สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
13 สิงหาคม 2553

กิฟท์ (GIFT)

ปัจจุบันการรักษาภาวะมีบุตรยากได้ก้าวหน้าไปมาก เพียงแต่วิธีการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงยังเกิดขึ้นในวงจำกัด แพทย์และนักวิทยาศาสตร์พยายามหาหนทางที่จะพัฒนารูปแบบของการรักษาให้ใกล้เคียงกับที่เกิดขึ้นในธรรมชาติมากที่สุดและพยายามลดสิ่งรบกวนจากภายนอกลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ปัจจุบันเราสามารถทำการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (IVF) แล้วเพาะเลี้ยงตัวอ่อนไว้ภายนอกจนถึงระยะที่พร้อมจะฝังตัว แล้วจึงย้ายตัวอ่อนกลับคืนสู่โพรงมดลูกของแม่ได้ ซึ่งทำให้แนวทางในการรักษาภาวะมีบุตรยากในปัจจุบันนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปและมีอัตราความสำเร็จสูงขึ้นมาก แต่ยังคงพบว่าบางแห่งมีปัญหาความไม่สเถียรของระบบการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนไว้ภายนอกร่างกาย และผลจากการเพาะเลี้ยงต่อความอยู่รอดและการเจริญเติบโตของเซลล์สืบพันธุ์อันได้แก่ไข่และอสุจิ ผลต่อตัวอ่อนและการตั้งครรภ์ การพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกาย (IVF) ในระยะแรกนั้นเพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มที่มีปัญหาของท่อนำไข่ซึ่งทำให้ผู้ป่วยในอดีตตกอยู่ในสถานะเป็นหมันนั้นสามารถกลับมามีบุตรได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตามแม้ว่าปัจจุบันสถาบันที่ให้บริการรักษาภาวะมีบุตรยากทั่วโลกจะได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาและให้บริการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (IVF) เพิ่มมากขึ้นและมีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนได้จนถึงระยะฝังตัวหรือระยะ Blastocyst แต่บางสถาบันซึ่งอาจยังไม่สามารถให้บริการด้วยวิธีการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (IVF) หรืออาจยังไม่สามารถพัฒนาผลการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนให้เกิดอัตราความสำเร็จที่คงที่ได้

ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งซึ่งยังมีท่อนำไข่ที่ใช้งานได้อย่างน้อยหนึ่งข้าง น่าจะได้รับประโยชน์มากกว่าจากการรักษาด้วยการนำเอา Gamete หรือเซลล์สืบพันธุ์ทั้งของฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ซึ่งก็คือไข่และอสุจิ ใส่เข้าไปในท่อนำไข่ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นในธรรมชาติ หลังจากนั้นหากไข่และอสุจิสามารถปฏิสนธิกันได้ก็จะมีการเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนและเดินทางมาฝังตัวในโพรงมดลูก และเกิดเป็นการตั้งครรภ์ในที่สุด ซึ่งวิธีการดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า GIFT (กิฟท์) ซึ่งเป็นชื่อย่อมาจาก Gamete IntraFallopian tube Transfer ผู้ที่นำเทคนิคนี้มาใช้จนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ Ricardo H. Asch จากสหรัฐอเมริกา

ในขณะที่การใส่ไข่ที่ถูกปกฺสนธิเรียบร้อยแล้วเข้าไปยังท่อนำไข่ ซึ่งเรียกว่า ZIFT (ซิฟท์) ซึ่งเป็นชื่อย่อมาจาก Zygote IntraFallopian tube Transfer นั้น ผู้ซึ่งพัฒนาวิธีการนี้มาใช้ในระยะแรกๆคือ Paul Devroey และคณะ จากเบลเยี่ยม ปัจจุบันนั้น ZIFT ครอบคลุมศัพท์ที่ใช้ในการอธิบายถึงวิธีการที่คล้ายคลึงกันที่เคยใช้ในอดีตเช่น ProST, TET, TEST, และ SET

Gamete Intra Fallopian tube Transfer: GIFT
ข้อบ่งชี้

ผู้ที่มีข้อบ่งชี้ที่เหมาะสมในการทำ GIFT คือผู้ป่วยที่ประสบกับภาวะมีบุตรยากที่อธิบายสาเหตุไม่ได้และผู้ป่วยที่มีสาเหตุของภาวะมีบุตรยากหลายกรณี เช่นเป็น Endometriosis หรือไม่ประสบความสำเร็จในการรักษาด้วยวิธีฉีดเชื้อ ฝ่ายหญิงอายุมาก และมีผังผืดในอุ้งเชิงกรานเป็นต้น ยกเว้นผู้มีท่อนำไข่อุดตันทั้งสองข้างจะไม่สามารถทำการรักษาด้วยวิธีการนี้ได้ และเนื่องจากยังมีโอกาสที่ผู้มีบุตรยากกรณีที่อธิบายสาเหตุไม่ได้จะมีความผิดปกติของกระบวนการในการเจริญพันธุ์บางประการ ซึ่งเมื่อได้รับการช่วยเหลือการเจริญพันธุ์แล้วพบว่าได้ผลลัพท์ที่น่าพึงพอใจ นอกจากนี้ยังเห็นได้ชัดว่าการช่วยให้มีการตกไข่คราวละหลายใบ และการนำเซลล์สืบพันธุ์ไปวางไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสมภายในท่อนำไข่นั้น เพียงพอต่อการเอาชนะอุปสรรคนานาประการในแต่ละคู่ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการรักษาด้วย GIFT
แม้ว่าจะยังคงมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่กระจ่างชัดเกี่ยวกับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) แต่ความเป็นจริงซึ่งพบว่าการทำ GIFT ประสบความสำเร็จในกลุ่มผู้ป่วยจำเพาะซึ่งมีท่อนำไข่ที่ใช้งานได้อย่างน้อยหนึ่งข้างนั้น ยืนยันความสัมพันธ์อันคลุมเครือระหว่างภาวะมีบุตรยากและเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
GIFT เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วในการนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยซึ่งมีปัญหาภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชายระดับหนึ่ง ผลการรักษาที่ได้แตกต่างกันจากหลายสถาบัน แต่เนื่องจากการที่มีการพัฒนาวิธีช่วยปฏิสนธิ (ICSI) ขึ้นมาได้ ปัญหาการมีบุตรยากในฝ่ายชายจึงไม่เป็นข้อบ่งชี้ในการทำ GIFT อีกต่อไป
การทำ GIFT ในกลุ่มของผู่ป่วยที่ท่อนำไข่ไม่อุดตันแต่มีพังผืดในอุ้งเชิงกรานเล็กน้อย พบว่ามีอุบัติการณ์ของการตั้งครรภ์นอกมดลูกค่อนข้างสูง (14.3 – 33%) เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีพังผืดในอุ้งเชิงกราน (4 – 5%) ทั้งนี้เนื่องจากอาจมีพยาธิสภาพเกิดขึ้นภายในท่อนำไข่ในผู้ป่วยกลุ่มที่มีพังผืดในอุ้งเชิงกราน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกระทำอย่างระมัดระวังในการการรักษาด้วยวิธี GIFT ผู้ป่วยกลุ่มนี้
ภาวะมีบุตรยากที่มีสาเหตุจากภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวอสุจิในระบบสืบพันธุ์ฝ่ายหญิงนั้นอาจไม่ให้ผลสำเร็จสูงสุดได้หากทำการรักษาได้ด้วย GIFT เนื่องจากการรบกวนเช่นเดียวกันที่เกิดขึ้นในการปฏิสนธิตามธรรมชาติ ยังคงเกิดขึ้นได้หลังจากที่มีการย้ายอสุจิและเซลล์ไข่เข้าไปในท่อนำไข่แล้ว ด้วยเหตุนี้ การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (IVF) หรือ การช่วยปฏิสนธิ (ICSI) จึงน่าจะเป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสมมากว่าสำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวอสุจิเช่นนี้ เนื่องจากแพทย์จะสามารถสังเกตและบันทึกความสามารถในการปฏิสนธิของอสุจิจากผู้ป่วยเหล่านี้ได้ด้วย




 

Create Date : 13 สิงหาคม 2553
1 comments
Last Update : 13 สิงหาคม 2553 14:28:13 น.
Counter : 1056 Pageviews.

 

 

โดย: สมาชิกหมายเลข 1779106 30 มีนาคม 2558 17:04:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


DR.TONGTIS
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




• B.Sc. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1974-1978.
• M.D. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1979-1980.
• Diploma Board of Obstetrics and Gynecology. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1981-1983.
• Postdocteral Fellow Training. Queen's Mother Hospital, Glasgow Scotland.
• Postdocteral Fellow Training.King's College Hospital, London. UK.
• Postdocteral Fellow Training. Department of Obstetrics and Gynecology and Department of Radiology. John Hopkins Hospital, John Hopkins University.
[Add DR.TONGTIS's blog to your web]