All the girls standing in the line for the bathroom !!!

*** หมายเหตุ : สงวนลิขสิทธิ์ บทความและผลงาน ใน Blog นี้ครับ ***
Group Blog
 
<<
มกราคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
31 มกราคม 2558
 
All Blogs
 

*** American Sniper *** ความแม่นยำที่พร่าเลือน

*** American Sniper ***






ผลงานล่าสุดของผู้กำกับ Clint Eastwood ที่ดัดแปลงจากชีวประวัติของ Chris Kyle อดีต Sniper ที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นตำนาน ด้วยสถิติในการฆ่าศัตรูได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ทหารของ America

(จากนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ)



ในวัยเด็กพ่อของ Chris เป็นคนสอนให้เขายิงปืนและยังปลูกฝังทัศนคติในการปกป้องคนในครอบครัว ซึ่งพ่อของ Chris แบ่งคนออกเป็น 3 ประเภท คือ แกะ หมาป่า และหมาเฝ้าแกะ


แกะ คือคนที่ปกป้องตัวเองไม่ได้ หรือคนอ่อนแอ

หมาป่า คือคนที่คอยจ้องจะเล่นงานแกะ

หมาเฝ้าแกะ คือ คนที่คอยปกป้องแกะ


(ไม่แน่ใจว่าต้องมีอีกตัวละครที่ไม่ถูกกล่าวถึงคือ เจ้าของแกะ ที่เลี้ยงดูและหาประโยชน์จากแกะด้วยหรือเปล่า)



แน่นอนว่าคนอย่าง Chris เกิดมาเพื่อเป็นหมาเฝ้าแกะ ดังนั้นเขาจึงไปสมัครเข้าหน่วย Seal และได้เป็น Sniper ในที่สุด


และอาจเพราะหน้าที่ในสมรภูมิที่ทำให้เขาได้เป็น “หมาเฝ้าแกะ” ได้อย่างภาคภูมิ นั่นทำให้ Chris ปฏิเสธคำขอร้องของภรรยาที่ให้เลิกไปสงครามแล้วกลับมาอยู่กับครอบครัว จนท้ายที่สุด Chris ร่วมรบในสงครามไปถึง 4 ครั้ง







หากพิจารณาลักษณะตัวละครของ Chris ตามที่หนังได้นำเสนอ เราจะพบว่า เขาเป็นคนที่ไม่คิดมาก ไม่คิดอะไรซับซ้อน การกระทำของเขาทำด้วยตรรกะง่ายๆคือ รักษาชีวิตของเพื่อนทหาร เข้าร่วมสงครามเพื่อปกป้องประเทศชาติ

ซึ่งเราจะพบความสอดคล้องอย่างน่าประหลาดของลักษณะของ Sniper และตัวของ Chris





1. มีฉากหนึ่งสมัย Chris ยังฝึกยิงปืน ครูฝึกได้บอกในทำนองว่า เวลาเล็ง ให้เล็งที่เป้าเล็กที่สุด อย่างน้อยเวลาพลาดมันก็จะไม่หลุดไปจากเป้าหมายไปมากนัก

[Chris ไม่มีเป้าหมายหรือแผนการณ์ที่ยิ่งใหญ่ เขาแค่ต้องการรับใช้ชาติ โดยเป้าหมายของเขาคือการไปสมรภูมิรบ แม้ว่าบางครั้งจะทำอะไรได้ไม่มาก แต่ก็ดีกว่าอยู่ที่บ้าน]



2. ลักษณะการเป็น Sniper ก็คือการมองผ่านลำกล้องแคบๆ ไปที่เป้าหมายเท่านั้น ไม่สนใจสภาพแวดล้อมรอบข้าง

[Chris ไม่สนใจเรื่องของการเมือง เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน หรือมุมมองอื่นๆ เขาแค่ทำตามหน้าที่ในฐานะทหาร]



3. Sniper จะประจำตำแหน่ง และคอยเฝ้าระวังความปลอดภัยให้ทหาร โดยไม่ละสายตา แม้ตัวเองจะต้องลำบาก ทั้งการขับถ่าย ทั้งการอดทนอยู่ในที่ซุ่มยิง

[แม้ภรรยาจะขอร้องให้กลับมาอยู่กับครอบครัว แม้การอยู่ที่บ้านจะสบายและปลอดภัยกว่า แต่ Chris ก็ยังกลับไปทำหน้าที่ Sniper เพื่อปกป้องเพื่อนร่วมรบและประเทศชาติ]





ด้วยทัศนคติที่สอดคล้องกันของ Chris กับการทำหน้าที่เป็น Sniper จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม Chris ถึงยอดเยี่ยมในหน้าที่นี้







หลังโดนศัตรูเล่นงานและสูญเสียเพื่อน Chris และทีมตัดสินใจเข้าไปในกลางดงศัตรู สาเหตุหนึ่งก็เพื่อต้องการปลิดชีพ Sniper ฝ่ายตรงข้ามที่คร่าชีวิตเพื่อนของเขาไปมากมาย

ขณะที่ซุ่มอยู่ พายุทรายลูกใหญ่กำลังพัดเข้ามา Chris ที่อยู่บนดาดฟ้ามีโอกาสจะเอาชีวิต Sniper ฝ่ายตรงข้าม แต่ถ้าเขายิงศัตรูที่อยู่ด้านล่างจะรู้ตัว และบุกเข้ามาจัดการพวกเขาที่มีจำนวนน้อยกว่าได้ไม่ยาก

สุดท้าย Chris ก็เลือกที่จะยิงโดยไม่สนใจอันตรายและเพื่อนร่วมทีม





1. กระสุนที่แม่นยำ อาจไม่ได้หมายถึงการตัดสินใจที่แม่นยำ

[Chris ตัดสินใจส่งตัวเองและทีมไปกลางวงล้อมศัตรู ซึ่งถือว่าเสี่ยงมาก]



2. การมองแคบ ไม่คิดมากหรือไม่คิดให้ถี่ถ้วน อาจสร้างปัญหาได้

[Chris ตั้งเป้าแค่จะฆ่าศัตรู โดยไม่คำนึงถึงผลร้ายที่ตามมา ทั้งที่สมาชิกในทีมคอยเตือนแล้ว]





เมื่อ “พายุทราย” พัดเข้ามาในช่วงท้ายเรื่อง ภาพชัดบนจอเริ่มไม่ชัดเจน ผู้ชมเริ่มมองอะไรไม่เห็น
เช่นเดียวกับภาพความชัดเจนของสงครามที่เริ่มพร่าเลือนในสายตาของ Chris







ความชัดเจนแต่มองแคบในแบบของ Chris ถูกผู้กำกับ Clint Eastwood นำมาใช้เป็นรูปแบบในการนำเสนอตั้งแต่เริ่มเรื่อง



ความชัดเจนที่ว่าคือ เนื้อหาที่ตรงไปตรงมาของวีรกรรมของ Chris ครอบครัวของ Chris ทัศนะคติของ Chris

มุมมองแคบคือ การมุ่งเป้าไปที่เรื่องราวของ Chris โดยไม่นำเสนอเนื้อหาในมุมมองกว้าง ทั้งเรื่องชนวนของสงคราม ทั้งเรื่องการเมือง กระทั่งเรื่องของฝ่ายศัตรูก็ถูกนำเสนออย่างผิวเผิน



แต่เมื่อถึงสมรภูมิสุดท้ายในหนัง Eastwood เลือกนำเสนอถ่ายภาพในมุมกว้าง (ภาพมุมสูงจากด้านบน, มุมมองเมืองอันกว้างใหญ่) แทนกล้องที่มักจะเกาะติดเหล่าทหารตอนปฏิบัติภารกิจในช่วงก่อนหน้านี้

และเมื่อพายุทรายพัดถล่ม ภาพที่ชัดเจนมาตลอดเรื่องก็พร่าเลือนจนผู้ชมแทบจะแยกภาพบนจอไม่ออก

ขณะที่เรื่องราวต่อจากนี้ ก็เป็นการเล่าแบบไม่ลงรายละเอียดให้ชัดเจน แม้แต่ส่วนสำคัญอย่างการเสียชีวิตของ Chris หนังก็เลือกจะใช้บทบรรยาย แทนการเล่าเรื่องด้วยภาพ แล้วตัดมาที่ฟุตเตจจริงที่เป็นเหมือนการสรรเสริญ Chris Kyle ในพิธีศพของเขา




(อาจเป็นเพราะไม่ได้อยู่ในหนังสือต้นฉบับ และการที่ Chris Kyle เสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดระหว่างถ่ายทำ
อาจเป็นการปกปิด ซ่อนเร้น เพื่อไม่ให้ภาพลักษณ์วีรบุรุษสงครามต้องถูกทำลายเพราะสงคราม
อาจเป็นความตั้งใจของ Eastwood ที่ต้องการให้มันพร่าเลือนเพื่อเสริมประเด็น
ทั้งหมดนี้เป็นความพร่าเลือนที่มิอาจสรุปได้ ถ้าพิจารณาว่า Eastwood ที่เป็น Republican ผู้มีมุมมองแบบ “หมาเฝ้าแกะ” ที่ชัดเจนมากใน Gran Torino)







Clint Eastwood “แม่นยำ” ราวกับ Sniper ฝีมือเยี่ยม ในการเลือกและลำดับเรื่องราวเพื่อรับใช้ประเด็น

Chris Kyle กลายเป็น “เป้า” ชั้นดีในการนำเสนอเรื่องราวที่ว่าด้วยการเข้าร่วมสงครามของ America และผลลัพธ์ของมัน



สุดท้ายความพร่าเลือนในหนัง (รวมถึงเจตนาของ Eastwood) ก็ทำให้ American Sniper เป็นหนังที่มีดีมากกว่าจะเป็นแค่ American Propaganda






7 / 10




 

Create Date : 31 มกราคม 2558
6 comments
Last Update : 31 มกราคม 2558 17:24:25 น.
Counter : 5777 Pageviews.

 

เพิ่งอ่านหนังสือเล่มนี้จบไปหยกๆครับ แต่ไม่ค่อยประทับใจเท่าไร
สงสัยฉบับภาพยนตร์ต้องน่าสนใจและดีกว่าในหนังสือมากแน่ๆ เพราะเห็นบอกว่าบางอย่างผกก.ก็แต่งขึ้นมาเพิ่ม

 

โดย: PZOBRIAN 31 มกราคม 2558 22:27:38 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Dharma Blog ดู Blog
navagan Movie Blog ดู Blog

 

โดย: PZOBRIAN 31 มกราคม 2558 22:28:00 น.  

 

ผมก็ไม่เคยอ่านหนังสือเหมือนกันครับ แต่หนังสือน่าจะลงลึกไปที่จิตใจและความคิดของตัว Chris Kyle มากกว่า เพราะหนังยังไม่ลงลึกมากนัก

 

โดย: navagan 1 กุมภาพันธ์ 2558 22:58:02 น.  

 

กระทู้ที่ตั้งใน Pantip

//pantip.com/topic/33180331

 

โดย: navagan 8 กุมภาพันธ์ 2558 3:40:25 น.  

 

สวัสดีครับคุณ navagan
ผมชอบอ่านบทวิจารณ์ของคุณ navagan มากครับ เพราะคุณ navagan มีมุมมองที่เฉียบแหลมและลุ่มลึกมาก สามารถวิเคราะห์หนังต่างๆ ได้อย่างลึกซื้งแบบคาดไม่ถึง ปกติผมอ่านผ่านเวบ pantip แต่เนื่องจากผมไม่ได้เป็นสมาชิกก็เลยโพสต์ข้อความไม่ได้
วันนี้ได้มีโอกาสมาอ่านผ่านบล็อกก็เลยโพสได้
พอดีมีข้อสงสัยดังนี้ครับ
ผมดูหนังเรื่องนี้เมื่อคืนนี้ ไม่ได้อ่านเรื่องย่อหรือวิจารณ์มาก่อนเลย ไม่อยากสปอยล์ตัวเอง ดูจนถึงตอนจบก็ช็อคพอสมควรที่พระเอกเล่นตายซะง่ายๆ ในบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง และเมื่อคืนก็รู้สึกนะว่าหนังเรื่องนี้ถ่ายทำหลังการเสียชีวิตของพระเอก
แล้วเมื่อสักครู่อ่านบทวิจารณ์ของคุณ คุณกล่าวว่า "Chris Kyle เสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดระหว่างถ่ายทำ" ผมก็เลยลองไปเช็คดูในวิกิพีเดีย พบว่าพระเอกตายเมื่อ 2 ก.ย. 2013 แต่หนังเริ่มถ่ายทำ 31 มี.ค. 2014 ซื่งเป็นเวลาหลังจากพระเอกตายไปแล้วไม่ใช่เหรอครับ ทำไมคุณถึงได้บอกว่าพระเอกเสียชีวิตระหว่างถ่ายทำล่ะครับ
หรือว่าคำว่า"การถ่ายทำ"ของคุณ navagan นั้นนับตั้งแต่เริ่มหาผู้กำกับ หานักแสดง เขียนบท ฯลฯ อะไรพวกนั้นเลยอะครับ
ขอบคุณครับ

 

โดย: หนุ่ม IP: 183.63.97.125 26 กรกฎาคม 2560 22:42:47 น.  

 

ตอบคุณหนุ่มครับ

ขอโทษทีครับเข้ามาอ่านช้าไปหน่อย ผมเช็คแล้วเป็นอย่างที่คุณว่าเลยครับ หนังเริ่มถ่ายทำเมื่อ 31 มีนาคม 2014 หลัง Chris Kyle เสียชีวิตเมื่อ 2 กันยายน 2013

ผมน่าจะใช้คำผิดหรือเข้าใจผิดไปเองครับ (จำตัวเองไม่ได้เหมือนกัน) เพราะเข้าใจว่าหนังมีการพัฒนาบทหนังตั้งแต่ปี 2012 ครับ

ขอบคุณสำหรับคำท้วงติงครับ

 

โดย: navagan 2 สิงหาคม 2560 0:23:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


navagan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 73 คน [?]




นวกานต์ ราชานาค
Navagan Rachanark


สนใจใน ภาพยนตร์, การวิเคราะห์-วิจารณ์ ภาพยนตร์,ดนตรี, งานเขียน และ ศิลปะอื่นๆ

สร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ทดลอง และ งานดนตรีทดลอง และ งานเขียน


ปัจจุบันทำงานด้านการตลาด การวิจัยและพัฒนายางสังเคราะห์และยางธรรมชาติ

เริ่มจัดเก็บข้อมูลสถิติการเข้าชม

Time 09:00 Date 31/01/2010

by Histats.com

blogger web statistics

ถูกใจบทความ หรืออยากสนับสนุนเจ้าของ Blog

ก็ช่วย click ที่ Link โฆษณาครับ

ขอบคุณครับ

Friends' blogs
[Add navagan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.