One Love One Life ... For You... Harley Babie and Bowling
<<
พฤศจิกายน 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
1 พฤศจิกายน 2553

การสังเกตุว่าสุนัขท้องหรือไม่

คัดลอกมาจาก //th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20090507011310AApngdJ

ต้องการจะดูว่าท้องหรือไม่ท้อง มีพิสูจน์ได้หลายวิธี

วิธีแรก คือคนใจร้อน คือเมื่อผสมครบ 3 อาทิตย์ แล้วไปเจาะเลือด เพื่อหยดใส่เครื่องมือตรวจสอบการตั้งท้อง เหมือนของคน ผลจะออกมามีขีด 2 ขีด เหมือนอุปกรณ์คนเลย แต่ราคาค่อนข้างสูง จึงไม่ค่อยนิยม

อีกวิธีคือ เมื่ออายุท้องครบ 3-4 อาทิตย์ อาจทำ Ultra Sound ได้ และจะ X-Ray ได้เมื่ออายุท้องได้ 45 วัน แต่จะให้มั่นใจก็ประมาณ 50-55 วัน บางคนคิดว่าการ X-Ray จะมีผลต่อลูกสุนัข แต่คุณหมอบางท่านก็ว่าไม่เป็นไร และจากประสบการณ์ ก็ไม่เคยมีปัญหา ถ้าวิธีธรรมชาติ คือใช้มือคลำ โดยอาศัยประสบการณ์ แต่ต้อง 3 อาทิตย์ ขึ้นไป และถ้าลูกเยอะตัว ก็จะคลำ และสังเกตได้มากกว่า

ผู้มีประสบการณ์บอกว่าให้สังเกตดังนี้คือ
1. กินอาหารปกติ ผสม เบื่อ ๆ อาหาร
2. นอนมากขึ้น
3. อ้วนออก
4. หัวนมเป็นสีชมพู

*******************************


ถ้าไข่ได้รับการผสม สุนัขจะตั้งท้องประมาณ 60 วัน บวก/ลบ 3 วัน จะเริ่มสังเกตุเห็น การเปลี่ยนแปลง เมื่อท้องได้ประมาณ 3 อาทิตย์ ท้องจะขยายใหญ่ เต้านมขยายใหญ่ หัวนมเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีชมพู บริเวณช่องท้องชายโครงจะกางออกเห็นท้องได้ชัด กินอาหารมากขึ้น นอนมากขึ้น และไม่ซุกซนเหมือนก่อน ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสม หรือผสมไม่ติด ระบบการสืบพันธุ์ของสุนัขจะหยุดพักตัวเป็นเวลา 60 วันเช่นกัน ช่วงนี้ สุนัข ก็จะมีลักษณะเหมือนปกติ อีกกรณีก็คือ ไข่ไม่ได้รับการผสม แต่สุนัขเกิดแสดงอาการว่าตั้งท้องขึ้นมา เรียกว่า " ท้องเทียม " โดยจะแสดงอาการเหมือนท้องทุกอย่าง ท้องขยายใหญ่ เต้านมขยาย กินอาหารมาก แต่พอถึงกำหนดคลอด ท้องเกิด แฟบลงไปเฉย ๆ ก็มี

สาระน่ารู้..ขณะสุนัขตั้งท้อง
สัปดาห์ที่ 1 พัฒนาการของลูกสุนัข
• เกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่ (Ovum) ของแม่สุนัขกับตัวอสุจิของพ่อสุนัข ตัวอ่อนระยะเอ็มบริโอ (Embryo) แบ่งตัวเป็น 2 เซล บริเวณท่อนำไข่ (Oviduct) ในระยะนี้ตัวอ่อนมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอกที่เข้ามากระทบต่อตัวแม่สุนัขได้ไม่มากนัก สุนัขบางตัวอาจพบอาการแปลก ๆ ที่ไม่เคยพบมาก่อนเราเรียกอาการนี้ว่า “ อาการแพ้ท้อง ”
การดูแลแม่สุนัข
• การให้อาหารแก่แม่สุนัขจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
• ห้ามใช้ยากำจัดแมลงเช่น ยากำจัดเห็บหรือหมัดในช่วงเวลานี้
• ห้ามให้วัคซีนเชื้อเป็นแก่แม่สุนัขเด็ดขาด

สัปดาห์ที่ 2 ( วันที่ 8-14) พัฒนาการของลูกสุนัข
• ต้นสัปดาห์ ตัวอ่อนระยะเอ็มบริโอจะแบ่งตัวเป็น 4 เซลและช่วงท้ายสัปดาห์พบว่าเอ็มบริโอแบ่งตัวถึง 64 เซล เอ็มบริโอเดินทางเข้ามาสู่มดลูก (uterus) ของแม่สุนัข อาจพบอาการแพ้ท้องในสุนัขบางตัว

สัปดาห์ที่ 3 ( วันที่ 15-21) พัฒนาการของลูกสุนัข เกิดการฝังตัวของเอ็มบริโอบริเวณมดลูกของแม่สุนัขในวันที่ 19

สัปดาห์ที่ 4 ( วันที่ 22-28) พัฒนาการของลูกสุนัข
• มีการเจริญของตาและไขสันหลัง ตัวอ่อนในระยะนี้เรียกว่า ฟีตัส (Fetus) ฟีตัสมีขนาด 5-10 X 14-15 มม . เกิดขบวนการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ในช่วงนี้หากมีผลกระทบที่มีต่อฟีตัสอาจทำให้เกิดความผิดปกติหรือความพิการได้
• การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข อาจพบสิ่งคัดหลั่งสีใสไหลออกมาจากช่องคลอด เต้านมเริ่มมีการพัฒนาขยายใหญ่ขึ้นในระยะนี้
การดูแลแม่สุนัข
• ตั้งแต่วันที่ 26 ขึ้นไป การคลำบริเวณช่องท้องของแม่สุนัขอาจจะทำนายผลการตั้งท้องว่าตั้งท้องหรือไม่ได้ หรืออาจให้สัตวแพทย์ยืนยันการตั้งท้องโดยใช้วิธีการอัลตร้าซาวด์ (ultrasound)

สัปดาห์ที่ 5 ( วันที่ 29-35) พัฒนาการของลูกสุนัข
• ขบวนการสร้างอวัยวะ (Organogenesis) จะมีการสร้างจนมีอวัยวะครบในช่วงเวลานี้ ลักษณะของฟีตัสมองดูคล้ายสุนัขมากขึ้นมีขนาด 18-30 มม .
• การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข พบการบวม - ขยายใหญ่บริเวณช่องท้องอย่างเห็นได้ชัด น้ำหนักตัวจะเพิ่มสูงขึ้น
การดูแลแม่สุนัข เพิ่มจำนวนอาหารที่ให้ขึ้นเล็กน้อยและควรเปลี่ยนเป็นอาหารสูตรที่ใช้เลี้ยงลูกสุนัข

สัปดาห์ที่ 6 ( วันที่ 36-42) พัฒนาการของลูกสุนัข
• ระยะนี้จะพบว่าเกิดการสร้างสีบริเวณผิวหนังขึ้น เมื่อใช้หูฟัง (stethoscope) ฟังเสียงหัวใจจะพบเสียงเต้นของหัวใจของฟีตัส

สัปดาห์ที่ 7 ( วันที่ 43-49) พัฒนาการของลูกสุนัข การเจริญเติบโตและพัฒนาการจะมีอย่างต่อเนื่อง
• การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข ขนบริเวณส่วนท้องจะเริ่มมีการหลุดร่วง แม่สุนัขจะเริ่มมองหาจุดที่จะทำการคลอด

สัปดาห์ที่ 8 ( วันที่ 50-57) พัฒนาการของลูกสุนัข
• สามารถตรวจพบการเคลื่อนไหวของฟีตัสในขณะที่แม่สุนัขนอนพักได้

สัปดาห์ที่ 9 ( วันที่ 58-65) พัฒนาการของลูกสุนัข
• พบพฤติกรรมการทำรังของแม่สุนัขให้เห็น
• อุณหภูมิของร่างกายจะอยู่ที่ประมาณ 100.2-100.8 ? F หากอุณหภูมิลดลงไปอยู่ที่ 98-99.4 ? F คาดการณ์ได้ว่าลูกสุนัขจะออกมาภายใน 24 ชั่วโมง
• ต้องให้ลูกสุนัขทุกตัวได้ดูดนมน้ำเหลืองที่ได้จากแม่สุนัขอย่างเต็มที่ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
• สิ่งคัดหลั่งที่ออกมาจากช่องคลอดควรจะมีสีแดง - แดงน้ำตาล ( อาจพบมีสีเขียวในวันแรกหลังคลอดถือว่าปกติ ) ถ้าหากพบสีดำควรไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน
• 5-6 ชั่วโมงภายหลังที่ลูกตัวสุดท้ายเกิด ควรพาลูกสุนัขและแม่สุนัขไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพและตรวจสอบว่าไม่มีลูกสุนัขหรือรกค้างอยู่ในตัวแม่สุนัข.....

ที่มา:
//www.pantip.com/cafe/jatujak/topic/J5296194/J5296194.html
//forum.bangkaew2008.com/index.php?topic=45.0






Create Date : 01 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 1 พฤศจิกายน 2553 14:05:10 น. 0 comments
Counter : 17447 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

mooaoun
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




One Love One Life...
Love Harley Babie Angie and the Gangs
& Bowling...2 ka
Background.MyEm0.Com
[Add mooaoun's blog to your web]