น้ำติ๊บ ไม่หนาว..เท่าลำพัง แต่ก็..ลำเค็ญ

<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
31 กรกฏาคม 2554
 

ศูนย์ฝึกลูกช้าง อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง

ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย การแสดงช้าง มี 3 รอบ รอบ 10:00 น. รอบ 11:00 น. รอบ 13:30 น. บัตรเข้าชมดูการแสดงโชว์ช้าง คนละ 60 บาท ค่ารถบริการ คนละ 20 บาท



อาสาสมัครชาวต่างชาติ ขายอ่อยเลี้ยงช้าง มัดละ 20 บาท

การแสงโชว์ช้างแสนรู้

ช้างกำลังวาดภาพเขียนสีน้ำมัน

ภาพที่ช้างวาดเสร็จแล้ว ขายภาพละ 500 บาท



ช้างน้อยผู้น่ารักตัวนี้ ชื่อว่าน้องใบตอง

ตอนนี้ช้างกำลังพรมน้ำมนต์ให้พร

ช้างขอกินอ้อย เอางวงดึงจากมือแรงมากๆ ส่วนที่เหลือต้องเอาซ่อนหลังไว้



มีรถบริการรับ-ส่ง จากจุดขายตั๋วไปยังลานแสดงโชว์ช้าง


วงดนตรีช้าง
วงดนตรีออเคสตร้าช้างของศูนย์อนุรักช้างไทยเริ่มต้นจากคำถามง่ายๆ ที่ว่า
" ถ้าช้างสามารถวาดรูปที่สวยงามได้ แล้วทำไมช้างจะเล่นดนตรีไม่ได้ "
จึงมีการคิดหาคำตอบนี้ โดย Mr.Dave soldier และ Mr.Richard C Lair เป็นผูู้ริเริ่มดำเนินการออกแบบ
จัดทำและสั่งซื้อเครื่องดนตรีที่เหมาสมกับช้างขึ้น โดยได้มีการบันทึกเสียงวงดนตรีออเคสตร้าช้างครั้งแรกในปี พ.ศ.2540
ด้วยนักดนตรีช้างของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จำนวน 5 เชือก วงดนตรีออเคสตร้าช้างจึงได้ถูกบันทึกลงในนิตยสาร Guinness Book
ว่าเป็นวงดนตรีออเคสตร้าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย

โครงการศิลปินเพื่อช้าง
โครงการศิลปินเพื่อช้าง ก่อนตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2544 โดย Mr.Richard C Lair ที่ปรึกษาองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
ได้ทำการฝึกสอนให้ช้างวาดรูปและปรากฎว่า ช้างสามารถวาดรูปได้ดีมาก จึงได้นำรูปวาดฝีมือช้างมาจัดจำหน่ายในแกลอรี่ช้าง
เพื่อนำรายได้มาเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ในโครงการ เช่น ค่าอาหาร ค่ายารักษาโรค และสนับสนุนกิจกรรมอนุรักษ์ช้างไทย

ปุ๋ยมููลช้าง
มีส่วนผสมที่สำคัณ คือ มููลช้าง, ตะกรันอ้อย, หินฟอสเฟต, โดโลไมท์, และมูลสัตว์ ขั้นตอนการหมักจะหมักรวมเป็นชั้นๆ
แล้วราดด้วยน้ำจุลินทรีย์และน้ำอีเอ็มหลังจากหมักและกลับกองใช้ระยะเวลา 3-4 เดือน แล้วตรวจสอบ คุณภาพ และผสมเซื่อราและแบคทีเรียรวมทั้งฮอร์โมน

กระดาษจากมูลช้าง
เป็นการแปรสภาพจากมูลช้างที่ผ่านระบบการย่อยอาหารของช้าง มีกากอาหารจำพวกอ้อย, หญ้า, และไบไม้ มาผ่านกระบวนการผลิต
กระดาษ และนำมาเพิ่มสีสันลวดลายตามต้องการ

โครงการพ่อแม่อุปถัมภ์ช้าง
จัดตั้งขึ้นเนื่องจากประชาชนมีความต้องการที่จะขอรับเป็นผู้อุปถัมภ์ช้าง ซื่งปัจจุบันนี้สถาบันฯ ได้ดูแลช้างจำนวนกว่า 90 เชือก
ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกเป็นช้างแรกเกิดถึงอายุประมาณ 60 ปี ที่มีสุขภาพแข็งแรง เลี้ยงดูอยู่ที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
กลุ่มที่สองเป็นช้างชรา ช้างเจ็บป่วย ช้างดุร้าย ช้างพิการ ช้างบริจาค รวมถึงช้างของกลางที่ถูกจับกุมมาอยู่ระหว่างการดำเนินคดี
ช้างเหล่านี้ถูกเลี้ยงดูอยู่ที่ศูนย์บริบาลช้าง บ้านปางหละ อ.งาว จ.ลำปาง ผู้สนใจจะเข้าร่วมโครงการพ่อแม่อุปถัมภ์ช้างสามารถบริจาคเงินช่วยเหลือช้างได้เป็น
รายเดือน ตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไปต่อเชือกเป็นประจำทุกเดือน หรือเป็นรายปีๆ ละ 6000 บาท ขึ้นไปต่อเชือก

การศึกษาการเคลื่อนที่ของช้าง
นักวิทยาศาสตร์คิดว่าช้างไม่สามารถวิ่งได้แต่จะเดินไปได้อย่างช้าๆ เท่านั้น เพราะว่าลักษณะการเหยียบของเท้าช้าง
ไม่ได้เปลี่ยนไปตามความเร็ว จึงได้ทดลองวัดค่าความเร็วของช้างที่วิ่งได้ 16 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2544 ทีมงานของ Dr.John Hutchimson ได้ร่วมกับศูนย์อนุรักษ์ ช้างไทยทดสอบวัดค่าความเร็วของช้างที่วิ่ง
โดยใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของช้าง ผลการทดสอบสรุปได้ ว่าช้างวิ่งได้เร็วถึง 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ซึ่งถือว่าเร็วกว่าสถิติเดิม 50 เปอร์เซนต์ ( และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ทางนิตยสารด้านวิทยาศาสตร์ ในปี พ.ศ.2553
จากนั้นในปี พ.ศ.2554 ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ได้ข้อพิสูจน์์ว่านอกจากลิงชิมแปนซีแล้ว ช้างก็สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมให้บรรลุเป้าหมายได้ )

โครงการสัตวแพทย์สันจร
เป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ที่ทรงมอบหมายให้สถาบันคชบาลแห่งชาติฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
จัดสัตวแพทย์ออกไปตรวจรักษาตามสถานที่ต่างๆ ที่ได้รับการร้องขอในพื้นที่ห่างไกล รักษาช้างเบื้องต้น สำรวจและเฝ้าระวังโรคสำคัณในช้าง
ประสานความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ให้คำแนะนำและมอบยาที่จำเป็นแก่ช้างป่วยในทุกจังหวัด โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

โรงพยาบาลช้าง
ให้การรักษาพยาบาลช้างเจ็บป่วยทั่วประเทศ โดยไม่คืดค่าใช้จ่ายไดๆ ทั้งสิ้น ปัจจุบันโรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จังหวัดลำปาง
ได้ขยายงานให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น โดยได้เปิดโรงพยาบาลช้าง สาขาภาคใต้ จังหวัดกระบี่ มีสถานที่ตั้ง ณ สวนป่า คลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่
เป็นที่ทำการตรวจวินิจฉฉัย ดูแลรักษาช้างป่วย ที่มีความจำเป็นต้องการเข้าดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องจากสัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่ในเขตภาคใต้
เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ เวลา 08.30 - 15.30 น.

โครงการผสมเทียมช้าง
ทีมงานสัตวแพทย์ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยร่วมกับสัตวแพทย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสนและสัตวแพทย์จากมหาวิทยาลัย
เชียงใหม่ ได้ร่วมกันทำโครงการผสมเทียมช้างด้วยน้ำเชื้อช้างสดจากพ่อช้างชื่อพลายจาปาตีผสมกับแม่ช้างชื่อพังขอดและผลที่ได้รับคือ
ลูกช้างเพศผู้ มีชื่อเล่นว่า คุณพลาย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อลููกช้างพลายที่เกิดจากการ
ผสมเทียม ด้วยน้ำเชื้อช้างสดเชือกแรกของประเทศ และในเอเชียว่า " พลายปฐมสมภพ " ซึ่งปัจจุบันมีอายุ 4 ปี ( พ.ศ.2554 )
เป็นช้างแสดงขวัญใจนักท่องเที่ยวของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย



Create Date : 31 กรกฎาคม 2554
Last Update : 13 ธันวาคม 2554 11:52:25 น. 0 comments
Counter : 2572 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

aree2525
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add aree2525's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com