One Love One Life ... For You... Harley Babie and Bowling
<<
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
12 เมษายน 2553

อาหารต้านมะเร็ง

อาหารต้านมะเร็ง

11 เมษายน 2548 | ฉบับที่ 30
"มะเร็ง" หรือ "Cancer" เป็นความผิดปรกติที่ใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น ไม่ว่าเกิดกับคนใกล้ชิดหรือสัตว์เลี้ยงใกล้ตัวก็ตาม มะเร็งเป็นความผิดปรกติที่สามารถเกิดกับสุนัขและแมวได้ทุกเพศทุกวัย และส่วนใหญ่มักจบลงด้วยการเสียชีวิต มะเร็งถูกจัดอยู่ในอันดับต้นๆ ของสาเหตุสำคัญที่ทำให้สัตว์เลี้ยงเสียชีวิตก่อนถึงเวลาอันควร ด้วยเหตุผลที่ยังไม่ทราบแน่ชัดหากแต่พบว่าปัจจุบันอัตราการเกิดมะเร็งในสัตว์เลี้ยงเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต อาจเป็นเพราะสัตว์เลี้ยงทั้งหลายมีอายุยืนขึ้น หรือเทคโนโลยีทางสัตวแพทย์มีความก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้มีการตรวจวินิจฉัยพบมะเร็งได้มากขึ้น

การรักษามะเร็งในสุนัข อาศัยหลักการเดียวกันกับมนุษย์ กล่าวคือประกอบไปด้วยการรักษาทางยา การผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด (chemotherapy) และการฉายรังสี (radiation therapy) ส่วนผลการรักษานั้นก็อย่างที่เราๆ ท่านๆ ทราบกัน คือว่าถ้าโชคดีก็หายเป็นปรกติ โชคดีน้อยหน่อยก็หายแต่เกิดขึ้นได้อีก หากโชคไม่เข้าข้างเลยก็อาจไม่สามารถทำอะไรได้

ดังนั้น สิ่งที่สัตวแพทย์และเจ้าของสัตว์ควรให้ความสำคัญคือ ทำอย่างไรจึงสามารถยืดเวลาที่สัตว์เลี้ยงจะอยู่กับเราให้นานที่สุด และทำให้ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ของพวกเขานั้นเป็นช่วงเวลาที่เจ็บปวดทรมานน้อยที่สุด จากการค้นคว้าวิจัยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาพบว่า วิธีการหนึ่งที่สามารถทำได้นั้นอยู่ไม่ไกลตัวเราเลยนั่นก็คือ การจัดการเรื่องอาหาร ซึ่งหมายความถึงการเปลี่ยนแปลงอาหารให้แตกต่างไปจากอาหารสำเร็จรูปทั่วๆ ไปเพื่อช่วยชะลอความรุนแรงหรือการแพร่กระจายของมะเร็งที่ตรวจพบ

การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เกิดขึ้นกับร่างกายของสัตว์เลี้ยงที่ป่วยเป็นมะเร็ง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของขบวนการทางเคมีที่มีความสัมพันธ์กับโภชนาการ (Metabolism) โดยทั่วไปสัตว์ตัวที่ป่วยเป็นมะเร็งมีการใช้ประโยชน์จากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันจากอาหารที่กินเข้าไปได้แตกต่างจากสัตว์ตัวที่มีสุขภาพสมบูรณ์ และการเปลี่ยนแปลงนี้ยังคงมีอยู่ถึงแม้ว่าสัตว์ได้รับการรักษาจนหายแล้ว

การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้สัตว์ป่วยส่วนใหญ่แสดงอาการที่เรียกว่า "cachexia" หมายถึงการขาดสารอาหาร ทั้งๆที่สัตว์ยังกินอาหารได้ในปริมาณปรกติ ดังนั้น สัตว์เลี้ยงจะมีน้ำหนักตัวลดลง สัตว์ป่วยที่มีอาการ "cachexia" นี้มีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีใดๆก็ตามน้อยกว่าสัตว์ป่วยที่ไม่มีอาการ "cachexia"

ขบวนการเผาผลาญพลังงานของคาร์โบไฮเดรต นับเป็นขบวนการที่ถูกรบกวนมากเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเซลล์มะเร็งใช้กลูโคสที่ได้จากการย่อยคาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานหลัก และผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นหรืออีกนัยหนึ่งอาจถือว่าเป็นของเสียที่เกิดขึ้นคือ แลคเตด (lactate) ซึ่งร่างกายของสัตว์จำเป็นต้องใช้พลังงานอีกจำนวนหนึ่งเพื่อเปลี่ยนแลคเตดให้เป็นสารชนิดอื่นที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ผลรวมที่เกิดขึ้นคือเซลล์มะเร็งได้รับพลังงานไปเต็มๆ ในขณะที่ร่างกายสัตว์สูญเสียทั้งกลูโคสและพลังงานอีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้สิ่งที่เกิดขึ้นเสมอๆก็คือ กรณีที่เจ้าของสัตว์ไม่ทราบว่าสัตว์เลี้ยงของตนป่วยเป็นมะเร็ง
ดังนั้น เมื่อสัตว์เริ่มมีน้ำหนักตัวลดลงก็ยังพยายามชดเชยน้ำหนักเหล่านั้นโดยการเพิ่มปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ ซึ่งอาหารสำเร็จรูปทั่วไปรวมทั้งอาหารว่างชนิดต่างๆ นั้นมีส่วนประกอบสำคัญคือคาร์โบไฮเดรต ฉะนั้น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือการเพิ่มแหล่งพลังงานให้กับเซลล์มะเร็ง

"มะเร็ง" ทำให้ร่างกายของสัตว์มีอัตราการย่อยสลายโปรตีนสูงกว่าอัตราการสังเคราะห์โปรตีน ผลที่เกิดขึ้นก็คือการสูญเสียโปรตีนโดยเฉพาะมวลกล้ามเนื้อ ส่งผลให้น้ำหนักตัวยิ่งลดลงมากขึ้น นอกจากนี้การสูญเสียโปรตีนยังมีผลในทางลบต่อระบบการสร้างภูมิต้านทานโรค การทำงานของอวัยวะในระบบทางเดินอาหารและการหายของแผล ภาวะ "cachexia" ยังทำให้ร่างกายสูญเสียไขมันที่สะสมไว้ หากโชคยังดีอยู่บ้างที่เซลล์มะเร็งมีความสามารถต่ำในการใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงานทำให้การปรับเพิ่มปริมาณไขมันในอาหารมีผลกระทบไม่มากนักต่อเซลล์มะเร็ง

การจัดอาหารเพื่อต่อสู้กับมะเร็ง จึงยึดหลักที่ว่า ต้องให้อาหารซึ่งร่างกายสัตว์สามารถนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ในขณะเดียวกันก็ให้เซลล์มะเร็งได้ประโยชน์น้อยที่สุดด้วย เพราะเมื่อสัตว์ป่วยมีร่างกายอยู่ในสภาพที่ได้รับสารอาหารและพลังงานเพียงพอกับความต้องการ พวกเขาจะมีการตอบสนองต่อการรักษาและปฏิบัติการต่างๆ โดยสัตวแพทย์ดีขึ้น รวมถึงความสามารถของร่างกายในการสร้างภูมิต้านทานโรคที่ดีขึ้นด้วย อาหารต้านมะเร็งนี้จึงควรเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตที่ระดับต่ำ เหตุผลที่ต้องมีการจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตนั้น นอกเหนือจากที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้นยังมีเหตุผลอื่นอีกด้วย ได้แก่การที่ร่างกายสัตว์ป่วยมักไม่มีการตอบสนองต่อปริมาณอินซูลินในกระแสเลือด หมายความว่าความสามารถของร่างกายในการใช้คาร์โบไฮเดรตหรือกลูโคสเป็นแหล่งพลังงานนั้นลดลง

ดังนั้น หากยังคงให้อาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตในระดับสูง ผลเสียที่อาจพบตามมาได้ก็คือ การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง การมีน้ำตาลในปัสสาวะ และยังอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับการทำงานของตับและระบบหายใจ

อาหารต้านมะเร็ง ควรมีส่วนประกอบของโปรตีนที่ระดับสูง วัตถุดิบที่ใช้เป็นแหล่งของโปรตีนต้องเป็นวัตถุดิบคุณภาพดีที่ร่างกายสัตว์สามารถย่อยและนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายเพื่อชดเชยการสูญเสียโปรตีนดังกล่าวข้างต้น และที่สำคัญอาหารต้านมะเร็งควรมีส่วนประกอบของไขมันที่ระดับปานกลาง เนื่องจากไขมันจัดเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับสัตว์ป่วยดังที่กล่าวแล้วว่า เซลล์มะเร็งมีความสามารถต่ำในการใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงาน และที่ควรพิจารณาให้ความสำคัญเป็นพิเศษด้วยก็คือกรดไขมันในกลุ่มโอเมกา 3 ซึ่งมีงานวิจัย (ส่วนใหญ่ทำการศึกษาในสุนัข) ที่ยืนยันได้ว่ากรดไขมันเหล่านี้มีคุณสมบัติช่วยระงับการเติบโตของเซลล์นื้องอก ช่วยลดปริมาณแลคเตดในน้ำเลือดและช่วยลดการอักเสบ

นอกเหนือจากคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีนแล้ว พบว่าวิตามินและแร่ธาตุอีกหลายชนิดสามารถมีผลช่วยชะลอการแพร่กระจายหรือการเติบโตของเซลมะเร็งบางชนิดได้ เช่น สารในกลุ่มวิตามินเอทั้งจากธรรมชาติและสารสังเคราะห์ วิตามินซี วิตามินอี ส่วนแร่ธาตุก็ได้แก่ ซีลีเนียม เหล็ก และสังกะสี การบำบัดมะเร็งในสัตว์เลี้ยงให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ


ควรเริ่มตั้งแต่การวินิจฉัยความผิดปรกติเบื้องต้นว่า
1. น้ำหนักตัวที่ลดลงนั้น มีสาเหตุมาจากมะเร็งหรือการกินอาหารลดลงหรือสาเหตุอื่นๆ ทั้งนี้สามารถทำได้โดยอาศัยข้อมูลจากการซักประวัติสัตว์ป่วย ชนิดของอาหาร ปริมาณอาหารและพลังงานในอาหาร ตลอดจนวิธีการให้อาหาร ต้องมีการทำความเข้าใจกันระหว่างสัตวแพทย์และเจ้าของสัตว์ว่าขณะนี้เกิดอะไรขึ้นกับสัตว์เลี้ยง มีการทำนายโรคและอธิบายให้เจ้าของสัตว์เข้าใจโดยเฉพาะระดับความรุนแรงและผลโดยตรงตลอดจนผลข้างเคียงจากการรักษา
2. จากนั้นจึงทำการวางแผนการให้อาหารซึ่งมีความแตกต่างกันไปสำหรับสัตว์ป่วยแต่ละตัว เนื่องจากมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายปัจจัย เช่น ชนิดหรืออวัยวะที่เกิดมะเร็ง ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ประวัติการเจ็บป่วยและสภาพร่างกายที่ผ่านมาในอดีต อาการผิดปรกติที่สัตว์ป่วยแสดงออก (เบื่ออาหาร อาเจียน น้ำหนักตัวลด ฯลฯ)

การวางแผนการจัดการเรื่องอาหารต้องทำควบคู่ไปกับแผนการรักษาไม่ว่าจะเป็นการรักษาทางยา การผ่าตัด การใช้เคมีบำบัดหรือการฉายรังสี ในปัจจุบันมีอาหารสำเร็จรูปหลายยี่ห้อที่ผลิตขึ้นสำหรับสัตว์ป่วยเป็นมะเร็งโดยเฉพาะเจ้าของสัตว์สามารถสอบถามข้อมูลหรือขอคำปรึกษาได้จากสัตวแพทย์ที่มีความชำนาญ

กรณีที่คุณไม่อยากใช้อาหารสำเร็จรูป หากแต่ต้องการปรุงอาหารด้วยตนเองก็อาจทำได้โดยยึดหลักที่ว่า จำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรต ใช้โปรตีนคุณภาพดี ให้ไขมันเป็นแหล่งพลังงานหลักในสูตรอาหารและทำการเสริมกรดไขมันในกลุ่มโอเมกา 3 ในอาหาร

แต่การปรุงอาหารเองนั้นต้องคำนึงด้วยว่า อาหารที่ปรุงเองมีสารอาหารต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการของสัตว์ หากจะว่ากันตามตรงก็ต้องยอมรับว่า ค่อนข้างยุ่งยากพอสมควรและต้องปรึกษาสัตวแพทย์ที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจอย่างไร ก็ขอให้พิจารณาให้รอบคอบและแน่ใจด้วยว่า สัตว์ป่วยจะได้รับประโยชน์สูงสุด

ที่มาของข้อมูล : //www.petgang.com/healthy/index.php?Group=15&Id=92

1. ยาที่ใช้รักษามะเร็ง เป็นยาชื่อว่า "ยาประดง" :
- เป็นยาแก้น้ำเหลืองเสีย ผลิตโดยบริษัทกรุงเทพทิพโอสถ จำกัด
- เป็นยาแผนโบราณมีลักษณะเป็นผง บรรจุในแคปซูล ขายเป็นกล่อง
กล่องละ 100 แคปซูล (กล่องละ 10 แผงๆ ละ 10 แคปซูล)
- ราคาขายกล่องละ 800.-บาท (เป็นราคาเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ตอนนี้อาจจะขึ้น
ราคาอีกนิดหน่อย)
- มีขายที่ร้านสวัสดิการของกรมราชองครักษ์ บริเวณสนามเสือป่า ข้างๆ พระบรมรูปทรงม้า ตรงข้ามกับวัดเบญจฯ และร้านจิตรลดาภายในสวนจิตรฯ

คุณหมอธีรภัทร คุณหมอก็ได้ให้คำแนะนำว่า

การรักษามะเร็งชนิด ที่ น้องเซ่เป็นนี้ ทำได้เพียง 3 ประการเท่านั้น คือ
1 กินอาหารชีวจิต และวิตามินชนิดต่างๆ ที่จำเป็น
2 ให้น้ำเกลือผสมวิตามิน C ชนิดเข้มข้น และยา อาทิตย์ละ 1 ครั้ง
3 ผ่าตัด ในกรณีที่เกิดเนื้อร้ายเพิ่มขึ้น และเนื้อก้อนนั้นเป็นอุปสรรคต่อคุณภาพการดำรงชีวิต

นอกเหนือจากนั้น คุณหมอบอกว่ายังไม่มีหนทางค่ะ ....
คุณหมอได้แนะนำให้นำบียอนเซ่กลับไปดูแลที่บ้าน เพราะอาหารที่เค้าควรจะได้รับต้องทำเอง ถ้าเรายังฝากเลี้ยงที่ รพส. มีแต่จะทำให้มะเร็งของเค้าเจริญเติบโตเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากตาม รพส. ส่วนใหญ่มักให้อาหารเม็ดและอาหารกระป๋อง ซึ่งไม่เหมาะสำหรับสุนัขที่เป็นโรคนี้ค่ะ

คุณหมอได้แนะนำสูตรน้ำผัก ที่ “ จำเป็นต้องกินทุกวัน ” คือ
- ใบหญ้านาง
- ใบบัวบก
- ผักอ่อมแซ่บ (ผักเบ็ญจรงค์ หรือ ตำลึงหวาน)
นำผักทั้ง 3 ชนิดมาปั่นสดรวมกัน แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองด้วยกระชอนหรือผ้าขาวบาง แล้วให้ น้องเซ่ ทานวันละ 1 แก้วค่ะ

รวมไปถึงหญ้าปักกิ่ง แบบสดและแค็ปซูลด้วย

เราถามถึงยาประดง คุณหมอบอกว่าเคยได้ยิน แต่ยังไม่เคยลอง
เราเลยเล่าเรื่อง เจ้าเหยินกับลุงทอม ให้คุรหมอฟัง คุณหมอสนใจมากและขอให้เราใช้กับเซ่ เผื่อจะได้นำมาเป็นยามาตรฐานให้กับน้องหมาตัวอื่นๆ ที่เป็นโรคร้ายนี้ด้วย

นอกเหนือจากสูตรน้ำผักแล้ว อาหารชนิดอื่นก็ได้รับคำแนะนำดังนี้

อาหารจำพวกโปรตีน ให้เป็นเนื้อปลาทะเล ไก่บ้าน เต้าหู้ ไข่ (อาทิตย์ละ 2 ฟอง) ผัก ให้เป็น ผักบุ้ง ใบบัวบก ฟัก แครอท ฯลฯ
ข้าว ควรให้เป็นข้าวกล้องเท่านั้น

บทความแนะนำว่า

" หากสุนัขเป็นโรคมะเร็ง ไม่ควรให้อาหารประเภทธัญพืชค่ะ หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของธัญพืชค่ะ "

ที่มา //www.pantown.com/group.php ... content9&area=1

ขอแนะนำให้ทาน Vegi-Vera (เครื่องดื่มสกัดจากต้นอ่อนข้าวสาลี)
แค่ละลายกับน้ำเย็น (กลิ่นมันจะเหมือนหญ้าที่โดนฝนใหม่ ๆ) แล้วใช้หลอดฉีดยาดูดแล้วป้อนใส่ปากเค้าคะ

Vegi-Vera มีประโยชน์มากมายดังนี้
1.กระตุ้นระบบหมุนเวียนโลหิต
2.รักษาแผลที่ถูกของมีคมบาดและแผลถลอกให้หายเร็วขึ้น
3.ช่วยฟื้นฟูพลังงานให้กลับคืนสู่ปกติ
4.ทำให้ระบบลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น
5.บำรุงเลือด
6.กำจัดสารโลหะหนักที่ร่างกายได้รับ เช่น แค็ดเมี่ยม เมอคิวรี่
7.ต่อต้านสารก่อมะเร็ง
8.ป้องกันท้องผูก
9.ช่วยการหายของแผลในกะเพาะอาหาร
10.ช่วยแก้ปัญหาของโรคผิวหนัง
11.ช่วยลดการระคายเคืองของโลกลำไส้
12.ช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด
13.ช่วยควบคุมะดับความดัน
14.เพิ่มความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน
15.เพิ่มความแข็งแรงของการทำงานของหัวใจ
16.ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์
17.ช่วยกำจัดกลิ่นปากและป้องกันฟันผุ
18.ช่วยป้องกันการเพิ่มของเม็ดสีในผิวหนัง และทำให้ผิวพรรณผ่องใส ดูเยาวว์วัย
19.กำจัดไขมันส่วนเกิน

ส่วนประกอบ
* ว่านหางจระเข้ มีวิตามินและเกลือแร่จำนวนมากรวมทั้งแคลเซียม แมกนีเซียม แมงกานีส โปรตัสเซียม สังกะสี โรโบฟลาวิน ไธอะมิน และ
วิตามิน A B6 C D E K และกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว 12 ชนิด

* น้ำผึ้ง เป็นแหล่งกำเนิดที่ดีที่สุดของน้ำตาลกลูโคสและฟรุคโตส และประกอบไปด้วย แอนตี้ออกซิเดนท์ (สารต้านอนุมูลอิสระ)

* ฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ เป็นคาร์โบไฮเดรต ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก
ให้เส้นใยอาหารมีประโยชน์ต่อแบคทีเรียในลำไส้

* แคลเซียม คุณค่าของสารอาหารที่ได้รับ
คลอโรฟิลด์, แอคทีฟเอนไซม์, ไฟเบอร์, เบต้าแคโรทีน, โคลีน, โพแทสเซียม, โซเดียม, เหล็ก, แคลเซียม, แมงกานีส, แมกนีเซียม, ฟอสฟอรัสม วิตามินเอ--ซี --บี --อี --และเค



Create Date : 12 เมษายน 2553
Last Update : 23 เมษายน 2553 10:04:25 น. 0 comments
Counter : 7133 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

mooaoun
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




One Love One Life...
Love Harley Babie Angie and the Gangs
& Bowling...2 ka
Background.MyEm0.Com
[Add mooaoun's blog to your web]