Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

 
สิงหาคม 2564
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
18 สิงหาคม 2564

นั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง : บางซื่อ-รังสิต




ปัจจุบัน รฟท ได้ส่งมอบเส้นทางสาย Airport Raillink ให้กับกลุ่ม CP
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อต่อ 3 สนามบินเป็นที่เรียบร้อย
ทำให้ในปัจจุบัน รฟท เป็นผู้ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าในเมืองเพียง 1 สายคือ
คือรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่ผมไม่อยากขุดประวัติเลย เพราะว่ามันนานนับสิบปี
 
ซึ่งผมเคยเขียนถึงทางรถไฟสายนี้ไว้ว่า มีการทดลองเปิดการเดินรถเมื่อปลายปี 2555
ในเส้นทางบางซ่อน-ตลิ่งชัน คิดเอาแล้วกันว่า โครงการนี้ผ่านมาเนิ่นนานเพียงใด
แต่นั่นยังไม่ใช่จุดสิ้นสุด เพราะตามแผนแล้ว รฟท จะย้ายเจ้าหน้าที่จะ ARL มาทำงาน
ในโครงการรถไฟสายสีแดง แต่ปัจจุบันก็ยังไม่เป็นที่ยุติว่า รฟท จะได้เดินรถเองหรือไม่
 
เรื่องอะไรของบ้านเมืองนี้กันหนอ
 
ย้อนไปในความคิดคำนึง ราวเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ผมยังเดินย่ำหิมะอยู่ที่ญี่ปุ่น
ผ่านมาหนึ่งปีครึ่งแล้วที่การท่องเที่ยวปิดตัวลงด้วยเหตุการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด19
เปลี่ยนมาท่องเที่ยวในประเทศก็ลักปิดลักเปิด เดี๋ยวห้ามนั่งร้านอาหาร เดี๋ยวปิดสถานที่   
ชีวิตเรายังทำงานเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือเราขาดการพักผ่อนจากการออกไปนอกบ้าน
 
แต่ชีวิตยังต้องสู้ต่อไป ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจ
 
12 สิงหาคม 2564 วันหยุดนักขัตฤกษ์อีกวันหนึ่งในปฏิทินของคนทำงานที่ได้หยุดพักผ่อน
ไม่ไหวกับการอ่านข่าวที่มีแต่เรื่องราวที่น่าหดหู่ใจ เราไปนั่งรถไฟเที่ยวกันเถอะ
โดยรถไฟสายสีแดงได้มีการก่อสร้างแล้วเสร็จทั้ง 2 ช่วงทาง คือสายที่วิ่งจากสถานีกลางบางซื่อ
ไปยังสถานีบางซ่อน และสายที่วิ่งจากสถานีบางซื่อไปยังสถานีรังสิต เราจะไปเส้นทางที่ยังไม่เคยไป
 
เปิดบริการทดลองให้บริการแบบเสมือนจริงตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เป็นเวลา 3 เดือน
โดยจะมีความถี่ราว 30 นาทีต่อเที่ยว เรานั่งรถไฟฟ้า MRT มาลงที่สถานีบางซื่อ
ซึ่งมีการเจาะอุโมงค์ทางเดินเชื่อมกันระหว่างสถานี ระยะทางที่แจ้งคือ 700 เมตร
ออกจากสถานี MRT บางซื่อเรามองหาป้าย มีแต่บอกว่าทางไปฉีดวัคซีน เอาก็เอา
 

 
เดินตามคนอื่นไป โชคร้ายวันนั้นไม่มีสถานีกลางบางซื่อไม่มีการฉ๊ดวัคซีน
คนอื่นเค้าไปที่ SCG กัน เราเอะใจทันก็เลยต้องเดินย้อนกลับ มาเจอทางขึ้นแคบๆ
เขียนว่าทางเข้าอาคาร จะรู้ไหมเนี่ย น่าจะเขียนว่า สถานีกลางบางซื่อ จะได้เข้าใจตรงกัน
 
เช็คอินตรงประตูกั้นทางเข้าชานชาล ป้ายบอกให้ไปรอที่หมายเลข 3 4
เป็นทางที่จะไปสถานีรังสิต ในขณะที่ 9 10 เป็นชานชาลาไปสถานีตลิ่งชัน
12.40 น เราจะขึ้นรถไฟตอนบ่ายโมง มีเวลาถ่ายรูปรถไฟที่จอดอยู่ 1 ขบวน
ก่อนเวลาราว 5 นาทีรถไฟขบวนที่มาจากรังสิตก็มาจอดที่ชานชาลา
 
ความรู้สึกแรกที่ก้าวเข้าไปในรถไฟฟ้าคือ แม้จะเป็นสีแดงแต่ก็ได้บรรยากาศรถไฟ
แบบที่เรานั่งไปต่างจังหวัดเลย อ้อ ลืมบอกไปเป็นขบวนที่สร้างโดย Hitashi ญี่ปุ่น
ทำไมการตกแต่งภายในมันให้บรรยากาศที่ดูย้อนยุคแตกต่างจาก BTS หือ MRT
ดูแข็งๆ แบบรถไฟราชการ ไม่ดูทันสมัย ก็แล้วแต่มั้ง ขอให้มันใช้งานได้ทนทานก็พอ
 
ออกจากสถานีกลางบางซื่อ สถานีจตุจักรที่ขากลับผมเกือบจะกระโดดลง
เพราะนึกว่าเป็นสวนจตุจักรจะได้เดินไป อตก แต่ไม่ใช่เหมือนจะตรงกับสถานีหมอชิตมากกว่า
 แต่เอาจริงๆ ก็ไม่รู้ว่าลงไปแล้วข้างล่างไปไหนได้บ้าง สถานีวัดเสมียนารี ที่มีเรื่องเล่า
ถึงผีสาวชุดดำที่สุดเฮี้ยน สถานีบางเขนเชื่อมต่อกับมหาวิทยาลัยเก๖รศาสตร์ แต่เดินไกลมาก
 
สถานีทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ที่เชื่อมต่อกับรถไฟโมโนเรลสายสีชมพูไปวงเวียนหลักสี่
เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวไปลาดพร้าวได้ สถานีการเคหะ และสถานีหลักคือสถานีดอนเมือง
ที่ตอนนี้หลายคอมเมนต์ใน youtube ที่รีวิวของฝรั่ง ต่างชาติต่างฝันว่าจะมานั่งเข้าเมืองกัน
 

 
บอกได้เลยว่า เมืองไทยเหมาะกับการนั่งรถแท็กซี่มากกว่า
ลองนึกถึงถึงการลากกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ ออกจากสถานีกลางบางซื่อไปยัง MRT บางซื่อ
แล้ว interchange ไป BTS โดยการลากกระเป๋าออกจากสถานีใต้ดินขึ้นไปบนสถานีหมอชิต
นั่นคงเป็นประสบการณ์แรกในเมืองไทยที่เลวร้ายกับคนต่างชาติแน่ๆ
 
ออกจากจากสถานีดอนเมืองไปได้ครึ่งทาง รถไฟฟ้าจะลงสู่ระดับพื้นราบเข้าสถานีหลักหก
ตอนวิ่งบนคานด้านบนก็ถือว่าเร็วกว่า BTS แล้ว พอวิ่งสถานีพื้นราบนี้เร็วกว่าเดิมอีก
ซึ่งตามเสปคแล้วเคลมว่าวิ่งได้สูงสุดถึง 160 กม./ชม ซึ่งผมก็ไม่มีที่วัดความเร็วเลยบอกไม่ได้
แต่รู้สึกได้ว่าความเร็วน้องๆ ARL ที่วิ่งเต็ม 160 กม/ชม เลย ต่างกันที่ความรู้สึกโคลงเคลง
 
ไม่ใช่เพราะ ARL เป็นรถของ Seimens แต่เพราะทางวิ่งของ  ARL เป็นแบบ standard gauge
กว้าง 1.67 เมตร ในขณะที่สายสีแดงออกแบบให้ใช้ทางร่วมกับรถไฟทั่วไปจึงกว้างแค่ 1 เมตร
ในที่สุดหลังจากผ่านไป 25 นาที ก็มาถึงสถานีสุดท้ายคือรังสิต ที่ต่อไปคงมีรถมาจอดรอกันเยอะ
เราเดินออกมา เจ้าที่บอกว่ารอที่เดิมไปขบวนเดิมนั่นล่ะ
 
ขากลับเราเลือกที่จะนั่งตรงกลาง เพราะว่ามีกระจกบานใหญ่มากตรงนี้ เห็นทัศนียภาพได้กว้างไกล
และเราก็มั่นใจและแตกต่างกว่าการขึ้นรถไฟเจ้าอื่นๆ ด้วยการมีตำรวจรถไฟประจำขบวนไปกับเรา
 
ต่อไปสถานีกลางบางซื่อจะกลายเป็นชุมทางการเดินทางขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ใช่ความคิดใหม่
เพราเรื่องนี้ถูกวางแผนไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อมีการสร้างสะพานพระราม 6 เสร็จสิ้น
ทำให้รถไฟสายเหนือและสายใต้สามารถเชื่อมโยงกันผ่านเส้นทางสายนี้ จากเดิมที่แยกกัน
ระหว่างสถานีรถไฟกรุงเทพ และสถานีบางกอกน้อย สถานีนี้จึงตั้งใจที่จะเวนคืนไว้เยอะมาก
 


เพื่อเตรียมไว้เป็นสถานีกลางในอนาคต ซึ่งอนาคตที่ว่า ก็ใช้เวลาราว 100 ปีต่อมาจนถึงยุคเรา
ต่อก็ยังมีอุปสรรคนิดหน่อยที่จะมีรถไฟไม่มีกี่ขบวนที่ส่วนมาจะเป็นรถไฟชานเมืองที่เป็นดีเซลราง
ขนาดนั้นเท่านั้นที่จะมาถึงสถานีกลางบางซื่อในช่วงแรก ส่วนรถไฟทางไกลที่ใช้หัวรถจักรขนาดใหญ่
จะต้องจอดที่สถานีรังสิตเพราะหากวิ่งเข้ามา ก็จะสร้างควันที่ระบายออกได้ยากในอาคารสถานี
 
ไม่นับรวมกับที่เรายังจินตนาการได้ยากว่าเส้นทางในอนาคตจะออกมาเป็นอย่างไร
เพราะสองข้างทางที่เห็นในปัจจุบันจะต้องถูกต่อเติมด้วยเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน
บวกกับทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-นครราชสีมา ที่จะต้องถูกออกแบบให้อยู่ด้วยกันได้ในเขตทาง
ทำให้โครงการรถไฟความเร็วสูงโคราชส่วนบางซื่อ-รังสิต ยังไม่สามารถดำเนินการได้
 
ถ้าแค่นั้นยังไม่ยุ่งยากพอ ก็จะมีเรื่องให้ต้องคิดอีกว่า เส้นทางรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-เชียงใหม่
จะทำอย่างไรให้สามารถใช้รางและที่สำคัญไปกว่านั้น ก็คือระบบอาณัติสัญญานให้ร่วมกันได้อีก
ซึ่งเบื้องต้นผู้ที่ให้ความสนใจเส้นทางสายนี้คือญี่ปุ่น ได้ปฏิเสธว่าจะไม่ยอมใช้ระบบร่วมกับจีน
 
นอกจากนี้คนที่เคยเดินทางเข้าไปได้ถึงสถานีหัวลำโพงก็จะบ่นว่า มาจอดบางซื่อก็ไม่สะดวก
เส้นทางบางซื่อ –หัวลำโพง นั้นจะถูกสร้างแน่นอน ทางสายนี้ถูกเรียกว่า missing link
แต่มันยังไม่ได้ถูกออกแบบ เนื่องจากร่วมกับรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
ที่วิ่งจากดอนเมืองเชื่อมไปถึงสถานีพญาไทไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งผ่านสถานีจิตรลดา
 
ดังนั้นการออกแบบเส้นทางจึงต้องถูกพิจารณาอย่างเข้มงวด ซึ่งแบบในปัจจุบันที่ดีที่สุด
ก็คือแบบคลองแห้ง โดยการขุดผิวถนนลงไปแล้วสร้างรางด้านล่าง ในส่วนที่เป็นทางแยก
ตัดกับถนนก็ปูพื้นซีเมนต์ทับให้รถยนต์วิ่งข้ามไป สรุปคนทั่วไป ก็ขอให้มีรถไฟฟ้ามาเพิ่ม
ความสะดวกในการเดินทางก็เป็นพอ แต่ในทางวิศวกรรมนั้นมีเรื่องให้ขบคิดกันอีกมาก
 


ก่อนจะจากกัน ในฐานะคนรักรถไฟ ขอใช้พื้นที่ตรงนี้ระบายอะไรสักหน่อย
ในโลกที่มีการใช้ social media อย่างแพร่หลาย เวลามีการลงข่าวเรื่องรถไฟความเร็วสูง
ก็มักจะมีการกระแนะกระแหนว่า รถไฟความเร็วสูงไทยยังไม่เสร็จซะที ดูประเทศนั้นประเทศนี้
 เค้าสร้างไม่กี่ปีก็วิ่งได้แล้ว ของไทยแค่กิโลเดียว สร้างตั้งหลายปี
 
ซึ่งคำตอบนั้นก็อยู่ในนั้นอยู่แล้ว เราจะใช้เวลาสองปีไปเพื่ออะไร ถ้าแค่จะสร้างสิ่งที่เราทำเป็น
ก็เพราะเราทำทางรถไฟความเร็วสูงไม่เป็น ถึงต้องใช้เวลาศึกษาเพื่อจะให้การสร้างส่วนที่เหลือ
นั้นทำโดยคนไทย วัสดุของในประเทศไทย โดยเงินงบประมาณก็เป็นของเราเอง
ไม่ใช่ว่ากู้คนอื่นมาเพื่อให้คนอื่นได้กำไร ผมยังไม่อยากเห็นป้ายแคมป์งานก่อสร้างเป็นภาษาจีน
แบบประเทศลาว หรืออินโดนีเซีย ถ้าแบบนั้นมันก็ง่าย แค่จรดปากกาที่เหลือเค้าก็มาสร้างให้เสร็จ
 
แต่ในระยะยาวนั้นจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าผู้โดยสารไม่คุ้มทุน ขึ้นราคาก็แล้ว
เค้าจะเรียกร้องอะไรต่อไปก็ย่อมทำได้ เพราะว่าเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่
ต่างจากไทยที่บอกว่าเราจะลงทุนเอง 100% จะซื้อเพียงสิ่งที่เราทำเองไม่ได้
นั่นก็คือ ตัวรถและระบบอาณัติสัญญาน เท่านั้นก็พอ  
  
เราคงไม่อยากเป็นแบบศรีลังกาที่สุดท้ายต้องยกท่าเรือเรือที่ไม่คุ้มค่าให้เค้าเช่า 99 ปี หรอก
แต่ถ้าจะพูดต่อว่ารถไฟความเร็วสูงไม่คุ้มค่าสร้างมาทำไม ก็ต้องมาคุยเรื่องเศรษฐกิจกันต่อล่ะ
ถ้าเรื่องเศรษฐกิจไม่พอเราต้องต่อด้วยเรื่องการเมือง ย้อนไปในสมัยรัชกาลที่ 5 ไทยต้องการ
สร้างทางรถไฟไปเชียงใหม่ ฝรั่งตอบว่า เส้นทางที่เหมาะสมคือจากนครสวรรค์ไปตามแม่น้ำปิง
 
ผ่านเมืองตากที่ต่อไปก็สามารถสร้างทางไปถึงมะละแหม่ง เมืองท่าของอังกฤษในสมัยนั้น
พระองค์ตอบว่า เราต้องการเส้นทางที่ผ่านเมืองแพร่ นั่นเองเราจึงมีเส้นทางรถไฟ
ที่เป็นสุดยอดวิศวกรรมในสมัยนั้น ทั้งอุโมงค์ขุนตานและสะพาน 5 หอ
นั่นเพราะทุกเรื่องเราไม่อาจมองแต่เพียงด้านเดียวได้ ยังมีเหตุผลอีกมากมายที่เกินกว่าเรารู้

นั่งรถไฟไปดูหนัง



Create Date : 18 สิงหาคม 2564
Last Update : 18 สิงหาคม 2564 14:09:30 น. 6 comments
Counter : 1800 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณทนายอ้วน, คุณtuk-tuk@korat, คุณอุ้มสี, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณKavanich96, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณหอมกร, คุณ**mp5**, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณnewyorknurse


 
อินเทรน...ทันสมัยมากค่ะ
เจิมบอก


โดย: อุ้มสี วันที่: 18 สิงหาคม 2564 เวลา:23:24:21 น.  

 
ว่าจะแนะนำให้มาต่อสายสีแดงที่
สถานีบางซ่อนน่าจะดีกว่า โดยลงสถานีเตาปูน
แล้วต่อสายสีม่วงมาอีกสถานีเดียวจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 19 สิงหาคม 2564 เวลา:7:38:47 น.  

 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 19 สิงหาคม 2564 เวลา:10:54:58 น.  

 
สวัสดีครับ

ส่วนตัวผมชอบเจ้ารถสีแดงนี่นะครับ ดูสวยดี อยากไปลองใช้บ้างแต่ขอพ้นช่วงนี้ก่อน สถานีกลางบางซื่อเค้าก็ว่ากว้างขวางมากๆ เลยใช่ไหมครับ แต่ถ้าไปธุระแบบรีบๆ อาจจะเดินเหนื่อยมั้ยครับ

ขอบคุณสำหรับการรีวิวนะครับ


โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 20 สิงหาคม 2564 เวลา:0:12:29 น.  

 
ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะครับ

ผมเคยเล็งไว้ว่าอยากขึ้นสายสีแดงไปลงหลักสี่แล้วต่อสายสีชมพูเข้าเมืองทอง น่าจะสะดวกในการไปงานที่นั่นมากๆ นะครับ


โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 20 สิงหาคม 2564 เวลา:21:07:39 น.  

 


โดย: หอมกร วันที่: 24 สิงหาคม 2564 เวลา:7:28:13 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]