Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤศจิกายน 2567
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
18 พฤศจิกายน 2567

สวนแต้จิ๋ว : นกแซวสวรรค์หัวดำ

 

หากจะถามว่าผมชอบนกอะไร
น่าจะเป็นกระเต็นด้วยสีสันที่งดงาม
แต่หากถามว่าอยากเห็นนกชนิดไหนมากที่สุดก็คงเป็น

นกแซวสวรรค์ด้วยชื่อที่งดงาม และมีหางที่ยาวมาก

ก่อนปี 2015 นกแซวสวรรค์สีน้ำตาลที่พบในประเทศไทย
เรียกว่า Asian paradise flycatcher ซึ่งต่อมาถูกแยกออกเป็น 3 ชนิด
คือ Indian,
Amur และ Blyth paradise flycatcher

นกแซวสวรรค์ที่พบในไทยจึงเหลือเพียง 2 ชนิด  

Amur และ Blyth paradise flycatcher
โดยมีนกแซวสวรรค์อพยพที่มีโอกาสพบในไทยได้อีกชนิดหนึ่งคือ

นกแซวสวรรค์หางดำหรือ Japanese or black paradise flycatcher 
 
แล้วจะดูอย่างไรว่าตัวนี้เป็น Amur หรือ Blyth
ในชื่อภาษาไทย Blyth ใช้ชื่อว่าว่า
นกแซวสววรค์
ในขณะที่ Amur ใช้ชื่อว่า นกแซวสวรรค์หัวดำ
แปลว่า น่าจะใช้สีที่หัวแยกได้
 

 
กล่าวกันว่า Armur จะมีหัวสีดำตัดกับอกสีขาวค่อนข้างชัดเจน
ดังนั้นนกที่ได้มาน่าจะเป็น Blyth เพราะหัวสีดำดูกลืนไปกับอกสีเทา

แล้วโอกาสที่จะพบนั้น ใน e-Bird กล่าวว่า
นกอพยพผ่านชนิด Armur พบบ่อย แต่ Blyth พบไม่บ่อย
Amur เป็นนกอพยพมาจากจีนและรัสเซีย ไม่มีชนิดย่อย

Blyth นั้นมี 10 ชนิดย่อย พบได้ตั้งแต่จีนตอนใต้ เนปาล
อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ บังกลาเทศตะวันออก
หมู่เกาะนิโคบาร์ พม่า ไทย อินโดจีน คาบสมุทรมลายู
สุมาตรา เกาะ Nias เกาะบอร์เนียว ไปจนถึงซุนดราน้อย
 
ที่พบได้ในไทยคือชนิดย่อยประจำถิ่นอาศัยอยู่ตามป่า
T. a. indochinensis
และนกที่เจอในสวนสาธารณะเป็นชนิดย่อยที่อยู่ทางเหนือ  T. a. saturatior
สถานะเป็นนกอพยพผ่าน 


โดย Bird of Singpore ให้ข้อสังเกตไว้ว่า
ขนสีเทารอบคอที่ดูคล้ายกับปลอกคอนั้น
ถ้าเป็นชนิดย่อย indochinensis จะมีความเป็นวงกลมอย่างสมบูรณ์
ต่างจากชนิดย่อยทางเหนือ saturatior ที่ดูแหว่งเป็นขีด
 
คราวนี้มาที่นกตัวผู้และนกตัวเมีย
แยกจากกันโดย ตัวเมียจะมีหางที่สั้น
แต่ก็ยังมีโอกาสที่นกในภาพ จะเป็นนกอพยพปีแรก
ที่ยังไม่สามารถระบุเพศได้ สังเกตจากปากที่ยังไม่มีสีดำสนิท
 


ส่วนนกตัวผู้จะมีหางยาวราว 2-3 เท่า ของความยาวลำตัว
แต่สิ่งที่เหนือไปกว่านกตัวผู้หางยาว คือ
นกตัวผู้สีขาวนั่นเอง
ดังนั้นนกตัวผู้หางยาว จะมีทั้งชนิดสีน้ำตาล (rufous moph)
และชนิดสีขาว (white morph) ซึ่งสวยงามกว่า
 
จากการหาอ่านก็ยังไม่มีการอธิบายว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร
เรารู้เพียงว่า white morph มีจำนวนน้อยกว่า rufous moph
ซึ่งน่าจะมีการผิดปรกติอะไรสักอย่างในระดับพันธุกรรม
ชนิดที่พบ white moph มีตั้งแต่ African, Idian, Blyth และ Armur
 
นกแซวสวรรค์บางตัวที่ผลัดขนแล้วกลายเป็นสีขาว
ที่เตะตาดึงดูดให้นักล่าเข้ามาจับกินโดยง่าย 
ในทางวิวัฒนาการถือเป็นข้อด้อย ดังนั้นมันควรจะสูญพันธุ์ไป
แต่ทำไมพวกมันถึงอยู่รอดมาได้

นั่นน่าจะมีเหตุผลเดียว คือนกสีขาวนั้นสวยกว่า
จึงทำให้มีอัตราการผสมพันธุ์สำเร็จสูงกว่านกสีน้ำตาล
จนสามารถส่งต่อพันธุกรรมที่ผิดปรกตินี้ต่อกันมาได้
 
นกแซวสวรรค์สีขาวเป็นหนึ่งในภาพที่คนถ่ายนกอยากจะได้
ครั้งหนึ่งมันเคยมาลงที่ อวทช. เสียดายที่ผมขี้เกียจไป
ล่าสุดปี 2567 ก็มีคนรายงานพบครั้งหนึ่งที่วัดเทียนถวาย
น่าเสียดายตัวนี้ไปเร็วมาก ขนาดคนในพื้นที่ยังไม่ทันเลย



Create Date : 18 พฤศจิกายน 2567
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2567 9:06:29 น. 2 comments
Counter : 286 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณหอมกร, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณทนายอ้วน, คุณ**mp5**


 
สวยงามมากจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 18 พฤศจิกายน 2567 เวลา:9:32:09 น.  

 
สวัสดีครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 18 พฤศจิกายน 2567 เวลา:19:34:27 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 23 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]