โรคออทิสซึม







โรคออทิสซึม
ดร.ขวัญ หารทรงกิจพงษ์

ออทิสซึมเป็นภาวะที่เกิดจากสมองมีพัฒนาการที่ผิดแปลกออกไปจากเด็กทั่วไป โดยเป็นภาวะที่ครอบคลุมพัฒนาการหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะ (1) ด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา (2) การเข้าสังคมและสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น (3) พฤติกรรมและหรือความสนใจ โดยเด็กแต่ละคนจะมีลักษณะและอาการของภาวะออทิสซึมมากน้อยแตกต่างกันไป และอาจเปลี่ยนไปได้เมื่อเด็กโตขึ้น หรือเมื่อสมองมีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลง







อุบัติการณ์
ประเทศสหรัฐอเมริกามีการคาดการณ์ว่า ในเด็กทุกๆ 150 คน จะมีเด็ก 1 คนที่แสดงอาการในเครือข่ายของโรคออทิสซึม โดยจะพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง 4-5 เท่า สำหรับในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขคาดว่า มีบุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะออทิสซึมแล้วประมาณ 180,000 ราย หรือประมาณ 1 รายใน เด็ก 1,000 คน แต่อัตราความถี่นี้น่าจะต่ำกว่าตัวเลขจริง เนื่องจากความเข้าใจของของภาวะนี้ในประเทศไทยยังมีจำกัดมาก

สาเหตุ
สาเหตุของโรคออทิสซึมนี้ยังไม่ชัดเจน และมีหลายทฤษฎีที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ได้เสนอออกมา ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติในยีน ผลกระทบจากสารเคมีในสภาพแวดล้อม ปฏิกิริยาตอบรับกลุ่มวัคซีน MMR ความผิดปกติในลำไส้ ฯลฯ แต่สาเหตุที่เป็นที่ยอมรับกันก็คือ นักวิจัยพบว่า สมองของเด็กที่เป็นออทิสซึมนั้นมีการพัฒนาที่ไม่ปกติ รวมไปถึงขนาดของสมองบางส่วน การเชื่อมโยงกันของเซลล์สมอง และอัตราการเจริญเติบโตของขนาดสมองโดยรอบดัวย ขณะนี้ห้องวิจัยในมหาวิทยาลัยและสถาบันชั้นนำทั่วโลกจึงกำลังพยายามค้นหาบ่อเกิดของออทิสซึมอยู่ ทำให้มีความหวังว่า อีกไม่นานนักวิทยาศาสตร์คงจะค้นพบกลุ่มสาเหตุที่แท้จริงของออทิสซึมได

้ลักษณะของออทิสซึม
ออทิสซึม เป็นภาวะทางการพัฒนาการที่พบบ่อยเป็นอันดับ 3 รองลงมาจากภาวะสติปัญญาล่าช้าและภาวะ Cerebral Palsy(CP) หรือภาวะสมองอัมพาต แต่ผู้ปกครองและครูส่วนใหญ่ของเด็กทั่วไปยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะของออทิสซึมเพียงพอที่จะสังเกตเห็นได้ตั้งแต่เด็กยังเล็ก แม้แต่กุมารแพทย์บางท่านยังสำคัญผิดว่าสัญญาณแรกของออทิสซึมเป็นการพัฒนาการทั่วไปของเด็กเอง
ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของออทิสซึมมีมากมายหลายรูปแบบ และอาจจะมีความแตกต่างกันระหว่างเด็กแต่ละคนและอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วคือ ลักษณะนี้อาจเปลี่ยนแปลง หายไป หรือเกิดขึ้นมาใหม่ได้ตามพัฒนาการของเด็ก อย่างไรก็ดี ลักษณะหลักของออทิสซึมสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1) พัฒนาการทางการใช้ภาษาและการสื่อสารที่มีข้อจำกัด 2) พัฒนาการด้านปฏิสัมพันธ์ และการเข้าสังคมที่มีข้อจำกัด 3) พฤติกรรมการเล่นหรือความสนใจที่หมกมุ่น หรือซ้ำซ้อน
โดยสรุป ลักษณะที่ท่านผู้ปกครองควรสังเกตในเด็กเพื่อรายงานกุมารแพทย์ประจำตัวของลูกน้อย ก็คือ

การใช้ภาษาและการสื่อสาร
* เมื่ออายุ 1 ปี ยังไม่ส่งเสียงกูๆ กาๆ
* เมื่ออายู 18 เดือน ยังไม่พูดเป็นคำ
* เด็กหยุดพูดหลังจากเริ่มพูดเป็นคำแล้ว
* ในเด็กที่ไม่พูด ไม่มีการใช้สีหน้า ท่าทาง หรือใช้เสียงทดแทนการพูดไม่ได้
* ไม่ทำท่าทางเพื่อประกอบการสื่อสาร เช่น โบกมือลา ชี้นิ้ว หรือส่ายหัว
* พูดท่องจำจากสิ่งที่เคยได้ยิน โดยไม่มีความหมาย

การเข้ากับผู้อื่น
* ไม่แสดงทีท่าสนใจผู้อื่น แม้แต่บุคคลคุ้นเคย
* ไม่หันหน้าเมื่อถูกเรียกชื่อ
* ไม่สบตา
* ไม่เข้าใจน้ำเสียง สีหน้า หรือท่าทางของผู้อื่น
* ไม่รับทราบถึงความรู้สึกของผู้อื่น หรือไม่เข้าใจว่าพฤติกรรมของเขาจะมีผลกับบุคคลรอบข้างอย่างไร
* ไม่สนใจที่จะเล่นกับเด็กคนอื่น

การเล่นที่หมกมุ่นซ้ำซ้อน
* แสดงพฤติกรรมซ้ำไปซ้ำมา และมีการเล่นหรือความสนใจในของเล่นที่ไม่ปกติ เช่น ชอบหมุน
ของเล่น เรียงของเป็นแถว วิ่งเป็นวงกลมซ้ำๆ หรือกลับไปกลับมา ชอบนั่งโยกตัว วิ่งตามขอบกำแพง และมองเส้นจากหางตา เป็นต้น หากบุตรหลานของท่านมีอาการบางอย่างดังที่กล่าวมาข้างต้น ท่านควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวเด็กเพื่อรับการวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วนทันที อย่ารีรอ เพราะการรู้เร็วจะทำให้เด็กได้ประโยชน์จากการรับบำบัดที่เร็วด้วย นอกจากนี้ลักษณะที่ได้กล่าวมาเหล่านี้อาจแสดงถึงภาวะรุนแรงอื่นๆ ที่ไม่ใช่ออทิสซึมได้ ซึ่งการวินิจฉัยที่ถูกต้องจะช่วยให้ท่านผู้ปกครองสามารถเลือกวิธีการบำบัดหรือรักษาได้เหมาะสมที่สุดภาวะในเครือข่ายออทิสซึม

ภาวะในเครือข่ายออทิสซึม (Autism Spectrum Disorders)
มีอยู่ด้วยกัน 3 อย่าง ซึ่งในแต่ละภาวะ ลักษณะของออทิสซึมที่เด็กแสดงจะมากน้อยและรุนแรงแตกต่างกันออกไป ดังนี้

1) ภาวะออทิสติก/ออทิสซึม (Autistic Disorder) ภาวะออทิสติกหรือออทิสซึม คือชื่อที่ถูกใช้เมื่อเด็กแสดงอาการทั้ง 3 กลุ่มหลักที่กล่าวมาเบื้องต้น

2) แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม (Asperger's Syndrome) ภาวะแอสเพอร์เกอร์หรือแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มอาการที่คล้ายภาวะออทิสซึม โดยบุคคลที่มีภาวะนี้จะมีข้อจำกัดทางการเข้าสังคมและอาจมีความสนใจหรือ
พฤติกรรมที่หมกมุ่น ซ้ำซ้อน แต่แตกต่างไปจากออทิสซึม เด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์จะไม่มีข้อจำกัดด้านภาษาหรือการพูด และเด็กกลุ่มนี้หลายๆ คนมีไอคิวที่เท่ากับหรือมากกว่าเด็กทั่วไปด้วย

3) ภาวะทางพัฒนาการแบบครอบคลุม หรือ Pervasive Development Disorder Not Otherwise Specified (เรียกย่อๆ กันทั่วไปว่า PDD-NOS) เด็กที่มีภาวะ PDD-NOS จะมีลักษณะบางด้านของออทิสซึม แต่ไม่ครบตามเกณฑ์การวินิจฉัยของออทิสซึมที่กำหนดไว้ คือมีลักษณะของออทิสซึมน้อยถึงน้อยมาก แต่เด็กก็ยังคงต้องการการบำบัดแบบเดียวกับที่ใช้ในกลุ่มเด็กที่มีภาวะออทิสซึมด้วย

การบำบัด
แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีการรักษาออทิสซึมให้หายขาดได้ แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า เด็กที่ได้รับการบำบัดอย่างเคร่งครัด ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการได้รับการบำบัดเบื้องต้น(Early Intervention) ตั้งแต่ยังเล็กนั้น เด็กจะสามารถพัฒนาทักษะได้มากกว่าเด็กที่ได้มารับการบำบัดเมื่อโตแล้ว และถึงแม้ว่าการบำบัดออทิสซึมจะมีอยู่หลายทฤษฎี แต่ก็มีอยู่ 3 แนววิธีหลักๆ คือ

1) พฤติกรรมบำบัด หรือ Behavioral Approach ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น Applied Behavior Analysis (ABA), Discrete Trial Training(DTT), Pivotal Response Training(PRT), Picture Exchange Communication System(PECS) , Treatment and Education of Autistic and Related Communication-handicapped Children(TEACCH), ฯลฯ โดยแผนบำบัดจะมีหลักสูตรที่เจาะจง ซึ่งประยุกต์มาจากทฤษฎีพฤติกรรมและการให้รางวัล เด็กจะเรียนรู้จากการสอนที่มีระบบอย่างสม่ำเสมอและเคร่งครัด ข้อดีของพฤติกรรมบำบัดก็คือเด็กจะเรียนรู้เร็ว สามารถนั่งเรียนได้ ตอบสนองคำสั่งได้ และการฝึกสอนโดยครูประจำตัวเป็นไปได้ง่าย ข้อเสียคือ สิ่งที่เด็กเรียนรู้อาจไม่สามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงได้ เด็กหลายรายจะแสดงการตอบสนองต่อคำสั่งในลักษณะเหมือนกับการท่องจำ เด็กส่วนใหญ่ยังมีปัญหาการเข้าสังคม และเด็กหลายรายจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เพราะแนวบำบัดนี้ผู้ใหญ่จะเป็นคนนำ

2) พัฒนาการบำบัด หรือ Developmental Approach เช่น Developmental, Individual-Difference, Relationship-Based(DIR) / Floortime, Relationship, Development Intervention(RDI), the Hanen Program, the Son-Rise Program, ฯลฯ แผนบำบัดจะมีหลักสูตรที่เปิดตามความต้องการของเด็กแต่ละคน โดยเด็กจะถูกสอนระหว่างการเล่นกับครูประจำตัว และบทเรียนจะถูกรวมไว้ในกิจกรรมสัมพันธ์ต่างๆ ที่เด็กทำกับผู้อื่น ข้อดีของพฤติกรรมบำบัดก็คือ เด็กจะสนุกกับการเรียน และเริ่มแสดงความสนใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้พฤติกรรม การเข้าสังคมของเด็กมีการพัฒนามากขึ้น ข้อเสียคือ วิธีการสอนจะไม่เหมือนวิธีการสอนในห้องเรียนทั่วไป ซึ่งอาจทำให้เด็กต้องใช้เวลาในการปรับตัวมากเมื่อเข้าไปเรียนในห้องเรียนร่วม นอกจากนี้ยังต้องใช้เวลานานในการฝึกสอนนักบำบัด เพราะการจะบำบัดด้วยวิธีนี้ได้ นักบำบัดจะต้องเข้าใจและปรับแบบการสอนตามลักษณะของแต่ละคน

3) ชีวเวชบำบัด หรือ Biomedical Approach เช่น Medication (การรักษาด้วยยา) โดยใช้ตัวยา atypical antipsychotic บางชนิด เช่น Risperdal ซึ่งนำมาใช้เพื่อลดพฤติกรรมรุนแรงของเด็กออทิสซึม หรือยาชนิดอื่นที่ใช้เพื่อช่วยอาการโรคลมชัก โรคสมาธิสั้น หรือโรคอื่นๆ

สำหรับ เด็กออทิสซึมทุกคน ไม่ว่าจะบำบัดรักษาด้วยวิธีใดก็ควรเป็นการบำบัดแบบเคร่งครัด และมีเวลาที่เด็กได้เรียนรู้ทั้งตัวต่อตัวและแบบกลุ่ม คือโดยรวมแล้วจะต้องมีเวลาบำบัดอย่างน้อย 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในเด็กเล็ก และ 25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในเด็กประถมเป็นต้นไป นอกจากนี้การฝึกกิจกรรมบำบัด (occupational therapy) และอรรถบำบัด (การฝึกพูดและสื่อสาร/speech therapy) ก็ควรถูกรวมไว้ในแผนบำบัดด้วย

การบำบัดทางเลือก นอกจาก 3 แนวดังกล่าวข้างต้นแล้ว ปัจจุบันยังมีวิธีการบำบัดทางเลือกแบบอื่นๆ (Alternative Treatments) ที่แพร่หลาย แต่ยังไม่ได้รับการรับรองจากสมาคมแพทย์ว่าปลอดภัยหรือมีประสิทธิภาพอีกด้วย อาทิ การงดอาหารบางประเภท เช่น อาหารจำพวกที่มีสาร Gluten หรือโปรตีนจากข้าวสาลี และสารCasein ที่อยู่ในอาหารจำพวกนมเนย การทำ Chelation Therapy คือการถ่ายสารบางชนิดที่เชื่อว่าเป็นพิษออกจากร่างกาย และการฝังเข็ม ฯลฯ โดยวิธีเหล่านี้อาจได้ผลกับเด็กบางคน แต่ไม่ได้ผลกับเด็กบางคน ดังนั้นก่อนที่จะเลือกใช้วิธีการรักษาเหล่านี้ ผู้ปกครองจึงควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดจนแน่ใจว่าจะไม่มีผลร้ายต่อเด็ก

อนาคตของบุคคลที่มีออทิสซึม
บุคคลที่มีออทิสซึมบางคนสามารถทำงานและใช้ชีวิตอย่างมีอิสระ สามารถแต่งงานมีลูกได้อย่างคนทั่วไป แต่ในบางคน ออทิสซึมก็มีผลกระทบมากต่อพัฒนาการโดยรวมของเขา ซึ่งทำให้เขายังต้องการความช่วยเหลือต่อไปเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ด้วยเหตุนี้ผู้ปกครองและผู้เชี่ยวชาญจึงควรร่วมมือกัน เพื่อบำบัดและเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตให้กับเด็กที่มีภาวะนี้ตั้งแต่พวกเขายังเล็ก เพื่อเขาจะสามารถใช้ชีวิตในวิถีที่ใกล้เคียงกับบุคคลทั่วไปมากที่สุดนั่นเองที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณได้มากมายกว่าที่คิด

ดร.ขวัญ หารทรงกิจพงษ์




 

Create Date : 29 มกราคม 2555
0 comments
Last Update : 29 มกราคม 2555 8:14:23 น.
Counter : 3877 Pageviews.


newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ... United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]






เริ่มเขียนBlog
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553

ยินดีต้อนรับค่ะ

จขบ.บันทึกประสบการณ์ต่างๆ
ระยะเวลาทำงานและระยะเกษียณ
เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ

จขบ.พยายามใช้ชีวิตเกษียณให้มีคุณค่า
รักษาสุขภาพใจและกาย ท่องเที่ยวกับเพื่อนๆ
ทำสวนดอกไม้ ออกกำลังกาย
สมัครเป็นสมาชิก 24 Hrs Fitness
เพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณภาพ
จะได้ไม่เป็นภาระกับคนที่รักและห่วงใย

จขบ.เพิ่มบล็อกสุขภาพ
เพื่อจะได้นำสาระที่มีประโยชน์
เกี่ยวกับสุขภาพทั่วๆไป

จขบ.หวังว่าข้อมูลต่างๆช่วยให้
ทุกท่านที่มาอ่าน รักษาสุขภาพ
ไปตรวจเพื่อเป็นการป้องกัน
และได้รับการรักษาเนิ่นๆ เพื่อ
ชีวิตที่แข็งแรงและมีคุณภาพ

"A time to enjoy,
a time to spend time with your family
and a time to be with your friends
all comes with retirement"


*****


"Live The Moment"

อยู่กับปัจจุบันขณะ หยุดเสียใจกับสิ่งที่เกิดขี้น
ในอดีตและกลัวหรือกังวล
สิ่งทีเกิดขี้นในอนาคต "วันนี้" และ "ขณะนี้"
คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคุณ !!
ใช้มันให้ดีที่สุดให้เป็นช่วงเวลาทีมีคุณค่า
น่าจดจำเพราะว่าเวลาเป็นสิ่งที่ผ่านมา
และผ่านเลยไป เอาคืนไม่ได้และ
หาเพิ่มก็ไม่ได้เช่นกัน

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ


*********


ขอบคุณ Bloggang ทำให้เราได้เขียนบล็อกต่างๆ
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวด
ทุกๆคะแนน นะคะ

BG Popular Award # 19


BG Popular Award # 18


BG Popular Award # 17


BG Popular Award # 16


BG Popular Award # 15


BG Popular Award # 14


BG Popular Award # 13


BG Popular Award # 12


BG Popular Award # 11


BG Popular Award # 10


BG Popular Award # 9


BG Popular Award # 8

**********



ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2561
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ


ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2560
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ
Flag Counter
New Comments
Group Blog
 
<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
29 มกราคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add newyorknurse's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.