Neothais : We will save the world


<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 สิงหาคม 2551
 

ประชาธิปไตยไม่มีทางตัน

ประชาธิปไตยไม่มีทางตัน
โดย TerraN


การปกครองที่ดูเหมือนขาดความแน่นอนของประเทศไทยในปัจจุบันสร้างความแตกแขนงอย่างมากในการก้าวต่อไปของระบบการปกครอง แม้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ที่ผ่านมา แต่สภาพของประชาชนก็ยังดูไม่เรียบร้อยและกระจัดกระจายสำหรับองค์ประกอบของความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งอาจรวมแฝงอยู่ของความไม่รู้ และไม่เข้าใจ จึงแสดงให้เห็นถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นในหลายๆเหตุการณ์ต่อมา เช่น 14 ตุลา หรือพฤษภาทมิฬ ซึ่งเกิดจากความถือมั่นระบบความเป็นอัตตาในการปกครองสูงมากและอาจจะแฝงถึงความไม่รู้ อวิชชา ดังที่กล่าวมา เป็นเรื่องสำคัญที่ปัจจุบันก็ยังเป็นเช่นนี้อยู่

การก้าวหน้าของระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงยังดูเหมือนหยุดอยู่กับที่ ทั้งๆที่ค่อยๆขยับไปทีละนิดละหน่อย แต่ปัญหาสำคัญอยู่ที่ตัวประชาชนเอง เพราะระบบการปกครองดังกล่าวถูกทำให้ดูเหมือนถูกและสำคัญที่สุดในโลก จากการเผยแพร่แกมบังคับของตะวันตก ความสำคัญตรงนี้ยังไม่ใช่ปัจจัยให้กล่าวว่าระบบเสียหรือไม่ดีอย่างไร เพียงแต่พื้นฐานของความสำเร็จในรูปแบบนี้ควรอยู่ที่ประชาชน สภาพสังคมสำคัญที่สุด เพราะประชาธิปไตยก็คือผลประโยชน์และผลตอบแทนของประชาชน

สภาพสังคมตะวันตก รู้จักสิทธิเสรีภาพมาตั้งแต่กำเนิด เพราะสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยฟรีด้อมและการเรียกร้องสิทธิต่างๆของกลุ่มผู้ประท้วง นักสิทธิมนุษยชน มีอยู่ตลอดเวลา การไม่เห็นด้วยไม่เคยสร้างความแตกต่างหรือแตกแยกในสภาพสังคมเลย เพราะมันคือชีวิตประจำวันที่เป็นลมหายใจเข้าออกของรูปแบบเสรีภาพทางฝั่งตะวันตก อันเป็นตัวการยับยั้งสภาพแวดล้อมที่จะก่อให้เกิดวัฒนธรรมและประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ ดังในประเทศแม่แบบประชาธิปไตยคือสหรัฐอเมริกา เมื่อเวลาผ่านไป ความจำเป็นนี้ถูกทำให้เป็นสิ่งสำคัญ อย่างมากถึงมากที่สุด ที่ประเทศแม่แบบอยากเห็นความเสรีในโลกทั้งใบ ประเทศที่มีการปกครองแบบพระมหากษัตริย์และเต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่มีกฏเกณฑ์อันเข้าใจง่ายอยู่แล้ว ย่อมถูกกระแสพัดพาเปลี่ยนไป จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถูกลดบทบาท คณะปกครองจึงมีอำนาจที่สร้างความชอบธรรมให้เทียบเท่าได้โดยไม่ลังเล แต่นั่นยังไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะเป็นเรื่องที่เป็นปกติตามที่ผ่านมา

การพัฒนารูปแบบการปกครองนี้ ก็เลยยังพูดได้ไม่เต็มปากว่าพัฒนาแล้ว จากสถิติจำนวนผู้ใช้สิทธิในการเลือกตั้งไปเลือกตั้ง ความเข้าใจในตัวบุคคลมากกว่าพรรค และระบบเสียเพราะการหาเสียงแบบทุจริต อย่างที่กล่าวมาข้างต้น เพราะอัตตาของคณะผู้นำในประวัติศาสตร์ไทยมักจะทำให้ประชาธิปไตยเป็นคณาธิปไตยเสมอๆ และลักษณะการใช้อำนาจแบบเสรีนิยมกลับกลายไปเป็นอำนาจนิยมอย่างไหลลื่นไปได้

ปัญหาที่กล่าวถึงไว้ข้างต้นเกี่ยวกับตัวประชาชนเองนั้น หมายถึงอุปสรรคต่อระบบประชาธิปไตยจากรูปแบบทัศนคติสังคมอันเกิดจากสภาพวัฒนธรรม ประเพณีที่มีมาแต่โบราณอันเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลโดยตรงให้เกิดความแตกต่างจากระบบประชาธิปไตยในจิตวิญญาณของผู้คนในประเทศแม่แบบ เช่น การเล่นพวกพ้อง-ญาติตนเอง เชื่อถือสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ อนุรักษ์นิยม และใช้อารมณ์มากกว่าปัญญา

ดูตามประวัติศาสตร์เราจึงมักเห็นกลุ่ม หรือคณะผู้ถือครองอำนาจ เสี่ยงต่อการถูก ปฏิวัติ รัฐประหารอยู่เสมอๆ โดยเพียง 2 ทศวรรษหลังการใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก ก็ยังมีถึง 7 ครั้ง องค์ประกอบไม่ดีหลายอย่างที่หลายคนมองข้ามและคิดว่าไม่น่าจะเกี่ยวกันก็ยังมีผลเกี่ยวข้องอยู่ดี นั่นคือ อุปสรรคจากตัวประชาชนดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะประชาชนยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงจิตวิญญาณประชาธิปไตยที่ถูกแลกด้วยเลือดแห่งถนนราชดำเนินมาหลายครั้ง กอรปกับวัตถุนิยมที่เกินพอดีของนายหน้าธุรกิจและสินค้าอุปโภค บริโภคต่างๆ ทั้งๆที่ระบบประชาธิปไตยมีอำนาจสูงสุดในการปกครองอยู่กับประชาชน ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และมีหลักประกันสิทธิเสรีภาพโดยกฏหมาย มิใช่โดยตัวบุคคลหนึ่งบุคคลใด ตามหลักการเจ้าของอำนาจอธิปไตยย่อมควบคุมผู้ปกครองได้ แต่ดูเหมือนว่าไม่มีใครรู้หน้าที่และบทบาทของตัวเอง

เพราะปัญหาของอุปสรรคประชาชนตามที่กล่าวมาสวนทางกับผู้คนในดินแดนเสรีภาพซึ่งเป็นประเทศแม่แบบประชาธิปไตย อันมีธรรมนูญแห่งสมาพันธรัฐ มา 200กว่าปี ใช้มาฉบับเดียว อันเป็นความแตกต่างกับสภาพสังคมอีกแบบที่ต้องค่อยๆพัฒนาไป ด้วยความเชื่อว่าก้าวกระโดดมากไปอาจเจ็บตัวได้ เลยมีรัฐธรรมนูญถึง 16 ฉบับในเวลาเพียง 74 ปี เมื่อเทียบกับประเทศแม่แบบข้างต้น ถ้าไหนๆจะแก้ไขกันอีกครั้ง ควรจะต้องวางแผนถึงอนาคตด้วยอีกยาวเลยเหมือนกัน

และถ้าเกิดว่า คณะกลุ่มอำนาจการปกครองมีทีท่าดูเหมือนและคล้ายกับ เผด็จการรัฐสภา อันมีนัยยะปกครองประชาธิปไตยแบบอำนาจนิยมผสมกึ่งควบคุมเบ็ดเสร็จ และนำมาซึ่งความน่ารำคาญใจให้ประชาชน ก็ขอยกลักษณะการปกครองของผู้นำอินเดียโบราณเมื่อ 1700 ปีก่อนซึ่งผู้นำในขณะนั้นเป็นกษัตริย์ และกษัตริย์มักจะนิยมระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่กษัตริย์แห่งจักรวงศ์โมริยะ กลับตรัสในพิธีราชาภิเษกว่า “หากเราปกครองท่าน ( ประชาชน) ด้วยการกดขี่แล้วไซร์ ขอให้เราจงอย่าไปเกิดในสวรรค์ จงอย่ามีชีวิต มีลูกหลานสืบตระกูล ความสุขของเราอยู่ที่ความสุขของประชาชน สวัสดิภาพของเราอยู่ที่สวัสดิภาพของประชาชน สิ่งใดให้ความสุขแก่เราจะถือว่าสิ่งนั้นไม่ดีงาม สิ่งใดให้ความสุขประชาชนจะถือว่าสิ่งนั้นดีงาม ถ้าเราประพฤติมิชอบ ประชาชนจะถอดถอนเราและแต่งตั้งบุคคลอื่นขึ้นมาแทนได้เสมอ” อันแทบจะเรียกได้ว่านี่คือประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งของการปกครองระบบประชาธิปไตยที่แตกแขนงมาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยหลักการที่สำคัญคือความซื่อสัตย์ของผู้นำ ต้องเป็นองค์ประกอบที่สมควรถูกปฏิรูปให้เอาไว้ด้วยกัน เพื่อป้องกันประวัติศาสตร์ที่อาจจะซ้ำรอยขึ้นได้ในมุมใดมุมหนึ่งของโลก ก็ขอยกตัวอย่างเหตุการณ์การตายของจูเลียส ซีซาร์ อดีตผู้นำโรมัน

ซีซาร์ได้ยกเลิกระบบการกระจายอำนาจ แต่รวมอำนาจทั้งหมดของสภาขุนนางและสภาสามัญมาไว้ที่ตัวเขาคนเดียว และส่งคนของตัวเองไปเข้าอยู่ในสภา Senate ซึ่งเป็นสถาบันทางการเมืองสูงสุดของโรมัน เพื่อควบคุมความเป็นไปทุกอย่างในการปกครอง แต่แล้วเขาก็ถูกกล่าวหาว่ามีแผนจะตั้งตัวเองเป็นกษัตริย์ สุดท้ายจึงถูกลอบสังหารด้วยฝีมือของบรูทุส เพื่อนร่วมอุดมการณ์ที่เขาไว้ใจที่สุด

ถ้าหากรูปแบบการปกครองไม่ดำเนินหน้าต่อไป ประชาธิปไตยก็คงล้มเหลว นอกจากต้องแก้ปัญหาที่กล่าวๆมา ก็จะทำให้ไม่ได้แก้ปัญหาอื่นๆกันพอดี คณะกลุ่มผู้ปกครองที่ยังแสดงตนเหมือนที่ผ่านๆมา ก็อาจจะก่อให้เกิดกลุ่มอีกกลุ่มตีความไปในทิศทางที่ตนเข้าใจและยกหลักการทฤษฏีสัญญาประชาคมของ ชอง ชาค รุสโซ่ขึ้นมาอ้างได้ นั่นคือ ประชาชนมีสิทธิจะโค่นล้มรัฐบาล เมื่อถูกรังแก ดังนั้น กลุ่มคณะผู้ปกครอง หรือรัฐบาลควรจะสร้างความชอบธรรมก่อน ในการวางแผนแก้ปัญหาของส่วนที่ตนมี ก่อนจะมาช่วยกันแก้ไขปัญหาสำคัญคืออุปสรรคความไม่รู้ และไม่มีจิตวิญญาณประชาธิปไตยของคนไทยด้วยกัน

TerraN
1/9/06


Create Date : 18 สิงหาคม 2551
Last Update : 30 ธันวาคม 2553 20:08:02 น. 0 comments
Counter : 702 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Terran
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




ซิดนี่ย์ เจ.แฮร์ริส เคยกล่าวไว้ว่า
"อันตรายที่แท้จริง ไม่ใช่อยู่ที่ว่า Computer จะเริ่มคิดเหมือนมนุษย์
แต่อยู่ที่ว่า มนุษย์ จะเริ่มคิดเหมือน Computer" ผลงานทุกชิ้นใน BLOG ขอสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ยกเว้นบทความที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา New Document
New Comments
[Add Mr.Terran's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com