Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤษภาคม 2565
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
20 พฤษภาคม 2565

ร้านก๋วยเตี๋ยว : นกแต้วแร้วอกเขียว



จากประสบการณ์ครั้งก่อนที่ปล่อยเวลานานเนิ่นเกินไป
จนกระทั่งไม่ทันนกบินกลับบ้าน คราวนี้เมื่อได้ข่าวเราก็รีบออกเดินทางทันที
เช้าวันศุกร์สัปดาห์นี้เป็นวันหยุดวันพืชมงคลพอดี เราออกจากบ้านแต่เช้า
เป้าหมายในวันนี้คือ ร้านก๋วยเตี๋ยวแห่งหนึ่งใจกลางกรุงเทพที่มีรายงานนกเทพ
 
นั่นก็คือ นกแต้วแร้วอกเขียว ซึ่งในชีวิตผมก็ยังไม่เคยเห็นมาก่อนเลย
จาก  MRT มาโผล่ BTS ที่สถานีหมอชิตแล้วนึกได้ว่า ทำไมไม่นั่งเรือมาถูกกว่า
แต่ก็นะเบลอๆ นั่งไปจนถึงสยามแล้ว interchange ไปลงสถานีกรุงธนบุรี
เดินเข้าซอยไปไม่ไกล ก็ไปถึงร้านราว 11 โมง เห็นรถจอดเต็มลาน
 
สั่งก๋วยเตี๋ยวแล้วไปนั่งสังเกตการณ์ ก็เห็นว่า ควรรีบไปแสดงเจตจำนงก่อนดีกว่า
ยกมือไหว้ท่านเจ้าของสถานที่เพื่อขอถ่ายนก ซึ่งก็เป็นโชคดีที่พี่เค้าบอกว่า
เหลือที่นั่งสุดท้ายพอดี จากอุปกรณ์ถ่ายรูปของเราบ่งชี้ว่าน่าจะเป็นมือสมัครเล่น
พี่เค้าจึงพูดต่อว่าไม่นานใช่ไหม  ใช่ครับ กลับนั่งกินก๋วยเตี๋ยวอย่างไวที่สุดในชีวิต
 
แล้วพุ่งผ่านประตูรั้วเข้าไปในสวนอย่างเบาที่สุด พี่เจ้าของบอกเข้าไปได้เลย blind สีเขียว
ผมไม่เน้นภาพสวยงาม เน้นแค่ประสบการณ์ชีวิตเท่านั้น ใน blind ร้อนอบอ้าวพอตัว
ไม่ถึง 5 นาทีนกก็ลงกด shutter ไป 3-4 ชุด กด preview ดูรูปว่าชัด OK กลับได้
ออกมาเจอนักถ่ายภาพอีกท่าน กำลังยืนอยู่ ก็เลยบอกว่า เหลือที่นั่งอีกที่
 

 
แต้วแร้วอกเขียว  (Hooded Pitta)  ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน หน้าผาก กระหม่อม
และท้ายทอยน้ำตาลเข้มเกือบดำ หน้า คอ และอกตอนบนดำ ขนลำตัวเขียว ตะโพกฟ้า
หัวไหล่มีแถบฟ้า ขนปีกบินดำมีแถบขาวเห็นชัดขณะบิน กลางท้องดำต่อด้วยสีแดงถึงก้น
 
ค้นพบโดย Philipp Statius Müller ในปีพ.ศ. 2319  เนื่องจากลักษณะ
การเดินหาอาหารอยู่ตามพื้นดิน จึงจัดถูกตั้งชื่อวิทยาศาสตร์
ให้อยู่ในสกุลเดียวกันกับนกเดินดงโดยให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Turdus sordidus 

จนกระทั่ง พ.ศ. 2359 นักปักษีวิทยาชาวฝรั่งเศส Louis Jean Pierre Vieillot
 ได้แยกออกมาเป็นสกุลใหม่คือ Pitta sordida มีชื่อสามัญว่า
Green-Breasted Pitta คนไทยจึงแปลว่า นกแต้วแร้วอกเขียว
 
นกชนิดนี้มีการกระจายตัวอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออก คาบสมุทรมาลายาและหมู่เกาะ
แบ่งออกเป็น 12 ชนิดย่อย ที่พบในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มแรกเป็นนกประจำถิ่นทางภาคใต้ อีกกลุ่มเป็นนกที่อพยพมาจากมาเลเซีย

โดยจะขึ้นมาทำรังวางไข่ในแถบภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย
ในราวช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม ความหายากของนกชนิดนี้
จัดอยู่ในระดับ less concern แปลว่า พบเห็นได้ง่าย




 

Create Date : 20 พฤษภาคม 2565
6 comments
Last Update : 25 พฤษภาคม 2565 10:45:48 น.
Counter : 806 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณทนายอ้วน, คุณtuk-tuk@korat, คุณhaiku, คุณnewyorknurse, คุณเริงฤดีนะ, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณหอมกร

 

สีสวยมากเลยครับ

 

โดย: ทนายอ้วน 20 พฤษภาคม 2565 16:55:15 น.  

 


เข้ามาฟินอินตามไปกับประสบการส่อง เอ๊ย!! ถ่ายภาพนกแต้วแร้วอกเขียวด้วย

คงเป็นวงใน ที่ขอบถ่ายภาพนกด้วยกันนะคะ
ถึงได้ทราบlocation นี้..


สวยงามมาก
เพิ่งเคยเห็น
เพิ่งเคยรู้จัก..ขอบคุณที่แบ่งปันนะคะ

 

โดย: เริงฤดีนะ 20 พฤษภาคม 2565 19:38:35 น.  

 

สวัสดีค่ะ
นกสีสวยมากค่ะ
แสดงว่าชอบมากเลยนะคะ
ถึงขนาดไปรอถ่ายรูปกันทีเดียว

 

โดย: tanjira 20 พฤษภาคม 2565 19:56:13 น.  

 

สวยจังค่ะ ไม่เคยเห็นเหมือนกัน
ปล.เค้าก็กินเตี๋ยวเร็วนะคะ ตอนเรียนต้องทำเวลา รีบกลับมาเรียงฟัน ทำแลปฟันส่งอาจารย์

 

โดย: tuk-tuk@korat 20 พฤษภาคม 2565 20:37:27 น.  

 

ว๊าว...เพิ่งเคยเห็น สีสวยจังเลยค่ะ

 

โดย: โอน่าจอมซ่าส์ 21 พฤษภาคม 2565 5:25:30 น.  

 

ถ่ายได้สวยงามมากจ้า
มือไม่สมัครเล่นแล้วนะ

 

โดย: หอมกร 23 พฤษภาคม 2565 9:28:52 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]