มีนาคม 2551

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
26
27
29
30
31
 
 
All Blog
ตามไปดูน้อง ๆ เก็บตัวสอบสัมภาษณ์เข้ากระทรวงการต่างประเทศ ณ บ้าน AF ที่พัทยา ภาค 2


อย่างที่เกริ่นไปแล้วเมื่อบล็อกก่อนว่า ดิฉันมีโอกาสได้ไปเป็นพี่เลี้ยงในการเก็บตัวของน้อง ๆ ที่สอบเข้ากระทรวงฯ การต่างประเทศที่บ้าน AF ที่พัทยา ที่จริงเวทีนี้(ไม่) ต้องการพี่เลี้ยงเลยค่ะ เพราะน้อง ๆ ทุกคนเก่งอยู่แล้ว อิๆๆๆ การเก็บตัวที่ว่านี้ก็คือ การสอบสัมภาษณ์นอกสถานที่เพื่อคัดเลือกข้าราชการน้องใหม่ระดับ C3 และ C4 ของกระทรวงการต่างประเทศ ที่มีขึ้นที่พัทยาเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่ 14-16 มีนาคมที่ผ่านมานี่เอง

มีน้อง ๆ 50 คน ที่ฝ่าด่านอรหันต์สุดหินนั่นก็คือการสอบข้อเขียน (ซึ่งปีนี้ ดิฉันเพิ่งทราบว่าข้อสอบสำหรับ C3 และ C4 เป็นข้อสอบชุดเดียวกัน) จากคนสมัครสอบจำนวน 2,800-2,900 คน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มากที่สุดนับตั้งแต่เปิดให้มีการสอบมา น้อง ๆ ทุกคนควรภาคภูมิใจในตัวเองมาก ๆ ที่ผ่านเข้ามาถึงรอบตัดเชือกรอบนี้ (เหมือนประกวดนางงาม USA จริง ๆ เพราะมีคนผ่านเข้ามาในรอบนี้ 50 คน แบบเป็นผู้แทนแต่ละมลรัฐได้เลย)

รอบเก็บตัวเพื่อสอบสัมภาษณ์นี้ ก็มากันที่โรงแรม Royal Cliff Beach ซึ่งในแต่ละปี (ดิฉันเคยเป็นพี่เลี้ยงมา 2 ปีซ้อน) ก็จะไม่มีใครได้ไปเที่ยวทะเลหรอกค่ะ ส่วนใหญ่ก็นั่งเครียด ๆ กันอยู่ในโรงแรมนั่นแหละ หุๆ

การสอบสัมภาษณ์แบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ การสัมภาษณ์ การหารือกลุ่ม (group Discussion) และการพูดต่อหน้าประชาชน (Public Speaking) ซึ่งปีนี้ คณะกรรมการใจดี อนุญาตให้เลือกตอบเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้ ตามแต่ความถนัด ยกเว้นภาษาอื่น ๆ อย่างฝรั่งเศส หรือญี่ปุ่น ก็พูดได้เหมือนกัน แต่คงไม่มีคะแนนให้ อิๆๆ ซึ่งก็เป็นไปตามความคาดหมาย ที่น้อง ๆ ส่วนใหญ่ขอเลือกตอบภาษาไทย แต่ก็มีหลายคนก็กังวลว่า ถ้าเลือกตอบภาษาอังกฤษจะทำให้มีภาษีกว่าภาษาไทยไหม ดิฉันบอกได้เลยว่า ภาษาไม่ใช่ประเด็นค่ะ ที่สำคัญคือเนื้อหา และความคิดของผู้ตอบคำถามมากกว่า ว่ามันน่าสนใจ โดนใจ หรือถูกใจคณะกรรมการแค่ไหน เห็นไหมคะ เหมือนกับการประกวดนางงามยังไงยังงั้นเลย

ดิฉันได้รับมอบหมายเป็นพี่เลี้ยงน้อง ๆ ที่สอบ C4 ซึ่งที่จริงต้องมีน้อง ๆ ในกลุ่ม 9 คน แต่ปรากฏว่ามี 2 คนที่สละสิทธิ์ไม่มาสอบ ก็มีน้อง ๆ ในสังกัดอยู่ 7 คนที่จะส่งเข้าประกวดค่ะ น้อง ๆ แต่ละคนก็มีประวัติและประสบการณ์ในการทำงานที่น่าสนใจไม่แพ้กันเลย หลาย ๆ คนทำงานในบริษัทเอกชนอยู่แล้ว บางคนก็ทำงานในภาครัฐ เช่น กระทรวงเกษตรฯ บางคนก็ทำงานอาสาสมัคร น้องคนหนึ่งในกลุ่มเรียนจบมาทางด้านจิตวิทยา ซึ่งน่าสนใจมาก เป็นหนึ่งเดียวในกลุ่มผู้เข้าสอบสัมภาษณ์ทั้งหมด ปัจจุบันนี้ ก.พ. ยอมให้ผู้ที่เรียนจบสาขาใดก็ได้มาสอบเข้ากระทรวงฯ ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรรมศาสตร์ จิตวิทยา ฯลฯ ทำให้มีความหลากหลายในกระทรวงฯ มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องดีนะคะ เพราะว่าอย่างกระทรวงการต่างประเทศของสิงคโปร์ ข้าราชการจะมีความหลายหลายมาก และมีการหมุนเวียนทำงานไปตามกระทรวงต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา สมัยที่ดิฉันเป็นเจ้าหน้าที่โต๊ะสิงคโปร์อยู่ 2 ปี ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่โต๊ะไทยของ กต. สิงคโปร์ เปลี่ยนไปตั้ง 2-3 คนทีเดียว ขรก. กต. สิงคโปร์บางคนเรียนจบวิศวกรรมศาสตร์จาก Imperial College เลยด้วยซ้ำ ปีนี้ มีน้องคนหนึ่งเรียนจบวิศวะไฟฟ้า หลุดเข้ามาร่วมกลุ่มสอบสัมภาษณ์ด้วย



เราเดินทางไปถึงพัทยาโดยรถบัสกระทรวงฯ ซึ่งตอนเลี้ยวจะเข้าไปที่พักก็หวุดหวิดมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น เพราะคุณพี่คนขับเลี้ยวตีโค้งเสียเกือบชนรถเก๋งที่ติดไฟแดงอยู่ทีเดียว ทำเอาพวกเราที่นั่งรถคันที่ขับตามมา ซึ่งมองเห็นเหตุการณ์อันน่าหวาดเสียวแทบร้องกรี๊ดกันทั้งคันรถเลยทีเดียว เริ่มมีความตื่นเต้นกันบ้างแล้วใช่ไหมคะ หุ ๆ

พอไปถึงโรงแรมที่พัก ผอ. สำนักบริหารบุคคลก็มากล่าวต้อนรับน้อง ๆ และก็เป็นช่วงเวลาที่พวกเราจะได้ทำความรู้จักน้อง ๆ โดยการเล่นเกมต่าง ๆ ซึ่งกิจกรรมการเล่นเกมนี้ ล้วนเกิดจากความคิดสร้างสรรของฝ่ายกิจกรรมที่ตั้งใจจะทำให้น้อง ๆ ได้คลายเครียด (หรือจะเพิ่มความเครียดก็ไม่รู้นะคะ เพราะเห็นน้องบางคนเครียดกับเกมต่าง ๆ ม๊ากมาก)

เกมแรกคือบรรดาพวกเกมละลายพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น

เกม 3 ฝา 2 หอย เอ้า เริ่มอยากรู้แล้วสิ ว่ามันเป็นเกมอะไร เกมนี้ ให้น้อง ๆ ผู้หญิงจับคู่เป็นฝา (จับมือกันเหมือนเล่นเกมรีรี ข้าวสาร) และน้องผู้ชายเป็นหอย (เพราะผู้ชายมีน้อยกว่าผู้หญิง) เวลาเล่น ทุกคนก็ต้องจับคู่กันแบบหอยมาตรฐาน นั่นก็คือ 2 หญิง (ฝาหอย) และ 1 ชาย (คือหอย) จากนั้น ผู้คุมเกมคือน้องพลอย ก็จะสั่ง หอยระเบิด ทุกคนก็ต้องปล่อยมือกัน น้องหอยก็ต้องออกจากฝาครอบ บางทีก็สั่งว่า 3 ฝา 2 หอย (น้องผู้หญิง 3 คนล้อมเป็นวงกลม และน้องผู้ชาย 2 คนอยู่ตรงกลาง) เกมนี้สนุกดีนะ

แล้วก็มีเกมเป่า ยิ้ง ฉุบ อะมิบา ใช่แล้วค่ะ ทุกท่านอ่านไม่ผิดหรอก เราเล่นเกมเป่ายิ้งฉุบจริง ๆ ทุกครั้ง ผู้ชนะ ต้องเปลี่ยนเป็นกระต่าย ลิง คน และซุปเปอร์แมน (อันนั้น ขั้นสูงสุด) ทุกครั้งที่แพ้ ก็จะต้องลดพัฒนาการของตัวเองลง 1 ขั้น เช่น กระต่ายเป็นอะมิบา ลิง เป็นกระต่าย

หลังจากออกกำลังกายพอหอมปากหอมคอแล้ว ก็มาถึง เกมแนะนำตัวค่ะ โดยแนะนำแบบง่าย ๆ ก็ไม่เอา แต่จะต้องเอาแบบงง ๆ คือ ต้องพูดว่า เราชื่ออะไร แล้วเราเอาอะไร (ที่คล้องจองกับชื่อของเรา) มาฝากเพื่อน ๆ เช่น เราชื่อหนูแดง เอาถุงแกงมาฝาก น้อง ๆ บางคนคิดสร้างสรรสุด ๆ ประมาณว่า เอาเมีย เอาย่า เอานาฬิกา เอาของแปลก ๆ มาฝาก เป็นที่สนุกสนาน

พอมีเวลาเหลือ ฝ่ายกิจกรรมก็หมดเกมที่เตรียมมาแล้วกระมัง ก็เลยบอกให้น้อง ๆ ทุกคนได้พูดถึงความคาดหวังที่มีต่อกระทรวงฯ น้อง ๆ ส่วนใหญ่ก็จะพูดถึงอุดมคติของตัวเอง เช่น อยากทำงานเพื่อประเทศชาติ และประชาชน (ฟังแล้วน่าปลื้มใจมาก ๆ ค่ะ) แต่มีบางคนก็พูดอะไรที่ฟังแล้วโดน ๆ ขำ ๆ

อย่างน้องคนหนึ่ง ที่ดิฉันจำได้ดี และเรียกว่า น้องสู้เพื่อแม่ เพราะน้องตอบว่า มาสอบเข้ากระทรวงฯ เพื่อตามความหวังของคุณแม่ ที่อยากให้ลูกสาวเป็นนักการทูต ทำให้นึกถึงรายการ “สู้เพื่อแม่” เลยนะจ๊ะ เรียกว่าสมควรได้รับรางวัล ชวนป๋วย ปีแป่กอไปครอง

น้องอีกคน น่ารักมาก ตอบคำถามได้โดนใจสุด ๆ “ความคาดหวังจากกระทรวงฯ น่ะเหรอครับ คือ ผมอยากให้กระทรวงฯ รับน่ะครับ” โห ตรงไปตรงมาดีมาก น้อง เอาไปเลยรางวัล Mr. Congeniality แบบซานดร้า บูลล็อกจากพี่หนูแดง อิๆๆๆ

น้องอีกคน ตอบว่า “มาสอบครั้งนี้ด้วยใจ เพราะอยากได้เพื่อนกลับไป (อ้าวไม่เอาแล้วใช่ไหม สอบเข้ากระทรวงฯ อ่ะ ฮี่ๆๆ)”

จากนั้น น้อง ๆ ก็ต้องเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์ทีละคน ตอนนี้ ทุก ๆ ก็เริ่มเครียด พี่ ๆ ทุกคน ก็พยายามช่วยให้น้อง ๆ หายเครียด ด้วยการพูดผ่อนคลายต่าง ๆ นา ๆ

หลังจากสอบเสร็จแล้ว ทุกคนก็รับประทานอาหารค่ำร่วมกับคณะกรรมการ และพี่เลี้ยง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ท่านอื่น ๆ ด้วย เป็นอันว่า วันนี้ น้อง ๆ ทุกคนกลับไปนอนหลับฝันดี (หรือเปล่าไม่รู้) เตรียมพร้อมรับกับวันใหม่ที่รอคอยอยู่......




เช้าวันรุ่งขึ้น กิจกรรมอันหฤโหดก็เริ่มต้นขึ้น ในเวลาก่อน 9 โมงเช้าเล็กน้อย น้อง ๆ แต่ละกลุ่มจะได้รับกระดาษคำถาม เป็นเวลา 15 นาที ก่อนที่จะเข้าไปในห้องสอบ Group Discussion เพื่อให้มีเวลาอ่านเตรียมตัว และได้คิดหารือวางแผนกันในกลุ่มของตัวเองว่าจะ discuss กันอย่างไร ให้มันลื่นไหล น่าฟัง และสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานเป็นทีมต่อคณะกรรมการได้อย่างชัดเจน

พี่เลี้ยงประจำกลุ่มทุกคนได้รับอนุญาตให้เข้าไปดูน้อง ๆ ของตัวเองด้วย ดิฉันคิดว่ากลุ่มของดิฉันทำได้ดีทีเดียว แต่ละคนมีประเด็นของตัวเอง และมีการขยายประเด็นที่น่าสนใจ แม้จะมีการออกความเห็นซ้ำกับของเพื่อนบ้าง แต่ก็มีวิธีนำเสนอที่ดี ทำให้การหารือลื่นไหลไปได้อย่างเหมาะสมทีเดียว

หลังจากการสอบ Group Discussion น้อง ๆ ก็ต้องเล่นกิจกรรมเสริม ซึ่งกิจกรรมนี้ สนุกมาก เป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างทักษะในการใช้เหตุใช้ผล เพื่อโน้มน้าวจูงใจให้คนอื่น ๆ มาคิดเห็นคล้อยตามเราได้ ชื่อเกมใครจะได้ไปโลกใหม่ ซึ่งน้อง ๆ แต่ละคนต้องจับสลาก รับบทบาทเป็นตัวละครที่แตกต่างกัน และพูดเหตุผลว่า ทำไมเราควรได้รับเลือกให้ขึ้นยานอวกาศ ไปยังโลกใหม่ ซึ่งจะไปได้แค่กลุ่มละ 3-4 คนจาก 10 คนเท่านั้น (ที่ไม่มีพอให้ทุกคน เหมือนเกม eliminate คนน่ะค่ะ) บทบาทแต่ละคนก็มีแตกต่างกันออกไป เช่น ช่างตัดเสื้อ ช่างซ่อมแอร์ นักการทูต หญิงมีครรภ์ ฯลฯ น้องที่เป็นหญิงมีครรภ์ก็มักจะพูดว่า “เลือกฉันเถอะ เพราะไปคนเดียว แต่ได้สองคน” เกมนี้ดีมากเลยค่ะ ทำเอาพี่ ๆ นั่งขำในความคิดของน้อง ๆ หลายคนทีเดียว

จากนั้น ในช่วงบ่าย ก็มีการเล่นเกมเสริมก่อนจะเริ่มการสอบสุดหฤโหด เกมนี้ก็คือ Goodies Bag ที่ได้อธิบายไปแล้วในบล็อกก่อนหน้านี้นั่นเองค่ะ

การสอบอันสุดท้ายก็เริ่มต้นขึ้น นั่นก็คือ การสอบ Public Speaking ซึ่งน้อง ๆ แต่ละคนต้องจับสลากเลือกหัวข้อ โดยจะมีเวลา 5 นาทีสำหรับเตรียมตัว เพื่อพูดเป็นเวลา 5 นาที หัวข้อ ก็มี เช่น หากเราจะพูดให้คณะกรรมการโอลิมปิกเลือกให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิก เราจะพูดอย่างไร ฯลฯ

งานนี้ ต่อให้เป็นคนมีความเชื่อมั่นมากแค่ไหน ก็อาจจะขาขวิดได้ เพราะต้องขึ้นไปพูดบนเวที ที่ไม่มี podium ที่ทำให้รู้สึก ร้อน ๆ หนาว ๆ ได้เหมือนกัน เป็นดิฉันเอง ก็เสียวค่ะ น้อง ๆ หลาย ๆ คนมีความกล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นได้ดีทีเดียว สามารถข่มความกลัว ที่ต้องขึ้นไปยืนบนเวที ที่มองลงมาแล้วเห็นบรรดาคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแบบมหากาฬ มือฉมัง จำนวนนับสิบ ๆ ท่านแบบนั้น พอถามน้องบางคน ก็บอกว่า ไม่รู้สึกอะไรเลย จนกระทั่งเริ่มพูด ก็เริ่มเห็นว่า มีแต่บรรดาผู้ใหญ่ ๆ ทั้งนั้น นั่งอยู่ตรงนั้น เพื่อ judge ในสิ่งที่กำลังพูด

สิ่งที่ได้จากการเป็นพี่เลี้ยงครั้งนี้ ก็คือ ความประทับใจ การกระตุ้นต่อม aspiration ในสมองให้พลุ่งพล่าน เมื่อได้เห็นพลังจากน้อง ๆ หลาย ๆ คนที่มีความมุ่งมั่นในการมีสอบเข้ากระทรวงฯ แห่งนี้ บางคนเพิ่งมาเป็นครั้งแรก บางคนก็มาเป็นครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 (สถิติผู้เคยเข้าสอบกระทรวงฯ และสอบได้ คือ 7 ครั้ง) สิ่งที่ทุกคนมีเหมือนกัน ก็คือ ความตั้งใจ ที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพวกเรา ความตั้งใจของน้อง ๆ คนรุ่นใหม่เหล่านี้ เตือนย้ำให้ดิฉันนึกถึงอุดมการณ์ของตัวเองในการเข้ามาทำงานที่นี่ได้เป็นอย่างดี

ขอเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ทุก ๆ คน สมหวังค่ะ แต่ที่นั่งสำหรับคนที่จะเข้ามาทำงานที่นี่ค่อนข้างจำกัด ได้ข่าวว่าเพียงแค่ 15 คนเท่านั้นเอง แน่นอนว่าต้องมีทั้งคนผิดหวัง และสมหวัง ขอให้คนผิดหวังอย่างท้อแท้ และมีพลังที่จะลุกขึ้นมาสอบใหม่ หรือเลือกเดินไปในเส้นทางสายอื่นที่แตกต่างออกไป ซึ่งไม่ว่าเส้นทางนั้นจะเป็นอะไร ขรุขระแค่ไหน แต่ทุกที่ที่คุณอยู่ คุณสามารถทำสิ่งที่ดีงามเพื่อสังคมได้เสมอค่ะ

อ้อ ข่าวฝากสำหรับคนที่อยากสมัครสอบเข้ากระทรวงฯ นะคะ ปีหน้าทราบว่า จะรับข้าราชการใหม่ถึง 40 คนเลยค่ะ มีความหวังขึ้นแล้วนะคะ เข้าไปดูที่เวบกระทรวง //www.mfa.go.th เรื่อย ๆ นะคะ ข่าวประกาศสอบเข้ากระทรวงฯ น่าจะมีในช่วงกลางปีนี้เป็นต้นไปค่ะ




เกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์

1. เป็นตัวของตัวเองค่ะ แต่อย่าทำท่าเป็นสาวมั่น หรือหนุ่มมั่นเกินไปนะคะ มันจะไม่งาม ที่บอกว่าควรเป็นตัวของตัวเองก็เพราะว่า ถ้าความเป็นตัวตนของคุณไม่เหมาะกับกระทรวงฯ แต่พยายามฝืน ต่อให้ได้ทำงานจริง ๆ ก็อาจจะไม่ใช่ทางของคุณก็ได้

2. อ่านหนังสือพิมพ์ บทความที่เกี่ยวกับสถานการณ์โลกปัจจุบัน ความรู้รอบตัว และความรู้ทั่วไปในแง่มุมต่าง ๆ มันจะช่วยให้เราสามารถพูดแสดงความคิดเห็นในการสอบ group discussion และ public speaking ได้มากขึ้น

3. ในการสอบ group discussion อย่ากลัวที่จะพูดคัดค้าน หรือออกความเห็นในเชิงไม่เห็นด้วยกับคนอื่น ในเวลาที่คุณคิดเช่นนั้นจริง ๆ (ไม่ใช่ทำเพราะอยากทำคะแนนนะคะ อาจเสียคะแนนมากกว่าได้ค่ะ) การพูดแสดงความคิดเห็นไม่จำเป็นต้องไปในทางเดียวกันหมด แต่การพูดในสิ่งที่ซ้ำ ๆ กับคนอื่น อาจทำให้เสียคะแนนได้ พยายามคิดถึงสิ่งที่เราต้องการพูดทั้งในการเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยให้มันกว้าง ๆ เข้าไว้ ลองคิดดูในใจว่า คณะกรรมการต้องการจากเรา จะทำให้เรารู้มากขึ้นไหมว่า เราควรจะ present แบบไหน เช่น คณะกรรมการอยากเห็นเราแสดงความคิด กิริยามารยาทในการอยู่ในสังคม การรู้จักพูดคุยกับผู้อื่น การออกความเห็นขัดแย้งกับคนอื่น

4. พยายามคิดนอกกรอบเข้าไว้ แต่ตอบให้ตรงประเด็นคำถาม การตีกรอบทางความคิดมากเกินไป อาจทำให้แง่มุมในการ present ตัวเองต่อคณะกรรมการฯ แคบ เป็นการทำให้คิดเรื่องที่จะพูดได้ไม่มาก อาจทำให้ไม่สามารถพูดได้เต็มเวลาที่ตัวเองควรพูด เมื่อมีเวลา 5 นาที ก็ควรพูดให้เหมาะกับเวลา ถ้าพูดสั้นเกินไป กรรมการก็ยังไม่ทันได้ให้คะแนน อ้าว จบเสียแล้ว

5. พยายามเก็บอารมณ์ ความไม่เชื่อมั่น อาการขาจะขวิดเอาไว้ โดยใช้น้ำเสียงการพูดเข้าข่ม การลงจังหวะจะโคน การพูดช้า ๆ ไม่ต้องรัวเร็ว พยายาม focus ในความมุ่งมั่นที่จะเข้ากระทรวงฯ ของเรา อย่าไปคิดถึงคณะกรรมการ คิดว่าเขาก็ไม่รู้ดีไปกว่าเราหรอก มันจะทำให้เราหายสั่น และมั่นใจขึ้น

6. การเลือกเสื้อผ้าแต่งตัว ก็ให้เหมาะสมกับกาละเทศะเข้าไว้ (แม้กาละเทศะที่สำคัญ ควรเป็นการแต่งชุดกินลมชมทะเล เพราะมาพักที่โรงแรมริมทะเล แต่พอมาสอบก็ต้องแต่งตัวมาสอบ)







ภาพน้อง ๆ ในกลุ่มที่ดิฉันไปเป็นพี่เลี้ยง และพี่อีกท่านที่ร่วมเป็นพี่เลี้ยงด้วย กับผลงานจาก goodies bag ชื่องาน Anti Snowman ค่ะ



ภาพน้อง ๆ ผู้เข้าสอบกลุ่ม 3 กับพี่เลี้ยงค่ะ




อนุบาล 3/3 กับผลงานสุดภูมิใจเสนอ



น้อง ๆ เต๊ะท่าถ่ายรูปหลังจากการสอบ หมดสภาพ ปล่อยอารมณ์กันเต็มที่




ไม่รู้ว่าหนุ่มน้อยคนนี้ทำไรผิดนะ ถึงโดนรุมแบบนี้อ่ะ




ไม่มีคำบรรยายฮ่ะ ดูเอาเองละกัน




ภาพน้อง ๆ กลุ่ม C3/1 นั่งปล่อยอารมณ์ริมทะเล เพราะเป็นกลุ่มแรกที่สอบ Public Speaking ผ่าน




น้อง ๆ กลุ่ม C3/1 พร้อมพี่เลี้ยงในงานหม่ำอาหารค่ำมื้อสุดท้ายร่วมกันที่ริมทะเล





น้อง ๆ กลุ่ม C4/1 ชักรูปร่วมกับพี่เลี้ยง 2 ท่านก่อนจะแยกย้ายกันไปทางใครทางมัน




น้อง ๆ กลุ่ม C3/2 เก๊กท่าเรียบร้อยเชียว





น้อง ๆ กลุ่ม C3/2 นึกว่าเป็นเด็กเรียบร้อยนะเนี่ย เดี๋ยวฟ้องพี่เลี้ยงดีก่า อิๆๆ อ้าวเหลือบตามอง เห็นพี่เลี้ยง (พี่โอ๋) อยู่ในรูปด้วย คุมน้อง ๆ หน่อยจ้า ร่าเริงเกินเหตุไปป่าว




เช้าวันที่จะได้กลับบ้าน ทุกคนเลยออกอาการเต็มที่เชียว ยิ้มเสียกว้าง วันแรกที่มา วางท่ากันนิ๊งนิ่ง




บนรถบัสขณะกลับบ้าน มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ น้อง ๆ กลุ่ม C3/3 ขอถ่ายรูปเป็นที่ระลึกอีกครั้ง โปรดสังเกต ทุกคนชูมือเป็นเลข 3

แม้วันเวลาที่ได้อยู่ร่วมกันมันช่างแสนสั้น
แต่มิตรภาพระหว่างเราจะคงอยู่นิรันดร์ตลอดไป...

อย่างที่ Cicero นักปราชญ์กรีก (ถูกไหมเนี่ย ขี้เกียจกูเกิ้ล) ได้เคยบอกเอาไว้ว่า

"Friendship make prosperity more shining and lessens adversity by dividing and sharing it"


อุ๊ยตาย ลืมใส่เครดิตค่ะ รูปหลาย ๆ รูปมาจากหลายแหล่งที่มา ขอบคุณน้อง ๆ ทุกคนที่แบ่งปันให้ และขอบคุณน้อง Jib อนุบาล 3/3 ที่เอื้อเฟื้อเป็นผู้สนับสนุนหลักในรายการ เอ๊ย ในบล็อกเล็ก ๆ แห่งนี้ นะคะ




Create Date : 25 มีนาคม 2551
Last Update : 28 มีนาคม 2551 13:51:36 น.
Counter : 17149 Pageviews.

12 comments
  
ประทับใจคำตอบผมเลยหรอพี่ อิอิ ก็จริงนะครับ ผมอยากให้กระทรวงฯ รับผมเข้าทำงาน (สรุปผมจะได้ป่ะ)
โดย: เปา IP: 61.90.184.250 วันที่: 25 มีนาคม 2551 เวลา:16:16:03 น.
  
น้องเปาคะ จนถึงบัดนี้ พี่ก็ยังรอลุ้นผลกับน้อง ๆ ทุกคนอยู่เหมือนเดิมนั่นแหละค่ะ

ขอให้ทุกคนโชคดีนะคะ
โดย: Ninie วันที่: 25 มีนาคม 2551 เวลา:16:39:04 น.
  
แอบงงเหมือนกันว่าตกลงอยากได้งานหรือเพื่อน 55 รูปกลุ่ม 3/3 เยอะจิงจิงไม่เสียแรงที่เป็ี sponsor ส่งไปใหูู้^^
โดย: Jib อนุบาล 3/3 IP: 122.0.3.123 วันที่: 25 มีนาคม 2551 เวลา:16:45:12 น.
  
มารายงานตัวว่าเป็นหนุ่มน้อยคนนั้นเอง

ไม่มีอารายครับ แค่เพื่อนรุมชี้เพื่อจะบอกว่า นี่ไงคนน่ารักประจำกลุ่ม 3/3 อิอิ

ใจระทึก ตึกตัก ตุ๊บๆ
โดย: นุ้ย อนุบาล 3/3 IP: 125.24.57.229 วันที่: 25 มีนาคม 2551 เวลา:16:46:37 น.
  
>> น้อง jib อนุบาล 3/3 ตกลงอยากได้ไร ตัดสินใจได้ยัง เพื่อน หรืองาน หุ ๆ ลุ้นต่อไปเถอะนะ ขอบคุณสำหรับรูปทุกรูปค่ะ (ยกเว้นรูปแรกทีได้จากฝ่ายกิจกรรม)

>> น้องนุ้ย อนุบาล 3/3 อ๊ะ ห้องเดียวกะน้องจิ๊บเลยนี่ แน่ใจนะว่า เขาบอกว่าคนน่ารักประจำกลุ่ม ขอฟังเทปเสียงหน่อยจ้า

ขอให้น้อง ๆ โชคดีนะ พี่ก็ใจระทึกไม่แพ้กันเหมือนกัน
โดย: Ninie วันที่: 25 มีนาคม 2551 เวลา:16:51:27 น.
  
อยากบอก ว่าช่วยลุ้นเหมือนกันครับ

แต่รู้สึกจะนานกว่าทุกปี ตื้นเต้นแทนพี่ๆเขาจริงๆ

หน้าพี่เปา ตอนสอบเสจ แล้วเหมือนยกภูเขาออกจากอก จริงๆ5555
โดย: anthony IP: 124.157.206.34 วันที่: 25 มีนาคม 2551 เวลา:21:13:27 น.
  
ตอนนี้ยังลุ้นอยู่เลยคับ (แต่อีกไม่นานก็คงไม่ต้องลุ้นละ) อีกอย่าง anthony มาพาดพิงถึงพี่ทำไม
โดย: เปา IP: 58.136.206.98 วันที่: 29 มีนาคม 2551 เวลา:22:46:19 น.
  
อิอิ แอบเห็นเพื่อนด้วย
โดย: Pinkneko วันที่: 27 กรกฎาคม 2551 เวลา:11:08:13 น.
  
ถ้าจบแพทย์เนี่ยมาสอบเข้าทำงาน กต ได้ไม๊คะ?
ตอน ม ปลาย สอบผ่านข้อเขียนทุนกต แล้วอ่ะค่ะ เเต่ไม่ผ่านสัมภาษณ์ เพราะเอาเเค่คนเดียว ^^"

ยังฝันที่จะทำงานในกต อยู่อ่ะค่ะ
โดย: PT IP: 222.123.203.226 วันที่: 3 มีนาคม 2552 เวลา:20:01:04 น.
  
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะครับพี่ ผมเพิ่งผ่านข้อเขียนมาครับ จะได้เตรียมตัวสอบสัมภาษณ์ได้อย่างถูกวิธีครับ

ปล. สอบผ่าน 15 คน แล้วมีสำรองกี่คนครับเนี่ย
โดย: honjokun06 IP: 202.12.74.246 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:8:28:28 น.
  
กำลังจะเตรียมตัวสอบกระทรวงน่ะค่ะ
จำเป็นไหมคะที่ต้องไปเรียนพิเศษที่เค้าติวๆกันน่ะค่ะ
โดย: kobbie IP: 117.47.187.51 วันที่: 21 เมษายน 2553 เวลา:10:07:09 น.
  
สวัสดีค่ะ

ก่อนอื่นต้องขอบคุณพี่มากๆเลยค่ะที่เขียนBlogนี้

ข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบภาค ค (สอบสัมภาษณ์) มีน้อยมากในInternet จึงรู้สึกโชคดีมากที่ได้อ่านประสบการณ์ของพี่ในการสอบภาค ค และเป็นพี่เลี้ยงให้คนที่สอบภาค ค ด้วย

ขอความอนุเคราะห์พี่แนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตัวในการสอบสัมภาษณ์นักการทูต จะได้ไหมคะ

ขอบคุณค่ะ

เซียม
โดย: เซียม IP: 210.1.9.210 วันที่: 5 มีนาคม 2557 เวลา:17:34:46 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ninie
Location :
กรุงเทพ  Netherlands

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 127 คน [?]




ได้ออกประจำการเสียที....แต่ต้องหนีร้อนไปถึงรัสเซียเชียวหรือ จะไหวรื้อ?
เมื่อเขาฉันถามว่า "เธอจะบ้ารองเท้าไปถึงไหน?"
ใครอยากได้วารสารสราญรมย์ หนังสือดี ๆ ของกระทรวงการต่างประเทศ โปรดเข้ามาอ่านด้วยจ้า
Cast away ที่ La a Natu@Pranburi
เมืองไทยในสายตาของพี่แจส ผ่านเลนส์
10 ยอดการ์ตูนผู้หญิงในดวงใจ ภาค 1
เมื่อคิดจะแต่งงานกับฝรั่ง และย้ายฐานทัพมาอยู่เมืองไทย ต้องทำอย่างไร

บ ล็ อ ก ข อ ง เ พื่ อ น