การกินหวานอย่างพอดี
ดร.เนตรนภิส วัฒนสุชาติ นักวิจัย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า

"สังคมไทยในปัจจุบัน ถือเป็นสังคมแห่งการบริโภค ซึ่งมีผู้คนในสังคมจำนวนไม่น้อยที่ยังยึดติดกับค่านิยมในการบริโภคแบบผิดๆ อยู่ ส่งผลให้เกิดโรคร้ายตามมามากมาย เช่น โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น ซึ่งโรคร้ายเหล่านี้ ปัจจุบันไม่ได้เป็นกันเฉพาะแต่วัยผู้ใหญ่แล้ว วัยเด็กก็มีโอกาส และความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคร้ายก็มากขึ้นด้วย"


"ดังนั้น ทุกคนต้องสร้างนิสัยการกินใหม่ให้ถูกต้อง โดยต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งถือเป็นวัยที่ต้องการสารอาหารที่มีคุณค่าในการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง โดยที่ผ่านมาพบว่า เด็กไทยส่วนใหญ่ยังนิยมบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบในปริมาณที่สูงเกินความจำเป็น ซึ่งหากรู้จักบริหารความหวาน คือ การรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่พอเหมาะไม่มากและไม่น้อยจนเกินไปก็จะเกิดประโยชน์กับร่างกาย"

“การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุลเกินปริมาณความต้องการของร่างกายย่อมส่งผลร้ายต่อสุขภาพมากมาย โดยเฉพาะผู้บริโภคที่เป็นเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นวัยที่ต้องการสารอาหารที่มีคุณค่า เพื่อพัฒนาการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง” ดร.เนตรนภิส กล่าว

นอกจากนี้ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังระบุว่า ในแต่ละวันร่างกายควรได้รับน้ำตาลในปริมาณ 10% ของปริมาณพลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน...

ตัวอย่างเช่น น้องๆ วัยรุ่น ควรได้รับพลังงานวันละประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี่ หรือเมื่อเทียบกับน้ำตาลที่เติมในอาหารร้อยละ 10 จะเทียบเท่ากับน้ำตาลทราย 50 กรัม หรือประมาณ 10 ช้อนชานั่นเองค่ะ แต่ก็ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนด้วยนะ เช่นถ้าเป็นคนที่ออกกำลังกายมากๆ หรือใช้แรงงานมากๆ ในแต่ละวัน และไม่เป็นโรคเบาหวาน ก็สามารถรับประทานน้ำตาลมากกว่าร้อยละ 10 ของพลังงานได้ค่ะ





ข้อมูลจาก //www.dek-d.com



Create Date : 07 สิงหาคม 2552
Last Update : 7 สิงหาคม 2552 3:20:45 น.
Counter : 826 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
สิงหาคม 2552

 
 
 
 
 
 
1
2
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog