Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
4 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 

30205 บทที่ 1

บทที่ 1 ก่อนเรียน

1. ตัวแปร ตัวแปร คือ ตัวเลข หรือ ข้อมูล ที่ต้องการศึกษา
ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น อายุ การศึกษา ความชอบ ข้อนี้ชัดเจนว่า
“สัดส่วนของทารกแรกเกิดที่เป็นเพศหญิง” ต่างจากพวก
และไม่ควรเป็นตัวแปรทางธุรกิจ
(ยกเว้นการศึกษาถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับทารกนั้นๆ )

2. จากข้อ 1 ถามว่าข้อใดไม่เป็นตัวแปรทางธุรกิจอีกครั้ง

ตอบ จำนวนพรรคการเมืองในประเทศไทย
(เช่น พรรคการเมืองมี 20 พรรค)
ตัวเลข 20 นี้ไม่นับเป็นตัวแปรทางธุรกิจ
(เฉพาะตัวเลข 20 นี้ เป็นตัวแปรอย่างหนึ่ง
แต่ไม่นับเป็นตัวแปรทางธุรกิจ)
ข้อนี้ให้เทียบเดียวกับคำตอบในตัวเลือกอื่นด้วยจะเห็นชัดว่าต่างกันมาก

3. คำว่า ตัวแปรเชิงคุณภาพ คือ ข้อมูลที่วัดเป็นตัวเลขได้ยากจะมองเห็น
เป็นตัวเลขเป๊ะๆ ได้ยาก เช่น ชอบ – ไม่ชอบ เล็กกว่า ใหญ่กว่า
ขนาดกลาง อ้วน ท้วม ผอม สวย เก่ง

ข้อ ก. มี เล็ก กลาง ใหญ่ (ไม่บอกตัวเลข)
ข้อ ข. สัดส่วนของจำนวนคน : ทั้งหมด
ข้อ ค. ความคิด ไม่เป็นตัวเลขวัดได้ยาก
ข้อ ง. สภาวการณ์ ดูยาก
(ส่วนดอกเบี้ยเป็นตัวเลข เราพูดถึง “สภาวการณ์” ไม่ได้พูดถึงตัวดอกเบี้ย
ข้อ จ. สภาพสมรส (อันที่จริง ตรงนี้บอกได้ว่า Yes หรือ No)
ตอบ เราพูดถึง “สภาพ” ซึ่งคล้ายๆ กับ คำว่า สภาวการณ์ ข้อ
ข. เป็นตัวแปรเชิงปริมาณ เลือกข้อ ข ครับ
-----------------------

4. โจทย์ถามว่าไม่ใช่ตัวแปรเชิงปริมาณ
ตัวแปรเชิงปริมาณ เป็นตัวแปรที่เป็นตัวเลขเห็นชัดๆ เช่น
จำนวนนักเรียน, จำนวนเงินฝาก, ยอดขาย 3 ล้านบาท
น้ำหนัก 50 กิโลกรัม , พวกนี้เป็นตัวแปรเชิงปริมาณ
ก. กำไร เป็นตัวเลข เช่น กำไร 2.5 ล้านบาท
ข. งบประมาณ เป็นตัวเลข เช่น งบ 3.2 ล้านบาท
ค. จำนวนพนักงาน เป็นตัวเลข เช่น 20 คน
ง. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นตัวเลข เช่น 3%
จ. องค์ประกอบของรัฐสภา ไม่เป็นตัวเลข
ต้องแจงว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง

ดังนั้นข้อนี้ไม่เป็นตัวแปรเชิงปริมาณ

5. ตัวแปรแบบต่อเนื่อง
เช่น ความยาว อายุ จำนวนเงิน
(คือ ดูตรงที่ว่า ถ้ามีเศษส่วน หรือ ทศนิยม แล้วยังคงให้ความหมายอยู่)
ถ้าทำเป็นเศษส่วน หรือทศนิยม แล้วไม่ให้ความหมาย
หรือเป็นไปไม่ได้ ก็ไม่ถือว่าเป็นตัวแปรต่อเนื่อง
เช่น มีลูกจ้างอยู่ 2.5 คน อย่างนี้ไม่ต่อเนื่อง
มีเพศชายอยู่ 3.75 คน อย่างนี้ไม่ต่อเนื่อง
ข้อ ค. พูดถึงปริมาณเงินลงทุน
(ปริมาณเงินลงทุนทั้งเป็นเศษส่วน หรือ ทศนิยมได้
และยังให้ความหมายได้ครบ ดังนั้น ข้อ ค. ตัวเลขเชิงปริมาณแบบต่อเนื่อง

6.ถามถึงข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง
โจทย์พิมพ์ผิด ต้องถามว่า "ต่อเนื่อง"
ตอบ ข้อ ข.

ก. จำนวนวิศวกร ไม่ต่อเนื่อง (นับเป็นคนๆ ไป ไม่มี 1.48 คน)
ข. เงินปันผล ต่อเนื่อง ( นับเป็นทศนิยมได้ เช่น 3.85 บาท)
ค. จำนวนนักศึกษา ไม่ต่อเนื่อง ( เช่นเดียวกับ ข้อ. ก)
ง. ประเภท ไม่ต่อเนื่อง ( ประเภท แบ่งชัด ไม่มีก้ำกึ่ง ไม่มีครึ่งๆ กลางๆ)
จ. ประเภทอุตสาหกรรม ไม่ต่อเนื่อง ( เช่นเดียวกับ ข้อ. ง)

-----------------------------

7. มาตราแบบช่วง (เรื่องการจำแนกประเภทของข้อมูล)
หัวข้อ 1.1.4 หน้า 1-14 , 1-15 มี 4 อย่างคือ

1. มาตราจำนวนประเภท Nominal Scale
เช่น เพศ การศึกษา ศาสนา
เล็ก กลาง ใหญ่ ใช่ ไม่ใช่

2. มาตราแบบอันดับ Ordinal Scale
สามารถจัดได้ว่าอย่างไหน หรือคนไหน ดีกว่ากัน
เช่น ลำดับที่ 1 ที่ 2 ที่ 3
ชอบมาก ชอบน้อย ลดหลั่นลงไป
นางงาม ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3
สอบได้ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3

3. มาตราแบบช่วง Interval Scale
เป็นตัวเลขนำมา บวก ลบ คูณ หาร กันได้
เช่น คะแนนนักเรียน (คนได้ 0 ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความรู้)
อุณหภูมิ องศา C, องศา F
อัตราร้อยละ อัตราการเพิ่มทางเศรษฐกิจ

4. มาตราแบบอัตราส่วน (Ratio Scale)
มีศูนย์แท้ เช่น อายุ ความสูง น้ำหนัก

จาก 4 อย่างที่ว่ามา เรามาดู ตัวเลือกกัน
ก. อัตราเงินเฟ้อ เป็นร้อยละ แบบช่วง (เป็นแบบข้อ 3)
ข. มูลค่าขาย อัตราส่วน (เป็นแบบข้อ 4)
ค. งบโฆษณา อัตราส่วน(เป็นแบบข้อ 4)
ง. เงินปันผล อัตราส่วน(เป็นแบบข้อ 4)
จ. ความคิดเห็น อันดับ(เป็นแบบข้อ 2)
ตอบ ข้อ ก.

-------------------------

8. ข้อมูลตัดขวาง หรือ ณ เวลาเดียว นำมาแสดงหลายตัวแปร
ข้อมูลตัดขวาง คือ ปีเดียว หรือเวลาเดียวกัน
และนำมาแสดงมากกว่า 1 บริษัท
ให้ดู หนังสือหน้า 1-28 ถึง 1-32 หัวข้อ 1.2.2
เรื่องโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ของข้อมูล

ดูตาราง 1.18 หน้า 1-29 เป็นแบบข้อมูลตัดขวาง
มีการนำข้อมูล ณ เวลาเดียว มาแสดงให้ดูทั้งหมด
(มีข้อมูลด้านเงินออม เงินรายได้ ค่าใช้จ่ายจำเป็น)
ข้อมูลของกลุ่มครัวเรือน 1 กลุ่ม มี 10 ครัวเรือน
ถ้าเป็นบริษัทอาจมี 5, 8 หรือ 10 บริษัท หรือมากกว่าก็ได้

คำตอบ ข้อ ก. ถึง ข้อ ค. เป็นข้อมูลแบบอนุกรมเวลา
(ดูกิจกรรมหน้า 1-34 , 35 ข้อ 4. ประกอบด้วยครับ)

ตอบ ข้อ ง. เป็นแบบข้อมูลตัดขวาง
ข้อ จ. เป็นแบบอนุกรมเวลา

(ให้ดูหน้า 1-18 , 1-19 ประกอบด้วย)

ข้อสอบออกเรื่องนี้บ่อย ๆ โดยแสดงตารางมาให้ดู
แล้วถามว่าเป็นชนิดใด
ตอบภาคตัดขวาง หรือวัดซ้ำ หรือมากกว่า 1 เวลา

9. ถามถึงอนุกรมเวลา
จากข้อ 8 (ดูตัวอย่างหน้า 1-19 ตาราง 1.13)

ข้อ ก. เป็นภาคตัดขวาง มากกว่า 1 ระยะเวลา
ให้ดู (กิจกรรม 1.1.4)
ข้อ ข. วัดซ้ำ
ข้อ ค. อนุกรมเวลา (มีการต่อเนื่องกัน)
ข้อ ง. ตัดขวาง
ข้อ จ. ตัดขวางมากกว่า 1 ระยะเวลา 1 กลุ่ม

ข้อนี้ ตอบ ค. (ที่เฉลย ก. นั้นไม่ถูกต้อง)

ผลผลิตมวลรวมแต่ละปีไม่เกี่ยวเนื่องกัน อาจมาก หรือน้อยก็ได้
ส่วนดัชนีจะต้องใช้ตัวเลขปีก่อนๆ มาคำนวณร่วมด้วย จึงเป็นอนุกรมเวลา


10.ข้อมูลวัดซ้ำ คือ ข้อมูลเดียวกัน แล้วทำ เช่นเดียวกันหลายครั้ง

ก. ภาคตัดขวาง มากกว่า 1 ระยะเวลา (ดูกิจกรรม 1.1.4)
ข. วัดซ้ำ (ดูหน้า 1-19 ตาราง 1.14)
ค. อนุกรมเวลา
ง. ตัดขวาง
จ. ตัดขวาง มากกว่า 1 ระยะเวลา 1 กลุ่ม


หลังเรียน

1/หน้า9 ไม่ใช่ตัวแปรธุรกิจ

ข้อ จ. ชัดที่สุด

2/หน้า9 ไม่ใช่ตัวแปรทางธุรกิจ

ข้อ ค. ชัดที่สุด

3/9 ไม่ใช่ตัวแปรเชิงคุณภาพ

ก. ประเภทเป็นข้อมูลแบบอันดับ หน้า 1-15 เป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ
ข. สถานภาพ เป็นข้อมูลแบบจำแนกประเภทหน้า 1-15 เป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ
ค. ความคิดเห็นด้วยหรือไม่ เป็นแบบจำแนกประเภท เป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ
ง. สัดส่วน เป็นตัวแปรแบบช่วง เป็นตัวแปรเชิงปริมาณ *
จ. สถานภาพสมรส เป็นข้อมูลจำแนกประเภท เป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ

4/9 ไม่ใช่ตัวแปรเชิงปริมาณ
ก. ภาษีการค้า --> เป็นตัวเลข ---> เป็นเชิงปริมาณ
ข. ลักษณะธุรกิจ ---> เป็นจำแนกประเภท --> เป็นเชิงคุณภาพ *
ค. จำนวนพนักงาน --> เป็นตัวเลข --> เป็นเชิงปริมาณ
ง. อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก --> เป็นตัวเลข --> เป็นเชิงปริมาณ
จ. งบประมาณ --> เป็นตัวเลข --> เป็นเชิงปริมาณ

5/9 ข้อมูลเชิงปริมาณแบบต่อเนื่อง
ก. ปริมาณเงินลงทุน --> ทำเป็นทศนิยมได้ *
ข. จำนวนผู้ประกอบการ --> ทำเป็นทศนิยมไม่ได้
(ไม่มีคน 0.25 คน)
ค. จำนวนคน ทำเป็นทศนิยมไม่ได้ (ไม่มีคน 0.25 คน)
ง. จำนวนคน ทำเป็นทศนิยมไม่ได้ (ไม่มีคน 0.25 คน )
จ. จำนวนคน ทำเป็นทศนิยมไม่ได้ (ไม่มีคน 0.25 คน)

6/9 ข้อมูลเชิงปริมาณ --> ไม่ต่อเนื่อง
ก. มูลค่าทรัพย์สิน ทำเป็นทศนิยมได้
ข. เงินปันผล ทำเป็นทศนิยมได้
ค. จำนวนคน ทำเป็นทศนิยมไม่ได้ *
ง. มูลค่าการลงทุน ทำเป็นทศนิยมได้
จ. งบประมาณ ทำเป็นทศนิยมได้

7/9 ข้อมูลมาตราแบบช่วง
ก. กำไร ---> เป็นทศนิยมได้ มีศูนย์แท้ เป็นแบบสัดส่วนได้
ข. มูลค่า(หรือราคาของ) (เช่นเดียวกับข้อ ก.)
ค. งบประมาณ (เช่นเดียวกับ ก.)
ง. เงินปันผล (เช่นเดียวกับข้อ ก.)
จ. อัตราการเจริญเติบโต
(ต้องใช้ตัวเลข 2 ตัวมาหารกัน อาจไม่มีศูนย์แท้ เป็นแบบช่วง)

8/9 ข้อมูลตัดขวาง
ก. ปริมาณเงินลงทุน ---> ตัดขวาง --> หลายระยะเวลา
ข. ตัดขวาง 1 กลุ่ม --> หลายระยะเวลา
ค. อนุกรมเวลา
ง. ตัดขวาง 1 ระยะเวลา *
จ. ตัดขวาง หลายระยะเวลา
ข้อนี้โจทย์ ถามไม่ชัด ตัวเลือกที่ต่างพวกมี ข้อ ง.

9/10 อนุกรมเวลา
ก. ดัชนีเป็นอนุกรมเวลา เนื่องจากต้อง
ต้องตัวเลขปีก่อนมาใช้ร่วมด้วย
ข. เรื่องเดียวกัน ทำซ้ำ 3 ปี เป็นวัดซ้ำ 10 บริษัท
ค. เป็นภาคตัดขวาง หลายระยะเวลา 1 บริษัท
ง. ภาคตัดขวาง 1 กลุ่ม 1 ระยะเวลา
จ. ภาคตัดขวาง 1 กลุ่ม หลายระยะเวลา

10/10 ข้อมูลวัดซ้ำ
ตอบ ข้อ ข (จากข้อ 9)




 

Create Date : 04 มิถุนายน 2554
0 comments
Last Update : 4 มิถุนายน 2554 21:55:53 น.
Counter : 8726 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


น้าพร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 81 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าพร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.