# คนดีไม่จำเป็น . . . ต้องสมหวังในความรักเสมอไป# ไม่มีใครที่ดีบริสุทธิ์ . . . หรือเลวบริสุทธิ์
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2551
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
10 พฤษภาคม 2551
 
All Blogs
 
หนุท้องไม่มีพ่อ.......(สุดท้ายต้องพบคุณหมอ).....อันตรายจากการทำแท้ง

ในประเทศไทย การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนาและการทำแท้งโดยผิดกฎหมาย ดูจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกวัน ก่อให้เกิดความสูญเสียทั่งชีวิตและทรัพย์สินปีหนึ่งๆ เป็นจำนวนมาก แต่แนวทางแก้ไขระดับชาติในปัจจุบันก็ยังไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ดังนั้นแต่ละบุคคลจึงต้องรับผิดชอบตนเอง โดยพยายามทำความเข้าใจสภาวะดังกล่าวให้ถ่องแท้ เพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างดีที่สุด

การทำแท้งอาจกระทำเพื่อการรักษาหรือโดยผิดกฎหมาย
การทำแท้งนั้น แพทย์อาจกระทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์หรือทางสังคมซึ่งแล้วแต่กฎหมายของแต่ละประเทศบางประเทศไม่อนุญาตให้ทำแท้งเลยไม่ว่ากรณีใดๆ เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ และบางประเทศในทวีปยุโรปซึ่งมีศาสนาคาทอลิกเป็นศาสนาประจำชาติ แต่บางประเทศอนุญาตให้ทำแท้งได้โดยเสรี เช่น ประเทศจีน สิงคโปร์ รัสเซีย และกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรป และบางประเทศอนุญาตให้ทำแท้งได้เฉพาะในบางกรณี เมื่อมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์หรือทางกฎหมาย เช่นประเทศไทย เป็นต้น การทำแท้งเนื่องจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เรียกว่า "การทำแท้งเพื่อการรักษา" แต่ถ้าทำโดยข้อบ่งชี้ทางสังคมหรือโดยกฎหมายที่ของแต่ละประเทศไม่อนุญาต ก็เรียกว่า "การทำแท้งโดยผิดกฎหมาย"

กฎหมายการทำแท้งในระยะแรกๆ อนุญาตให้ทำแท้งตามข้อบ่งชี้ต่างๆ มากมายตั้งแต่ความกลัวการคลอดบุตรจนถึงการตั้งครรภ์เพราะถูกข่มขืนกระทำชำเรา หรือจากการสมสู่ระหว่างบุคคลร่วมสายโลหิตต่อมาข้อบ่งชี้ของการทำแท้งค่อยๆ จำกัดลงโดยเหตุผลทางสังคมลดลง เหลือแต่ข้อเหตุผลทางการแพทย์เท่านั้น ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับกันก่อนปี ค.ศ. 1940 ข้อบ่งชี้ทั้งหมดเป็นเรื่องทางการแพทย์เท่านั้น เช่นให้กระทำได้ในกรณีที่การตั้งครรภ์นั้นทำให้แม่มีอาการแพ้ท้องอย่างมาก แม่เป็นความดันโลหิตสูงเป็นเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ หรือการทำงานไตล้มเหลว ระหว่างปี ค.ศ.1940-1960 การทำแท้งเพราะเหตุผลทางจิตใจต่อยๆ เกิดขึ้น และเมื่อปี ค.ศ. 1950 การทำแท้งทั้งหมด ในปี ค.ศ. 1960 สังคมอเมริกันเริ่มมีทัศนคติว่าการทำแท้งเป็นเรื่องของสิทธิส่วนตัว ซึ่งหญิงมีครรภ์ควรเป็นผู้ตัดสินใจเอง ดังนั้นในปี ค.ศ. 1970 การทำแท้งจึงเริ่มขยายตัวกว้างขวางมากขึ้น จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็นการทำแท้งอย่างเสรี

กฎหมายการทำแท้งของประเทศไทยยังไม่มีข้อยุติ
สำหรับประเทศไทย กฎหมายลักษณะอาญา (ร.ศ. 127) ไม่อนุญาตให้ทำแท้งโดยเด็ดขาด แต่เมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2500 จึงมีบทบัญญัติมาตรา 305 ขึ้น ซึ่งอนุญาตให้แพทย์ทำแท้งได้ใน 2 กรณี คือ แระทำเพื่อสุขภาพของหญิงนั้น หรือกระทำในกรณีที่หญิงนั้นตั้งครรภ์เพราะถูกข่มขืนกระทำชำเรา

โทษของการทำแท้งโดยผิดกฎหมายของไทยคือ หญิงผู้ทำให้ตนแท้งบุตรหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำให้ตนแท้งบุตร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนบุคคลที่ทำให้หญิงมีครรภ์แท้งบุตร ตามกฎหมายจะมีความผิดเสมอ ไม่ว่าหญิงมีครรภ์นั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ถ้ากระทำโดยหญิงนั้นยินยอม โทษคือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้ากระทำโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ผู้กระทำจะมีความผิดจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 14,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ปัจจุบันแม้บทลงโทษของกฎหมายจะรุนแรงพอสมควร แต่ในปีหนึ่งๆ ก็มีผู้กระทำผิดเป็นจำนวนมากจนยากจะประมาณได้วงการแพทย์ของไทยและประชาชนทั่วไปจึงมีความเห็นว่า กฎหมายการทำแท้งควรจะขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น โดยรวมข้อบ่งชี้บางอย่างเข้าไปด้วย เช่น สุขภาพจิตของผู้นั้น และกรณีที่ทารกในครรภ์อาจพิการหรือผิดปกติทางร่างกายหรือจิตใจ

วิธีทำแท้งทางการแพทย์พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ แต่การทำแท้งเถื่อนยังล้าหลังและมีความเสี่ยงสูง
วิธีทำแท้งทางการแพทย์อาจแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ วิธีทางศัลยกรรมและทางอายุรกรรม การทำแท้งโดยวิธีทางศัลยกรรมคือการขยายปากมดลูกและขูดมดลูก หรือใช้เครื่องดูดเอาทารกและรกออกมา ซึ่งการทำแท้งโดยวิธีนี้จะกระทำเมื่ออายุครรภ์ต่ำกว่า 12 สัปดาห์ แต่ถ้าครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ขึ้นไป วิธีทำแท้งจะเหมือนกับการคลอดบุตรตามปกติ

ส่วนการทำแท้งทางอายุรกรรมหรือโดยการใช้ยามักจะกระทำเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 14 - 16 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีการทำแท้งวิธีใดเหมาะสมที่สุด และเป็นระยะที่แพทย์พยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำแท้งวิธีที่เคยทำกันคือฉีดยาหรือสารบางอย่างเข้าไปในโพรงมดลูกหรือหลอดเลือดดำเพื่อทำให้ทารกเสียชีวิต และเกิดการเจ็บครรภ์แต่ปัจจุบันเลิกใช้เกือบหมดแล้ว ยกเว้นการฉีดยาออกซิโตซิน เข้าหลอดเลือกดำเท่านั้นที่ยังมีใช้อยู่

เมื่อไม่นานมานี้มีผู้นำยาโพรสตาแกลนตินมาใช้ในการทำแท้งโดยการเหน็บในช่องคลอด และปรากฎว่าได้ผลดีกว่ายาอื่นๆทุกชนิดที่ใช้กันในปัจจุบัน แต่ยานี้มีราคาค่อนข้างแพงและอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง คือคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเดินอย่างรุนแรงได้

การทำแท้งที่ผู้กระทำไม่ใช่แพทย์ก็มีวิธีการต่างๆ เช่น ใช้มือบีบมดลูกทางหน้าท้องใส่สายยางสำหรับสวนปัสสาวะเข้าไปทางปากมดลูกเพื่อกระตุ้นให้เกิดการตกเลือดและแท้งบุตร หรือใช้เข็มแหลมยาว เช่น เข็มถักไหมพรม ทิ่มแทงเข้าไปในโพรงมดลูก นอกจากนั้นยังอาจฉีดสารจำพวกสบู่ สารพิษ หรือสมุนไพรบางอย่างเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อทำลายชีวิตเด็ก การกระทำเหล่านี้ ผู้กระทำมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดการเจ็บครรภ์เท่านั้น หลังจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของหญิงมีครรภ์ที่จะต้องไปโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ดูแลรักษาต่อไป การกระทำดังกล่าวทำให้เกิดสภาวะแทรกซ้อนมากมายซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตของหญิงมีครรภ์

อันตรายที่เกิดจากการทำแท้งโดยผิดกฎหมาย
สภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของการทำแท้งโดยผิดกฎหมาย ได้แก่ การตกเลือดซึ่งพบมากที่สุดและเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อชีวิตของหญิงมีครรภ์ รองลงมาคือการติดเชื้อ ซึ่งมักเกิดขึ้นในกรณีที่ใช้เครื่องมือไม่สะอาด ทำให้มดลูกเป็นหนอง เป็นฝีในอุ้งเชิงกราน และโลหิตเป็นพิษ อีกทั้งบางรายอาจติดเชื้อบาดทะยักได้ด้วย

ปัญหาระยะยาวการทำแท้งคือหญิงนั้นอาจเป็นหมัน เนื่องจากการติดเชื้อในโพรงมดลูกลุกลามไปถึงท่อมดลูก ทำให้ท่อมดลูกตีบตัน หรือการอักเสบในโพรงมดลูกอาจทำให้เกิดพังผืดในโพรงมดลูกเป็นผลให้โพรงมดลูกตีบตันเช่นกัน และไม่มีประจำเดือน นอกจากนั้นมดลูกอาจทะลุจากากรใช้เครื่องมือทำแท้ง ทำให้ต้องผ่าตัดเอามดลูกออก หรือถ้าไม่เอามดลูกออก มดลูกก็อาจแตกเมื่อมีการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปได้ และเด็กอาจเสียชีวิต

บางคนการอักเสบอย่างเรื้อรังในอุ้งเชิงกรานทำให้มีอาการปวดท้องและสุขภาพทรุดโทรม บางคนอาจแท้งเป็นอาจิณ เนื่องจากปากมดลูกฉีกขาดหรือหูรูดของปากมดลูกหลวม อันเป็นผลของการขยายปากมดลูกเพื่อการทำแท้ง

ที่กล่าวมาแล้วยังไม่รวมถึงผลกระทบด้านจิตใจและสังคมของหญิงผู้ทำแท้งโดยผิดกฎหมาย เช่น ความรู้สึกผิด อารมณ์ซึมเศร้า และการสูญเสียความภาคภูมิใจในตนเอง

ดังนั้นควรป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนา ดีกว่ามาแก้ปัญหาด้วยการทำแท้ง



Create Date : 10 พฤษภาคม 2551
Last Update : 10 พฤษภาคม 2551 12:29:05 น. 9 comments
Counter : 861 Pageviews.

 
ไม่เห็นด้วยกับการทำแท้งทุกกรณีค่ะ

ต่อให้กฎหมายออกมาสนับสนุนหรืออลุ่มอล่วยก็ตาม เพราะเป็นการฆ่าคนอยู่ดีแม้จะทำให้ดูมีเหตุผลที่ดีก็ตาม


โดย: Your Grace วันที่: 10 พฤษภาคม 2551 เวลา:13:23:13 น.  

 
เอ่อ เพราะอาชีพ เห็นเด็กทำแท้งเยอะ

ไม่ดีๆ


โดย: โยเกิตมะนาว วันที่: 10 พฤษภาคม 2551 เวลา:14:41:22 น.  

 


โดย: ริวคิ-mawin-maji-minic วันที่: 10 พฤษภาคม 2551 เวลา:15:53:59 น.  

 
เศร้าจังค่ะ เวลาได้ยินข่าวเรื่อง "ทำแท้ง" เพราะ เราเป็นแม่ลูก 1 เป็น single mom ด้วย แต่ไม่เคยคิดทำแท้งเลย ถึงแม้พ่อเด็กจะไม่รับผิดชอบ


โดย: วินนี่ย์หมีพูห์ วันที่: 10 พฤษภาคม 2551 เวลา:16:38:02 น.  

 
ตามเข้ามาอ่านค่ะ...หดหู่ใจ


โดย: รัตตมณี (kulratt ) วันที่: 10 พฤษภาคม 2551 เวลา:17:53:39 น.  

 
การทำแท้ง ถ้าทำเพราะความจำเป็นก็สมควร ครั้งเดียวก็เกินพอ แต่ถ้าทำแล้วทำอีกเพราะความมักมาก หรือไม่มีความยับยั้งชั่งใจ ...เมื่อมีโอกาสที่พร้อมจะมีบุตรก็คงหลุดลอย....แล้วตอนนั้นจะมานั่งเสียใจ...


โดย: แคท IP: 118.172.91.102 วันที่: 14 กันยายน 2551 เวลา:13:47:49 น.  

 
มันเป็นอะไรที่ไม่ใช่ธรรมชาติ
ไปฝืนมันมากเข้าก็เลยเกิดผลข้างเคียง
ตั้งครรภ์ไม่ได้อีกต่อไป


โดย: PUI IP: 110.49.128.195 วันที่: 28 พฤศจิกายน 2553 เวลา:23:28:30 น.  

 
ไม่ดีเลยครับ


โดย: เด็กดี IP: 49.228.134.120 วันที่: 26 ธันวาคม 2553 เวลา:20:19:31 น.  

 
ไม่ว่าครั้งเดียวก็เลวมากๆ


โดย: demon IP: 49.229.131.154 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:9:06:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แหม่มแหม่ม
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




คุณแม่ลูกสองที่ชอบอ่าน...เขียนไม่ค่อยเป็น....แต่ชอบบันทึกเรื่องราวไว้อ่าน
Friends' blogs
[Add แหม่มแหม่ม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.