Every Feeling Everyone Every Day
๕ ขั้นของการปฏิบัติศาสนา (ไตรสิกขา)




ในบทนี้ จะบรรยายให้ทราบถึงวิธีที่จะตัดอุปาทาน หลักพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับกรณีนี้คือ ศีล สมาธิ ปัญญา. ข้อปฏิบัติหมวดนี้เรียกว่า ไตรสิกขา.

สิกขาขั้นแรกที่สุด เราเรียกว่า "ศีล" ซึ่งหมายถึงการประพฤติดี ประพฤติถูกต้องตามหลักทั่ว ๆ ไป ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน มีจำแนกไว้เป็นศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ หรืออื่น ๆ อีก เป็นการปฏิบัติเพื่อความสงบเรียบร้อยปราศจากโทษขั้นต้น ๆ ทางกาย ทางวาจาของตน ที่เกี่ยวกับสังคม และส่วนรวม หรือเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่การเป็นอยู่.

สิกขาขั้นที่ ๒ เรียกว่า "สมาธิ" ข้อนี้ได้แก่การบังคับจิตใจของตัวเองไว้ไห้อยู่ในสภาพที่จะทำประโยชน์ให้มากที่สุดตามที่ตนต้องการ ขอให้ตั้งข้อสังเกตุความหมายของคำว่า "สมาธิ" ไว้ให้ถูกต้องโดยมากท่านทั้งหลายย่อมจะได้ฟังมาว่า สมาธินั้นคือจิตที่ตั้งมั่นแน่วแน่นิ่งเหมือนท่อนไม้หรือมักว่าเป็นจิตที่สงบ เป็นจิตที่บริสทธิ์แต่ลักษณะเพียง ๒ อย่างนั้น ไม่ใช่ความหมายอันแท้จริงของสมาธิ. การกล่าวเช่นนี้มีหลักในพุทธวจนะนั่นเอง; พระองค์ทรงแสดงลักษณะของจิต ด้วยคำอีกคำหนึ่งซึ่งสาคัญที่สุด คือคำว่า "กมมนีโย" แปลว่า สมควรแก่การทำงานและคำนี้เป็นคำสุดท้ายที่ทรง แสดงลักษณะจิตที่เป็นสมาธิ.

สิกขาขั้นที่ ๓ นั้นเรียกว่า "ปัญญา" หมายถึงการฝึกฝนอบรมทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอันถูกต้องและสมบูรณ์ถึงที่สุดในสิ่งทั้งปวงตามที่มันเป็นจริง. คนเราตามปกติไม่สามารถรู้อะไร ๆ ให้ถูกต้องตามที่เป็นจริงได้ คือมันถูกแต่เพียงตามที่เราเข้าใจเอาเองหรือตามโลกสมมุติ มันจึงไม่ใช่ตามความจริง. ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนาจึงมีระเบียบปฏิบัติเรียกว่า ปัญญาสิกขา นี้ขึ้นอีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนสุดท้ายสำหรับจะได้ฝึกฝนอบรมให้เกิดความเข้าใจ ให้เห็นแจ้งในสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริงโดยสมบูรณ์.

คำว่า "ความเข้าใจ" กับคำว่า "ความเห็นแจ้ง" นั้นในทางธรรมะแล้วไม่เป็นอันเดียวกัน. "ความเข้าใจ" นั้นอาศัยการคิดคำนึงด้วยการใช้เหตุผลบ้าง หรือการคาดคะเนเอาตามเหตุผลต่าง ๆ บ้าง ส่วน "ความเห็นแจ้ง" ไปไกลกว่านั้น คือต้องเป็นดังที่เราได้ซึมชาบมาแล้ว ด้วยการผ่านผจญสิ่งนั้น ๆ มาด้วยตนเอง หรือด้วยการมีจิตใจจดจ่อต่อเนื่องอยู่กับสิ่งนั้น ๆ โดยอาศัยการเฝ้าเพ่งดูอย่างพินิจพิจารณา จนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายไม่หลงใหลในสิ่งนั้น ๆ ด้วยน้ำใสใจจริง ; ไม่ใช่ด้วยการคิดเอาตามเหตุผล เพราะฉะนั้นปัญญา-สิกขาตามหลักของพุทธศาสนาจึงไม่ได้หมายถึงปัญญาที่ได้มาจากหลักของเหตุผล เหมือนที่ใช้กันอยู่ในวงการศึกษาวิชาการสมัยปัจจุบันแต่เป็นคนละอย่างทีเดียว

ปัญญาในทางพุทธศาสนา ต้องเป็นการรู้แจ้งเห็นแจ้งด้วยน้ำใสใจจริง ด้วยการผ่านผจญสิ่งนั้น ๆ มาแล้ว โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง (spiritual-experience) จนฝังใจแน่วแน่ไม่อาจลืมเลือนได้เพราะฉะนั้น การพิจารณาในทางปัญญาตามสิกขาข้อนี้จึงต้องใช้สิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านมาแล้วในชีวิต ตนเองเป็นเครื่องพิจารณา หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็นเรื่องที่มีน้ำหนักมาก พอที่จะทำให้ใจของเราเกิดความรู้สึกสลดสังเวช เบื่อหน่ายในสิ่งทั้งหลาย ที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนเหล่านั้นได้จริง

ถ้าเราจะคิดไปตามแนวของเหตุผล ทำการวินิจฉัยลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตากันสักเท่าไรก็ตามมันก็ได้แค่ความเข้าใจ ไม่มีทางให้เกิดความสลดสังเวชได้ ไม่มีทางให้เกิดความเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งหลายในโลกได้. ขอให้เข้าใจว่ากิริยาอาการที่จิตใจเบื่อหน่าย คลายความอยากจากสิ่งที่เคยหลงรักนั่นแหละคือตัวความเห็นแจ้งในที่นี้. หลักธรรมะได้บัญญัติไว้ชัดเจนทีเดียวว่า ถ้าเห็นแจ้งจริง ๆ ก็ต้องเบื่อหน่ายจริง ๆ จะไปหยุดอยู่เพียงแค่เห็นแจ้งนั้นไม่ได้. ความเบื่อหน่ายคลายความอยากในสิ่งนั้นจะต้องเกิดตามขึ้นมาทันควันอย่างแยกกันไม่ได้.

ศีลสิกขา นั้นเป็นเพียงการศึกษาปฏิบัติ ในขั้นตระเตรียมเบื้องต้น เพื่อให้เรามีความเป็นอยู่ผาสุก อันจะช่วยให้จิตใจเป็นปกติ อานิสงส์ของศีลมีหลายอย่างด้วยกัน แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือเป็นไปเพื่อให้เกิดสมาธิ. อานิสงส์อย่างอื่น ๆ เช่นว่าให้เป็นสุขหรือให้ไปเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์นั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงมุ่งหมายโดยตรง ; ท่านม่งหมายโดยตรงถึงข้อที่จะให้เป็นที่เกิดที่เจริญของสมาธิ. ศีลจะส่งเสริมให้เกิดสมาธิได้โดยง่าย. ถ้าเรามีเครื่องรบกวนมาก จิตใจของเราจะเป็นสมาธิได้อย่างไร.

สมาธิสิกขา คือการที่เราสามารถควบคุมจิตหรือใช้จิตของเรานี้ ให้ทำหน้าที่ของมัน ให้เป็นประโยชน์ถึงที่สุด. ในขั้นศีล มีความประพฤติดีทางกาย ทางวาจา. ในขั้นสมาธิมีความประพฤติดีทางจิต คือ ไม่มีความคิดผิด ไม่เศร้าหมองไม่มีความฟุ้งซ่าน และอยู่ในสภาพที่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ของมัน. อย่างนี้เรียกสมาธิ.

แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับประโยชน์ทั่ว ๆ ไปในทางโลก สมาธิก็ยังเป็นของจำเป็นทุกกรณี ; ไม่ว่าเราจะทำอะไรถ้าไม่ทำด้วยใจที่เป็นสมาธิแล้ว ย่อมไม่ได้รับผลสำเร็จด้วยดี ท่านจึงจัดสมาธินี้ไว้ในลักษณะของบุคคลที่เรียกว่า มหาบุรษ ไม่ว่าจะเป็นมหาบุรษทางโลกหรือทางธรรม ล้วนแต่จำเป็นจะต้องมีสมาธิเป็นคุณสมบัติประจำตัวทั้งนั้น.

แม้แต่เด็กนักเรียน ถ้าไม่มีจิตเป็นสมาธิแล้ว จะคิดเลขออกได้อย่างไร. สมาธิในทำนองนั้นเป็นสมาธิตามธรรมชาติ มันยังอยู่ในระดับอ่อน ; ส่วนสมาธิในทางหลักพุทธศาสนา ที่เรากำลังพูดถึงนี้ เป็นสมาธิที่เราได้ฝึกให้สุงยิ่งขึ้นไปกว่า ที่จะเป็นไปตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้น เมื่อฝึกกันสาเร็จแล้วจึงกลายเป็นจิตที่มีความสามารถ มีกำลัง มีคุณสมบัติพิเศษ อย่างอื่น ๆ มากมายเหลือเกิน.

การที่คนเราสามารถถือเอาประโยชน์ จากสมาธิได้ถึงปานนี้เรียกว่ามนุษย์ได้ก้าวขึ้นมาถึง การรู้ความลับของธรรมชาติอีกขั้นหนึ่ง. ข้อนี้หมายถึง การรู้วิธีบังคับจิต ให้มีสมรรถภาพยิ่งไปกว่ามนุษย์ธรรมดาจะทำได้. ขั้นศีลยังไม่ถือว่าเป็นการอวดอุตตริมนุสสธรรม. ต่พอมาถึง ขั้นที่เป็นสมาธิ เป็นฌาน เป็นสมาบัติ ท่านจัดเป็นอุตตริมนุสสธรรม ซึ่งพระภิกษุจะอวดไม่ได้ขืนอวดชื่อว่า ไม่เป็นพระที่ดีหรือถึงกับไม่เป็นพระเลยแล้วแต่กรณี.

การได้มาซึ่งสมาธินี้เราต้องลงทุน อดทนศึกษาอบรมและปฏิบัติ จนเรามีสมาธิตามสมควร ที่จะมีได้ในที่สุดเราก็จะได้ผลในการปฏิบัติหน้าที่ได้ดีมากไปกว่ามนุษย์ธรรมดา ที่เขาได้ ๆ กันเพราะเรามีเครื่องมือที่สูงไปกว่าที่เขามี ; เพราะฉะนั้น จึงขอให้สนใจไว้ อย่าถือว่าเป็นของครึ โง่เขลา งมงายพ้นสมัยเลย มันยังคงเป็นของสำคัญที่สุด จึงต้องใช้กันอยู่เรื่อยไป และยิ่งในสมัยที่โลกมีอะไร ๆ หมุนเร็วแทบจะลุกเป็นไฟอย่างนี้ด้วยแล้ว ยิ่งจะต้องการสมาธิมากไปเสียกว่าครั้งพุทธกาลด้วยซ้ำไปอย่าไปหลงคิดว่า เป็นเรื่องไปวัดหรือเรื่องสำหรับคนวัด หรือของคนงมงายเลย

ถัดไปนี้ ก็ถึงความเกี่ยวเนื่องกันระหว่าง สมาธิสิกขา กับ ปัญญาสิกขา. พระพุทธเจ้าตรัสไว้เลยทีเดียวว่า เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริง หมายถึงอาการที่จิตประกอบด้วยสมาธิ ในลักษณะที่พร้อมจะปฏิบัติหน้าที่ถ้าจิตมีลักษณะเช่นนี้แล้ว ก็จะเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง

ข้อนี้มีความแปลกประหลาคอยู่หน่อยหนึ่ง คือว่าเรื่องอะไร ๆที่เราอยากรู้ หรือปัญหาที่เราอยากจะสะสางนั้น ตามปกติมันฝังตัวประจำอยู่ในใจของคนเราทั้งนั้น เราอาจจะไม่รู้สึกก็ไดคือมันอยู่ใต้จิตสำนึก (subconscious) เรื่อยไปตลอดเวลา ขณะที่เราตั้งใจจะสะสางให้ออก มันไม่ออกเพราะเหตุว่าจิตใจขณะนั้น ยังไม่เหมาะสมที่จะสะสางปัญหานั้นนั่นเอง ถ้าผู้ใดทำสมาธิที่ถูกต้อง คือให้มีลักษณะที่เรียกว่า "กมมนีโย" พร้อมที่จะปฏิบัติงานทางจิตแล้ว ปัญหาต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ใต้จิตสำนึก นั้น มันจะมีคำตอบโพล่งออกมาเฉย ๆ อย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย ต่อเนื่องจาก ขณะที่จิตเป็นสมาธินั้น

แต่ว่าถ้าหากมันยังไม่โพล่งออกมา เราก็ยังมีวิธีอื่นอีกอันหนึ่ง คือให้น้อมจิตไปสู่การพิจารณา ปัญหาที่เรากำลังมีอยู่การพิจารณาด้วยกำลังของสมาธิ ในลักษณะเช่นนี้เองเรียกว่าปัญญาสิกขา หรืออย่างน้อยก็สงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขาในคืนวันที่ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท คือรู้อะไรเป็นอะไร ทยอยกันไปตามลำดับ ทั้งนี้ก็โดยสมาธิ อย่างที่กล่าวมาแล้ว. พระองค์ได้ตรัสเล่าเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียด แต่รวมใจความแล้วก็คือว่า ในขณะที่จิตเป็นสมาธิดีแล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่อพิจารณาปัญหานั้นๆ.

ทั้งหมดนี้เป็นการ แสดงให้เห็นว่า ปัญญากับสมาธินี้จะต้องเกี่ยวข้องกันเสมอไป. แต่ว่าอาการที่ปัญญา อาศัยสมาธินั้นบางทีเรามองไม่เห็นเลย เช่นเวลาที่เงียบสงัดเย็นสบายไม่มีอะไรรบกวนใจ จิตเป็นสมาธิสดชื่นดี เราก็คิดอะไร ๆ ที่เป็นคำตอบของปัญหา ซึ่งติดค้างอยู่ในใจได้ เป็นต้น.

แต่ในพุทธศาสนานั้น ท่าน แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิกับปัญญา ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก คือ ต้องมีสมาธิจึงจะมีปัญญา ; ต้องมีปัญญาจึงจะมีสมาธิ, ข้อนี้เป็นเพราะ ในการที่จะให้เกิดสมาธิ ยิ่งไปกว่าสมาธิตามธรรมชาตินั้น มันต้องอาศัยการต่าง ๆ ของจิต ว่าจะบังคับมันอย่างไร จึงจะเกิดเป็นสมาธิขึ้นมาได้ ; ฉะนั้น คนมีปัญญา จึงสามารถมีสมาธิมากขึ้นได้ตามลำดับ. เมื่อมีสมาธิมากขึ้น ปัญญาก็ยิ่งมีกำลังมากขึ้นตามกำลังเสริมซึ่งกันและกันไปในตัว.

ถ้ามีปัญญาแล้ว ก็จะต้องมีความเห็นแจ้ง และมีผลเป็นความรู้สึกเบื่อหน่ายสลดสังเวช ถอยหลังออกมาจากสิ่งทั้งปวงที่เคยหลงรักหลงยึดถือ. ถ้ายังรี่เข้าไปหาสิ่งทั้งปวงด้วยความหลงรัก ด้วยความยึดถือ ด้วยความหลงใหลแล้วไม่ใช่เป็นปัญญาของพระพุทธศาสนา. ที่ว่าชะงักหรือถอยหลังนี้ไม่ใช่ทางกิริยาอาการ เช่นจะต้องจับสิ่งนั้น สิ่งนี้ขว้างทิ้งหรือทุบตีให้แตกหักหรือว่าต้องวิ่งหนีเข้าป่าไป อย่างนี้ก็หามิได้แต่หมายถึงชะงักถอยหลัง ด้วยจิตใจโดยเฉพาะ คือมีจิตใจถอยห่าง ออกจากการที่เคยตกเป็นทาสของสิ่งทั้งปวงมาเป็นจิตที่อิสระ

ผลของความเบื่อหน่ายคลายความอยาก จากสิ่งทั้งปวงมันเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่ไปฆ่าตัวตาย หรือเข้าป่าไปบวชเป็นฤๅษีแล้วเอาไฟจุดเผาสิ่งต่าง ๆ เสียให้หมด. ภายนอกจะเป็นอย่างไรก็เป็นไปตามเรื่อง ยังคงเป็นไปตามเหตุผลตามความเหมาะสมแต่ภายในจิตใจนั้นย่อมเป็นอิสระ ไม่เป็นทาสของสิ่งใดอย่างแต่ก่อนอีกต่อไป. นี่คือ อานิสงส์ของปัญญา ท่านใช้เรียกด้วยคำบาลีว่า "วิมุตติ" หมายความว่า หลุดพ้นจากการเป็นทาสของสิ่งทั้งปวง โดยเฉพาะทาสของสิ่งที่เรารัก.

แม่แต่สิ่งที่เราไม่รัก เราก็ตกเป็นทาสของมันเหมือนกันเป็นทาสตรงที่ต้องไปเกลียดมันนั่นเอง อยู่เฉย ๆ ไม่ได้ : อุตสาห์ไปเกลียดมัน ไปร้อนใจกับมัน มันบังคับเราได้เหมือนกับของทีเรารัก ที่อยู่ในลักษณะคนละอย่าง ฉะนั้น คำว่าเป็นทาสของสิ่งทั้งปวงนั้น ย่อมหมายถึงทั้งทางที่พอใจและไม่พอใจ ทั้งหมดนี้ แสดงว่า เราหลุดออกจากการเป็นทาสของสิ่งทั้งปวง. มาเป็นอิสระอยู่ได้ด้วยอาศัยปัญญา

พระพุทธเจ้าท่านจึงได้วางหลักไว้สั้น ๆ ที่สุดว่า คนเราบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา. ท่านไม่เคยตรัสว่าบริสุทธิ์ได้ด้วยศีลด้วยสมาธิ ; แต่บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา เพราะมันทำให้หลุดออกมาจากสิ่งทั้งปวง. การไม่หลุดก็คือ มีความไม่บริสุทธิ์สกปรกมืดมัวเร่าร้อน เมื่อหลุดก็จะมีความบริสุทธิ์สะอาด-สว่างไสว แจ่มแจ้งและสงบเย็น มันเป็นผลของปัญญาหรือเป็นลักษณะอาการที่ แสดงว่า ปัญญาได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ของมันถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลายจงได้กำหนดพิจารณาสิกขาข้อที่ ๓ คือปัญญานี้ให้ดี ๆ ว่ามันมีอยู่อย่างไรและเป็นของสูงสุดเพียงไร

ปัญญาในทางพระพุทธศาสนาก็คือ ปัญญาที่ถอนตนออกมาเสียจากสิ่งทั้งปวง โดยการทำลายอุปาทาน ๔ ประการเสียได้หมดสิ้น ความยึดติดทั้ง ๔ นั้นเป็นเหมือนกับเชือกที่ผูกมัดล่ามเราไว้ ; ปัญญาก็เป็นเสมือนมีดที่จะตัตสิ่งเหล่านั้นให้ขาดไปจนไม่มีอะไรเป็นเครื่องผูกมัดเราไว้ให้ติตอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ได้อีกต่อไป .

ข้อปฏิบัติทั้ง ๓ อย่างดังกล่าวนี้ จะคงทนต่อการพิสูจน์หรือไม่ จะเป็นหลักวิชาอันแท้จริง เหมาะที่ทุกคนจะปฏิบัติหรือไม่ ขอให้พิจารณาดู.

เมื่อดูต่อไปอีก จะเห็นว่าหลักทั้ง ๓ ข้อนี้ไม่ค้านกับศาสนาไหนเลย ถ้าศาสนานั้น ๆ ต้องการจะแก้ป้ญหาต่าง ๆ ที่เป็นความทุกข์ของมนุษย์กันจริง ๆ. พุทธศาสนาย่อมไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนาใด ๆ แต่มีอะไร ๆ มากไปกว่าศาสนาอื่น ๆ มีโดยเฉพาะก็คือ การปฏิบัติในทางปัญญา อันเป็นสิกขาข้อสุดท้ายเพื่อตัดความยึดมั่นทั้ง ๔ ประการ ปลดเปลื้องจิตใจให้เป็นอิสระจากสิ่งทั้งปวง ไม่ผูกพันเป็นทาส หรือตกอยู่ในอำนาจของสิ่งทั้งปวงเช่นพระเป็นเจ้าบนสวรรค์.หรือผีสางเทวดา. ข้อนี้แหละ ไม่มีศาสนาอื่นกล้าพอที่จะสอนให้เป็นอิสระลิ้นเชิง ; ฉะนั้น เราจงเข้าใจความสำคัญขอพระพุทธศาสนาไว้ให้ดี ๆ ดังที่กล่าวมา

เมื่อความจริงได้แสดงแล้วว่า พระพุทธศาสนากล้าท้าให้พิสูจน์ว่ามีอะไร ๆ ทุกอย่างที่ศาสนาอื่น ๆ มี ; และยังมีอะไรบางอย่าง มากไปกว่าที่เขามีกัน. ฉะนั้นจะเห็นได้ทันทีว่าพุทธศาสนานี้เป็นของคนทั่วไป หรือเป็นศาสนาสากลที่ใช้ได้กันคนทกคน ทุกยุคทุกสมัย ; เพราะว่าทุกคนมีปัญหาความทุกข์อย่างเดียวกันหมด คือทุกข์เพราะเกิดแแก่ เจ็บ ตาย ทุกข์เพราะความอยาก ความยึดถือครอบงำย่ำยี ไม่ว่าเทวดา มนษย์ สัตว์เดรัจฉาน ย่อมจะมีปัญหาอย่างเดียวกัน มีสิ่งที่ต้องทำอย่างเดียวกัน คือต้องตัดกิเลสตัณหาที่เป็นตัวการสำคัญ หรือตัดความยึดติดที่ผิด ๆ นี้เสียให้ได้. นี้แหละ คือความหมายของความเป็นศาสนาสากล.




Create Date : 12 เมษายน 2551
Last Update : 12 เมษายน 2551 8:44:14 น. 1 comments
Counter : 775 Pageviews.

 





หมูคิตตี้ แวะมาอำลาตำแหน่งค่ะ


พรุ่งนี้ต้องส่งต่อหน้าที่ให้กับนูนู่ (หนู) แล้ว



โดย: นางไม้หน้า3 วันที่: 13 เมษายน 2551 เวลา:0:41:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ณธีร์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




๏ กลั่นความรู้สึกวันละนิด
กรองความคิดวันละหน่อย
คั้นอารมณ์วันละน้อย
เรียงร้อยรอยลักษณ์อักษรา ฯ

Group Blog
 
 
เมษายน 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
12 เมษายน 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ณธีร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.