"สัตว์เลี้ยง" มี "น้ำหนัก"เกินหรือไม่
หลาย ๆ ท่านคงเคยประสบปัญหา สัตว์เลี้ยงที่กำลังเลี้ยงอยู่เริ่มมีอาการเริ่มท้วม ๆ หรือบางรายเริ่มอ้วน จนทำให้สัตว์เลี้ยงเหล่านั้นเริ่มมีอาการเดินลำบากหรือบางรายเริ่มมีโรคที่ไม่พึงประสงค์ตามมา วันนี้เรามีเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับความอ้วนของสัตว์เลี้ยง และการรับมือกับโรคดังกล่าวให้มากยิ่งขึ้นค่ะ

โรคอ้วน คืออะไร ?

โรคอ้วนคือ ภาวะที่มีสัดส่วนไขมันในร่างกายมากกว่ากล้ามเนื้อ สัตว์เลี้ยงหลายตัวมีน้ำหนักเกินที่ควรจะเป็น ซึ่งเจ้าของส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า ความอ้วน (น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ 20%) หลายท่านคงมีคำถามในใจว่าความอ้วนนี้ถือเป็นโรคด้วยหรือ ?

แต่จริง ๆ แล้วความอ้วนนี้ถือว่าเป็นโรคที่สำคัญและอันตรายมากเพราะถ้าสัตว์ เลี้ยงเกิดโรคอ้วนแล้ว โรคที่ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ จะมาจนมากมายคาดไม่ถึงเลยทีเดียว เช่น โรคหัวใจ โรคข้อและกระดูก โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันอุดตันในส้นเลือด โรคผิวหนัง และอาจมีผลข้างเคียงจากการวางยาซึม ยาสลบในการผ่าตัด

สัตว์เลี้ยงของคุณมีน้ำหนักเกินหรือไม่ ?

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์เลี้ยงมีน้ำหนักเกินแล้ว วันนี้คุณหมอจะมาบอกเล่าวิธีการตรวจที่เจ้าของสามารถตรวจได้ด้วยตนเอง การตรวจทำได้โดยใช้นิ้วหัวแม่มือลูบไปมาบริเวณกลางหลัง ใช้นิ้วชี้จับซี่โครง

ถ้าจับซี่โครงได้ง่าย ผ่านชั้นกล้ามเนื้อบาง แสดงว่าปกติ

ถ้าจับซี่โครงได้ลำบาก มีชั้นไขมันหนา นั้นแสดงว่าสัตว์เลี้ยงของท่านมีน้ำหนักมากแล้ว

แต่ถ้าไม่สามารถจับกระดูกซี่โครงได้บริเวณดังกล่าวถูกปกคลุมไปด้วยไขมัน แสดงว่าสัตว์เลี้ยงของท่านอ้วน แมวมักสะสมไขมันตามท้อง ใบหน้า ส่วนสุนัขจะสะสมมากที่อกและท้อง

ปัจจัยที่โน้มนำให้เกิดโรคอ้วน

เจ้าของให้อาหารมากเกินไปไม่จำกัด

ให้อาหารลุกสุนัข แมวมากเกินทำให้สร้างเซลล์ไขมันมากซึ่งเซลล์ดังกล่าวจะอยู่ตลอดไป

สัตว์เลี้ยงกินเยอะมากทั้งนี้เกิดจากอาหารสำเร็จรูปส่วนใหญ่มักมีแร่ธาตุ ไขมันมาก เพื่อปรุงรสให้อร่อยมากขึ้น และสารอาหารดังกล่าวทำให้เกิดดารสะสมในร่างกาย

พฤติกรรมการห้อาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เจ้าของให้อาหารปรุงเองหรือเศษอาหาร

สัตว์มีนิสัยขี้เซาชอบนอน ออกกำลังกายน้อย

สัตว์อายุมาก จะทำให้ความกระตือรือร้นน้อยลง

สัตว์เพศเมียมักอ้วนกว่าเพศผู้

สัตว์ที่ทำหมันมักอ้วนได้ง่าย

สัตว์ที่เป็นโรคหรือผิดปกติของฮอร์โมน เช่นไทรอยด์ จะทำให้อ้วนง่าย

ผลจากการมีน้ำหนักเกิน

โรคข้ออักเสบ

โรคหัวใจ

ความดันโลหิตสูง

โรคผิวหนัง

หายใจลำบาก

โรคเบาหวาน

โรคตับ

มีความเสี่ยงในการวางยาสลบ

การควบคุมโรคอ้วน

หลักการ คือ ลดการให้สารอาหารพลังงานและสลายอาหารดังกล่าวมากขึ้น โดยกินกากใยอาหารมากขึ้น กินพวกไขมัน และอาหารพลังงานสูงน้อย ออกกำลังกายมากขึ้น หลังจากที่ลดน้ำหนักตัวแล้ว ควรตรวจเช็คสูตรอาหารเพื่อเป็นการโรคอ้วนต่อไป

การจัดการกับความอ้วน

กินอาหารพลังงาน-ไขมันลดลง

แบ่งให้อาหารสัตว์เป็นวันละ 3-4 มื้อ

ให้สัตว์อยู่นอกบ้านขณะปรุงอาหารหรือกำลังกินอาหาร

ห้ามหยิบยื่นอาหารให้สัตว์เลี้ยง

ออกกำลังกายบ่อย ๆ

เช็คข้อมูลน้ำหนักเรื่อยๆโดยชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์ ขณะควบคุมน้ำหนัก เพื่อดูผลการจัดการ

กินอาหารควบคุมน้ำหนัก ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์


เป็นอย่างไรบ้างคะ...ได้ทำความรู้จักกับโรคอ้วนกันบ้างแล้ว น่ากลัวกว่าที่คิดมากใช่ไหมคะ แต่อย่างไรก็ตามทุกท่านก็สามารถที่จะป้องกันและควบคุมสัตว์เลี้ยงแสนรักไม่ให้เป็นโรคอ้วนได้นะคะ เพื่อให้พวกเขาอยู่กับเราไปได้นานและมีความสุขมากที่สุด




ที่มาkapook.com



Create Date : 02 ตุลาคม 2553
Last Update : 2 ตุลาคม 2553 13:41:18 น.
Counter : 802 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
ตุลาคม 2553

 
 
 
 
 
1
3
4
5
7
8
9
10
12
13
16
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
30
31
 
 
All Blog