มารู้จักปะการัง

กำเนิดปะการัง



ปะการังกำเนิดมาบนโลกสีน้ำเงินใบนี้กว่า 500 ล้านปี ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับมนุษย์แล้ว ถือว่าปะการังอยู่บนโลกใบนี้มานานกว่าพวกเรามากนัก ปะการังก็เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ พยายามจะดำรงเผ่าพันธุ์ตัวเองไว้ จากรุ่นสู่ร่นจากลูกสู่หลาน เมื่อปะการังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จากตัวเป็นกลุ่มก้อน (colony) ก่อเกิดแนวการังขึ้นมา แล้วกระจายตัวออกไปตามพื้นที่ต่างๆ จนในปัจจุบันเราสามารถพบเห็นแนวปะการังได้ทั่วไปโดยเฉพาะในเขตร้อนอย่างบ้านเรานั้นเอง


ประเทศไทยพบแนวปะการังได้ทั้งทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน มีปะการังกว่า 270 ชนิด จาก 1000 กว่าชนิดทั่วโลก ซึ่งเป็นที่อาศัยของปลากว่า 4,000 ชนิด รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในทะเลมากมาย แนวปะการังโดยทั่วไปพบได้ตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงประมาณ 30 เมตร หรือในบริเวณแสงอาทิตย์ส่องถึง อุณหภูมิประมาณ 20-32 องศาเซลเซียส และมักจะเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่น้ำค่อนข้างใส แต่ก็มีบางชนิดที่ปรับตัวและอาศัยอยู่ได้ในบริเวณน้ำขุ่น


“ปะการัง” กล่าวถึงพระเอกกันสักนิด ปะการังเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเลที่สามารถดึงแคลเซียมคาร์บอเนตจากน้ำทะเลมาสร้างบ้านของตัวเองหรือโครงสร้างหินปูนได้สามารถสืบพันธุ์หรือเพิ่มจำนวนตัวได้ 2 แบบ คือโดยการอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ เช่นเดียวกับสัตว์หลายชนิดเช่น ต่างกับคนเราที่สืบพันธุ์ได้แบบเดียวคือสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในปะการังก็มีหลายแบบค่ะเช่น การแตกหักจากก้อนปะการังเดิม หรือการแตกหน่อ ส่วนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศซึ่งมีทั้งแบบที่ปล่อยตัวอ่อนออกมาสู่มวลน้ำโดยตรงและแบบที่ปะการังปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ (ไข่และน้ำเชื้อ) ออกมาผสมเกิดเป็นตัวอ่อนในมวลน้ำ หลังจากนั้นตัวอ่อนปะการังจะดำรงชีวิตเป็นแพลงก์ตอนคือล่องลอยไปตามมวลน้ำซึ่งใช้ระยะเวลาในมวลน้ำแตกต่างกันไปในแต่ละชนิด เมื่อตัวอ่อนปะการังพร้อมก็จะเลือกลงเกาะในพื้นที่ที่เหมาะสม


ส่วนช่วงเวลานั้นปะการังเองก็มีช่วงเวลาการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ โดยมักจะอ้างอิงกับพระจันทร์แต่ก็แตกต่างกันไปบ้างในแต่ละชนิดและสถานที่ซึ่งอาจคลาดเคลื่อนไป 1-2 เดือน โดยมากปะการังจะปล่อยเซลล์สืบพันธุ์หลังจากพระอาทิตย์ตกดินประมาณ 2-3 ชั่วโมงในช่วง 3-4 วันหลังพระจันทร์เต็มดวง และมักเกิดปรากฎการณ์ที่พบว่าปะการังแต่ละชนิดในแนวปะการังแต่ละพื้นที่จะปล่อยเซลล์สืบพันธุ์พร้อมๆ กันในช่วงเวลาเดียวกันเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้ไข่และน้ำเชื้อที่ปล่อยออกมาจากปะการังแต่ละตัวจะเกิดการผสมพันธุ์กันมากที่สุด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่หลายคนที่ทำงานเกี่ยวกับทะเลหรือปะการังเฝ้ารอที่จะมีประสบการณ์สักครั้งกับการพบเห็นการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ของปะการัง แต่เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวค่อนข้างที่จะจำเพาะและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละปีรวมถึงยังไม่มีการศึกษาให้รู้ถึงช่วงเวลาที่ชัดเจนทำให้พลาดโอกาสสำคัญนี้ได้ง่าย อย่างไรก็ตามจากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าปะการังฝั่งทะเลอ่าวไทยมีแนวโน้มที่จะปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ในช่วงที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นหรือในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนและฝั่งทะเลอันดามันพบปะการังหลายชนิดปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ในช่วงเวลาเดียวกัน


เมื่อปะการังกำลังจะปล่อยเซลล์สืบพันธุ์นั้นมันจะดันไข่พร้อมถุงน้ำเชื้อมาอยู่บริเวณด้านผิวของโครงสร้างหินปูนสักพักหนึ่งก่อนที่ก้อนเซลล์สืบพันธุ์ (bundel) จะถูกปล่อยออกมา รูปร่างหน้าตาของไข่ปะการังนั้นส่วนมากมีลักษณะเป็นวงรีมีขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร สีส้ม แดงหรือเขียวแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยในแต่ละชนิด ไข่ปะการังหลายชนิดมีขนาดใหญ่จนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ภายในของไข่ปะการังส่วนใหญ่ประกอบด้วยไขมันและน้ำเป็นส่วนประกอบหลักจึงมีพฤติกรรมลอยอยู่บริเวณผิวน้ำทำให้สามารถลอยไปในพื้นที่ต่างๆได้ไกลออกไป ซึ่งพื้นที่ที่ตัวอ่อนปะการังจะลงเกาะมักจะลงเกาะบนพื้นผิวที่แข็ง ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตดังที่กล่าวมาแล้ว นอกจากนั้นสิ่งมีชีวิตอื่นบางชนิดยังเป็นตัวชักนำให้ปะการังลงเกาะอีกด้วย เช่นสาหร่ายสีแดงพวกที่สร้างหินปูนเป็นลักษณะเคลือบ หลังจากที่ตัวอ่อนปะการังลงเกาะแล้ว พวกมันยังมีความสามารถพิเศษตรงที่ถ้าพบว่าพื้นที่นั้นไม่เหมาะสมก็สามารถที่จะปล่อยตัวเองให้หลุดออกจากพื้นผิวแล้วลอยไปตามน้ำเพื่อหาพื้นผิวใหม่ที่เหมาะสมต่อไปได้อีกด้วย และเมื่อพอใจกับบ้านที่เหมาะแล้วมันก็จะเจริญเติบโตขยายขนาดจนกลายเป็นแนวปะการังที่เราพบเห็นในปัจจุบัน

-ขอบคุณข้อมูลจากเวป //www.biotec.or.th คลิ๊กเลย เรื่อง/ภาพ ลลิตา ปัจฉิม

ปะการัง

มีประมาณ 400 ชนิดแบ่งตามลักษณะที่เห็นภายนอกได้ 7 กลุ่มดังนี้

1. ปะการังเขากวาง มีลักษณะคล้ายเขากวาง บริเวณกิ่งมีตุ่ม รอบ ๆ ตุ่มเป็นที่อยู่ของตัวปะการัง



2. ปะการังแผ่น มีลักษณะการขยายตัวออกเป็นแผ่นในแนวราบคล้ายโต๊ะ บางแห่งอาจซ้อนกันเป็นชั้น ๆ



3. ปะการังเคลือบ มีลักษณะการขยายตัวหุ้มฐานพื้นที่ที่ปะการังติดอย




4. ปะการังก้อน มีลักษณะเป็นก้อนตันคล้ายก้อนหิน



5. ปะการังกึ่งก้อน มีลักษณะการเติบโตรวมกันเป็นกระจุกค่อนข้างแน่นแต่ไม่ติดเป็นก้อนเดียวกัน



6. ปะการังเห็ด มีลักษณะการเติบโตแผ่ออกคล้ายดอกเห็ด



7. ปะการังกิ่งก้าน มีลักษณะการเติบโตเป็นกิ่งก้านแตกแขนง



การสืบพันธุ์

ปะการังการสืบพันธุ์ 2 แบบ ดังนี้

แบบที่ 1 การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ซึ่งตัวอ่อนที่เกิดจากไข่เมื่อถูกผสมแล้วจะล่องลอยไปในน้ำ เพื่อหาที่เกาะในแหล่งใหม่

แบบที่ 2 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแตกหน่อขยายออกไปจากตัวเดิมทำให้ก้อนปะการังมี ขนาดใหญ่ขึ้น และลงเกาะทับถมกันเป็นเวลานานนับร้อย ๆ ปี เป็นแนวหินปูนใต้น้ำเรียกว่า "แนวปะการัง"

แนวปะการัง เป็นที่อยู่อาศัยหลบภัยและเป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดได้แก่ สาหร่ายเซลล์เดียว หญ้าทะเลฟองน้ำ ปะการัง กัลปังหา ดอกไม้ทะเล หนอนทะเล หอย หมึกทะเล กุ้ง ปู ปลา ฯลฯ แนวปะการัง จึงเป็นระบบนิเวศน์ที่มีความสำคัญ และมีความสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำอีกระบบหนึ่งของระบบนิเวศน์ ชายฝั่งทะเล

สาหร่ายเซลล์เดียวเป็นผู้ช่วยสร้างอาหารและโครงสร้างหินปูนให้แก่ตัวปะการัง โดยกระบวนการ ทางสังเคราะห์แสง โดยใช้หนวดจับสัตว์เล็ก ๆ



การเจริญเติบโต

ปะการังบางชนิดมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตรต่อปี ส่วนปะการังก้นมีอัตราการเติบโต เฉลี่ย 1-2 เซนติเมตรต่อปี ปะการังจะเติบโตได้ดีในน้ำทะเลที่ใสสะอาด ความเค็มคงที่ มีแสงสว่างส่องถึง ระดับอุณหภูมิที่ 18-32 องศาเซลเซียส หากระบบนิเวศน์เสื่อมโทรม แนวปะการังจะถูกทำลายกว่าจะฟื้นตัวได้ ต้องใช้เวลานานหลายสิบปี

ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาว 2, 6696 กิโลเมตรอยู่ในพื้นที่ 22 จังหวัดซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับทะเล และมีแนวปะการังตามชายฝั่งเกาะต่าง ๆ ที่มีความงดงามติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก


ประโยชน์ของปะการังมีดังนี้

1. เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำเศรษฐกิจหลายชนิด สัตว์น้ำที่หายากและใกล้สูญพันธุ์

2. เป็นกำแพงป้องกันชายฝั่งพังทลายจากคลื่นลม กระแสน้ำและพาย

3. เป็นแหล่งท่องเที่ยวและนันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจโดยดำน้ำและถ่ายภาพธรรมชาติใต้น้ำ

4. เป็นแหล่งกำเนิดทรายให้ชายหาดโดยการสึกกร่อนของแนวโครงสร้างหินปูน

5. เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ โดยจะมีสัตว์น้ำเศรษฐกิจหลายชนิดมาอาศัยและแพร่ขยายพันธุ์

6. เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านระบบนิเวศวิทยาชายฝั่งและด้านการแพทย์ เช่น การสกัดสารทำยาต่อต้านมะเร็ง จุลชีพน้ำยาป้องกันการตกผลึก


ปะการังถูกทำลายและเสื่อมสลายโดยธรรมชาติ และฝีมือมนุษย์
โดยธรรมชาติ

1. พายุ กระแสน้ำ และคลื่นลม

2. สิ่งมีชีวิตอื่น ได้แก่ หอยบางชนิด เพรียง หอยเม่น ปลานกแก้ว ปลานกแก้ว ปลาผีเสื้อ ฯลฯ

3. สัตว์ที่กินปะการัง ได้แก่ ปลาดาวหนาม หรือดาวมงกุฎหนาม หอยสังข์หนาม
โดยมนุษย์

ซึ่งมีผลต่อการทำลายปะการังทันที

1. การจับสัตว์น้ำในแนวปะการังเป็นการจับสัตว์น้ำด้วยวิธีที่ผิดกฎหมายว่าด้วยการประมง อาทิ การใช้ระเบิดสารเคมี ใช้ลอบ ฉมวก ยิงปลา จับกุ้ง หอย และปลา ฯลฯ ทำให้ระบบนิเวศน์บริเวณแนว ปะการังขาดสมดุล

2. ผลกระทบจากการท่องเที่ยวอันเนื่องมาจากการเดิน ยืน เก็บ ทิ้ง และถอนสมอเรือ ทำให้ปะการังหักพัง

3. การขุดร่องน้ำ และก่อสร้างอาคารยื่นล้ำชายหาด ทำให้ทรายถูกพัดพาไปทับถมปะการัง

4. การทิ้งของเสีย และสิ่งปฏิกูลในบริเวณแนวปะการังทำให้ระบบนิเวศน์ขาดสมดุล

5. การขุดทำเหมืองแร่และน้ำล้างแร่ ซึ่งมีกากตะกอนมากเกินกว่าการปรับตัวตามธรรมชาติและน้ำ ขาดออกซิเจนทำให้ปะการังต้องตาย


การอนุรักษ์ปะการัง

ปะการังเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เปราะบาง และต้องใช้เวลายาวนานในการเติบโตที่เรียกว่า แนวปะการัง เป็นโครงสร้างหินปูน (โพลิป) ซึ่งเปรียบเสมือนกำแพงธรรมชาติ บรรเทาคลื่นลมกระแสน้ำ โครงสร้างปะการัง ถูกกัดกร่อนด้วยกระแสคลื่นพัดเข้าสู่ฝั่งเป็นเม็ดทรายที่ขาวสะอาด ให้กับชายหาด ในปริมาณ 1 ตัน/ไร่ 1 ปี นอกจากนี้บริเวณดังกล่าวยังเป็นที่อาศัยของสัตว์ทะเลนานชนิดดังนั้นการอนุรักษ์ปะการัง เพื่อธำรงรักษา สภาพแวดล้อม โดยความร่วมมือร่วมใจของประชาชน ภาครัฐบาล เอกชนและองค์การต่าง ๆ ดังนี้

1. สงวนคุ้มครองแนวปะการังที่ยังไม่ถูกทำลาย โดยประกาศเขตคุ้มครอง

2. ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้มีความตระหนักถึงคุณประโยชน์ปะการัง

3. มาตรการการจัดการที่เหมาะสม เช่นการออกกฎหมายเพิ่มโทษแก่ผู้ทำลายปะการัง การจัดฝึกอบรม และสัมมนาการจัดแทรก หลักสูตรการศึกษา

4. การติดตั้งทุ่นผูกเรือ เพื่อมิให้มีการทอดสมอเรือในแนวปะการัง

5. ลดการใช้ประโยชน์แนวปะการังให้น้อยที่สุดเช่น การจับสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ปลาสวยงาม การเก็บปะการัง การยืนและเดินบนปะการังของนักดำน้ำ ฯลฯ

6. รักษาสมดุลและระบบนิเวศน์ชายฝั่งทะเลให้เอื้ออำนวยต่อการอาศัยและเติบโตแพร่พันธุ์ของปะการัง

7. สร้างความตระหนักและจิตสำนึกให้เห็นความสำคัญ คุณค่าและคุณประโยชน์ปะการังที่มีต่อมวลมนุษย์ โดยงดการทิ้งของเสียและสิ่งปฏิกูลลงสู่ทะเลโดยตรง

8. กระตุ้นการประสานความร่วมมือของทุกคนทุกฝ่ายอย่างใกล้ชิดเพื่อฟื้นฟูและรักษาแนวปะการัง ให้มีความงดงามตามธรรมชาติ

จะเห็นได้ว่า ปะการังมีคุณประโยชน์แก่มนุษย์พืชและสัตว์ทะเลอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดสีสัน ความสวยงามซึ่งธรรมชาติสร้างสรรค์ให้อย่างวิจิตรงดงามเป็นแหล่งที่ให้ความเพลิดเพลิน และเป็นแหล่ง อาศัยของสัตว์น้ำทะเลที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนานาชนิดนับเป็นแหล่งธรรมชาติที่ทุกๆ คนจักต้องตระหนักถึง ความสำคัญ และให้ความร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ ให้เป็น ชนสมบัติ ที่สามารถให้ผลผลิตที่ยั่งยืนต่อเนื่องตลอดไป

มาตรการอนุรักษ์
กรมประมงได้กำหนดมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำดังต่อไปนี้

- ผู้ฝ่าฝืนทำการประมงปะการัง หรือหินปะการังทุกชนิด ทุกขนาดไม่ว่าวิธีใด ๆ ในทะเล หรืออ่าวในท้องที่ จังหวัดชายทะเลทุกจังหวัด มีความผิดต้องโทษปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ทั้งปรับทั้งจำ

- ผู้ฝ่าฝืนทำการประมงดำน้ำโดยใช้อวนล้อมทุกชนิดทุกขนาด หรือลักษณะคล้ายกัน โดยวางบนพื้นทะเล แล้วดำน้ำ เดินเหยียบย่ำบนแนว ปะการังเพื่อไล่ต้อนปลาเข้าอวน มีความผิดต้องโทษปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

- ผู้ฝ่าฝืนทำการประมงโดยใช้กระแสไฟฟ้า วัตถุระเบิด สารเคมี ยาเบื่อเมามีความผิดต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท และริบของกลางทั้งสิ้น

- ผู้ฝ่าฝืนส่งปะการัง ซากส่วนหนึ่งส่วนใด ผลิตภัณฑ์จากปะการังและปลาสวนงามออกนอกประเทศ มีความผิดต้องโทษปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้า จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำและริบของกลาง รวมทั้งสิ่งที่บรรจุและพาหนะใด ๆ ที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าซึ่งเกี่ยวเนื่องด้วยความผิด

- ผู้ฝ่าฝืนมีหินปะการัง กัลปังหา เต่าทะเล กระและผลิตภัณฑ์ไว้ในครอบครองเพื่อการค้า มีความผิดต้องโทษ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

- ผู้ฝ่าฝืนทำการประมงใจเขตรักษาพืชพันธ์ มีความผิดต้องโทษปรับ 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ


-ขอบคุณข้อมูลจากเวป //www.navy.mi.th คลิ๊กเลย


*** รูปภาพทั้งหมด เอามาจากเวปต่างๆ ผมต้องขอโทษด้วยครับที่ผมนำเอามาประกอบโดยมิได้ขออนุญาตโดยตรงจากท่าน ทั้งหมดที่ผมเอารูปมาลงมิได้ทำการเพื่อเชิงพานิชณ์แต่ประการใด ถ้าหากท่านเห็นไม่สมควรแจ้งให้ผมลบภาพท่านได้ครับ ขอบคุณสำหรับรูปภาพประกอบทุกท่านด้วยครับ ขอบคุณจากใจ nongmalakor ***




 

Create Date : 15 พฤศจิกายน 2555
1 comments
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2555 19:23:31 น.
Counter : 7127 Pageviews.

 

แวะมาเยี่ยมยามค่ำคืน...สวัสดีครับ

 

โดย: **mp5** 15 พฤศจิกายน 2555 21:39:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


nongmalakor
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 120 คน [?]




ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
Google
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2555
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
15 พฤศจิกายน 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add nongmalakor's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.