การบริโภคน้ำตาลมากที่ซ่อนอยู่ในเครื่องดื่ม ขนมหวาน หรือจากน้ำตาลโดยตรง เป็นต้นเหตุของฟันผุ เนื่องจากน้ำตาลถูกเปลี่ยนเป็นกรด โดยแบคทีเรียในปาก ทำให้เกิดการกัดกร่อนของเคลือบฟัน
และที่สำคัญ การบริโภคน้ำตาลปริมาณสูงเป็นประจำ นำไปสู่การเพิ่มของน้ำหนักตัวและอ้วนในที่สุด เนื่องจากเป็นพลังงานส่วนเกินที่เก็บสะสมไว้ได้ในร่างกายในรูปของไขมัน ภาวะอ้วนเป็นการเริ่มต้น ของปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ตามมา ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
ควรการเลือกนมหรืออาหารต่างๆ และปรุงอาหารที่ไม่ต้องมีการเติมน้ำตาล น้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่มีสารอาหารอื่น จึงถือเป็นพลังงานว่างเปล่า (Empty calorie) เราได้รับแหล่งอาหารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนจากข้าว-แป้ง และได้รับน้ำตาลธรรมชาติจากผลไม้เป็นแหล่งพลังงานและวิตามินแร่ธาตุ ซึ่งมีสารอาหารอื่นที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นประจำอยู่แล้ว
เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน แนะนำปริมาณน้ำตาลสำหรับประชากรโดยทั่วไป ดังนี้
1. ผู้ใหญ่ ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม ต่อวัน
2. เด็กเล็ก ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 4 ช้อนชา หรือ 16 กรัม ต่อวัน
ทั้งนี้ได้มีการเผื่อไว้สำหรับการได้รับน้ำตาลจากอาหารประเภทอื่นแล้ว โดยไม่ทราบปริมาณ
โปรแกรมคำนวณน้ำตาลจากกรัมเป็นจำนวนช้อน
เราสามารถคำนวณปริมาณน้ำตาลได้ในการบริโภคของเราได้เองด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้
- ปริมาณน้ำตาล 1 ช้อนชามี 4 กรัม ให้เราอ่านฉลากโภชนาการ เช่น ถ้าฉลากระบุน้ำตาล 12 กรัม เท่ากับมีน้ำตาล 3 ช้อนชา
- อาหารบางชนิดไม่มีข้อมูลโภชนาการบอกเป็นค่า % เช่น น้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มอื่นๆ ถ้าระบุว่ามีน้ำตาล 10% หมายความว่า 100 มิลลิลิตร มีน้ำตาล 10 กรัม เมื่อดื่มเครื่องดื่ม 1 แก้ว (200 มล.) จะมีน้ำตาล 20 กรัม หรือเท่ากับ 5 ช้อนชา แค่นี้ก็สามารถคำนวณน้ำตาลในแต่ละวันที่เราจะรับประทานได้แล้ว
ก่อนซื้อเครื่องดื่ม อย่าลืม! พลิกดูฉลาก อ่านส่วนผสม คำนวณปริมาณน้ำตาลกันสักนิ๊ดนุง ตัวเลขที่ได้ อาจทำให้เพื่อนๆ วางมันลง แล้วไปหยิบขวดข้างๆ ที่มีน้ำตาลน้อยกว่า หรือเปลี่ยนใจไปหยิบน้ำเปล่าแทน เดินสวยๆ ออกจากร้านสะดวกซื้อ ก็เป็นได้ อิอิ
หนูผึ้ง
//www.fearfatclub.com/2014/08/sweet-danger/