การที่จะทำให้คนทั้งโลก..พึงพอใจตัวเราในทุกเรื่อง..มันคงไม่ไหวในเมื่อคุณชี้แจงไปแล้ว เขาก็ควรจะยอมรับฟัง แต่เมื่อเขาไม่ฟัง และคุณก็ได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุดไปแล้วก็คงต้อง “ ปล่อยมันไป "
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
20 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
การเปลี่ยนแปลงหลังคลอด

เมื่อได้พบกันหลังจากรอมานานตั้งแต่ 9 เดือน คราวนี้เรามาดูกันดีกว่า ว่าในสัปดาห์แรกนั้น แม่กับลูกจะมีท่าทางการเคลื่อนไหวอย่างไรถึงจะเหมาะสมกับทั้งคู่ค่ะ

For Baby
ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่คงจินตนาการว่า หลังจากออกจากท้องอันอับอุ่นของคุณแม่มาพบโลกกว้าง ลูกคงเอาแต่กินกับนอนเกือบทั้งวัน แต่ถึงตอนนี้ที่ลูกคลอดออกมาแล้วคุณแม่คงสงสัยว่าทำไมทารกตัวน้อยสามารถเคลื่อนไหวได้หลายๆอย่าง ซึ่งความจริงแล้วท่าทางหลายๆอย่างนั้นเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (Reflex) ที่เกิดขึ้นเองและจะหายไปเมื่อลูกอายุมากขึ้นค่ะ (ประมาณ 3 เดือน)

การนอน
เป็นสิ่งที่ลูกทำมากที่สุดในช่วง ท่านอนของลูกจะคล้ายๆกับท่าที่นอนอยู่ในท้อง คือจะนอนงอตัว เอาคางชิดหน้าอก กำมือ งอแขนงอขาเข้าหาตัว

หันหา – ดูดนม
ถ้าหากคุณแม่เอามือเขี่ยที่ข้างแก้มหรือมุมปาก คุณลูกก็จะหันหน้าเข้ามาพร้อมกับอ้าปากงับไปทางนั้นทันทีถือเป็นกลไกลธรรมชาติที่ช่วยให้ลูกดูดนมได้นั่นเอง

สะดุ้ง ผวา
หากมีเสียงดัง เจ้าตัวเล็กก็อาจจะสะดุ้งหรือผวาขึ้นได้โดยจะกางแขนกางขาเกร็งสักครู่แล้วถึงกลับมานอนท่าเดิมนี่ก็เป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับเช่นกันค่ะ และถ้ากลัวลูกจะสะดุ้งผวา คุณแม่ก็อาจจะห่อตัวลูกไว้ก็จะช่วยได้ค่ะ
ถีบ
จากที่เคยต้องนอนคุดคู้อยู่ในท้องแม่ ตอนนี้ออกมาอยู่ที่โล่งๆเคลื่อนไหวสบายแล้วก็เลยถีบโชว์ให้เห็นกันแต่กล้ามเนื้อหนูยังไม่แข็งแรง ควบคุมทิศทางไม่ได้ ก็เลยเหมือนถีบสะเปะสะปะไปสักหน่อย
กำมือ

หากคุณแม่เอานิ้วหรือเอาของให้ลุกจับ ลุกจะกำไว้แน่นมากจนยกตัวขึ้นลอยได้เลยทีเดียว
ก้าวเดิน

ถ้าอุ้มลูกยืนให้เท้าแตะพื้น เจ้าตัวเล็กของคุณจะก้าวเดินได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วลูกยังเดินไม่เป็นหรอกค่ะปฏิกิริยานี้จะหายไปเมื่ออายุได้ 3 เดือนค่ะนี่แหละท่าทางเคลื่อนไหวของลูก ถ้าออกท่าออกทางอย่างนี้ก็แสดงว่าลูกรักของคุณแม่ปกติ ไม่ต้องกังวลไปหรอกค่ะ

For Mom
หลังจากผ่านช่วงเวลาอันสำคัญที่ทั้งเหนื่อยทั้งเจ็บปวดของความเป็นแม่เมื่อคลอดลูกรักออกมาได้สมใจแล้วเพื่อให้คุณแม่ฟื้นตัวกลับมาแข็งแรงควรเคลื่อนไหวด้วยท่าทางที่เหมาะสมต่อไปนี้ค่ะ

คลอดธรรมชาติ

วันแรก
พักเหนื่อย เริ่มให้นม หลังจากคลอดลูก คลอดรก เย็บฝีเรียบร้อย คุณแม่ก็จะสบายตัวขึ้น(ไม่อึดอัดเพราะท้องใหญ่ๆแล้ว) ถึงจะเจ็บแผล ปวดท้องเพราะมดลูกบีบตัวก็ตาม แต่คุณแม่อย่าเพิ่งใจร้อนลุกขึ้นเร็วนัก เพราะอาจจะหน้ามืดวิงเวียนเนื่องจากเสียเลือดไปเยอะเอาได้ ทางที่ดีควรนอนพักเอาแรงเติมพลังสักหน่อยก็จะสดชื่นพร้อมปฏิบัติหน้าที่คุณแม่คนใหม่และเริ่มให้นมลูกแล้ว

วันที่ 2
เจ็บแผล ปวดมดลูก ยังตึงแผลฝีเย็บอยู่ เวลาลุกนั่งจะลำบากสักนิดเพราะจะเจ็บแผลเวลาทิ้งน้ำหนักตัวลงนั่ง เพราะฉะนั้นท่านั่งที่สบายก็น่าจะเป็นท่านั่งพับเพียบหรือจะหาห่วงยาง(แบบขนมโดนัท) มาร่องนั่งก็สบายดี หนำซ้ำเวลาเดินก็อาจจะเหมือนนักเลง เพราะช่วงนี้อาจจะต้องเดินขากางๆไปก่อนเพื่อแผลจะได้ไม่ถูกเสียดสี คงต้องรอสัก 7 วัน ก็จะค่อยๆดีขึ้น กลับมาเดินสวยเหมือนเดิมได้แล้ว

วันที่ 3 เป็นต้นไป
กลับบ้าน เริ่มบริหารร่างกาย ช่วงนี้จะเริ่มเจ็บแผลน้อยลง เริ่มทำกิจกรรมต่างๆได้เหมือนปกติ แต่อาจยังมีการปวดเกร็งมดลูกอยู่โดยเฉพาะตอนให้นมลูก เพราะมดลูกกำลังบีบตัวนั่นเอง น้ำคาวปลายังไหลอยู่แต่เริ่มมีสีอ่อนและลดปริมาณลง และถ้าแผลไม่ค่อยเจ็บแล้วคุณแม่ก็อาจจะบริหารด้วยการ “ขมิบก้น” เพื่อให้แผลฝีเย็บหายเร็วและกล้ามเนื้อบริเวณนั้นแข็งแรงขึ้นนอกจากนั้นคุณแม่ยังเริ่มบริหารร่างกายเบาๆเพื่อให้หุ่นกลับมากระชับฟิตแอนด์เฟิร์มได้แล้วที่สำคัญต้องหาเวลาเวลาพักผ่อนนอนหลับให้มากๆเรียกว่าลูกหลับก็ต้องรีบงีบพักผ่อน จะได้มีแรงตื่นมาให้นมเจ้าตัวเล็กไงคะ

ผ่าคลอด

วันแรก
นอนพัก หลังผ่าตัดได้ชื่นใจพบหน้าตาเจ้าตัวเล็กเรียบร้อยแล้วคุณหมอก็จะให้คุณแม่นอนพักอยู่ในห้องสังเกตอาการอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นถึงจะย้ายกลับไปที่ห้องพักค่ะ
ช่วงนี้คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกเจ็บแผลผ่ามากนัก ไม่ว่าจะเป็นแผลผ่าตัดรวมถึงยังต้องให้น้ำเกลือหรือใส่ท่อปัสสาวะทำให้ลุกนั่งไม่ค่อยสะดวกนัก วันแรกอย่างนี้คุณแม่จึงต้องนอนพักที่เตียงเสียเป็นส่วนใหญ่ค่ะ ช่วงนี้คุณแม่ยังงดน้ำและอาหารเพื่อให้ลำไส้ได้พักก่อน แต่ถึงจะอยู่กับเตียงควรจะพลิกตัวไปมาหรือลุกขึ้นนั่งเพื่อให้นมลูก นอกจากกระตุ้นให้มีน้ำนมแล้วยังช่วยกระตุ้นให้ลำไส้พร้อมจะทำงานด้วยค่ะ

วันที่ 2
ลุกนั่ง – เดินใกล้ ๆ ยังเจ็บแผลอยู่ แต่สบายตัวขึ้นเพราะถอดสายน้ำเกลือและท่อปัสสาวะอกแล้ว ทำให้ลุกมาเข้าห้องน้ำสะดวกขึ้นช่วงนี้คุณแม่ควรลุกเดินถึงจะยังเจ็บแผลที่ผ่าอยู่ก็ตามเพราะจะทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี ท้องไม่อืด แถมแผลติดดีไม่เป็นพังผืดค่ะ

วันที่ 3- 4
เดินคล่องขึ้นเจ็บแผลน้อยลง เดินเหินไปไหนมาไหนได้คล่อง แต่อาจจะมีตึงที่แผลบ้างเวลานั่งหลังตรงๆ เวลาอุ้มลูก ไอ จาม หรือยืนนานๆ

วันที่ 4 – 7
กลับบ้าน เลี้ยงลูก ยังต้องระวังเรื่องแผลที่ท้อง จึงยังออกแรงบริเวรหน้าท้องไม่ได้ แต่สามารถนั่ง ยืน เดินได้ตามปกติ ส่วนการขึ้นลงบันไดก็ทำได้แต่อาจจะเนิบนาบช้ากว่าเดิมเท่านั้นเองคุณแม่คงต้องสาละวนกับการเลี้ยงลูก พร้อมกับหาเวลาพักผ่อนนอนหลับให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ไปพร้อมๆกันเรียกว่าช่วงนี้คุณแม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้เกือบปกติ ยกเว้นกิจกรรมที่เป็นข้อห้ามตามที่แนะนำค่ะ

Concern
- ช่วงหลังคลอดคุณแม่ยังไม่ควรยกของหนัก หรือออกแรงมากๆ จนเกร็งบริเวณท้อง เพราะอาจจะกระเทือนกับแผลผ่าคลอดหรือมดลูกได้ ทางที่ดีควรให้แข็งแรงพ้น 1 เดือนไปก่อนจะดีกว่า
- เวลาให้นมลูกอาจจะให้ท่านอนให้นมหรือจะนั่งในท่าที่รู้สึกสบาย โดยหาหมอนมารองตัวลูกที่ตัก เพื่อช่วยให้ไม่ปวดตึงบริเวณท้องและหลังของคุณแม่ค่ะ




Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2553 14:16:12 น. 0 comments
Counter : 491 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nokpromthip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีทุกท่าน ที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog น้องมิลล์ กะ แม่นกจ้า ขอให้รวย ๆๆๆๆๆๆ ทุกคนที่แวะมา


*****วันหลังแวะมาเยี่ยมใหม่นะค่ะ *****
นุ้งมิลค์...ยินดีต้อนรับจ้า…
Friends' blogs
[Add nokpromthip's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.