Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2551
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
7 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 

สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ...แห่งราชอาณาจักรภูฏาน ทรงเข้าพิธีราชาภิเษก















สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน ทรงเข้าพิธีราชาภิเษกในวันนี้ (6 พ.ย. 2551) โดยจะทรงขึ้นปกครองประเทศระบอบประชาธิปไตยน้องใหม่ล่าสุดของโลกตามประเพณีอย่างเป็นทางการ



กษัตริย์หนุ่ม พระชนมพรรษา 28 พรรษา ซึ่งทรงจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก ที่ปกครองราชอาณาจักรภูฏาน และยังทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงพระเยาว์มากที่สุดในโลก



พระองค์ทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นประมุขภูฏาน ในปลายปี 2006 หลังจากสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 4 แห่งราชวงศ์วังชุก พระราชบิดาของพระองค์สละราชสมบัติ และมอบอำนาจให้พระองค์สืบทอดต่อไป



อดีตกษัตริย์อันทรงเป็นที่เคารพรักของประชาชน ด้วยพระชนมพรรษา 52 พรรษา ทรงตัดสินพระทัยลงจากราชบัลลังก์ ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการปฏิรูป และปรับประเทศให้ทันสมัย ด้วยการยุติระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ราชวงศ์ของพระองค์ใช้ปกครองประชาชนกว่า 600,000 คนมายาวนาน



ทั้งนี้ ภูฏานได้จัดการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยครั้งแรก เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี และรัฐสภาใหม่ ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยพรรคของอดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัยได้ชัยชนะไปอย่างถล่มทลาย





-----------------------------------------------------------------------




สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก



พระบรมนามาภิไธย มกุฎราชกุมารจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก

พระปรมาภิไธย สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก

พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน

ราชวงศ์ วังชุก

รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก

ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523



พระราชบิดา สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก
พระราชมารดา สมเด็จพระราชินีเชอร์ริง ยางดน วังชุก





สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน ลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก ทรงได้รับการยกย่องจากชาวภูฏานรวมถึงชาวไทยส่วนใหญ่ว่าทรงมีพระจริยวัตรที่งดงาม และเป็นที่รักยิ่งของประชาชนชาวภูฏาน



พระราชประวัติ
เสด็จพระราชสมภพเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุกและสมเด็จพระราชินี อาชิ เชอริง ยางดน วังชุก ทรงยังไม่ได้อภิเษกสมรส




การศึกษา
จากนั้นเมื่อเจริญพระชันษาจึงได้เสด็จไปศึกษาต่อในที่สหรัฐอเมริกา ในระดับมัธยมศึกษาที่ คัชชิง อคาเดมี (Cushing Academy) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำสหศึกษาที่มีชื่อเสียงของมลรัฐแมสซาชูเซตส์ มีอายุกว่า 100 ปี และทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยวีตัน (Wheaton College) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยด้านศิลปศาสตร์ในมลรัฐเดียวกัน ก่อนที่จะเสด็จมาศึกษาต่อปริญญาโท ในสาขาการทูต (Foreign Service Programme) และสาขาวิชาการเมืองที่ วิทยาลัยม็อดเลน (Magdalen College) มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ในอังกฤษ



นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยรังสิตได้ทูลเกล้าถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้กับสมเด็จพระราชาธิบดี (เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นเจ้าชายมกุฎราชกุมาร) ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2549



ขึ้นครองราชย์
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย นัมชุก พระราชบิดาของพระองค์ทรงสละราชสมบัติพระราชทานให้แก่เจ้าฟ้าชายจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมาร พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอย่างแรกด้วยการพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันชาติของภูฎาน



พระราชกรณียกิจ
สมเด็จพระราชาธิบดีเคเซอร์ เป็นหนึ่งในพระราชอาคันตุกะ ที่เสด็จทรงร่วมพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ที่กรุงเทพมหานคร ในขณะที่พระองค์ยังทรงเป็นมกุฎราชกุมาร และทรงเป็นพระราชอาคันตุกะที่มีพระชนมายุน้อยที่สุด ในหมู่ราชวงศ์ที่มาร่วมงาน




ทรงมีพระราชดำริในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข








-----------------------------------------------------------------------

สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก



สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก

พระบรมนามาภิไธย มกุฎราชกุมารจิกมี ซิงเย วังชุก

พระปรมาภิไธย สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก

พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน
ราชวงศ์ วังชุก

ระยะครองราชย์ 32 ปี



รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จิ วังชุก
รัชกาลถัดไป สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก

ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ 11 พฤศจิกายน์ พ.ศ. 2498






First King Gongsar Ugyen Wangchuk(1861-1926)


พระราชบิดา สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จิ วังชุก
พระมเหสี 4 พระองค์
พระราชโอรส/ธิดา 10 พระองค์




Second King Jigme Wangchuk (1902/1906 – March 30, 1952)



สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งภูฎานพระองค์ที่ 4 พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 1955 และขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนม์ได้ 17 พรรษา พระองค์ทรงมีพระมเหสีสี่พระองค์คือ

สมเด็จพระราชินีดอริจ วังโม วังชุก
สมเด็จพระราชินีเชอริง เพม วังชุก
สมเด็จพระราชินีเชอริง ยังดน วังชุก
สมเด็จพระราชินีซังเก โซเดน วังชุก




Third KingJigme Dorji Wangchuk (May 2, 1929 – July 15/21, 1972)

ทรงสละราชสมบัติ
พระองค์ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2549 พระราชโอรสพระองค์โตมกุฎราชกุมารจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุกเสด็จขึ้นครองราชย์แทน



Fourth King Jigme Singye Wangchuk (November 11, 1955 ..)



พระราชโอรส ธิดา
พระองค์มีพระราชโอรสและพระราชธิดา 10 พระองค์จากพระราชินีทั้ง 4 พระองค์ พระราชินีทั้ง 4 นั้นทรงเป็นพี่น้องกัน พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใหญ่คือเจ้าฟ้าหญิงโซเนม เดเชนมีพระชนม์มากกว่า พระราชโอรสพระองค์ใหญ่คือกษัตริย์ภูฎานองค์ปัจจุบัน สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก เพียง 10 วัน

สมเด็จพระราชินีดอร์จิ วังโม วังชุก
เจ้าหญิงโซเนม เดเชน
เจ้าชายจิกเยล อุกเยน วังชุก
สมเด็จพระราชินีเชอร์ริง เพม วังชุก
เจ้าหญิงชิมิ ยางซอม
เจ้าหญิงเคเซง โชเดน
เจ้าชายอุกเยน จิกมี วังชุก
สมเด็จพระราชินีเชอร์ริง ยางดน วังชุก
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก (มงกุฏราชกุมารจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก)
เจ้าหญิงเดเชน ยางซอม
เจ้าชายจิกมี ดอร์จิ วังชุก
สมเด็จพระราชินีซังเก โชเดน วังชุก
เจ้าชายคัมชุก ซิงเย วังชุก
เจ้าหญิงยูเพลมา โชเดน วังชุก



5th King Jigme Khesar Namgyel Wangchuk



-------------------------------------------------------------------









ข้อมูลทั่วไป

Bhutan : Kingdom of Bhutan
ภูฏาน : ราชอาณาจักรภูฏาน
ซึ่งคำว่า ภูฏาน อ่านว่า พู–ตาน




ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับทิเบต 470 กิโลเมตร และอาณาเขตด้านอื่นๆ ติดกับอินเดีย 605 กิโลเมตร ไม่มีทางออกทะเล ( land – locked country )

พื้นที่ 47,000 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง กรุงทิมพู (Thimphu)

เมืองสำคัญต่างๆ เมืองพาโร (Paro) เป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติ เมืองพูนาคา (Punaka)เป็นเมืองที่มีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ เป็นที่ตั้งของพระราชวังฤดูหนาว และเป็นที่ราบสำหรับทำการเกษตร

ประชากร คน 752,693 คน

อัตราการเพิ่มของประชากรร้อยละ 2.14 (ปี 2546)
ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่
Sharchops(ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยภาคตะวันออก)
Ngalops(ชนเชื้อสายทิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก) และ
Lhotshams (ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางใต้)



ศาสนา ศาสนาพุทธมหายาน นิกาย Kagyupa (มีลามะเช่นเดียวกับทิเบต) ร้อยละ 75 (ส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อชาติ Sharchops และ Ngalops) และศาสนาฮินดูร้อยละ 25 (ส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อชาติ Lhotshams)


ภาษา ซองข่า (Dzongkha) เป็นภาษาราชการ
ภาษาอังกฤษใช้เป็นสื่อกลางในสถาบันการศึกษาและในการติดต่อ ธุรกิจ
ภาษาธิเบตและภาษาเนปาลมีใช้บางส่วนในทางภาคใต้ของประเทศ


การศึกษา อัตราการรู้หนังสือโดยรวม ร้อยละ 42.2
อัตราการรู้หนังสือในเพศชายร้อยละ 56.2 และเพศหญิงร้อยละ 28.1


วันชาติ 17 ธันวาคม (พ.ศ. 2450 หรือ ค.ศ. 1907) ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนา สมเด็จพระราชาธิบดี Ugyen Wangchuck ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกของภูฏาน




ระบบการปกครอง
ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทรงเป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
จนเมื่อปี 2541 (ค . ศ .1998) สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ได้ทรงมีพระราโชบายเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการแผ่นดินภูฏาน ซึ่งถือเป็นจุด เปลี่ยนครั้งสำคัญของการเมืองภูฏานเป็นการกระจายอำนาจและลดการรวมศูนย์ไว้ที่พระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว


และมีสมัชชาแห่งชาติ (National Assembly) ทำหน้าที่ผ่านกฎหมายแต่งตั้งสมาชิกระดับสูงของคณะรัฐบาลและให้คำแนะนำข้อราชกาารที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปีมีสมาชิก 150 คน ประกอบด้วยผู้แทนประชาชน 105 คน ผู้แทนจากคณะรัฐบาล(ได้รับการเสนอชื่อจากกษัตริย์)35 คน และผู้แทนจากองค์กรทางศาสนา 10 คน





ประมุข
ประมุขของประเทศองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบจิกมี ซิงเย วังชุก (Jigme Singye Wangchuck) ขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2515 (ค.ศ.1972) เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ Wangchuck





หัวหน้าฝ่ายบริหาร ตามพระราชกฤษฎีกาที่ได้ผ่านการรับรองโดยสมัชชาแห่งชาติภูฏานเมื่อ พ.ศ. 2541(ค.ศ.1998)
ระบุว่า สมเด็จพระราชาธิบดีไม่ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลอีกต่อไป ตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาล (Head of Government)คือ ประธานสภาคณะมนตรี
(Chairman of the Council of Ministers)ซึ่งคัดเลือกจากสมาชิกสภาคณะมนตรี หรือเทียบเท่ารัฐมนตรีต่างๆ จำนวน 10 คน (จากเดิม 6 คน)หมุนเวียนกันดำรงตำแหน่งประธานสภาคณะมนตรี คราวละ 1 ปี และสมาชิกสภาคณะมนตรีอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ประธานสภาคณะมนตรีและหัวหน้ารัฐบาล (Chairman of the Council of Ministers and Head of Government) หรือนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ เลียนโป สังเก นิวดุบ (Lyonpo Sangay Ngedup) ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรด้วย เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนกันยายน 2548 (ค.ศ. 2005)
รัฐมนตรีต่างประเทศ เลียนโป คันดุ วังชุก Lyonpo Khandu Wangchuk เข้ารับตำแหน่งเมื่อปี 2546







-------------------------------------------------------------------------





ภูฏาน “มังกรแห่งสันติ” ณ มหาคีรีหิมาลัย


เท่าที่ผ่านมาภูฏานเป็นรัฐอิสระ มีกษัตริย์ปกครองเหมือนไทย และมีสัมพันธภาพทางการทูตที่ดีต่อกัน แต่เนื่องจากมีพลเมืองเพียงสามแสนคน คนไทยจึงไม่ค่อยรู้จักชาวภูฏานมากนัก ทวีวัฒนา ทุนคุ้มทอง-เชริง ทอปไกย เสนอภาพน่าสนใจของอาณาจักรเล็กๆ นี้



ดวงอาทิตย์ทอแสงขึ้นทางทิศตะวันออกในยามเช้า ให้แสงสว่างและความอบอุ่นแก่โลกและอำลาจากไปเมื่อยามเย็นย่ำเป็นนิจศีล ขณะที่โลกและสรรพสิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปตามวันเวลาที่ล่วงไป ผู้คนทั่วโลกที่อาศัยแสงสว่างของดวงอาทิตย์เพื่อการดำเนินชีวิต ต่างต้องเรียนรู้และปรับตัวตามสภาพการณ์ที่ผันเปลี่ยนไป ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชนบทหรือในเมือง ทุกวันนี้ล้วนแตกต่างไปจากอดีตที่เคยเป็นมา






จากยุคเกษตร สู่ยุคอุตสาหกรรม คลื่นลูกที่สามถาโถมสู่ทุกพื้นที่ทั่วโลก ไม่ว่าเราจะอยู่แห่งใดล้วนสามารถสดับรับฟังและรับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในซีกโลกอีกด้านแทบจะทันควัน ด้วยความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารอันทันสมัย พร้อมไปกับการมุ่งหน้าสู่สายธารแห่งกระแสโลกาภิวัตน์ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบดั้งเดิมมากมายถูกกลืนหายไปในวิถีชีวิตสมัยใหม่ อาทิ การปรุงอาหารให้อร่อยและประดับประดาให้น่ารับประทานถูกทดแทนด้วยวัฒนธรรมอาหารจานด่วนที่รับประทานกันตาย โดยไม่ต้องคำนึงถึงอรรถรสใดๆ การติดต่อสื่อสารด้วยจดหมายกระดาษเปลี่ยนเป็นอีเมล ส่งผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อความสะดวกรวดเร็ว นวัตกรรมที่ทะลักล้นมาจากซีกโลกตะวันตก

กระนั้นก็ตามในบางพื้นที่ความเจริญทางวัตถุสามารถแทรกตัวเข้าไปได้อย่างไม่รวดเร็วนัก





ตามรอยมังกรแห่งหิมาลัย

ในดินแดนเล็กๆ อันเงียบสงบที่อยู่ท่ามกลางขุนเขาสูงตระหง่านของมหาคีรีหิมาลัย ที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะขาวโพลนในฤดูหนาว เปลี่ยนสู่ความเขียวชอุ่มของยอดไม้แรกผลิในฤดูใบไม้ผลิ ติดตามมาด้วยสีสันอันฉูดฉาดของมวลไม้ที่ผลัดเปลี่ยนสีอีกครั้งเมื่อใกล้ปลิดปลิวร่วงหล่น เพื่อทับถมเป็นธาตุอาหารของพื้นดินยามเมื่อฤดูใบไม้ร่วงมาเยือน




"ภูฏาน" อาณาจักรเล็กๆ ที่มีกำเนิดย้อนหลังไปตั้งแต่เมื่อราวประมาณ 1,300 ปีก่อน แทรกตัวอยู่อย่างสงบเสงี่ยมระหว่างเขตแดนของจีนและอินเดีย ดินแดนที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นอู่อารยธรรมของโลก แต่ภูฏานจะมีความใกล้ชิดและแลกเปลี่ยนด้านความคิด ความเชื่อและวัฒนธรรมกับทางเอเชียใต้มากกว่า

ทั้งประเทศมีเนื้อที่รวมกันเพียง 47,000 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเล็กกว่าประเทศไทยประมาณ 10 เท่า ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน พืชพันธุ์ที่มีให้พบเห็นทั่วไปคือไม้สนและไม้ที่ทนต่อสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นแปรปรวนของภูเขาบนที่สูงได้เป็นอย่างดี



ผู้คนส่วนใหญ่ยังต้องแต่งกายด้วยชุดประจำชาติที่เป็นเสื้อคลุมตัวยาวสำหรับบุรุษ เรียกว่า "โก" (Gho) ซึ่งยาวถึงเข่า ส่วนของสตรี เรียกว่า "คิรา" (Kira) ซึ่งยาวคลุมถึงข้อเท้า

อาชีพหลัก ยังคงเป็นการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ ทางภาคเหนือส่วนใหญ่เลี้ยง "ยัค" เนื่องจากเป็นสัตว์ที่อยู่ได้ดีในพื้นที่สูงระดับเกิน 3,000 ฟุตขึ้นไป ส่วนทางตอนกลางลงมาเลี้ยงสัตว์ประเภทวัวควาย นอกจากนี้ชาวบ้านที่นี่ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้าและปั้นเครื่องปั้นดินเผาด้วย



ผลผลิตส่วนมากเป็นการผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ ส่วนเกินเช่น ผลไม้ส่งออกไปยังอินเดียและบังกลาเทศ เพื่อแลกกับ "เกลือ" ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีในพื้นดินของภูฏาน ประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ในพื้นที่ชนบทระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้ายังคงปรากฏให้เห็นได้ทั่วไป

ขณะที่จำนวนประชากรจีนทะยานขึ้นเป็นกว่า 1,200 ล้านคน อินเดียมีประชากรกว่า 1,000 ล้านคน ทั่วโลกมีชาวภูฏานอยู่ทั้งสิ้นราว 650,000 คน ในรายงานของยูเอ็นดีพีจัดให้ประเทศนี้อยู่ในอันดับที่ 162 จาก 176 ประเทศทั่วโลก เมื่อปี 2537 พิจารณาจากดัชนีชี้วัดความสามารถในการบรรลุถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development Index : HDI) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การเป็นประเทศที่ยากจนและมีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าระดับมาตรฐานสากล





หากแต่ในมุมมองของชาวภูฏาน กลับเห็นว่าการมีเงินทองมากมายหรือมีสิ่งอำนวยความสะดวกตามมาตรฐานของตะวันตก หาใช่สิ่งสำคัญไม่ ความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness) ซึ่งเป็นเกณฑ์เฉพาะของชาวภูฏานสำหรับชี้วัดสภาพการดำเนินชีวิตมีความหมายต่อประชากรที่นี่มากกว่า ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (Gross National Product) ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามมาตรฐานสากล






อันเป็นหลักประกันว่าแนวพระราชดำริและพระราโชบายของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ซึ่งชาวภูฏานส่วนใหญ่ยอมรับ จะยังคงได้รับการสืบสานอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราโชบายเรื่องดัชนีชี้วัดความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ที่พระองค์ทรงเลือกที่จะใช้ดัชนี "GNH" (Gross National Happiness) หรือความสุขมวลรวมของประชาชน มากกว่าจะวัดด้วย "GNP" (Gross National Products) หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ อย่างที่ประเทศต่างๆ ยึดถือ

ปรัชญา "ความสุขมวลรวมประชาชน" อันลือลั่นของพระราชาธิบดีภูฏาน มิได้กล่าวถึงแต่เพียงเสาหลักทั้งสี่ คือ
1.การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน เท่าเทียม และพึ่งตนเอง
2.มุ่งเน้นอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.อนุรักษ์และเสริมสร้างวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่น่าภาคภูมิใจ และ
4.ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล




แต่พระราโชบายเรื่อง "GNH" ยังลงลึกไปถึงขั้นที่ว่า "...คุณสมบัติต่างๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นความเมตตา ความรัก ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การให้อภัย ความมีน้ำใจ เกียรติยศ การเสียสละ และความเจียมตน กำลังถูกกัดเซาะโดยสนิมที่เกิดจากความโลภและตัณหา คุณสมบัติเหล่านี้ควรนำกลับมาเป็นค่านิยมในกระแสหลักอีกครั้ง..."



ภูฏาน มีจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกอยากไปสัมผัส คือความเป็นเอกภาพทั้งในแง่ความเงียบสงบด้วยภูมิประเทศที่เป็นเอกลักษณ์งดงามเฉพาะตัว และความรุ่มรวยในวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมที่สะท้อนถึงความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งชาวดรุ๊กปายึดถือเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่เรียบง่ายของพวกเขาตลอดมา




ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย

ตามประวัติศาสตร์ของภูฏาน ผู้คนในบริเวณนี้รวบรวมตัวกันในลักษณะที่เป็นแคว้นอิสระ เมื่อราวศตวรรษที่ 17 โดยพระชาวทิเบตนามว่า ชับดรุง นาวัง นัมเยิล (Zhabdrung-เป็นคำนำหน้าชื่อเพื่อแสดงความเคารพ มีความหมายถึง เราสยบแทบเท้าท่านด้วยความเคารพ) เป็นผู้นำในการรวบรวมผู้คนในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของภูฏานเข้าด้วยกัน ตั้งเป็นแคว้นอิสระชื่อว่า ดรุ๊ก ยุล หรือดินแดนของชาวภูฏาน ซึ่งตามความหมายของภาษาท้องถิ่น คือ ดินแดนของมังกรแห่งสันติผู้ยิ่งใหญ่ หรือ ภูฏาน ที่ชาวโลกรู้จักในปัจจุบันนี่เอง





ชาวภูฏาน หรือ ดรุ๊กปา (Drukpa) ประกอบด้วยชนพื้นเมืองชาวโบธี 80% ชาวเนปาล 15% และชาวเขาเผ่าต่างๆ อีกประมาณ 5% นับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายานมาเป็นศาสนาประจำชาติ เป็นพุทธศาสนิกชนราว 75% เป็นชาติที่นำหลักคำสอนและความเชื่อต่างๆ ทางศาสนามาปฏิบัติให้เห็นในวิถีชีวิตประจำวันอย่างชัดเจน รองลงมาคือ ศาสนาฮินดู มีผู้นับถือประมาณ 25% ชาวดรุ๊กปาส่วนมากรักความสงบและไม่สันทัดในเรื่องการค้าขายเท่าชาวอินเดียและเนปาล




ในช่วงปลาย ค.ศ.ที่ 17 (หลังปี ค.ศ.1890) เขตแดนต่างๆ ภูฏาน มีการแย่งชิงอำนาจกัน จึงมีการรวบรวมกลุ่มอำนาจต่างๆ เข้าด้วยกันอีกครั้งโดยบุรุษนามว่า จิ๊กมี่ นัมเยิล (Jigme Namgyel) เป็นผู้นำในการสร้างเอกภาพขึ้นใหม่ในประเทศ


ราวปี พ.ศ.2450 (ค.ศ.1907) มีการสถาปนาพระเจ้า อูเกน วังชุก (Ugyen Wangchuck) โอรสของจิ๊กมี่ นัมเยิล ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของภูฏาน
กษัตริย์พระองค์ต่อมา คือพระเจ้าจิ๊กมี่ วังชุก ทรงปรับปรุงประเทศให้มีความทันสมัยในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน




พระเจ้าจิ๊กมี่ ดอร์จี วังชุก สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ทรงเป็นนักปฏิรูป และได้ทรงโปรดให้มีการสภานิติบัญญัติขึ้นในปี 2495 และต่อมายังทรงวางรากฐานการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่บริหารประเทศขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2511 เมื่อเสด็จสวรรคต ลงในปี พ.ศ.2515 พระโอรสของพระองค์ คือ เจ้าชายจิ๊กมี่ ซิงยี่ วังชุก ขึ้นเถลิงราชสมบัติปกครองประเทศต่อทั้งที่ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 17 พรรษา ซึ่งแม้ว่าพระองค์จะได้รับการศึกษาจากตะวันตกมาบ้าง แต่ยังคงยึดนโยบายการพัฒนาประเทศที่ต้องดำเนินไปอย่างสุขุมรอบคอบ




พ.ศ.2541 พระเจ้าจิ๊กมี่ ซิงยี่ วังชุก ทรงสละพระราชอำนาจบริหารให้สภานิติบัญญัติรวมถึงบทบาทในการเป็นผู้นำรัฐ หลังจากปกครองประเทศมานาน 25 ปี ทั้งยังทรงจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติเป็นครั้งแรก ปัจจุบันฝ่ายนิติบัญญัติกำลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกขึ้นเพื่อใช้เป็นกฎหมายแม่บทปกครองประเทศ






สายธารแห่งการเปลี่ยนแปลง

ตลอดเวลาหลายร้อยปี ภูฏานใช้ระบบการปกครองที่เดินตามความเชื่อทางศาสนาก่อนที่จะเริ่มใช้ระบอบกษัตริย์ปกครองประเทศ ผู้นำทางศาสนาคือองค์ชับดรุง มีสมณศักดิ์เท่ากับองค์ทะไลลามะ และสืบต่ออำนาจกันโดยผ่านร่างของชับดรุงองค์ก่อนที่จะกลับชาติมาเกิดใหม่ เช่นเดียวกับความเชื่อในทิเบต เกี่ยวกับการกลับชาติมาเกิดขององค์ทะไลลามะ ในทิเบต





เมื่อการเปลี่ยนแปลงรุกถึงเขตแดนของชาวภูฏาน ผู้ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีแบบดั้งเดิมที่ยึดถือปฏิบัติมาหลายร้อยปี แม้จะเป็นประทศเล็กๆ และมีเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองมาช้านานก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หากแต่พยายามปรับเปลี่ยนตัวเองด้วยย่างก้าวที่ระมัดระวัง เห็นได้จากนโยบายการพัฒนาประเทศที่ไม่ได้เดินตามแบบตะวันตกอย่างเต็มตัวโดยฉับพลัน หากแต่เลือกเฉพาะส่วนที่จะตอบสนองความจำเป็นของประชาชน เช่น ในเรื่องสาธารณูปโภค และการสื่อสาร การนำระบบสาธารณสุข แนวทางรักษาพยาบาลสมัยใหม่มาใช้อันช่วยให้อัตราเกิดมีชีวิตของทารก มารดาคลอดบุตรและมีสุขภาพอนามัยดีสูงขึ้น อายุขัยเฉลี่ยของประชากรยาวนานขึ้น ขณะที่ในด้านสังคมยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมตามที่เคยปฏิบัติมาเอาไว้อย่างเหนียวแน่น




สู่ประชาธิปไตยและความทันสมัย

คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันของภูฏาน ซึ่งเพิ่งได้รับเลือกตั้งเข้ามาหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เมื่อปี 2541 อันนำไปสู่การกระจายอำนาจการปกครองออกเป็นหลายระดับสูงสุด ระดับภาคคือ เลงเก (Lhrngye) รองลงไปเป็นระดับเขต หรือ ซงกั๊ก (Dhongkhag) และระดับย่อยที่สุดคือ เกียว (Geog)




รัฐบาลของภูฏานยังคงตระหนักดีถึงจุดอ่อน ในเรื่องการขาดประสบการณ์ จึงเลือกที่จะใช้นโยบายการพัฒนาประเทศด้วยความระมัดระวัง กำหนดแนวทางการพัฒนาให้สอดคล้องกับความสามารถของประเทศและความจำเป็นที่มีอยู่ เพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาประเทศสู่ความทันสมัย ขณะเดียวกันก็เพื่อหลีกเลี่ยงจากความผิดพลาดต่างๆ ดังที่มีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วในหลายประเทศ ที่มุ่งเร่งรัดการพัฒนาโดยขาดความตระหนักถึงผลกระทบที่ไม่ได้คาดหวังที่อาจเกิดขึ้นได้อันนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือแม้แต่การเสื่อมสภาพหรือสิ่งแวดล้อมถูกทำลายและรบกวน




ขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อของชุมชนแบบดั้งเดิมยังคงหยั่งรากลึกอยู่ในทุกอณูของสังคมชาวภูฏาน ยืนหยัดต่อสู้กับแนวคิดใหม่ที่เกิดจากการเปิดประตูให้โลกภายนอกคืบคลานเข้าไป

ทีวี ซึ่งเคยเป็นสิ่งต้องห้าม เพิ่งได้รับการยอมรับในปี 2542



Miss Bhutan Contests

อินเทอร์เน็ตคาเฟ่แห่งแรกเปิดให้บริการในนครทิมปู เมืองหลวงของภูฏาน เมื่อปี 2543




ภูฏาน ยอมออกวีซ่าให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ ปีพ.ศ.2517 แต่จำกัดจำนวนไว้ราว 5,000 คนต่อปีมา จนถึงเมื่อปีที่แล้วที่จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 6,000 คน ในการออกวีซ่าให้นักท่องเที่ยวจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เคร่งครัด



นักท่องเที่ยวที่ไม่ได้ซื้อทัวร์จากบริษัทตัวแทนท่องเที่ยว ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลภูฏานยากจะเดินทางไปได้ ยกเว้นแต่ได้รับเชิญเป็นแขกของเจ้าหน้าที่หรือรัฐบาลภูฏานเท่านั้น สายการบินแห่งชาติ คือ ดรุ๊ก แอร์ เป็นสายการบินเดียวในปัจจุบันที่มีเที่ยวบินตรงถึงท่าอากาศยานพาโร ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองทิมปูออกไป 65 กิโลเมตร ใช้เวลาขับรถราว 2 ชั่วโมง เพราะสภาพภูมิประเทศที่คดเคี้ยว





นอกจากนี้ ยังมีอีกเส้นทางที่จะเดินทางเข้าไปยังภูฏานได้คือ จากท่าอากาศยานกรุงเทพ นั่งเครื่องไปลงที่เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย และโดยสารสายการบินภายในประเทศของอินเดียไปลงที่เมืองบักโดรา ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของแคว้นเบงกอล ประเทศอินเดีย เพื่อต่อไปยังเมืองฟินโชลิง ซึ่งใช้เวลานั่งรถยนต์โดยสารประมาณ 4 ชั่วโมง และต่อรถยนต์อีก 6 ชั่วโมง สู่เมืองหลวงทิมปู นครหลวงของภูฏาน ซึ่งค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าไปทางเครื่องบินมาก









วิกิพีเดีย
เอเอฟพี
สื่อในเครือ ผู้จัดการ
Bhutantravelagent.com
ทวีวัฒนา ทุนคุ้มทอง-เชริง ทอปไกย
ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเงินแห่งภูฏาน






















 

Create Date : 07 พฤศจิกายน 2551
7 comments
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2551 0:16:36 น.
Counter : 11065 Pageviews.

 



นั่งอ่านอยุ่ตั้งนาน ได้รู้อะไรกับประเทศนี้เพิ่มขึ้นเยอะ

 

โดย: OFFBASS 7 พฤศจิกายน 2551 1:01:16 น.  

 

ได้ทราบประวัติพระองค์ท่าน ขอบคุณมากค่ะ เป็นความรู้ที่ดี

 

โดย: " ยูกะ " (YUCCA ) 7 พฤศจิกายน 2551 2:18:33 น.  

 

รายละเอียดแน่นเลยนะค่ะเนี่ย

ขอบคุณที่นำมาให้อ่านค่ะ

 

โดย: ความเจ็บปวด 7 พฤศจิกายน 2551 3:53:35 น.  

 


สวัสดีคะ แวะมาทักทายในวันทำงาน หากมีเวลาว่างแวะไปบล๊อกหน่อยบ้างนะคะ จะอัพบล๊อกใหม่วันที่ 8 คะ

 

โดย: หน่อยอิง 7 พฤศจิกายน 2551 12:54:38 น.  

 


ขอขอบคุณ คำอวยพร ในวันเกิด
พรประเสริฐ ทรงคุณค่า กว่าสิ่งไหน
ทั้งอีการ์ด บทกลอน ซาบซึ้งใจ
ขอคุณพระรัตนตรัย คุ้มครองท่าน เช่นกันเอย

 

โดย: หน่อยอิง 9 พฤศจิกายน 2551 11:44:35 น.  

 

น่ารักจังเลย

 

โดย: redclick 10 พฤศจิกายน 2551 23:22:46 น.  

 

แอบloveพระราชาจิกมี

 

โดย: กุ่ย IP: 171.4.38.239 9 ตุลาคม 2554 2:03:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


นอกลู่นอกทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








ภาพถ่ายดาวเทียมด้านอุตุนิยมวิทยา
ภาพสดๆจากที่ต่างๆทั่วมุมโลก
Ban Na Song BKK, Thailand
Karon Beach , Phuket , Thailand
Federal Highway, Angkasapuri ,Pantai Valley , Malaysia
Delta Estate , Singapore
Malate ,Manila , Philippines
Bandar Seri Begawan , Brunei
Guangxi Guilin, China
달빛무지개분수(Banpo Bridge Fountain )Sin’gilsa-dong , Seoul , South Korea
Hong Kong skyline from Admiralty, China
Shiomidai , Kanagawa , Japan
Cable Beach, Broome, Western Australia, Australia
Keahua Hawaii , USA
Sacramento California, USA
Washington D.C., USA
Manhattan , New York , USA
McCulloch Kelowna, Canada
Niagara Falls , Ontario , Canada
Panama Canal , Bella Vista , Panama
Santiago de Chile , Región Metropolitana , Chile
Fairbanks, Alaska Forecast Arctic
Mar del Plata Buenos Aires , Argentina
Tasiilaq , Østgrønland , Greenland
London Skyline from the Sheraton Park Tower , Knightsbridge , United Kingdom
Trafalgar Square , London , United Kingdom
Eiffel Tower Paris, France
Harstad Nordland , Norway
Halsum , Svalbarð , Iceland
Amsterdam , Netherlands
Vatican City State, Saint Peter's Basilica Borgo , Italy
Berlin, Germany
Чебоксарский залив, Yakimovo, Chuvashia , Russia
Udaipur Lake Pichola , Rājasthān , India
Mount Everest , Junbesi , Sagarmāthā , Nepal
Cape Town Sanddrift, South Africa
Orpen , Richmond , South Africa
Abū Hayl Dubai , United Arab Emirates
Kairo, Egypt
Medhufushi, Maldives
Mawson station Antarctica

Profile Visitor Map - Click to view visits
หนังทุกเรื่องหรือเพลงทุกเพลงในบล็อกนี้ เป็นเจ้าของ ของลิขสิทธินั้นๆตามเจ้าของเดิม นำมาเพื่อแบ่งปันชมกันในหมู่เพื่อนพ้อง ชาวบล็อกแก้งค์เท่านั้นครับ....
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 หากผู้ใดคิดจะ ลอกเลียน หรือนำส่วนใดส่วนหนื่ง ของข้อความใน Blog แห่งนี้ไปเผยแพร่ ให้นำไปได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาต จขบ. แต่ต้องคัดลอกแจกจ่ายให้ครบ 50 ก็อปปี้ ไม่เช่นนั้น จะมีอันเป็นไป ต่างๆนานา ถึงขั้นชีวิตตกอับ อิอิ หากแต่ว่า..นำชื่อ จขบ. ไปใช้ในทางเสียหายหรือประจาน จะถูกดำเนินคดี ตามที่ กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด นะจ๊ะ
Friends' blogs
[Add นอกลู่นอกทาง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.