไปเถอะอย่าขี้เกียจ
อย่าคิดว่าอ่านจูริสไม่กี่เล่มไม่มีหน้าแล้วจะสอบได้

ผมสอบผู้ช่วยได้ก็อ่านจูริสเป็นสิบรอบ
แต่อ่านคำบรรยายเนติแค่สามรอบ
แต่อยากจะบอกว่าผมอ่านคำบรรยานเนติก่อนนะครับอ่านจนคิดว่าพื้นดีแล้ว ก็ค่อยไปอ่านจูริสเพื่อเจาะฏีกาในเชิงลึกขึ้น
จนพอเข้าใจก็ข้อทำสอบเก่า ๆ ไป
ส่วนหนังสือเสริมอื่น ๆ ไม่ต้องไปสนครับหนักหัวเปล่า ๆ


สรุปว่ายังไงก็ต้องอ่านครับ
อย่าท้อ อย่ากลัวลืม อ่านสะสมไว้นาน ๆ ครับ
อ่านหลาย ๆ รอบมันฝังไปในหัวเองครับ
สอบไม่ได้ไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว
แต่หลายคนที่สอบไม่ได้เพราะยังขยันไม่พอเองครับ
หวังเคล็ดลับ หวังหนังสือที่ดี หวังอะไรที่จะช่วยย่นเวลาอ่าน แล้วก็หวังอะไรก็ตามที่จะช่วยให้สอบได้ โดยไม่คิดจะอ่านให้มากๆ อย่างสม่ำเสมอ
ก็อย่างที่ว่าข้างต้น อ่านคำบรรรยายกับจูริสไปเถอะครับ
สะสมความรู้ไว้ตั้งแต่สอบเนติแล้วถ้าจะไปต่อก็สะสมวิชาต่อไปอย่าทิ้ง ทิ้งหนังสือสองวันเท่ากับต้องเริ่มอ่านใหม่แต่ต้นครับ จำไว้

ผมจริงใจนะอยากให้ทุ่มเทกันมากกว่านี้
การสอบไม่มีอะไรยากครับแต่อยู่ที่ตัวคุณเองเตรียมตัวถึงแค่ไหน

จากคุณ : ถ้าคุณอยากไปต่อ - [08 มี.ค.51 08:45]
ความคิดเห็นที่ 6 :
อ้อลืมบอกไปอีกว่า
เวลาอ่านหนังสือน่ะถ้าอ่านไม่เข้าใจก็ไม่ต้องไปตกใจไม่ต้องท้อครับ
อ่านรอบแรกผ่าน ๆ ไปก่อน
แล้วอ่านรอบต่อไปจะเข้าใจดีขึ้น
อ่านรอบต่อไปก็จะเข้าใจมากขึ้น
ต่อ ๆ ๆๆ ๆ ๆ ไปก็จะซึบซับไปเองครับ
วิธีนี้สำหรับคนไม่เก่งสมองไม่อัจริยะแบบผมก็ต้องอ่านตะบันมันเข้าไป

ใครว่าสักแต่ว่าอ่านแต่ไม่เข้าใจแล้วจะสอบไม่ได้นั่นอย่าไปสนใจครับ

ถ้าอ่านถึงจริง ๆ มันจะเข้าใจไปเองครับ เชื่อผมเถอะ

ให้ตะบันอ่านเข้าไปเข้าใจไม่เข้าใจก็อ่านไปก่อน
หลาย ๆ รอบจะตกผลึกเองครับ

ลองทำดูก่อน
จากคุณ : ความเห็น ๕ - [08 มี.ค.51 08:49]

ความคิดเห็นที่ 9 :
จำได้จำไม่ได้ไม่เกี่ยวครับ
อยากจะเน้นเลยว่าให้อ่านเข้าไปเยอะ ๆ เท่านั้น
ไม่มีหลักการไม่มีเคล็ดลับใด ๆ ทั้งสิ้นครับ
อ่านเก็บเล็กผสมน้อยไปทุก ๆ วันอย่างสม่ำเสมอครับอย่าหยุดอย่าท้อ
เตรียมตัวสองปี
อ่านเข้าไปจำได้จำไม่ได้ก้อ่านไปหลาย ๆ รอบเดี๋ยวมันจำได้เองล่ะ
ผมสอบผู้ช่วยได้ก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน
ใช้ความสม่ำเสมอ อ่านเยอะ ๆ ผมเรียนไม่เก่งความจำไม่ได้ เข้าใจอะไรยาก
แต่อาศัยการอ่านเยอะ ๆ อ่านจนเห็นเลขฎีกาก็รู้แล้วว่าเป็นเรื่องอะไร อ่านจนหลับตาก็นึกหน้าในหนังสือที่มีคำตอบเรื่องนั้น ๆ อยู่ได้

ขนาดผมยังทำได้แล้วทำไมคุณจะทำไม่ได้ล่ะ
ผมใช้เวลาสองปี อ่านเฉลี่ยวันละ ๓ ถึง ๕ ชั่วโมงในวันทำงาน
วันหยุดอ่านสิบชั่วโมง
สัปดาห์หนึ่งอ่านได้เกือบห้าสิบชั่วโมง
เฉลี่ยชั่วโมงละ ๑๐ หน้า
อ่านรอบสองก็จะเร็วขึ้น รอบสามก็จะอ่านเร็วขึ้นอีก
จนรอบที่ ๗ ที่ ๘ เห็นเลขฏีกาแล้วเปิดผ่านหน้านั้นไปได้เลย

อ่านจนเข้าที่ก็เอาข้อสอบเก่ามาทำจับเวลาเสมือนจริง
ให้คะแนนตัวเองเล่น ๆ ดู

ทำวนไปวนมาเรื่อย ๆ

สอบได้แน่นอน

ทำได้จริง ๆ ผมรับรองผล

ถ้าไม่เชื่อแสดงว่ายังไม่ได้ลอง
ถามผู้ช่วยรุ่นเดียวกันที่สอบได้ถ้าจริงใจคุยกันก็จะทำแบบนี้กันทั้งนั้น แต่ถ้าผู้ช่วยที่อวด ๆ หน่อยก็จะบอกว่าไม่ค่อยได้อ่านก็สอบได้ ซึ่งไม่จริงหรอกครับ

สี่สิบเอ็ดคนจากเกือบหกพันคนทำแบบนี้ทั้งนั้นจึงสอบได้
ผมก็คนหนึ่งในสี่สิบเอ็ดจึงกล้ามาบอกครับ

ขอให้โชคดีทุกคนครับผม




จากคุณ : ผู้ช่วยรุ่นที่ ๕๕ ครับ - [04 มี.ค.51 17:58]
ความคิดเห็นที่ 10 :
อ้อลืมบอกไปว่าไม่ต้องไปอ่านหนังสือหลายสำนักหลายอาจารย์ให้มากมาย
ผมอ่านแค่คำบรรยายเนติกับจูริสและฎีกา ๕ ปีหลังเท่านั้น
อ่านหลับวนไปวนมาแค่นี้หลาย ๆ รอบก็พอแล้ว

ถ้าไปอ่านทฤษฎีอาจารย์อื่น ๆ เยอะ ๆ แล้วจะงงครับ
เวลาตอบจะไปตอบตามทฤษฎีแนวคิดอะไรก็ไม่รู้ซึ่งไม่ใช่แนวฎีกาก็จะออกทะเลไปได้ครับ
ดังนั้นอ่านแค่นี้พอครับแต่อาศัยอ่านซ้ำ ๆ

จากคุณ : ผู้ช่วยรุ่นที่ ๕๕ ครับ - [04 มี.ค.51 18:12]

ความคิดเห็นที่ 10 :
บางคนใช้ความเข้าใจนำไปสู่ความจำ

แต่ผมใช้ความจำนำความเข้าใจครับ

ยกตัวอย่างเช่นตัวบทมาตราที่ซับซ้อนหนึ่งมาตรา
พยายามจะอ่านเพื่อทำความเข้าใจเพราะขี้เกียจท่อง
สรุปอ่านยังไงก็งงอ่านประกอบคำบรรยายหรือฎีกาก็งง
ก็เลยท่องมันให้ขึ้นใจไปซะเลยแม้จะยาวหน่อยท่องนานหน่อยก้ท่องไปก่อน

พอท่องได้ลองกลับไปอ่านฏีกาที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นดูอีกที
โอ้โหทีนี้ทะลุปรุโปร่งเลย พออ่านฏีกาหลาย ๆ รอบก็แบบทีนี้ลึกซึ้งเลยครับ

ไม่เชื่อลองดู
แค่ท่องจำหรืออ่านหลาย ๆ รอบมันจะไปยากอะไร

แต่ต้องใช้เวลาครับ



จะบอกให้เลยว่าการตอบข้อสอบผู้ช่วยนั้นให้ลืมการตอบแบบเนติไปเลยครับ
หลักกฎหมายอะไรไม่ได้ไปใส่มากเลยครับ
อ่านโจทย์แล้วต้องเขียนได้ทันทีไม่มีเวลาให้คิด
แล้วจะเขียนยาวก็ไม่ดีเขียนเยอะก็ผิดเยอะไม่รู้จริงอย่าไปเขียนเยอะตอบเท่าที่ถามไม่ต้องอธิบายอะไรมาก

คำตอบที่จะตอบคืออะไร
มีหลักกฎหมายอะไรอ้างเข้าไปประกอบคำตอบเรา

เอาเฉพาะเลขมาตราเท่านั้นถ้อยคำในตัวบทแม้จำได้ก้ไม่ต้องไปใส่ เอาแค่เลขมาตราแล้วก็หลักจริง ๆ ของมาตรานั้นเท่าที่โจทย์ถามเท่านั้นมาใส่ประกอบเลขมาตราไป

เช่น " การที่...(ลอกโจทย์เฉพาะตรงที่เป็นประเด็นเอาแค่สั้น ๆ ).....เป็นการกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา......

ประเด็นละสองบรรทัดพอครับ เขียนเยอะเสียเวลา
เอาแค่คำตอบที่ถูกธงกับหลักกฎหมายพอ
ส่วนเรื่องที่ถามฎีกาก็ใส่ถ้อยคำในฎีกาไปนิดหน่อย

ยังไงก็ตามต้องจำให้ได้ทั้งตัวบทและถ้อยคำในฎีกาเรื่องต่างๆ ไม่งั้นอ่านโจทย์แล้วมัวแต่มานั่งคิดนั่งตีความไม่ทันกินครับ อ่านโจทย์แล้วต้องตอบได้เลย ต้องรู้ว่ามีหลัก มีฏีกาเรื่องนั้น ๆ ว่าอย่างไรแล้วเขียนไปเลย สี่ชั่วโมงเหลือ ๆ ครับ

แต่ต้องอ่านหนังสือให้ถึงจริง ๆ นะครับ
ผมอ่านจูริสอย่างเดียวทุกเล่ม เล่มละเกือบสิบรอบ
ไม่ได้ท่องจำแต่อ่านซ้ำเยอะๆ
อ่านจน จำได้ขนาดเห็นเลขฎีกาก็รู้ว่าเป็นเรื่องอะไร
ลองทำดูมันจำได้เอง ไม่ได้อัจริยะอะไร แต่มันตกผลึกเอง

เวลาตอบข้อสอบจะรู้เลยว่าคำตอบอยู่ในจุริสเล่มไหนหน้าไหน ไม่ต้องเอาความเข้าใจอะไรมาก อ่านไปจนจำได้เองแล้วจะเข้าใจเองครับ

แล้วพอไปเข้าห้องสอบก็สบายอ่านโจทย์แล้วตอบทันที
ตอบก็ฟันธงไปกับหลักเท่านั้น
ตอบเน้น ๆ แค่ครึ่งหน้าได้ ๘.๕
แต่ตอบเน้น ๆเหมือนกันแสดงภูมิเต็มที่ อธิบายไปหน้าครึ่ง ได้แค่ ๓ ถึง ๕
ก็ลองคิดดูแล้วกันจะตอบแบบไหน


จากคุณ : รุ่น ๕๕ - [12 มี.ค.51 18:44]


เคยเห็นเค้าโพสไว้ในกระทู้เก่าๆ

จากคุณ : T________________________T - [18 ส.ค.51 15:44]

//www.thaijustice.com/webboard.asp?sub=0&id=808252




 

Create Date : 18 สิงหาคม 2551
5 comments
Last Update : 18 สิงหาคม 2551 22:20:28 น.
Counter : 8890 Pageviews.

 

มีความรู้ดีค่ะ จะจำเอาไปทดลองนะค่ะ ตอนนี้กำลังเรียนภาษาอื่น อยู่ อยากจำให้ได้มากๆ เหมือนกัน เป็นกำลังใจ ขยันๆ สู้ๆ นะค่ะ

ขอบคุณนะค่ะ

 

โดย: Noom (khaonaun ) 17 มกราคม 2553 12:40:31 น.  

 

ได้ประโยชน์มากเลยค่ะ..
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนะคะ

 

โดย: ใยบัว. (เกวียนเก่า ) 14 ธันวาคม 2553 19:21:17 น.  

 

มีประโยชน์มากๆครับ ขอบคุณเจ้าของบล๊อกมากครับ

 

โดย: โจโฉ (joechou ) 7 พฤษภาคม 2554 11:27:33 น.  

 

เทคนิคดีมากค่ะ อ่านแล้วมีกำลังใจมากขึ้น

 

โดย: found IP: 124.122.174.197 14 ธันวาคม 2554 14:33:44 น.  

 

ขอบคุณค่ะ แวะเข้ามาอ่าน ค่ะ มีประโยชน์กับการอ่านและการสอบทุกๆ สาขาวิชาชีพค่ะ

 

โดย: แอมวรินทร์ IP: 171.6.235.156 30 กันยายน 2560 11:40:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Frank Abanel
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




" อย่ามักน้อยหวังเพียงปัญญา
เพื่อใช้ทำมาหากิน

อย่าหวังเพียงเรียนกฎหมายให้จบสิ้น
เพื่อทรัพย์สินชื่อเสียงตำเเหน่งงาน

ขอจงเป็นดั่งเทพยุติธรรม
ผู้รู้โลกลึกล้ำเกินคำขาน

บูชาความถูกต้องเป็นตำนาน
มุ่งสืบสานประโยชน์สุขเเก่มวลชน "

Google
Friends' blogs
[Add Frank Abanel's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.