Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2552
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
17 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
Beleiving and Seeing are both oftern wrong

Beleiving and Seeing are both often wrong

บทความวันนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักการบริหารและการจัดการ แรงบันดาลใจมาจากนักบริหารการสงครามมืออาชีพคนหนึ่ง ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันนี้ท่าน Retire แล้ว คือ Robert S. Mcnamara ภาพยนตร์สารคดี ที่สร้างจากเรื่องราวของท่านชื่อเรื่อง A Fog Of War ได้รับรางวัล OSCAR จำไม่ได้แล้วปีอะไร ในยุคหนึ่งชื่อของ Mcnamara ได้รับการยกย่องอย่างสูงในฐานะที่เป็นผู้ควบคุมนโยบายด้านการทหารของสหรัฐอเมริกา เป็นที่รังเกียจสำหรับผู้ที่ต่อต้านสงครามในยุคนั้น ท่านเป็นรัฐมนตรีกลาโหมในรัฐบาลของ John F. Kennedy และ Lindon B. Johnson ช่วงราวๆ ทศวรรษที่ 60 มีบทบาทสูงมากในรัฐบาลอเมริกันและเป็นผู้มีส่วนร่วมด้วยในการวางแผนกดดันให้สหภาพโซเวียตในยุคสงครามเย็นยินยอมถอนจรวดติดหัวรบนิวเคลียร์ออกจากคิวบา พวกเราบางคนยังไม่ถือกำเนิดเสียด้วยซ้ำ ถ้าเกิดสงครามนิวเคลียร์ขึ้นเสีย ป่านนี้อาจนั่งขุดดินหาของป่ากินอยู่ที่ไหนก็เป็นไปได้ เหตุการณ์ตอนนั้นต้องบอกว่าโลกเราเฉียดสงครามนิวเคลียร์จริงๆ เพราะอเมริการะดมทหารและสั่งเตรียมพร้อมถึงขั้นขีดแดงแล้ว ถ้าเกมการเมืองระหว่างประเทศในช่วงนั้น เดินผิดพลาดแม้ซักครึ่งตา แล้วมีใครขี้ตกใจสั่งกดปุ่มยิงก่อน ประวัติศาสตร์คงต้องเขียนกันใหม่หมดแน่นอน

นอกจากนี้ Mcnamara ยังมีส่วนในการวางแผนและออกแบบการทำสงครามให้อเมริกาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เขาช่วยในการออกแบบการทิ้งระเบิดโดยใช้ป้อมบิน B29 ทั้งในยุโรปและในญี่ปุ่น และที่สำคัญคือมีส่วนร่วมอยู่ในการทิ้งระเบิดปรมาณูทั้ง 2 ลูกด้วย ถ้าดูสารคดีเรื่องนี้ จะมองเห็นอีกด้านหนึ่งของสงครามว่า ที่จริงแล้วมันก็ไม่ต่างจากการวางแผนธุรกิจขนาดใหญ่นั่นเอง เพราะมีการวัดประสิทธิภาพในการทิ้งระเบิดอย่างละเอียด มีการทำสถิติวิเคราะห์ข้อมูลและตัวเลขอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีผลต่อการวางแผนและการออกแบบในการรบ เค้าวัดกันละเอียดถึงขั้นว่า การทิ้งระเบิดที่ระดับความสูงต่างๆ ให้ประสิทธิภาพในการทำลายพื้นที่ต่างกันอย่างไรโดยใช้หลักการของ Proportional ดังนั้น ผมไม่สงสัยเลยว่า ทำไมถึงมีชาวต่างชาติมากมาย (รวมทั้งคนไทย และพวกเราหลายๆ คนด้วย) นิยมไปเรียนวิชาการบริหาร หรือ MBA ในสหรัฐอเมริกา

เรื่องที่จะเขียนในวันนี้ มีที่มาจากการที่อเมริกาตัดสินใจส่งทหารเข้ารบในสงครามเวียดนาม และ ต้องประสบกับความพ่ายแพ้อย่างยับเยินในที่สุด ทหารอเมริกันตายในสงครามเวียดนามราว 6.5 หมื่นคน ฝั่งผู้ชนะสงคราม เวียดนามตายไปประมาณ 4 ล้านคน แมคนามาร่า ในวัย 80 ปี มองย้อนกลับไปและวิเคราะห์อย่างแหลมคมว่าอเมริกาพ่ายแพ้เพราะ Beleiving and Seeing (เชื่อก่อนแล้วค่อยไปดู) หรือว่ากันตามหลักพุทธศาสนาเพื่อให้คนไทยเข้าใจง่ายๆ คือหลักกาลามสูตร คือ อย่ามองเห็นในสิ่งที่เชื่อ อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น อเมริกาเข้าร่วมรบในสงครามเวียดนาม เพราะมีความเชื่อในทฤษฎีโดมิโน และมองเห็นการรุกคืบหน้าของคอมมิวนิสม์ในเกาหลี ต่อมาก็ลาว กัมพูชา จึงเชื่อว่าถ้าปล่อยให้เวียดนามเหนือสามารถรวมประเทศยึดเวียดนามใต้ได้ โดมิโนตัวต่อไปคือ ประเทศไทยจะล้มและจะลุกลามไปจนไม่สามารถควบคุมได้ในที่สุด เมื่อเชื่อตามนั้น ก็ตัดสินใจส่งกำลังทหารและความช่วยเหลือเข้าร่วมรบในเวียดนาม ในที่สุดอเมริกาพ่ายแพ้ในสงครามคราวนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า ทหารอเมริกันคิดว่ากำลังรบกับคอมมิวนิสม์ ซึ่งเป็นลัทธิความเชื่อทางการเมือง ที่ไม่มีตัวตน แตกต่างจากทหารเวียดกง ที่รบเพื่อประเทศชาติ รบเพื่อการรวมประเทศ และเพื่อขับไล่ต่างชาติ ทหารอเมริกันส่วนใหญ่เป็นทหารอาสาและทหารเกณฑ์ มาจากประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก เพิ่งชนะสงครามโลก และไม่คิดว่าจะต้องมาเจอกับการต่อต้านที่รุนแรงและเข้มแข็งบวกกับอุปสรรคของเมืองร้อนชื้นอย่างเวียดนาม ที่สำคัญที่สุดคือแรงบันดาลใจต่างกัน รบกันยังไงก็ต้องแพ้อยู่ดี

เมื่อแมคนามาร่า ในวัย 80 ปี ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เดินทางไปเวียตนามเพื่อรื้อฟื้นความสัมพันธ์ในปี 1995 หลังจากที่อเมริกากับเวียดนามต่อสายสัมพันธ์ทางการทูตกันใหม่ ได้มีโอกาสพบกับอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนาม คู่สงครามที่เคยอยู่ฝ่ายตรงกันข้าม มีโอกาสนั่งโต๊ะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน จึงได้รับทราบความจริงว่าชาวเวียดนามเข้าใจว่าอเมริกาจะเข้ามาแทนที่ฝรั่งเศส ดังนั้นจึงต่อสู้เพื่อขับไล่ผู้ยึดครอง (หรือจักรวรรดินิยมแบบฝรั่งเศส) ถึงแม้ว่าจะเหลือทหารคนสุดท้ายก็ตาม แมคนามาร่าเข้าใจและได้ข้อสรุปมาเป็นบทเรียนในที่สุดว่า อเมริกาแพ้สงครามเวียดนามเพราะไม่รู้เขารู้เรา ไม่เข้าใจความคิดของชาวเวียดนามและเรียนรู้ว่าศัตรูกำลังคิดอะไรอยู่ ถ้าสามารถวิเคราะห์พื้นฐานสำคัญนี้ได้อย่างถูกต้อง อเมริกาคงไม่แพ้สงครามและอาจตัดสินใจไม่ส่งทหารเข้าเวียดนาม ต่างจากวิกฤติการณ์นิวเคลียร์คิวบา ที่หน่วยข่าวกรองและผู้นำระดับสูงของรัฐบาลอเมริกัน รู้ไส้รู้พุงของผู้นำรัสเซียในยุคนั้น (นิกิต้า ครุสชอฟ) เป็นอย่างดี จึงสามารถรับมือกับสถานการณ์และเอาชนะได้ในที่สุด โดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อชีวิตทหารแม้แต่คนเดียว

เรื่องที่เล่ามาให้ฟังในวันนี้ เป็นประวัติศาสตร์มีประโยชน์มาก เราสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์และความผิดพลาดในอดีต ยิ่งเป็นเหตุการณ์ใหญ่ระดับโลกขนาดนี้ ผมว่าหาได้ยากที่จะได้รับรู้ถึงแง่มุมต่างๆ อย่างละเอียด ได้รู้ว่าทำไมถึงตัดสินใจใช้กำลังแบบนั้น แล้วเราควรวางแนวคิดและวิธีตรวจสอบก่อนจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายได้อย่างไร นอกจากนี้มันยังมีประโยชน์อย่างมากในการมองสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน ผมอยากให้ลองเทียบเคียงความรู้สึก ในขณะนั้นดูว่าเหมือนตอนนี้หรือไม่ ในราวปี 70-75 พวกเราส่วนใหญ่ยังเป็นเด็กอยู่ บางคนอาจจำได้คร่าวๆ บางคนลางๆ แต่คนที่สนใจศึกษาหาข้อมูลต่อในภายหลังจะได้เปรียบมาก เพราะเราอยู่ในเหตุการณ์ ถึงจะยังเด็กอยู่ก็ตาม คงจำได้ข่าวเรื่องคอมมิวนิสม์เป็นเหตุการณ์ใหญ่มาก ดูเหมือนรัฐบาลพยายามเขียนภาพคอมมิวนิสม์ให้น่ากลัวเกินความเป็นจริง โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ผมยังจำได้ว่าทั้งเกลียดทั้งกลัวคอมมิวนิสม์เวียดนาม ยิ่งมีอยู่ช่วงหนึ่งที่เกิดความขัดแย้ง (จำไม่ได้แล้ว) ด้านชายแดนกัมพูชา มีข่าวว่ากองกำลังเวียดนามเข้าประชิดชายแดนด้าน อ.ตาพระยา ยิ่งน่ากลัวกันไปใหญ่ ถ้าเป็นสมัยนี้นะ คงเกิดกลียุค มีการตุนข้าวสารอาหารแห้ง บางคนอาจเลยเถิดถึงขั้นขายทรัพย์สินอพยพไปอยู่ในประเทศตะวันตกกัน ก็ถือว่าเป็นโชคดีที่บ้านเราสามารถผ่านเหตุการณ์ดังกล่าวได้โดยไม่มีสงคราม
***ลองศึกษาดูประวัติศาสตร์ดูสำหรับผมเห็นว่าโอกาสที่กองทัพเวียดนามจะรุกเข้าชายแดนไทยในเวลานั้น เป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิดน้อย เพราะวัดส่วนได้ส่วนเสียแล้ว คงไม่น่าจะคุ้ม อีกอย่างการเดินเกมการเมืองระหว่างประเทศในขณะนั้น รัฐบาลหม่อมคึกฤทธิ์ ทำได้ดีมาก ท่านได้ไปเยือนจีนเป็นครั้งแรกในราวปี 2521 ถ้าจำไม่ผิด มีผลอย่างสูงต่อดุลอำนาจทางการเมืองในภูมิภาค เพราะนั่นหมายถึงพี่ใหญ่ให้การยอมรับประเทศไทยแล้ว น้องเล็กอย่างเวียดนามจะมารังแก พี่ไทย พี่ใหญ่คงไม่ยอม ยังไงยังงั้น

ในช่วงที่นั่งคุยกัน รัฐมนตรีเวียดนามคุยกับแมคนามาร่าว่า “ นี่แน่ะ คุณไม่เคยศึกษาประวัติศาสตร์เลยหรือว่า เวียดนามไม่เคยยินยอมที่จะตกอยู่ภายใต้ (บาทา) ของชาวต่างชาติ เรารบกับจีนมาเป็นพันๆ ปี แล้วจะยอมเป็นเบี้ยล่างให้จีนหรืออย่างรัสเซียใช้ในสงครามเย็นได้อย่างไร เรารบเพราะเหตุผลขอเราเอง เราต้องการมีอิสรภาพมากกว่า ...ซึ่งมันแตกต่างจากความเชื่อของโลกเสรีในยุคนั้นอย่างสิ้นเชิง

นี่เป็นเรื่องราวแบบ Geopolitical มาเล่าให้อ่านกันสนุกๆ อย่าเอาไปคิดให้หนักสมอง เครียดมากเดี๋ยวจะมาหาว่านายนรภพเอาเรื่องหนักๆ มาเล่าให้ฟังทำไม อ้าว แต่ถ้าทนอ่านได้จนถึงตอนนี้ ผมว่าเกิดประโยชน์แก่ท่านแล้วนะ ใครไม่ทนอ่านก็ถือว่าชวดไปแล้วกัน



Create Date : 17 กรกฎาคม 2552
Last Update : 20 กรกฎาคม 2552 11:56:23 น. 3 comments
Counter : 339 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆ ค่ะ


โดย: Elbereth วันที่: 23 กรกฎาคม 2552 เวลา:9:43:00 น.  

 
Thank you so much


โดย: Jiraphan IP: 69.67.114.232 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2552 เวลา:3:32:22 น.  

 
whenever you felt that your heart is going to breakdown
feel it with the love of God ask for his and then you will
find out what is the truth love in Your life as he does for me!

GOD always forgive your mistake
the one that you cant even forget,
he always does it and always being with us
to help and blesss us for us whose heart is full of him


โดย: da IP: 124.122.247.144 วันที่: 18 เมษายน 2553 เวลา:22:14:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

norapob
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เกิด กทม.ใช้ชีวิตเสี้ยวหนึ่งในวัยเด็กอยู่กับอาม่าในตลาดหัวรอ จ.อยุธยา เรียนในกทม.ตลอด มีชีวิตที่ค่อนข่างเรียบง่าย ค่อนข้าง progressed conservative ออกกลางๆ แต่มองโลกเป็นสีเทาและไม่นิยมความรุนแรง ชอบเขียนหนังสือ

ตอนนี้รู้แล้วว่าเกิดมาก็เพื่อเรียนรู้กายใจของตัวเองและยอมรับแล้วว่าชีวิตนี้ไม่มีอะไรแน่นอน
Friends' blogs
[Add norapob's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.