วิธีปฏิบัติตนภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ... บล็อกที่ 351



วิธีปฏิบัติตนภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม





ระยะนี้จขบ.มีทั้งเพื่อนๆ พี่ๆ ทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมกันหลายท่าน จขบ.ขอนำการปฎิบัติตนภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเที่ยม มาให้ท่านที่ทำการผ่าตัดนำไปปฎิบัติ เพื่อจะได้หายและใช้การเกือบเท่าปกติ แต่ถ้าไม่ทำกายบำบัด
เข่าอาจจะงอไม่ได้เต็มที่ และการเดินก็เกือบจะไม่เข้าที่เหมือนปกติ ผู้ที่ผ่าตัดเข่า ระยะแรกๆ ต้องฝืนใจฝืกทำ เพื่อจะได้หายเป็นปกติ หรือเกือบเหมือนปกติที่สุด



วิธีปฏิบัติตนภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม



สนุกได้กับชีวิตที่คุณรัก
ด้วยมาตรฐานการรักษาโรงเฉพาะทางระดับโลกถึง 5 สาขา
ที่ได้รับการรับรองจาก JCI สถาบันรับรองคุณภาพระดับสากลแห่งสหรัฐอเมริกา

สมิติเวชพร้อมดูแลคุณ ให้คุณได้กลับไปสนุกกับกิจกรรมที่คุณรักได้อีก ด้วยมาตรฐานระดับโลกนี้ ผู้ป่วยและครอบครัวมั่นใจได้ถึงการดูแลรักษาอย่างถูกต้องแม่นยำ ตั้งแต่แรกเข้ารับการรักษา ขณะพักฟื้น จนสามารถใช้ชีวิตเป็นปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ด้วยศักยภาพในการรักษาที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ในเรื่อง
  • การวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเป็นขั้นตอน
  • ความเชี่ยวชาญและกระบวนการรักษาที่แม่นยำวัดผลได้
  • การพัฒนาศักยภาพในการรักษา
  • การจัดการฐานข้อมูลผู้ป่วยและใช้ข้อมูลในการดูแลรักษาร่วมกับผู้ป่วย
  • การดูแลสนับสนุนทั้งผู้ป่วยและครอบครัวให้มีสภาพจิตใจที่ดี ใช้ชีวิตอยู่กับโรคอย่างเข้าใจ


ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้น กล้ามเนื้อและเอ็นต่าง ๆ รอบข้อเข่าต้องการเวลาที่จะสมานแผล ดังนั้นหลังจากที่ผู้ป่วยได้กลับบ้านแล้ว การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา, การเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อขา และการเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเข่าเทียม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันให้ได้มากที่สุด จึงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ยังมีภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น ภาวการติดเชื้อที่ข้อเข่าเทียม, ภาวะเส้นเลือดดำที่ขาอุดตัน, หรือการที่ผู้ป่วยไม่สามารถเหยียดเข่าที่ผ่าตัดได้ตรง สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากที่ผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้านแล้ว ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด ตามวิธีปฏิบัติตนภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม



คำแนะนำในการปฏิบัติตน



1. สำหรับอาการบวมของเข่าที่ผ่าตัดที่เกิดขึ้น อาจใช้เวลาถึงประมาณ 6 เดือนในการกลับสู่ภาวะปกติ การวางแผ่นเย็น (cold pack) จะช่วยลดอาการบวม และอาการปวดของข้อเข่าข้างที่ผ่าตัด ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรวางแผ่นเย็นที่เข่าข้างผ่าตัด วางนานประมาณ 10-20 นาที ประมาณ 3-4 ครั้งต่อวันหรือเท่าที่ผู้ป่วยต้องการจะวาง โดยเฉพาะในช่วงเวลา 6 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด, เวลาที่เหมาะในการวางแผ่นเย็นคือ หลังจากที่ผู้ป่วยออกกำลังกาย หรือ หลังจากที่ผู้ป่วยไปเดินมาก ๆ, ท่าที่เหมาะกับการวางแผ่นเย็นคือวางในท่าเข่าเหยียดตรง

Rehab


2. การนอน หากนอนหงายให้นอนหงายเข่าเหยียดตรง แล้วใช้ม้วนผ้าขนหนูวางไว้ใต้ข้อเท้าขาข้างผ่าตัด จุดประสงค์ของการนอนแบบนี้เพื่อให้เข่าที่ผ่าตัดเหยียดได้ตรง ผู้ป่วยไม่ควรใช้หมอนใด ๆ วางใต้ข้อเข่าที่ผ่าตัดในขณะที่นอน

Rehab


3. การนั่งนาน อาจจะทำให้เข่าข้างผ่าตัดเกิดอาการขาแข็ง (stiffness) หรืออาการบวมตลอดทั้งขาข้างที่ผ่าตัด ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรนั่งนานไม่เกิน 45 นาที หากผู้ป่วยต้องการที่จะนั่งนาน เช่น ดูหนัง หรือ ดูทีวี หรือนั่งทำงานนาน ผู้ป่วยก็ควรลุกขึ้นยืนและเดินในระยะทางสั้น ๆ หรือ เคลื่อนไหวเข่าข้างผ่าตัดโดยการงอและเหยียดเข่าหลาย ๆ ครั้ง

4. เนื่องจากภาวะการติดเชื้อในข้อเข่าเทียมอาจเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่หลังการผ่าตัดจนถึงประมาณ 1 ปี ดังนั้นหากผู้ป่วยสังเกตเห็นอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่ อาการมีไข้สูงนาน ๆ, หรือที่แผลผ่าตัดมีอาการแดง ร้อน หรือ มีหนองหรือน้ำเหลืองไหลออกมาจากแผลผ่าตัด, หรืออาการปวดเข่าที่ผ่าตัดมาก ให้ผู้ป่วยรีบโทรศัพท์หาแพทย์ผ่าตัดทันที

5. ภายในหนึ่งปีหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หากผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดอื่นใด หรือการผ่าตัดทางด้านฟันนั้น ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ที่ผ่าตัดทราบว่าผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมา เพื่อที่แพทย์จะได้ให้ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะก่อนและหลังการผ่าตัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อไปที่ข้อเข่าเทียม



การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา


1. Ankle Pumps: นอนหงาย ขาเหยียดตรง, จากนั้นกระดกข้อเท้าขึ้น และ ลง ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)

Rehab



2. Heel Slides: นอนหงาย ขาเหยียดตรง, จากนั้นค่อย ๆ งอเข่าขึ้นมาโดยการลากส้นเท้าเข้ามาชิดก้น (พยายามให้ส้นเท้าติดพื้นตลอดการเคลื่อนไหว) แล้วค่อยยืดขาออกกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)

Rehab

3. Knee Press: นอนหงาย ขาเหยียดตรง, พยายามเกร็งกล้ามเนื้อต้นขา กดด้านหลังเข่าติดเตียง เกร็งค้างไว้นาน 5 วินาที แล้วคลายออก ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)


Rehab

4. Straight Leg Raise: นอนหงาย ขาข้างดีงอขึ้นมาให้เท้าวางติดพื้น, ขาข้างผ่าตัดเหยียดตรง จากนั้นเกร็งกล้ามเนื้อหน้าขาให้เข่าเหยียดตรง แล้วยกขานั้นขึ้นสูงเท่ากับความสูงของขาข้างดีที่ตั้งงอไว้ โดยที่เข่าต้องเหยียดตรงตลอดช่วงของการเคลื่อนไหว แล้วค่อย ๆ วางขาลงช้า ๆ กลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)


Rehab


5. Side Lying Abduction: นอนตะแคง ขาเหยียดตรง (ให้ขาข้างที่ต้องการออกกำลังกายอยู่ด้านบน) จากนั้นให้กางขาขึ้น โดยขาจะต้องเหยียดตรงตลอดช่วงของการกางขา แล้วยกขากลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)


Rehab


6. Short Arch Quadriceps: นอนหงาย ใช้หมอนกลมวางใต้เข่าข้างที่ผ่าตัด จากนั้นเกร็งกล้ามเนื้อหน้าขายกปลายเท้าขึ้นให้เข่าเหยียดตรง เกร็งค้างไว้ 5 วินาที แล้ววางขาลงสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)


Rehab


7. Sitting Knee Extension: นั่งบนเก้าอี้ แล้วค่อย ๆ เหยียดขาข้างที่ต้องการออกกำลังกายให้เข่าเหยียดตรงมากที่สุดเท่าที่ทำได้ ทำค้างไว้ 5 วินาที แล้ววางขาลงสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)


Rehab


8. Standing Knee Bending: โดยให้ผู้ป่วยยืนจับพนักเก้าอี้ที่มั่นคง แล้วงอขาข้างที่ผ่าตัดขึ้น ทิศทางเข้าหาก้น ให้งอเท่าที่จะงอไปได้ แล้ววางขาลงกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)


Rehab



9. Standing Hip Abduction: โดยให้ผู้ป่วยยืนจับพนักเก้าอี้ที่มั่นคง แล้วกางขาข้างผ่าตัดออกไปทางด้านข้าง โดยพยายามควบคุมให้ลำตัวและเข่าเหยียดตรงตลอดช่วงการเคลื่อนไหว แล้ววางขากลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)


Rehab


10. Standing Hip Extension: โดยให้ผู้ป่วยยืนจับพนักเก้าอี้ที่มั่นคง แล้วเหยียดขาข้างที่ผ่าตัดไปทางด้านหลัง โดยพยายามควบคุมให้ลำตัวและเข่าเหยียดตรงตลอดช่วงการเคลื่อนไหว แล้ววางขากลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)


Rehab


11. Standing Terminal Knee Extension: โดยให้ผู้ป่วยยืนจับพนักเก้าอี้ที่มั่นคง แล้วให้เข่าข้างที่ผ่าตัดงอเล็กน้อย จากนั้นค่อย ๆ เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาดึงเข่าไปทางด้านหลัง ให้เข่าเหยียดตรง เกร็งค้างไว้ 5 วินาที (พยายามไม่ให้เข่าแอ่นมากเกินไป) จากนั้นจึงค่อย ๆ คลายให้เข่ากลับสู่ท่างอเข่าเล็กน้อย ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)


Rehab


12. Heel Raises: โดยให้ผู้ป่วยยืนจับพนักเก้าอี้ที่มั่นคง จากนั้นให้ยกส้นเท้าทั้ง 2 ข้างขึ้นจากพื้น เกร็งค้างไว้ 5 วินาที แล้วค่อย ๆ วางส้นเท้าลงกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)


Rehab


13. Sitting Assisted Knee Bending: โดยให้ผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้ แล้วใช้ขาข้างดีวางอยู่หน้าขาข้างที่ผ่าตัด จากนั้นใช้ขาข้างดีดันขาข้างผ่าตัดไปทางด้านหลัง ให้เข่าข้างผ่าตัดงอไปได้มากที่สุดเท่าที่จะไปได้ งอค้างไว้ 5 วินาที แล้วคลายออกนำขากลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ … ครั้ง (ตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด)

Rehab


14. Hamstring Stretching: นั่งบนเตียง โดยให้ขาข้างดีวางอยู่บนพื้น ส่วนขาข้างผ่าตัดวางอยู่บนเตียงขาเหยียดตรง จากนั้นค่อย ๆ ก้มตัวไปข้างหน้าไปจับที่นิ้วหัวแม่เท้า หรือพยายามก้มไปข้างหน้าให้ไกลที่สุดเท่าที่จะไปได้ โดยต้องพยายามรักษาให้เข่าเหยียดตรงตลอดช่วงที่ก้มตัวไปข้างหน้า แล้วให้ค้างไว้นาน 10 วินาที จากนั้นเคลื่อนกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 10 ครั้ง


Rehab


การลุกขึ้นนั่ง

จากท่านอนหงาย ให้ผู้ป่วยใช้แขนทั้งสองข้างยันตัวขึ้นนั่ง จากนั้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนตัวมานั่งริมขอบเตียง โดยมีผู้ดูแลผู้ป่วยช่วยพยุงขาข้างผ่าตัดออกมานอกเตียง แล้วจึงค่อย ๆ วางขาข้างผ่าตัดให้งอวางเท้าติดพื้น ส่วนขาข้างดีผู้ป่วยเคลื่อนมาวางเท้าที่พื้นเอง


Rehab

Rehab

Rehab


การลุกขึ้นยืน

หลังจากที่ผู้ป่วยนั่งห้อยขาข้างเตียงแล้ว ให้นำ Walker มาวางอยู่ด้านหน้าผู้ป่วย แล้วให้ผู้ป่วยใช้มือจับ walker จากนั้นให้ผู้ป่วยเคลื่อนขาข้างผ่าตัดมาทางด้านหน้า เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยลงน้ำหนักที่ขาข้างผ่าตัดมาก แล้วก้มตัวมาทางด้านหน้า มือกด walker ลงน้ำหนักที่ขาข้างดี จากนั้นยืดตัวขึ้นยืนตรงแล้วจึงเคลื่อนขาข้างผ่าตัดมาวางเท่าขาข้างดี


Rehab


การเดินด้วยการใช้ Walker

ขั้นตอนที่ 1

ให้ผู้ป่วยยก Walker ไปวางทางด้านหน้า ในระยะทางที่เพียงพอกับการก้าวเท้าปกติของผู้ป่วย ต้องมั่นใจว่าวางขาทั้ง 4 ของ walker ลงพื้นเรียบร้อยแล้วก่อนที่จะก้าวเท้า


Rehab


ขั้นที่ 2

ก้าวขาข้างผ่าตัดก่อน โดยก้าวเข้าไปในกึ่งกลางของ Walker วางเท้าให้ตรง ไม่บิดเท้า


Rehab


ขั้นที่ 3

กด Walker ด้วยมือทั้งสองข้าง ลงน้ำหนักที่ขาข้างผ่าตัดประมาณ 50 % หรือ

เท่าที่ไม่มีอาการเจ็บที่ข้อเข่าเทียม จากนั้นจึงก้าวขาข้างดีตามมา

Rehab

Rehab

สนใจสอบถามรายละเอียด
แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท อาคาร 2 ชั้น 1:










ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ

“ข้อเข่าเสื่อม” เป็นโรคที่ทรมานสำหรับผู้ป่วย

“โรคกระดูกข้อเข่าเสื่อม”...ในผู้สูงอายุเป็นปัญหาสำคัญเพราะข้อเข่าเป็นข้อที่ถูกใช้งานหนักตลอดเวลา...ปัจจุบันอายุโดยเฉลี่ยของประชากรไทยสูงขึ้น ยิ่งทำให้จำนวนผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น

ประเมินกันว่า...มีผู้ป่วยที่ข้อเข่าเสื่อมและรอรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ทำให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตที่เกือบเป็นปกติ อยู่เป็นจำนวนหลายแสนคน

สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 16 มกราคม 2550 คาดการณ์ไว้ว่า อีก 13 ปี สัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15 ซึ่งเป็นแนวโน้มเหมือนกันทั่วโลก โดยผู้สูงอายุจะถูกคุกคามจากโรคต่างๆ...

ทั้งโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รวมทั้งโรคข้อเข่าเสื่อม

จำเป็นต้องเตรียมรับมือแต่เนิ่นๆ...เพราะผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะมีโอกาสเกิดโรคมากกว่าวัยอื่นๆ ถึง 4 เท่า โดยเฉพาะผู้สูงอายุในวัย 80 ปีขึ้นไป ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

ภายใต้ “โครงการข้อเข่าเทียม” สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)...เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดข้อเข่าเทียมได้เข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าของผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิ UC มีการเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการผ่าตัดที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากที่ สปสช.ได้ปรับระบบการบริหารจัดการอุปกรณ์ข้อเข่าเทียม ให้ผู้มีสิทธิสามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้น

และ...หน่วยบริการได้รับอุปกรณ์ไปผ่าตัดเปลี่ยนให้ผู้ป่วย โดยที่ไม่มีภาระด้านค่าอุปกรณ์ที่มีราคาแพงเกินกว่าราคากลางที่เบิกได้ตามที่ สปสช.ประกาศกำหนด

ข้อมูลการผ่าตัดข้อเข่าตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550-2554 แบ่งช่วงอายุของผู้เข้ารับบริการผ่าตัดฯ ออกเป็น 6 ช่วง...อายุน้อยกว่า 50 ปี, ช่วงอายุระหว่าง 50-59 ปี, ช่วงอายุระหว่าง 60-69 ปี, ช่วงอายุระหว่าง 70-79 ปี, ช่วงอายุระหว่าง 80-89 ปี และอายุมากกว่า 90 ปี



พบว่า ช่วงอายุที่มีการผ่าตัดมากที่สุดในแต่ละปีคือช่วงอายุระหว่าง 60-69 ปี รองลงมาเป็นช่วงอายุระหว่าง 70-79 ปี และ ช่วงอายุระหว่าง 50-59 ปี

คลิกอ่านต่อข้างล่างค่ะ

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ
“ข้อเข่าเสื่อม” เป็นโรคที่ทรมานสำหรับผู้ป่วย
ขอเชิญเปิดอ่านที่นี่ค่ะ


ขอขอบคุณ ข้อมูลจากอินเตอร์เนต

newyorknurse





 

Create Date : 10 ตุลาคม 2557
30 comments
Last Update : 10 ตุลาคม 2557 5:46:48 น.
Counter : 14598 Pageviews.

 

สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย


ความไม่มีโรค
เป็นสุขอย่างยิ่งจริงๆเลยนะครับ


 

โดย: กะว่าก๋า 10 ตุลาคม 2557 7:02:52 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
newyorknurse Health Blog

คุณยายน้องซีอายุเยอะแล้วค่ะ ยังไม่มีปัญหานี้ เคยแต่ผ่าหลังเพราะกรธดูกทับเส้น ก็ต้องมีกายภาพค่ะ

 

โดย: มี้เก๋ + ป๊าโอ๋ = ซีทะเล (kae+aoe ) 10 ตุลาคม 2557 8:34:03 น.  

 

ขอบคุณเรื่องราวดีๆค่ะพี่น้อย
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Close To Heaven Food Blog ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: เฉลิมลาภ ทราบแล้วเปลี่ยน 10 ตุลาคม 2557 8:56:52 น.  

 

สวัสดีค่ะ พี่น้อย
เป็นความรู้ที่ดีมากๆเลย ขอเซฟเก็บเป็นฐานข้อมูลเผื่อมีคนไข้มาปรึกษานะคะ

ขอบคุณค่ะ

 

โดย: hi hacky 10 ตุลาคม 2557 9:02:08 น.  

 

ยิ่งผมอายุมากขึ้น
ผมยิ่งรู้สึกว่าร่างกายเสื่อมถอยไปเรื่อยๆครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 10 ตุลาคม 2557 10:06:12 น.  

 


ได้ความรู้ดีมากค่ะคุณน้อย ตอนนี้กำลังเริ่มปวดเข่านิดๆ

สังขารมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา โหวตค่ะ

newyorknurse Health Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: พรไม้หอม 10 ตุลาคม 2557 11:28:14 น.  

 

เป็นสิ่งทรมาน จะเดินจะนั่งลำบาก
ขอบคุณข้อมุลดีๆที่เอามาฝากครับ
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog

 

โดย: moresaw 10 ตุลาคม 2557 18:52:47 น.  

 

ยาวมาก ยังอ่านไม่ไหว ฝากกำลังใจไว้ก่อนครับ
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
pantawan Health Blog ดู Blog
Rinsa Yoyolive Photo Blog ดู Blog
tuk-tuk@korat Travel Blog ดู Blog
ดอยสะเก็ด Literature Blog ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog

ขอบคุณมากๆ

 

โดย: nulaw.m (คนบ้า(น)ป่า ) 10 ตุลาคม 2557 20:47:04 น.  

 

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ที่นำมาฝากนะคะน้าน้อย . . .

โหวตหมวดไกลบ้านค่ะ . . .

 

โดย: กาปอมซ่า 10 ตุลาคม 2557 21:49:03 น.  

 

ทั้งข้อมูลและภาพประกอบมีประโยชน์มากค่ะพี่น้อย
ขอบคุณพี่น้อยมากนะคะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog

.........................

 

โดย: Sweet_pills 11 ตุลาคม 2557 0:45:57 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย



 

โดย: กะว่าก๋า 11 ตุลาคม 2557 6:59:36 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
newyorknurse Health Blog ดู Blog

เคยมีปัญหาหัวเข่าครับ เคยคิดว่าโดนผ่าตัดเข่าแน่ด้วย แต่เด๋วนี้หายขาดแล้ว โล่งใจไป :)

 

โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา 11 ตุลาคม 2557 8:49:10 น.  

 

 

โดย: T-H-F-C 11 ตุลาคม 2557 16:01:35 น.  

 

สวัสดีครับพี่ แวะมาอัพเดทเรื่องสุขภาพบ้าง ข้อเสื่อมนี่ไม่ว่าข้อไหน ๆก็ทรมานนะครับ ปวดข้อนี่ไม่ธรรมดาเลย โดยเฉพาะหัวเข่าที่เป็นข้อที่ใช้งานมากเชียว

ขอบคุณครับพี่ที่แวะไปเยี่ยมเยือนทักทายและโหวดให้เสมอเลย

 

โดย: tiensongsang 11 ตุลาคม 2557 22:35:03 น.  

 

ขอบคุณพี่น้อยสำหรับกำลังใจค่ะ

ราตรีสวัสดิ์พี่น้อยจากเมืองไทยค่ะ

 

โดย: Sweet_pills 11 ตุลาคม 2557 23:13:53 น.  

 

หวัดดีค่่าคุณน้อย

กายภาพ บำบัดนี่สำคัญมากเลยนะคะ
หลังผ่าตัด และกำลังใจก็สำคัญมากด้วยค่ะ
ข้อเข่าเสื่อมนี่ทรมานจริงๆ
รักษาต้องใช้เวลานานด้วยค่า






 

โดย: Rinsa Yoyolive 11 ตุลาคม 2557 23:30:50 น.  

 

หลังผ่าตัดก็ต้องค่อยๆ ให้ร่างกายฟื้นตัวนะ ไม่มีโรคนี่มันดีที่สุดแล้วล่ะครับ

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 12 ตุลาคม 2557 0:45:37 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เฉลิมลาภ ทราบแล้วเปลี่ยน Music Blog ดู Blog
เศษเสี้ยว Photo Blog ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

สวัสดีค่ะพี่น้อย
วันนี้ได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์มาก ๆ เลยค่ะ

 

โดย: Close To Heaven 12 ตุลาคม 2557 1:11:42 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย



 

โดย: กะว่าก๋า 12 ตุลาคม 2557 6:40:21 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
mariabamboo Parenting Blog ดู Blog
phunsud Food Blog ดู Blog
มัลลิกา ป 402 Blog about TV ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
พรไม้หอม Health Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: puzzle man (เตยจ๋า ) 12 ตุลาคม 2557 8:43:00 น.  

 

สว.กับข้อเข่าเสื่อมนี่เหมือนจะเป็นของคู่กัน สว.คนไหนยังไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ถือได้ว่ามีบุญที่ดูแลสุขภาพมาดีค่ะ


newyorknurse Health Blog ดู Blog

 

โดย: ร่มไม้เย็น 12 ตุลาคม 2557 9:51:21 น.  

 

ทักทายๆกันค่ะ


newyorknurse Health Blog

 

โดย: เริงฤดีนะ 12 ตุลาคม 2557 12:27:04 น.  

 

สวัสดียามบ่ายค่ะน้าน้อย . . .

ปอมมาโหวต best of the blog พร้อมเสิร์ฟกาแฟ และ เค้ก ในวันที่อากาศดีนะคะ

 

โดย: กาปอมซ่า 12 ตุลาคม 2557 16:20:12 น.  

 

ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับพี่น้อย

 

โดย: กะว่าก๋า 12 ตุลาคม 2557 18:33:03 น.  

 




ข้อมูลมีประโยชน์มากค่ะ
อ่านเป็นความรู้นะคะ




ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: ที่เห็นและเป็นมา 12 ตุลาคม 2557 20:43:13 น.  

 

newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog

ตอนนี้มีคนที่รู้จักเป็นโรคนี้
กันหลายคนเลยค่ะพี่น้อย เป็นโรคที่
ทรมานมากเลยนะคะ

 

โดย: AppleWi 12 ตุลาคม 2557 22:15:57 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย


 

โดย: กะว่าก๋า 13 ตุลาคม 2557 6:43:52 น.  

 

สวัสดีครับพี่น้อย ^^

มัวแต่ยุ่งๆที่บล็อกยังไม่ได้แวะมาเยี่ยมพี่น้อยสักที แหะๆ

ข้อเข่าเสื่อมเป็นกันมากนะครับ อายุเยอะก็ปวดเข่าปวดขา

เดินไม่ไหว ถ้าได้ผ่าตัดก็คงจะดีขึ้น

เห็นท่าบริหารแล้วไม่ยากแต่ต้องใช้ความพยายามพอสมควรเลยนะครับ

โหวตสุขภาพให้พี่น้อยด้วยครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆนะครับผม ^^

 

โดย: วนารักษ์ 13 ตุลาคม 2557 7:50:25 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
prizella Travel Blog ดู Blog
ปรัซซี่ Food Blog ดู Blog
pantawan Health Blog ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


อ่านแล้วได้ประโยชน์มากเลยค่ะ สำหรับผู้ผ่าตัดหัวเข่าและกายภาพบำบัดนะคะ มีภาพประกอบเข้าใจง่ายด้วย

วันนี้โหวตสุขภาพไปแล้ว ขอโหวตไกลบ้านตามเพื่อนๆให้นะคะ



ขอบคุณมากๆสำหรับโหวตบล็อกอาหารที่บล็อกด้วยนะคะ

 

โดย: LoveParadise 13 ตุลาคม 2557 12:53:54 น.  

 


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
newyorknurse Health Blog ดู Blog

อุ้มมาโหวตให้พี่น้อยค่ะ
อ่านได้ความรู้ด้านสุขภาพค่ะ

 

โดย: อุ้มสี 13 ตุลาคม 2557 21:58:15 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ... United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]






เริ่มเขียนBlog
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553

ยินดีต้อนรับค่ะ

จขบ.บันทึกประสบการณ์ต่างๆ
ระยะเวลาทำงานและระยะเกษียณ
เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ

จขบ.พยายามใช้ชีวิตเกษียณให้มีคุณค่า
รักษาสุขภาพใจและกาย ท่องเที่ยวกับเพื่อนๆ
ทำสวนดอกไม้ ออกกำลังกาย
สมัครเป็นสมาชิก 24 Hrs Fitness
เพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณภาพ
จะได้ไม่เป็นภาระกับคนที่รักและห่วงใย

จขบ.เพิ่มบล็อกสุขภาพ
เพื่อจะได้นำสาระที่มีประโยชน์
เกี่ยวกับสุขภาพทั่วๆไป

จขบ.หวังว่าข้อมูลต่างๆช่วยให้
ทุกท่านที่มาอ่าน รักษาสุขภาพ
ไปตรวจเพื่อเป็นการป้องกัน
และได้รับการรักษาเนิ่นๆ เพื่อ
ชีวิตที่แข็งแรงและมีคุณภาพ

"A time to enjoy,
a time to spend time with your family
and a time to be with your friends
all comes with retirement"


*****


"Live The Moment"

อยู่กับปัจจุบันขณะ หยุดเสียใจกับสิ่งที่เกิดขี้น
ในอดีตและกลัวหรือกังวล
สิ่งทีเกิดขี้นในอนาคต "วันนี้" และ "ขณะนี้"
คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคุณ !!
ใช้มันให้ดีที่สุดให้เป็นช่วงเวลาทีมีคุณค่า
น่าจดจำเพราะว่าเวลาเป็นสิ่งที่ผ่านมา
และผ่านเลยไป เอาคืนไม่ได้และ
หาเพิ่มก็ไม่ได้เช่นกัน

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ


*********


ขอบคุณ Bloggang ทำให้เราได้เขียนบล็อกต่างๆ
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวด
ทุกๆคะแนน นะคะ

BG Popular Award # 19


BG Popular Award # 18


BG Popular Award # 17


BG Popular Award # 16


BG Popular Award # 15


BG Popular Award # 14


BG Popular Award # 13


BG Popular Award # 12


BG Popular Award # 11


BG Popular Award # 10


BG Popular Award # 9


BG Popular Award # 8

**********



ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2561
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ


ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2560
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ
Flag Counter
New Comments
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
10 ตุลาคม 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add newyorknurse's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.