"ฝนซา .. ฟ้าใส .. กับหัวใจดวงเดิม"
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2549
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
9 พฤศจิกายน 2549
 
All Blogs
 
สุขภาพกายกับการใช้โทรศัพท์มือถือ

.....มาแล้วค่ะ วันนี้ได้บทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่ง..จุ๊ จุ๊.. เราเองก็เคยทำงี้เหมือนกัน เฮ้อ! ขมองจะเป็นไรป่าวเนี่ย ลองอ่านดูละกันค่ะ

บทความจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

คำเตือน "ยามนอน อย่าได้นำโทรศัพท์มือถือมากอดไว้แนบกายเสมือนหนึ่งตุ๊กตาแสนรัก หรืออย่าได้วางไว้ใต้หมอนเวลาใช้งานแทนนาฬิกาปลุก พยายามวางให้ห่างตัวไว้ 20-30 ซม. เป็นอย่างน้อย" แม้ไม่ได้ใช้แทนนาฬิกาปลุก แต่ก็มีหนุ่มสาวหลายคนซุกโทรศัพท์มือถือไว้ใต้หมอนบนเตียงนอน ใครจะไปรู้ว่าหวานใจจะโทรมาเมื่อใด ยิ่งหยิบรับได้ไว ยิ่งสื่อบอกความในใจ เป็นการทำคะแนนไปส่วนหนึ่งแล้ว

ทำไมต้องมีคำเตือนอย่างข้างต้น อย่าลืมว่ามีคำถามหนึ่งที่ถูกถามนับหลายร้อยครั้ง โดยผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหลายร้อยหลายพันคน แต่ยังไม่เคยได้รับคำตอบที่กระจ่างชัด นั่นก็คือ การใช้โทรศัพท์มือถือนั้น เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ทุกวันนี้ ไม่มีข้อเท็จจริงที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ถึงผลร้ายที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตจากการใช้โทรศัพท์มือถือ นักวิทยาศาสตร์ทุกคนต่างยอมรับว่า มีผลกระทบอยู่บ้าง โดยสามารถตรวจจับได้ด้วยกระบวนการทางการวิจัยอันทันสมัย

แต่กระนั้นก็ยังไม่มีใครสามารถพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำถึงธรรมชาติอันแท้จริงของมัน นักวิทยาศาสตร์ผู้ทำการทดลอง เพื่อประเมินผลกระทบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือสู่สัตว์ทดลอง และตัวมนุษย์ได้ผลลัพธ์ที่บอกเราให้ทราบเฉพาะในบางเรื่องเท่านั้น ภาพโดยรวมของผลกระทบที่แท้จริง ยังคลุมเครือไม่ชัดเจน

การศึกษาหนึ่งที่ทำกันเป็นระยะเวลา 2 ปี ในประเทศฟินแลนด์ โดย Radiation and Nuclear Safety Authority ซึ่งมุ่งเป้าหมายไปที่ผลกระทบของโทรศัพท์มือถือ ที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์ ได้ผลสรุปออกมาว่า การได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์มือถือ มีผลกระทบบางประการต่อสุขภาพของมนุษย์ า

อย่างไรก็ตาม นับเป็นการยากที่จะสรุปลงไปในตอนนี้ เพราะยังไม่ค่อยมีการศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยา ที่เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์ อันสืบเนื่องจากสาเหตุนี้ ข้อมูลที่ได้เพียงทำให้ทราบว่า มีการตอบสนองทางชีววิทยาบางอย่างเกิดขึ้น ปฏิกิริยาตอบสนองนี้แม้ไม่ได้เป็นปัญหาที่คุกคามชีวิต แต่ก็สร้างความวิตกกังวลให้ไม่น้อย มีกลุ่มนักวิจัยชาวสวีเดนกลุ่มหนึ่งได้ชี้ให้เห็นถึงความเกี่ยวโยงกันระหว่างโรคความจำเสื่อมกับการใช้โทรศัพท์มือถือ

นักวิทยาศาสตร์แห่ง Bristol University และ British Queen"s hospital ได้ทำการทดลองภายใต้การนำของ ดร. Alan Preece เพื่อค้นหาผลกระทบระยะสั้นที่โทรศัพท์มือถือ มีต่อสุขภาพ อาสาสมัครที่เข้าร่วมถูกกำหนดงานให้ทำในต่างสภาวะกัน เพื่อตรวจเช็คความสามารถทางปัญญา กลุ่มหนึ่งทำงานอยู่ภายใต้อิทธิพลของคลื่นไมโครเวฟจากเครื่องโทรศัพท์ระบบดิจิทัล อีกกลุ่มหนึ่งจากเครื่องโทรศัพท์ระบบอนาล็อก และกลุ่มสุดท้ายทำงาน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโทรศัพท์มือถือแต่อย่างใด นักวิจัยกลุ่มนี้พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่มีนัยสำคัญเกิดขึ้นกับความจำระยะสั้น หรือทำให้สมาธิน้อยลงหลังได้รับอิทธิพลจากคลื่นนาน 30 นาที ยิ่งไปกว่านั้น การทดสอบทางการเห็นแสดงว่า เวลาที่ใช้ในการตอบสนองของสมองยังลดลงภายใต้อิทธิพลของโทรศัพท์มือถือ

ในปีเดียวกัน MedScape ออกบทความหนึ่งที่ถูกนำเสนอโดยทีมวิจัยชาวสวีเดน การทดลองนี้ใช้ผู้ป่วย 233 คน นักวิทยาศาสตร์ศึกษาถึงความเป็นไปได้ของ การเกิดเนื้องอกขึ้นในบริเวณของสมอง ที่ได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากเรดิโอโฟนมากที่สุด การวิเคราะห์ทางสถิติแสดงว่า สมองบริเวณนี้มีความเสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกสูงกว่าส่วนอื่น อย่างไรก็ตาม ความจริงนี้เป็นเพียงแค่สัญญาณเตือนแต่ยังไม่ใช่เหตุผลที่ดีที่จะฟันธงลงไปได้เลย เพราะมีคนไข้ 12 คนใน 13 คนที่เป็นเนื้องอกชนิดมะเร็ง และไม่ใช่มะเร็งที่ใช้โทรศัพท์ระบบอนาล็อกที่มีการแผ่รังสีสูง

จะเห็นได้ว่าข้อมูลถึงผลกระทบต่อสุขภาพจาก การใช้โทรศัพท์มือถือเท่าที่มีอยู่นี้ ยังไม่ได้ทำให้คำตอบที่ประจักษ์ชัดแต่อย่างใด เราอาจต้องรอฟังผลไปอีก 10 ปีข้างหน้า ต้องรอใช้ไปจนแก่เสียก่อน หรือไม่ก็รอให้ลูกหลานหาคำตอบให้ นักวิชาการว่าอิทธิพลของเทเลคอมมูนิเคชั่นยังเป็นเรื่องใหม่เกินกว่าจะพูดอะไรได้ชัดเจนในตอนนี้ บ้างว่าอาจจะไม่มีผลกระทบอะไรตามมาเลย ระบบภูมิคุ้มกันที่ได้มาแต่กำเนิด ช่วยให้มนุษย์สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม สรุปได้ว่าทุกวันนี้ ยังไม่มีข้อเท็จจริงที่จะทำให้เราทราบได้แน่ชัดว่าการแผ่รังสีของ เครื่องโทรศัพท์มือถือนั้น ปลอดภัยต่อสุขภาพแค่ไหน การขาดข้อเท็จจริงทางวิชาการยังคงสร้างเสียงร่ำเสียงลือกันไปต่างๆ นานา ได้อีกนาน

เสียงที่ได้จากการทำโพลล์แสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้มือถือส่วนใหญ่คิดว่า เมื่อเทียบกับแฮนด์ฟรีแล้วตัวเครื่องจะมีอันตรายต่อสุขภาพ แต่พูดลงตัวเครื่องมีความสะดวกกว่ามาก จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมผู้ใช้จึงไม่ค่อยนิยมแฮนด์ฟรีกัน การใช้โทรศัพท์มือถือมีผลร้ายต่อสุขภาพมากน้อยแค่ไหน และจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่นั้น แม้ยังไม่มีหลักฐานใดยืนยันแต่ก็ควรให้ความระมัดระวังในการใช้ โดยมีคำแนะนำที่ปฏิบัติตามได้ง่ายไม่ยากดังต่อไปนี้

- ถ้าเป็นไปได้ให้ใส่ไว้ในกระเป๋าถือหรือย่ามสะพาย ซึ่งคุณผู้หญิง ส่วนใหญ่มักจะทำเช่นนี้อยู่แล้ว ในขณะที่คุณผู้ชายมัก จะเหน็บติดตัว

- อย่าเอาโทรศัพท์มือถือมากอดนอน พยายามวางไว้ห่างตัวอย่างน้อย 20-30 ซม. เวลาใช้เป็นนาฬิกาปลุก ก็อย่าวางไว้ใต้หมอน

- การใช้ Bluetooth ทำให้เราสามารถวางมือถือห่างตัวได้ถึง 10 เมตร และการแผ่รังสีจาก Bluetooth ต่ำกว่าของตัวโทรศัพท์เอง ถ้าอุปกรณ์นี้มีราคาแพงเกินให้เลือกใช้แฮนด์ฟรีแทน

- ถ้าใช้โทรศัพท์มือถือในรถบ่อย ควรหาซื้อชุดติดตั้งรถยนต์

- อย่าพยายามเปิดหน้ากากมือถือทิ้งไว้หรือปิดเสาอากาศ เพราะอาจทำให้เครื่องเสื่อมสภาพหรือ ไปเพิ่มกำลังรับส่งในโหมด standby

- ใช้เสาอากาศนอกถ้าเป็นไปได้ จะช่วยลดกำลังในการเพิ่มสัญญาณ ขณะเดียวกัน ก็เป็นการลดผลกระทบลงด้วยเช่นกัน

- ระบบอนาล็อกรุ่นเก่ามีผลกระทบสูงสุดต่อร่างกายมนุษย์ เมื่อเทียบกับระบบดิจิทัลรุ่นใหม่ นึกถึงเรื่องนี้ไว้ด้วยเวลาเลือกใช้

- ความปลอดภัยของโทรศัพท์ไม่ได้อยู่ที่ราคา แต่เป็นเพราะมีชิ้นส่วนประกอบที่ล้ำหน้ากว่า และทำงานได้ดีในกำลังส่งต่ำ

- โทรศัพท์ที่มีกำลังสูงจะมีผลสูงสุดต่อร่างกาย บางรุ่นมีกำลังรับที่ดีมาก แต่พอพูดไปได้ 5 นาทีก็รู้สึกว่าหูร้อนแล้ว และนี่เป็นเพียงแค่ผลกระทบภายนอกที่เรารู้สึกได้เองเท่านั้น ส่วนผลกระทบภายในใครจะไปบอกได้ เพียงหวังไว้ว่าในอนาคตคงไม่ต้องเห็นข้อความเตือนว่า การใช้โทรศัพท์มือถือมีอันตรายต่อ สุขภาพเหมือนดังที่ปรากฏบนซองบุหรี่ เพราะที่ผ่านมา ก็โดนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากันไม่รู้จักเท่าไรแล้ว ...







Create Date : 09 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2549 0:11:08 น. 0 comments
Counter : 598 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ภรภัทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"ฝนซา .. ฟ้าใส .. กับหัวใจดวงเดิม"


Friends' blogs
[Add ภรภัทร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.