Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กันยายน 2567
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
17 กันยายน 2567

สวนรถไฟ : นกเค้ากู่

 

นกเค้ามี 2 กลุ่มคือ วงศ์นกแสก และวงศ์นกเค้า
ในประเทศไทย พบนกแสก 2 ชนิดคือ
นกแสก และนกแสกแดง

ตอนเด็กๆ เคยเจอลูกนกแสกตกมาจากต้นไม้ 
ซึ่งคนไทยมีความเชื่อว่าหากนกแสกไปเกาะบ้านใคร
คืนนั้นจะมีคนตาย ทำให้ไม่มีใครชอบนกแสก 
แต่การที่นกแสกหายไปน่าจะมาจากอาคารร้างที่มันอยู่นั้นหายากขึ้น
สมัยนี้ยังพอเห็นได้บ้างตามสวนปาล์มซึ่งปล่อยให้มันช่วยกำจัดหนู

ส่วนวงศ์นกเค้าในประเทศไทย พบ 16  ชนิด
ถือว่ามาก แต่ว่าส่วนใหญ่หายากเพราะอยู่ตามป่า หรือไม่ก็เป็นนกอพยพ
 ที่เราคุ้นกันดีและเป็นนกประจำถิ่นก็คือ 
เค้าจุด เค้าโมง และเค้ากู่

ส่วนนกฮูกที่เราเรียกติดปาก ก็คือนกเค้ากู่นั่นเอง มีขนาดตัว 23-25 ซม.
จัดเป็นนกขนาดใหญ่ในกลุ่มนี้ แต่ว่าเล็กว่ากลุ่มนกแสก

ลำตัวมีสีได้ตั้งแต่เทาอ่อนไปถึงน้ำตาล
ลักษณะเด่นที่ใช้แยกจากนกเค้าอื่น คือขนสีดำที่ขึ้นเป็นกรอบรอบใบหน้า
เป็นที่มาของชื่อว่า collared scops-owl (Otus lettia
และมีขนขึ้นยาวสูงสองข้างของศรีษะจนดูราวกับว่าเป็นใบหู

@ สวนรถไฟ 6/10/2567

ถิ่นอาศัยพบตามแนวเขาหิมาลัย ตั้งแต่ตอนเหนือของปากีสถาน อินเดีย 
เนปาล รัฐอัสสัม จากนั้นกระจายไปทั่วประเทศพม่า จีนตอนใต้
ไต้หวัน ถึงเกาะไหหลำ ลงมายังเวียดนาม ลาว กัมพูชา
จนมาจบที่เหนือคอคอดกระของประเทศไทย

ส่วนนกเค้ากู่ที่พบในอนุทวิปอินเดียที่หน้าตาคล้ายกันเป็น
indian scops-owl (Otus bakkamoena)  
ในขณะที่คนไทยเชื่อว่าสัตว์ที่โง่คือควาย
ในอินเดียกลับเชื่อว่าเป็นนกฮูก

นอกจากนี้ยังเชื่อว่านกฮูกเป็นสัตว์ที่นำโชคร้าย
เหมือนกับที่คนไทยเชื่อเรื่องนกแสก
แต่ในทางศาสนาเชื่อว่า เป็นสัตว์พาหนะภูเขาของพระลักษมี 
ส่วนในชนบทของอินเดียยังมีความเชื่อเรื่องฆ่านกฮูกเพื่อนำมาบูชายัญ

กลับมาที่ที่สวนรถไฟ พบว่ามีนกเค้าที่หาง่ายทั้ง 3 ชนิด
แต่ที่คนถ่ายกันได้มาก คือนกเค้าจุดตรงลานจราจร
แต่ก็ไม่ใช่ง่าย ผมเองยังต้องอาศัยคนที่กำลังถ่ายตรงนั้น
เพราะเดินเองไม่รู้ว่าอยู่ต้นไหนกันแน่    

ส่วนที่คนถ่ายได้มากรองลงไปคือ นกเค้ากู่ ตัวนี้นี่เอง
ที่แม้คนจะบอกว่าอยู่ตรงไหน แต่ว่าการไปหาเองนั้น ก็ยังไม่เคยเจอ




จนวันหนึ่งที่ผมหยุดงาน เพื่อไปตามหา
นกแซวสวรรค์สีน้ำตาล
ซึ่งก็โชคดีในโชคร้ายที่เห็นนกได้ผ่านกล้องสองตา
แต่พอจะกดถ่ายภาพมา กลับไม่รู้ว่าตั้งค่ากล้องไว้ที่ซูม 1.6 เท่า
ก็เลยหานกใน view finder ไม่เจอ กว่าจะรู้ตัว เค้าก็บินหายไปแล้ว


รอสักพักก็ถอดใจเดินไปที่อื่น เจอพี่คนหนึ่งแต่งชุดเหมือนนักวิ่งเทรล
มาลากไปบอกว่า มาถ่ายนกเค้าหูยาวตรงนี้ แล้วก็พาเดินไปที่หลังห้องน้ำ
ชี้ๆ ขึ้นไปบนต้นปาล์ม มองตามยังไงก็ไม่เห็น พี่เค้าก็บอกนั่นไงๆ 
จนต้องพาอ้อมไปอีกด้าน พร้อมค่อยๆ บอกแบบไล่ไปทีละก้านถึงจะเห็น 

นี่ล่ะความยาก ในการตามหานกตัวนี้ ขนาดมีคนชี้ให้ดู ยังหายากเลย
ที่ยากไปกว่านั้น หลังจากมองให้เห็นก็คือ จะถ่ายยังไง
เพราะว่าใบไม้บังแทบจะมิดตัว ระบบโฟกัสของกล้องนี่จบเลย
เอ หรือว่าเราต้องเปลี่ยนกล้องใหม่ที่มีระบบจับดวงตาสัตว์แล้ว
 
จากนั้นพี่เค้าก็พาไปดูจุดที่พบนกเค้าหูเล็ก นั่นคือชื่อที่พี่เค้าเรียก
ที่คนส่วนใหญ่เรียกว่านกเค้าโมง (
นกเค้าแมว) แต่ว่าไม่เจอ
สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณพี่คนนั้นจริงๆ
ที่ทำให้สวนรถไฟแห่งนี้ ยังมิตรภาพดีๆ อยู่
 
และนี่ก็คือประสบการณ์ของฤดูกาลนกอพยพในปีนี้ที่เริ่มต้นขึ้นแล้ว



Create Date : 17 กันยายน 2567
Last Update : 7 ตุลาคม 2567 11:35:25 น. 4 comments
Counter : 567 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtuk-tuk@korat, คุณหอมกร, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณปัญญา Dh, คุณhaiku, คุณทนายอ้วน, คุณnewyorknurse, คุณดอยสะเก็ด, คุณ**mp5**


 
หมายถึงตั้งซูมก่อนเห็นหรือคะ
เราปกติหาในกล้องคราว ๆ ว่าอยู่บริเวณนี้
เอากิ่งไม่ใบไม้เป็น reference แล้วค่อยซูมอ่ะ

ตอนนี้นกบ้านเราก็มาทำรังกันเยอะค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 17 กันยายน 2567 เวลา:11:08:22 น.  

 
เค้าจุดนี่ดาราไม่เคยกลัวคน
เค้ากู่นี่หาอยากสุดไม่เคยเห็นเลยจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 17 กันยายน 2567 เวลา:11:23:19 น.  

 
ตามมาชมนกด้วยคราบ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 17 กันยายน 2567 เวลา:21:16:42 น.  

 
เพิ่งไปค้นเรื่องกล้อง full frame , APS-C มาเพิ่งรู้จัก ขอบคุณค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 18 กันยายน 2567 เวลา:7:21:14 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

BlogGang Popular Award#20


 
ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 23 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]