วิธีเลี้ยง "สุนัข"อ้วน

เจ้าของควรจำไว้เสมอว่า ความอ้วนนั้นจัดเป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา

ส่วนสำคัญที่สุดในการลดน้ำหนักให้กับสุนัข ก็คือ เจ้าของกว่า 50% ของสุนัขอ้วนลดน้ำหนักไม่สำเร็จ เพราะเจ้าของบางคนเห็นสุนัขมาขออาหารหรือขนมก็อดให้ไม่ได้ จึงทำให้การลดน้ำหนักไม่สำเร็จ

การลดน้ำหนักไม่ใช่การลดปริมาณอาหาร แต่เป็นการลดพลังงานและไขมันที่ได้จากอาหาร

ขนมสุนัขที่ให้พลังงาน และอาจมีส่วนทำให้อ้วน ดังนั้น เมื่อสุนัขเริ่มโปรแกรมลดน้ำหนัก เจ้าของต้องแจ้งสัตวแพทย์ด้วยว่าปกติให้ขนมสุนัขอะไรบ้าง ให้มากน้อยแค่ไหน

เจ้าของต้องแจ้งให้กับทุกคนในบ้านทราบด้วยว่า สุนัขของตนกำลังเริ่มโปรแกรมลดน้ำหนัก และแจ้งถึงข้อควรปฏิบัติแก่ทุกคนในบ้าน

อย่าใจร้อน ดังที่กล่าวมาแล้วว่า การลดน้ำหนักที่ดีต้องไม่เร็วเกินไป ถ้าลดลงเร็วเกินไปอาจทำให้สุนัขสุขภาพทรุดโทรมได้

สังเกตว่าสุนัขมีอาการหิว หรือรู้สึกไม่อิ่มหรือไม่ หลังจากเปลี่ยนมาเป็นอาหารที่ใช้ในช่วงลดน้ำหนัก ถ้ามีอาการหิวตลอดเวลา ควรกลับไปแจ้งให้สัตวแพทย์ที่ทำการรักษาหรือให้คำแนะนำทราบ และปรับปริมาณหรือเปลี่ยนชนิดอาหารที่ให้กิน อาจใช้วิธีคำนวณปริมาณอาหารทั้งหมดที่ต้องให้ต่อวัน แล้วแบ่งให้วันละ 3-4 มื้อก็ได้

ถ้าสุนัขไม่ยอมกินอาหารลดน้ำหนัก อาจเริ่มจากให้อาหารเดิมผสมกับอาหารลดน้ำหนัก แล้วค่อย ๆ ลดอาหารเดิมลงไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายเป็นอาหารลดน้ำหนักอย่างเดียว

ถ้าเลี้ยงสุนัขหลายตัวในบ้าน จำเป็นต้องแยกชามอาหารของสุนัขที่อ้วนออกมาต่างหาก และต้องกันไม่ให้สุนัขไปแอบกินอาหารของตัวอื่นด้วย

การป้องกันโรคอ้วนในสุนัขนั้น เจ้าของต้องคอยหมั่นสังเกตสุนัข ถ้ารู้สึกว่าสุนัขเริ่มมีน้ำหนักตัวมากขึ้น ควรไปพบสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ และเริ่มการควบคุมน้ำหนัก



ข้อมูลจาก //www.kapook.com



Create Date : 08 มีนาคม 2553
Last Update : 8 มีนาคม 2553 23:26:37 น.
Counter : 1579 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
มีนาคม 2553

 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog