Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
4 สิงหาคม 2551

สุดเส้นเขตแดนทะเลไทย : โลซิน




ทุกคนคงเคยได้ยิน ชื่อเกาะสิปาดัน สถานที่นักดำน้ำใฝ่ฝันถึง
และทำรายได้การท่องเท่ยวให้ประเทศมาเลเซียปีละมากมาย
แต่เกาะแห่งนี้ก็เป็นกรณีพิพาท ระหว่างมาเลเซียและอินโดนีเซียมาก่อน
อินโดนีเซียได้แต่ประท้วง ขณะที่มาเลเซียค้นหาหลักฐาน

ปี 2545 มาเลซียชนะคดี เพราะว่าอ้างอิงเอกสารเก่าฉบับหนึ่ง
ที่กล่าวถึงการเก็บภาษีไข่เต่าบนเกาะแห่งนี้ และการสร้างกระโจมไฟ
บนเกาะสิปาดันในปี 1962 และเกาะลิกิตันในปี 1963

การประท้วงไม่ช่วยอะไร หลักฐานต่างหากที่สำคัญกว่า

ในขณะที่พรมแดนไทยกับประเทศข้างเคียงนั้นมีปัญหา
มีเพียงเพื่อนบ้านทางใต้เท่านั้น ที่เราปักปันเขตแดนได้อย่างสมบูรณ์
แต่ใครจะรู้ว่า กว่าจะมาถึงวันนี้ มันก็เคยมีปัญหาเช่นกัน
ปัญหาที่เรียกว่า Losin's Effect

เกาะโลซิน ตั้งอยู่ในน่านน้ำเขตจังหวัดปัตตานี บนจุดตัดระหว่างเส้นรุ้งที่ 7
องศา 19 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 101 องศา 59 ลิปดาตะวันออก
เป็นแผ่นดินไทยที่อยู่ใต้สุดของทะเลด้านอ่าวไทย
ห่างจากฝั่งนราธิวาส ประมาณ 55 ไมล์

มองเผินๆ "โลซิน" คือกองหินร้าง ไม่มีคนอาศัย เป็นกองหินโสโครกที่เป็น
อุปสรรคต่อการเดินเรือแต่เพราะความเป็นห่วงใยของทหารเรือไทย
ในเรื่องดังกล่าว จึงได้สร้างกระโจมไฟคอยส่องไฟนำทางสำหรับ
ชาวเรือยามค่ำคืน นั่นจึงเป็นที่มาของเรื่องราวในครั้งนี้

ไทยและมาเลเซียได้เจรจาเรื่องเส้นเขตแดนในทะเลอาณาเขต ในปี 2515
สามารถทำความตกลงกันได้ ตั้งแต่กึ่งกลาง ปากแม่น้ำโกลกออกไปในทะเล
36 ไมล์ทะเลเท่านั้น เพราะเพราะหากยึดตามข้อตกลงสากลแบ่งพื้นที่กลางทะเล
ด้วยวิธีลากเส้นตั้งฉากจากแนวโค้งของแผ่นดินแต่ละฝ่ายขึ้นไปที่
ลักษณะแผ่นดินของมาเลเซียที่งุ้มเข้ามาในอ่าวไทย ขณะที่แผ่นดินของไทยกลับเทลาดออกไป
หากลากเส้นตามหลักดังกล่าว เส้นนั้นจะทำมุมออกไปในอ่าวไทยแนวตะวันออกเฉียงเหนือ
ทำให้ไทยเสียเปรียบในการเจรจาอย่างมาก การเจรจาจึงหยุดไปหลายปี

มีการเจรจากันต่ออีกครั้งเมื่อปี 2521 เพื่อจะต่อเส้นเขตแดนในเขตไหล่ทวีป
ออกไปให้บรรจบกับเส้น claim ของเวียดนามที่กลางอ่าวไทยตอนล่าง
การเจรจาครั้งนี้บรรยากาศไม่ราบรื่นเหมือนการเจรจาครั้งแรก
เพราะประเทศไทยได้นึกถึง โลซิน หินโสโครกร้างกลางทะเล
กระโจมไฟกลายเป็นหลักฐานที่สำคัญ ในการอ้างสิทธิ์ของไทย ต่อกองหินร้างนี้
แต่กองหินนั้นไม่ใช่ เกาะ ประเทศไทยจึงไม่อาจอ้างสิทธิ์พื้นที่ทางทะเลได้

แต่โชคเป็นของฝ่ายไทยอีกครั้ง ที่เรายังคงใช้กฎหมายทะเลดั้งเดิม 4 ฉบับ
ตามอนุสัญญากรุงเจนีวา ค.ศ.1958 ซึ่งประเทศไทยลงนามและให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ
ซึ่งกำหนดไว้เพียงว่า แม้เป็นหินกองหินที่โผล่พ้นน้ำ ก็สามารถนิยามว่าเป็นเกาะได้
เมื่อได้ชื่อว่าเป็นเกาะ ก็ย่อมมีไหล่ทวีปเป็นของตัวเอง มีผลไปถึงเขตเศรษฐกิจจำเพาะ
การกำหนดอาณาเขต ผลประโยชน์และอำนาจอธิปไตยทางทะเล

มาเลเซียไม่ต้องการเจรจาโดยใช้เส้นเขตแนวนี้ ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้
เพราะการอ้างอธิปไตยเหนือเกาะโลซิน ทำให้เส้นเขตแนว เกิดเป็นสองแนว
แนวที่ลากเป็นเส้นตั้งฉากจากฝั่งออกไปในทะเล ประเทศไทย เสียเปรียบ
แนวที่ลากโดยยึดถือ เส้นแนวเกาะโลซิน ประเทศมาเลเซีย เสียเปรียบ
เกิดเป็นพื้นทีทับซ้อนทางทะเล เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีอาณาเขตถึง 7250 ตารางกิโลเมตร

การเจรจาระดับเจ้าหน้าที่ดูเหมือนจะมาถึงทางตัน บรรยากาศทางการเมืองก็ตึงเครียดขึ้น
จากปัญหาเรือประมงไทยเข้าไปจับปลาในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนนี้แล้ว
ถูกเจ้าหน้าที่มาเลเซียจับไปดำเนินคดี ขณะนั้นนายกรัฐมนตรีของไทยคือ
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย คือ ดาโต๊ะ ฮูสเซน ออน
ทั้งสองท่านมีความสนิทสนมกันเป็นส่วนตัว จึงได้ตกลงใจที่จะคลี่คลายปัญหานี้
โดยกำหนดให้มีการ เจรจา ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2522

ผลของการเจรจา คือ ความตกลงจัดตั้งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
ในพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว ความตกลงนี้เรียกกัน ว่า MOU เชียงใหม่
ซึ่งปัจจุบันเราเรียกว่า JDA ซึ่งต้องแบ่งปันผลประโยชน์คนละครึ่งหนึ่งกับมาเลเซีย นั่นเอง
ภายหลังมีการลงนามบันทึกข้อตกลงมีการสำรวจ พบว่ามีแหล่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาล
ในพื้นที่ ถึง 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเท่ากับ 50% ของแหล่งก๊าซที่มีอยู่ของไทยทั้งหมด
โดย 75 เปอร์เซ็นต์อยู่ในพื้นที่ด้านล่างสามเหลี่ยม ในซีกพื้นที่ของมาเลเซีย

หากไม่มี "โลซิน" ไทยย่อมไม่อาจอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อน ขนาด 7250 ตารางกิโลเมตร

หากไม่มี "โลซิน" ไทยก็จะไม่มีสิทธิ์ในแหล่งก๊าซมูลค่ามหาศาลกลางอ่าวไทย

หากไม่มี "โลซิน" เราก็คงไม่มีเส้นเขตแดนที่มีอธิปไตยทางทะเลด้านใต้อ่าวไทยลงไปถึงตรงจุดนี้

และหากไม่มี "โลซิน" เราก็คงไม่มีแหล่งดำน้ำที่สวยงามกลางอ่าวไทย เช่นวันนี้




 

Create Date : 04 สิงหาคม 2551
0 comments
Last Update : 30 มิถุนายน 2553 15:06:10 น.
Counter : 2085 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]