space
space
space
<<
มกราคม 2562
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
space
space
24 มกราคม 2562
space
space
space

อย่างไร จึงจะเรียกว่า กระทำโดยประมาท



หลายคนที่เข้ามาอ่านคอมเม้นท์นี้คงจะต้องการทราบว่าอย่างไร เรียกว่า " ประมาท " แล้วอย่างไรจึงเรียกว่า "ประมาทฝ่ายเดียว" แน่นอนละครับเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว ต่างฝ่ายต่างก็ต้องยืนยันตนเองว่าฝ่ายตนเองเป็นฝ่ายที่ถูกต้อง ขับรถมาถูกเลนแล้ว อีกฝ่ายขับรถมาชนรถของตนเองเองคำกล่าวอ้างเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ได้ยินกันบ่อยครั้ง

เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า คำว่าประมาทนั้น มีคำจำกัดความว่าอย่างไรซึ่งตามกฎหมายแล้ว มีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรอยู่ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59วรรค 4 บัญญัติว่า กระทำโดยประมาทได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนาแต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่



เราจะมาแยกคำในกฎหมายดังกล่าวออกเป็นข้อๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจดังนี้

คำว่า กระทำผิดโดยมิใช่โดยเจตนา นั้นหมายความว่า ผู้ที่ขับรถของตนเองไปชนรถของผู้อื่น จะต้องไม่มีความคิดท่ีจะขับรถของตนเองไปชนกับรถของผู้อื่น อย่างนี้ จึงจะหมายความว่า ไม่มีเจตนาที่จะกระทำต่อผู้อื่นหากมีความต้องการที่จะขับรถของตนไปชนกับรถของผู้อื่นแล้ว นั้น เรียกว่าเป็นการกระทำโดยเจตนา ส่วนจะมีความผิดฐานใดนั้นของให้ท่านผู้อ่านติดตามต่อไปในบทความหน้า

คำว่ากระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง นั้น ตามกฎหมายแล้ว ได้แบ่งการพิจารณาคำว่าปราศจากความระมัดระวังไว้ ๓ คำ คือ ภาวะ วิสัย และพฤติการณ์

มาพิจารณาคำว่า"ภาวะ" กันเลย ภาวะนั้น หมายความว่า เป็นกำลังทำอะไรอยู่ในตอนนั้น เช่นกำลังขับรถ กำลังกินข้าว กำลังอ่านหนังสือ กำลังเล่นเกมส์ กำลังดูทีวี เป็นต้นสิ่งเหล่านี้ เรียก ภาวะ

ต่อมาเป็นคำว่า"วิสัย" หมายความว่า คนนั้นๆ กำลังทำในสิ่งที่เป็นภาวะ เช่นขับรถก็ใช้มือขับสองข้าง ขับรถจะกลับก็ต้องมองกระจก เป็นต้น

ส่วนคำว่า"พฤติการณ์" หมายความว่า เป็นกระทำของคนส่วนใหญ่ว่า ในเหตุการณ์นั้นๆผู้คนส่วนใหญ่ที่ทำเช่นนั้น เค้าทำกันอย่างไรให้ปลอดภัย

เมื่อเข้าใจแล้วว่าคำว่าประมาทมาจากการพิจารณา ๓ คำเป็นหลัก คือ ภาวะ วิสัย และพฤติการณ์

ดังนั้น การจะดูว่า ประมาทหรือไม่ จะต้องดูที่ ภาวะ วิสัย และพฤติการณ์ว่า ในเหตุนั้น ควรทำเช่นไร หากเป็นการกระทำที่ควรทำแล้วย่อมไม่เป็นการกระทำโดยประมาท

มีคำพิพากษาศาลฎีกาได้ตัดสินเอาไว้ คือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5082/2533

จ.ขับรถอยู่ในทางเดินรถเห็นชามกะละมังหล่น ขวางทางอยู่จึงชะลอความเร็วและหยุดรถเพื่อไม่ให้ชนชามกะละมังจำเลยขับรถแล่นตามหลังมาชนท้ายรถของ จ. เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่า จ.มีส่วนประมาทร่วมด้วยและถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อเพราะผู้ที่ขับรถตามหลังรถคันอื่นมีหน้าที่ต้องระมัดระวังไม่ให้รถแล่นไปชนท้ายรถคันที่แล่นอยู่ข้างหน้าโดยต้องทิ้งระยะให้ห่างพอสมควรที่จะชะลอความเร็วหรือหยุดรถได้ทันท่วงทีเมื่อรถคันหน้าได้ชะลอความเร็วหรือต้องหยุดรถไม่ว่ากรณีใด ๆโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยและรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดโจทก์ชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยเท่านั้นหามีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดไม่และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

 เครดิตบทความจาก ทนายเชียงใหม่

https://www.นพนภัสทนายความเชียงใหม่.com/




 

Create Date : 24 มกราคม 2562
0 comments
Last Update : 24 มกราคม 2562 10:10:31 น.
Counter : 613 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

สมาชิกหมายเลข 4790925
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 4790925's blog to your web]
space
space
space
space
space