กันยายน 2551
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
1 กันยายน 2551
 

ศิลปะโรโคโค

ศิลปโรโคโค (ภาษาอังกฤษ:Rococo) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า "ศิลปแบบหลุยส์ที่ 14" (Louis XIV Style) ศิลปโรโคโคเริ่มพัฒนามาจากศิลปฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ห้องที่ออกแบบแบบโรโคโคจะเป็น เอกภาพ คือทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องประดับ จะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกัน คือไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมา ภายในห้องจะมีเฟอร์นิเจอร์ที่หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็กๆแบบประดิดประดอย ภาพเขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนัง ที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปโรโคโคมาแทนด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิค
คำว่าโรโคโคมาจากคำสองคำผสมกัน คำว่า rocaille จากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงศิลปะการตกแต่งที่ใช้ลวดลายคล้ายหอยหรือใบไม้ และคำว่า barocco จากภาษาอิตาลี หรือที่เรียกว่า ศิลปะบาโรก ศิลปินโรโคโคจะนิยมเล่นเส้นโค้งตัวซีและตัวเอส (S และ C curves) แบบเปลือกหอย หรือการม้วนต้วของใบไม้ เป็นหลัก และจะเน้นการตกแต่งประดิดประดอย จนทำให้นักวิจารณ์ศิลปะค่อนว่าเป็นศิลปะของความฟุ้งเฟ้อและเป็นเพียงศิลปะสมัยนิยมเท่านั้น คำว่าโรโคโคเมื่อเริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1836 เป็นภาษาพูดที่หมายความว่า โบราณล้าสมัย แต่พอมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำนี้ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะ ถึงจะมีการถกเถียงกันถึงความสำคัญของศิลปะลักษณะนี้ โรโคโคก็ยังถือกันว่าเป็นสมัยของศิลปะที่มีความสำคัญสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก
แหล่งข้อมูล
//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%84


เรามาเริ่มรู้จักศิลปะยุคนี้ที่ละน้อยไปพร้อมๆกันดีกว่าใหมครับ

เริ่มแรกก็งานประเภทประติมากรรมกานเลย



คิวปิดแกะลูกศรจากกระบองของเฮอร์คิวลีส โดย ประติมากรเอ็ดเม บูชาดอง (Edmé Bouchardon)

จาก //th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94

เท่ปะ รูปนี้เปงประติมากรรมของบูชาดองอะ เค้าเปงศิลปินคนสำคัญของยุคโรโคโคเลยนา วันหลังจาหารูปเท่ๆมาให้ดูเพิ่มเติมนาครับ


เรามารู้จักกับการเริ่มต้นเลยดีกว่า

ประวัติ



ศิลปโรโคโคเริ่มขึ้นจากศิลปะการตกแต่งและศิลปะการตกแต่งภายใน ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส เมื่อปลายรัชสมัยการตกแต่งอย่างหรูหราแบบโรโคโคก็เริ่มเบาขึ้น มีเส้นโค้งมากขึ้น และลวดลายเริ่มเป็นธรรมชาติมากขึ้น ลักษณะเช่นนี้จะเห็นชัดได้จากผลงานของ นิโคลัส พินเนอ (Nicholas Pineau) ระหว่างสมัยรีเจนซ์ (Régence) ชีวิตราชสำนักก็เริ่มย้ายออกจากพระราชวังแวร์ซายส์ โรโคโคก็มีรากฐานมั่นคงขึ้นโดยเริ่มจากงานในวังหลวงแล้วขยายออกมาสู่งานสำหรับชนชั้นสูง ลักษณะอ่อนไหวและขึ้เล่นของโรโคโคทำให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อของรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยแท้





พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 (พระนามเมื่อแรกเกิดคือ หลุยส์ ดยุคแห่งอองชู Duke de Anjou) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2253 (ค.ศ. 1710) ที่พระราชวังแวร์ซาย ในรัชกาลของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้ทรงเป็นทวดของพระองค์
จาก//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%

พระราชวังแวร์ซายส์



พระราชวังแวร์ซายส์ (ภาษาฝรั่งเศส: Château de Versailles) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่เมืองแวร์ซายส์ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมหานครปารีส พระราชวังแวร์ซายส์เป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบันด้วย





ห้องกระจก(Galerie des Glaces หรือ The Hall of Mirrors) เป็นห้องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดซึ่งเคยใช้เป็น ห้องลงนามในสัญญาสงบศึกระหว่างสัมพันธมิตรกับเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และใช้เป็นที่ลงนาม ในเมื่อเยอรมันบุกตีชนะฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย ห้องนี้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำการก่อสร้างเอง ภายในห้องประกอบด้วยกระจกยักษ์ 17 บาน เปิดออกแล้วจะเห็นสวนแวร์ซายส์อันสวยงาม



//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%

ราวประมาณปี ค.ศ. 1730 เป็นระยะที่ศิลปโรโคโครุ่งเรืองที่สุดในประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมลักษณะนี้เริ่มเข้าไปมีอิทธิพลต่อศิลปะแขนงอื่นๆด้วย เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม และ เฟอร์นิเจอร์ จะเห็นได้จากงานของ ฌอง อองตวน วัตโตว์ (Jean-Antoine Watteau) และ ฟรองซัวส์ บูแชร์ (François Boucher) ศิลปโรโคโคยังรักษาลักษณะบางอย่างของศิลปบาโรกเช่นความซับซ้อนของรูปทรง (form) และความละเอียดลออของลวดลาย แต่สิ่งที่โรโคโคจะแตกต่างกับบาโรกคือจะผสมผสานลักษณะอย่างอื่นเข้ามาด้วย รวมทั้งศิลปะจากทางตะวันออกโดยเฉพาะจากจีนและญี่ปุ่น และองค์ประกอบจะขาดความสมดุล (asymmetric)


ตัวอย่าง
งานของ ฌอง อองตวน วัตโตว์




ฌอง อองตวน วัตโตว์ (Jean-Antoine Watteau) 10 ตุลาคม พ.ศ. 2227 (ค.ศ. 1684) – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2264 (ค.ศ. 1721) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสของ “ชนชั้นสูง” (fêtes galantes) อองตวน วัตโตว์เป็นหนึ่งนักวาดภาพร่างยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของศิลปะยุโรป



ภาพวาด “การเริ่มดำเนินการสำหรับไซเธอรา ” เป็นงานที่อองตวน วัตโตว์ได้รับความเป็นสมาชิกราชสถาบันศิลปะ (royal academy) เต็มตัวในพ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) มันสร้างสร้างชื่อให้เขาว่าเป็น “ผู้เชี่ยวชาญของชนชั้นสูง” เป็นผู้บันทึกเหตุการณ์เศร้าโศกและแปลกประหลาดในวันของเขา




ไม่นานก่อนความตายของเขา วัตโตว์วาด “พินัยกรรมทางศิลปะ” ของเขา ป้ายร้านของเชร์แซ็งต์(L'Enseigne de Gersaint, Gersaint’s Sign Shop) ซึ่งเป็นหนึ่งในภาพวาดสุดท้ายของวัตโตว์




“การเดินทางไปแสวงบุญที่ไซเธอรา”

//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8C%E0%B8%AD%E0%B8%87_%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0

ศิลปะแบบโรโคโคเผยแพร่โดยศิลปินชาวฝรั่งเศส แต่ผู้ที่ตื่นเต้นกับศิลปะลักษณะนี้มากก็คือสถาบันคาทอลิกทางใต้ของประเทศเยอรมนี บริเวณโบฮิเมีย (Bohemia-ปัจจุบันอยู่ในสาธารณรัฐเช็ก) และประเทศออสเตรีย เพราะเป็นศิลปะที่สามารถประสมประสานอย่างกลมกลืนกับศิลปบาโรกแบบเยอรมนีได้เป็นอย่างดี ศิลปโรโคโคแบบเยอรมนีจะใช้กันมากในการสร้างโบสถ์ สำนักสงฆ์ (monasteries) และวัง ในสมัยพระเจ้าฟรีดริชมหาราช แห่ง ปรัสเซีย ศิลปินแห่งราชสำนักปรัสเซียก็เริ่มสร้างลักษณะโรโคโคที่เป็นของตนเองที่เรียกกันว่าโรโคโคแบบฟรีดริช (Frederician Rococo) ซึ่งมีอิทธิพลมาจากโรโคโคฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ สถาปนิกมักจะตกแต่งภายในด้วยปุยเมฆที่ทำจากปูนปั้น (stucco) ทั่วไปทั้งห้อง





ด้านเหนือของวังแคทเธอรีนที่ Tsarskoye Selo - ลานราชรถ:เป็นลวดลายปูนปั้นปิดทองมาจนสมัยพระราชินีนาถแคทเธอรีนที่ทรงสั่งให้ติดช่อมะกอกแทน



ท้องพระโรงของวังแคทเธอรีนที่ Tsarskoye Selo

พอถึงปลายสมัยโรโคโค ศิลปะแบบนี้ก็เริ่มเป็นที่นิยมกันทางเหนือและไต้สุดของประเทศอิตาลี ฟรานเซสโก บอโรมินิ (Francesco Borromini) และ กัวริโน กัวรินี (Guarino Guarini) ใช้โรโคโคที่เมืองตูริน เวนิส เนเปิล และ ซิซิลี แต่ทางบริเวณทัสเคนี และ โรม จะไม่นิยมโรโคโค และยังยึดอยู่กับศิลปะแบบบาโรก


โรโคโคที่ประเทศอังกฤษมักจะเรียกกันว่าศิลปะแบบฝรั่งเศส หรือ "รสนิยมฝรั่งเศส" ("French taste") สถาปัตยกรรมแบบโรโคโคจะไม่เป็นที่นิยม แต่โรโคโคที่นิยมกันก็คือการทำเครื่องเงิน เครื่องกระเบื้อง และไหม ธอมัส ชิพเพ็นเดล (Thomas Chippendale) ช่างออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ เปลี่ยนรูปแบบการทำเฟอร์นิเจอร์โดยการนำโรโคโคมาประยุกต์ วิลเลียม โฮการ์ธ (William Hogarth) เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีของความสวยงามของโรโคโค ถึงแม้ว่าโฮการ์ธจะไม่ใช้คำว่าโรโคโคโดยตรงในหนังสือชื่อ "การวิจัยเรื่องความงาม" (Analysis of Beauty) (ค.ศ. 1753) แต่โฮการ์ธก็พูดถึงความอ่อนช้อย สละสลวยของเส้นและรูปโค้งแบบเอส (S-curves) ที่โรโคโคใช้ ซึ่งเป็นหัวใจของศิลปะโรโคโค และเป็นสิ่งที่ทำให้โรโคโคมีความอ่อนช้อยสวยงาม และทำให้แตกต่างจากศิลปะสมัยคลาสสิคซิสม์ (Classicism ซึ่งเป็นศิลปะสมัยที่หันกลับไปนิยมเลียนแบบศิลปะแบบกรีกและโรมัน) ที่จะขึงขังเพราะการใช้เส้นตรงหรือวงกลมเป็นหลัก ศิลปโรโคโคเริ่มวิวัฒนาการขึ้นในขณะเดียวกับที่มีการฟื้นตัวกลับมานิยมสถาปัตยกรรมแบบกอธิค ("สมัยฟื้นฟูกอธิค" (Gothic Revival)) เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18


ตัวอย่างสถาปัตยกรรม

วัดอ็อตโตบิวเร็น

(ภาษาอังกฤษ: Ottobeuren Abbey) เดิมเป็นสำนักสงฆ์ของลัทธิเบ็นนาดิคติน ปัจจุบันเป็นวัดตั้งอยู่ที่เมืองอ็อตโตบิวเร็น ในบริเวณบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี





ด้านหน้าโบสถ์ออกแบบโดยโยฮันน์ ไมเคิล ฟิชเชอร์ (Johann Michael Fischer)



การตกแต่งภายในแบบโรโคโค



ภาพเขียนภายใต้โดม

จาก //th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0

ศิลปโรโคโคเริ่มเสื่อมความนิยมกันราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อปัญญาชนเช่นวอลแตร์ และ จาค์ส ฟรังซัวส์ บรอนเดล (Jacques-François Blondel) เริ่มประณามว่าศิลปโรโคโคเป็นศิลปะที่ฉาบฉวย เป็นศิลปะที่ทำให้คุณค่าของศิลปะโดยทั่วไปเสื่อมลง และ เป็นศิลปะที่ออกจะ "รก" เพราะจะเต็มไปด้วยลวดลายหอย, มังกร, หญ้า, ต้นปาล์ม และ ต้นไม้ใบไม้อื่นๆสารพัด[1] พอถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ศิลปโรโคโคก็เสื่อมความนิยมในประเทศฝรั่งเศส ศิลปนีโอคลาสสิคที่ขึงขังเป็นระเบียบกว่าเข้ามาแทนที่ อย่างเช่นงานของจาค์ส ลุยส์ เดวิด (Jacques Louis David) ขณะเดียวกันที่ประเทศเยอรมนีก็ค่อนและเรียกศิลปโรโคโคว่า Zopf und Perücke (ภาษาอังกฤษ: pigtail and periwig) หรือเรียกสมัยนี้สั้นๆว่า "Zopfstil" ขณะที่ตามเมืองใหญ่ๆเริ่มหมดความสนใจกับศิลปะ") ที่มากับรัฐบาลของพระเจ้านโปเลียน แห่งฝรั่งเศส เข้ามาแทนที่



ฟรองซัวส์ บูแชร์ (François Boucher)



Le Dejeuner โดยบูแชร์แสดงให้เห็นองค์ประกอบชีวิตของภาพเขียนแบบโรโคโค (ค.ศ. 1739, พิพิธภัณฑ์ลูฟร์)



Diana Leaving her Bath โดย ฟรังซัวส์ บูแชร์


ขอแจมรูปของ จีน โฮนอร์ แฟรโกนาร์ด ด้วยคน



The musical contest โดย จีน โฮนอร์ แฟรโกนาร์ด


ระหว่างปี ค.ศ. 1820 ถึง ค.ศ. 1870 ความสนใจทางศิลปะแบบโรโคโคก็มีการฟี้นฟูขึ้นมาอีก ศิลปินอังกฤษเป็นศิลปินกลุ่มแรกที่หันมาฟี้นฟูศิลปะลักษณะนี้ และใช้คำว่า "แบบหลุยส์ที่ 14" เมื่อพูดถึงโรโคโค ศิลปโรโคโคที่ไม่มีใครซื้อที่กันปารีสก็มาโก่งขายกันด้วยราคาแพงกันที่อังกฤษ แต่ศิลปินคนสำคัญเช่นยูจีน เดอลาครัวส์ (Eugène Delacroix) และ ผู้อุปถัมภ์ศิลปะเช่นจักรพรรดินียูจีน (Empress Eugénie) (พระมเหสีของพระเจ้านโปเลียนที่ 3) ก็ซาบซึ้งถึงคุณค่าของศิลปโรโคโคเพราะความความอ่อนช้อยและความมีลูกเล่น



การตกแต่งภายใน



การตกแต่งห้องของโรโคโคจะเลิศลอย และจะออกไปทางร่าเริง ทุกตารางนิ้วจะมีปูนปั้นเป็นรูปใบไม้ ไฟ ทรงหอย และก้อนเมฆห้อยระย้าไปทั้งห้อง และเช่นเดียวกับเฟอร์นิเจอร์การตกแต่งจะลบเลือนรูปทรงสถาปัตยกรรมเดิมออกหมดรวมทั้งขอบตกแต่งเพดาน (architrave, frieze และ cornice) ที่เคยเป็นที่นิยมกัน ด้วยการใช้รูปแกะสลักโดยเฉพาะปูนปั้น การตกแต่งแบบนี้จะเห็นได้จากงานของตระกูลการตกแต่งปูนปั้น ที่เรียกกันว่า โรโคโคเวสโซบรุน (Wessobrunn) ที่วัดวีส์ การตกแต่งนี้จะรวมไปถึงเพดาน ผนัง เฟอร์นิเจอร์ และ สิ่งของอื่นๆ ที่ใช้ภายในห้องนั้น ทุกสิ่งทุกย่างที่กล่าวมาจะกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สีที่ใช้ก็จะเป็นสีสว่าง และ นุ่มนวลแทนที่จะใช้แม่สีและสีค่อนข้างหนักเหมือนศิลปะแบบบาโรก การตกแต่งภายในแบบนี้นิยมกันมากในการตกแต่งวัดคาธอลิกทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี



ตัวอย่างการตกแต่ง



วัดวีส์ หรือ วัดแสวงบุญวีส์ (ภาษาอังกฤษ: Wies church หรือ Pilgrimage Church of Wies; ภาษาเยอรมนี: Wieskirche) อยู่เชิงเทือกเขาแอลป์ ใกล้ๆเมืองชไตนการ์เด็น (Steingaden) ในรัฐบาวาเรีย ทางไต้ของประเทศเยอรมนี ทรงวัดเป็นรูปไข่ภายในตกแต่งแบบโรโคโค ออกแบบโดย โดมินิคุส ซิมเมอร์มันน์(Dominikus Zimmermann) ซึ่งเป็นศิลปินสำคัญของโรโคโค ซิมเมอร์มันน์ใช้เวลา 11 ปีสร้างวัดนี้ก่อนที่จะเสียชีวิต





ทิวทัศน์จากด้านนอก




ทิวทัศน์จากด้านนอก
ค.ศ. 2004




แท่นบูชาเอก (Main altar)




แท่นบูชาเอก




รูปปั้นสเกิร์ดเซวิเออร์

จาก//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B9%8C



เป็นใงสวยใหมครับต่อมาก็


ประติมากรรม


ผู้ที่ถือกันว่าเป็นประติมากรคนสำคัญของโรโคโคแบบฝรั่งเศสคือเอทิยอง มอริซ ฟาลโคเนท์ (Étienne-Maurice Falconet) ประติมากรรมของฟาลโคเนท์ จะเป็นรูปปั้นกระเบื้องเล็กๆ แทนที่จะเป็นรูปแกะสลักหินอ่อนใหญ่โตอย่างสมัยบาโรก ฟาลโคเนท์เองก็เป็นผู้อำนวยการโรงงานเครื่องกระเบื้องที่ เซเวรอ ที่ประเทศฝรั่งเศส เรื่องที่ใช้ปั้นก็จะเป็นเรื่องรัก เรื่องสนุก และธรรมชาติ





รุปปั้นกระเบื้องของไมเซ็น


ประติมากรเอ็ดเม บูชาดอง (Edmé Bouchardon) ปั้นคิวปิดกำลังแกะลูกศรจากกระบองของ เฮอร์คิวลีส (Hercules) รูปนี้คือหัวใจของศิลปะแบบโรโคโคที่แสดงปรัชญาพื้นฐานของโรโคโค ที่เทพ (คิวปิด) ถูกแปลเป็นเด็กน้อย กระบองกลายเป็นเครื่องมือแห่งความรัก (ลูกศร) เหมือนกับการที่ใช้ปูนปั้นแทนหินอ่อนในสมัยบาโรก ศิลปินคนอื่นที่น่าจะกล่าวถึงก็มี โรเบิร์ต เลอ ลอเรน (Robert le Lorrain) มิเชล โคลดิออง (Michel Clodion) และ พิกาลเล (Pigalle)



ภาพข้างบนครับ

จาก

//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%84


ว่างๆจาขยันมาอัพข้อมูลนะครับ









 

Create Date : 01 กันยายน 2551
6 comments
Last Update : 7 ตุลาคม 2551 1:49:27 น.
Counter : 9040 Pageviews.

 
 
 
 
อืม............รูปสวย
 
 

โดย: อันต้า วันที่: 4 ตุลาคม 2551 เวลา:15:10:36 น.  

 
 
 
ชอบบทความครับ ขออนุญาติไปเผยแพร่ต่อ

//www.puansanid.com/forums/showthread.php?p=1144#post1144
 
 

โดย: แมงสาป IP: 58.9.86.229 วันที่: 6 ตุลาคม 2551 เวลา:3:17:08 น.  

 
 
 
ขอบคุณสำหรับบทความนี้นะครับ เป้นประโยชน์มากเลย
 
 

โดย: Lufael IP: 61.90.82.79 วันที่: 20 มิถุนายน 2552 เวลา:20:16:08 น.  

 
 
 
ว้าว สวยมากๆ เลยคะ
เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเลยคะ
ขออณุญาตินำบทความไปเป็นส่วนหงนึ่ของงาน powerpoint ของวิชาศิลปะนะคะ
หามานานแล้ว
ประวัติศาสตร์ศิลปะเนี่ยยิ่งรู้ก็อยิ่งสนุกนะคะ
 
 

โดย: ธัญสุดา IP: 125.26.176.140 วันที่: 23 มิถุนายน 2552 เวลา:19:17:17 น.  

 
 
 
สวย
 
 

โดย: 111 IP: 113.53.9.21 วันที่: 12 พฤศจิกายน 2552 เวลา:20:45:45 น.  

 
 
 
สวยค่ะ...ภาพก็ชัดและขนาดกำลังดี

แต่...ดูๆไปน่ะรู้สึกมันจะพื้นๆเกินไป

รึเปล่าเอ่ย น่าจะมีอะไรๆมากกว่านี้นะ

คะ....พระราชวังฯนี้น่ะ มีอะไรๆที่น่าตื่น

ตาตื่นใจ กว่าที่คนอย่างเราๆจะนึก

ออกได้มากมายเย๊อออออมากค่ะ ประมาณ

ว่ามหัศจรรย์พันลึกจนสุดจะพรรณาเลยน่ะ

ตรงๆอย่างนี้ คงไม่ว่ากันนะคะ.......(^.^)!!!

_____________N_a_n_n___________


 
 

โดย: Nussnan K. IP: 115.67.20.245 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2552 เวลา:0:21:35 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

NOARSOLO
 
Location :
นครพนม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีครับ ผมเริ่มหัดทำใหม่ๆ ถ้ามีอะไรดีๆ มีประโยชน์ช่วยแนะนำด้วยนะครับ
เจษฎา ราชบุตร
[Add NOARSOLO's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com