กันยายน 2555

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
10
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
กุญแจสู่สังคมสีเขียว สำนึกสำคัญกว่าภาษี

กุญแจสู่สังคมสีเขียว สำนึกสำคัญกว่าภาษี


altการเปิดประชุมประจำปีของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  เมื่อวันที่ 6 กันยายน ด้วยเวทีสัมมนา "อนาคตประเทศไทย บนเส้นทางสีเขียว" เป็นการตอกย้ำถึงเป้าหมายหลักของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ฉบับที่ 11 (2555-2559)  โดย ดร.พนัส สิมะเสถียร ประธานกรรมการ สศช.  ที่กล่าวนำการประชุมตอนหนึ่งว่า   ต้องการให้สังคมไทยสามารถอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ยั่งยืน เสมอภาค และมีภูมิคุ้มกันสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายในได้
            ทั้งนี้ สศช.ได้กำหนดความพึงประสงค์ตามกรอบของแผนฯฉบับที่ 11 ไว้  3ข้อได้แก่  1.เป็นสังคมที่มีความมั่นคง ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางอาหาร พลังงาน และมีความมั่นคงในชีวิตในสังคมมีคุณภาพและมีความสุข  2.ด้านวัฒนธรรม  มีวัฒนธรรมประชาธิปไตย วัฒนธรรมความสร้างสรรค์  และวัฒนธรรมการยอมรับความแตกต่างที่มี หลากหลายในประเทศให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และ 3. สังคมสีเขียว สังคมที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
-ทำไมต้องไปสังคมสีเขียว ?
                คำถามข้างต้น    อาคม เติมพิทยาไพสิฐ  เลขาธิการสศช.  ได้ตอบไว้ระหว่างบรรยาย  ปัญหาจากสภาพปัจจุบัน 4 ประการของสังคมไทย  หนึ่ง ประเทศไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงเป็นอันดับ 24 ของโลก และสูงสุดในกลุ่มอาเซียน  และเฉลี่ยปัจจุบันคนไทยปล่อยก๊าซชนิดนี้ 5.6  ตันคาร์บอนต่อคนต่อปี  ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องจึงต้องร่วมกันกำหนดว่าจะวางเป้าหมายให้ลดลงได้อย่างไร
     "การปล่อยก๊าซคาร์บอนของไทย คิดเป็นสัดส่วน 1% ของโลก แม้จะไม่มากแต่ก็ถือว่าสูงเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนด้วยกัน" เขาย้ำ
     สอง  ปัจจุบันมีขยะจากภาคอุตสาหกรรม 16 ล้านตันต่อปี แต่นำมาใช้โดยรีไซเคิลได้เพียง 20% ซึ่งยังต่ำกว่า 35% ของของเสียมีอยู่ในทุกขั้นตอนทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคครัวเรือน
     สาม  ความเท่าเทียมในเรื่องของการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติกระจุกตัว  การถือครองทรัพย์สินที่ดิน  ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยการถือครองที่ดินยังเกาะอยู่ในกลุ่มคนประมาณ 10% ของประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ถือครองที่ส่วนใหญ่ของประเทศ  ปัจจุบันพื้นที่ป่ามีประมาณ 30% มากกว่า 20 ปีที่แล้ว แต่ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับ 50 ปีที่แล้วที่มีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 50%    และ 4. คุณภาพของคนไทย ทั้งในเรื่องสุขภาพ  และองค์ความรู้
แล้วจะไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร
    เลขาธิการ สศช. ได้ขยายความหมายของสังคมสีเขียวไว้ว่า   หมายถึง การพัฒนาเศรษฐกิจประเทศและสังคมอย่างยั่งยืน  เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ซึ่งการขับเคลื่อนสู่สังคมสีเขียว  ตามแนวทางที่สศช.เสนอไว้มีดังนี้  1.การบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน  การลดการผลิตหรือผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตในโรงงานที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การคิดค้นเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ ในเวลาเดียวกันผู้บริโภคก็ต้องมีส่วนกระตุ้นให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการได้ตระหนักถึงสิ่งที่เป็นพิษเป็นภัยต่อสังคมและสุขภาพของมนุษย์
    2.โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว  การขนส่งสีเขียว เรื่องของกรีนโลจิสติกส์, การลดการใช้ถนน โดยปรับเปลี่ยนเป็นรถรางให้มากขึ้น เพื่อลดการใช้น้ำมัน ลดอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอน  3. สังคมที่เป็นธรรม การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด 4.การเสริมสร้างการใช้ทุนทรัพยากรทางธรรมชาติ และ 5 . การขับเคลื่อนโดยอาศัยกฎเกณฑ์ของภาครัฐมาตรการทางด้านภาษี และการเงิน เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับตัว
    ทั้งนี้ การขับเคลื่อนเส้นทางสังคมสีเขียวมี 10 ปัจจัยในการดำเนินการได้แก่ 1.การออกแบบสีเขียว 2.การผลิตสีเขียวที่คำนึงเรื่องการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวลด้อม 3.การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของภาครัฐ 4. ความรับผิดชอบต่อสังคม 5.ความร่วมมือกันในภาคบริการ 6.การฟื้นฟูทรัพยากร 8.การสร้างงานและอาชีพสีเขียว 
    7.การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร 9.กฎระเบียบเพื่อการพัฒนาสีเขียว และ10.การเพิ่มการอุดหนุนอุตสาหกรรมที่เป็นประสิทธิภาพต่อสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยการสนับสนุนทางนโยบายทางการเงินและการคลังของภาครัฐ ซึ่งทั้ง 10 ข้อดังกล่าวจะทำได้สำเร็จก็ต้องอาศัยการเพิ่มเรื่องโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว เช่น ระบบโลจิสติกส์ การใช้การขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ การเพิ่มการขนส่งระบบรางให้เร็วที่สุดเพื่อลดการใช้พลังงาน
ดันร่างพ.ร.บ.การคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม
    ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  หนึ่งในผู้ร่วมอภิปราย  กล่าวว่า การใช้นโยบายการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการเข้าสู่สังคมและเศรษฐกิจสีเขียว ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการของภาครัฐตาม 3 แนวทางหลักๆ ได้แก่  1.มาตรการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงการคลังได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) มาตรการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม  พ.ศ. ... ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา   และการหารือร่วมของส่วนงานราชการก่อนนำสู่สภา
    สาระสำคัญของร่างดังกล่าวนี้  จะกำหนดมาตรการภาษีเพื่อสิ่งแวดล้อม ,ค่าธรรมเนียมในการจัดการ  การกำหนดภาษีผลิตภัณฑ์และค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์  รวมทั้งเงินประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และครอบคลุม ไปถึงการซื้อขายสิทธิ์ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสิทธิในการปล่อยมลพิษ
     อย่างไรก็ดีแม้รัฐบาลขานรับการเดินหน้าสู่สังคมสีเขียวตามแผนฯฉบับที่ 11 ของสภาพัฒน์ หากปัจจัยที่สำคัญยิ่งกว่า มาตรการทางภาษี หรือมาตรการอื่นๆ      หากเป็นสำนึกของประชาชน นักธุรกิจ นักวิชาการ   นักอุตสาหกรรม นักการเมือง  ฯลฯ ที่พร้อมจะผลักประเทศไทยไปสู่สังคมสีเขียว

อนาคตประเทศไทย บนเส้นทางสีเขียว
    แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ( พ.ศ. 2555-2559 ) ได้กำหนดให้สังคมสีเขียวที่ทุกภาคีร่วมกันขับเคลื่อนและสร้างอนาคตประเทศไทยดังนี้
    1. การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน  เน้นโครงสร้างการผลิตที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนการผลิตคาร์บอนต่ำ  เน้นการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน อุตสาหกรรมสะอาด  ส่งเสริมการท่องเที่ยวสีเขียว การพัฒนาพลังงานสะอาด  โครงสร้างพื้นฐาน ระบบขนส่ง และการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมการสู่ตลาดสีเขียว พัฒนาระบบอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ชุมชนและอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล 
    2. เสริมสร้างและใช้ประโยชน์ทุนทรัพยากรธรรมชาติ  ฟื้นฟูธรรมชาติให้สอดคล้องกับระบบนิเวศภูมิสังคมและความต้องการของชุมชน ควบคุมและลดมลพิษต่าง ๆ บริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ กระจายที่ทำกินอย่างเป็นธรรม เตรียมพร้อมการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรของท้องถิ่นและชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการสร้างรายได้จากการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ
    3.การพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวม ด้วยมาตรการและเครื่องมือต่าง ๆ อาทิระบบภาษีและมาตรการจูงใจในการพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือกระตุ้นให้มีการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมสีเขียว  พัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพลังงานสะอาด  และมาตรการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนสู่สังคมสีเขียว มุ่งลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และแก้ปัญหาความยากจน ศึกษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน พัฒนาสวัสดิการ  พัฒนาแรงงานให้มีสมรรถนะ สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและบริการบนฐานความรู้  ส่งเสริมสุขภาวะคนไทย เสริมสร้างธรรมาภิบาล  สร้างจิตสำนึกพลเมือง จิตอาสา  และวัฒนธรรมประชาธิปไตย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,773 9-12  กันยายน พ.ศ. 2555





Create Date : 12 กันยายน 2555
Last Update : 12 กันยายน 2555 8:59:46 น.
Counter : 970 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

narongdech_p
Location :
ระยอง  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



Thank you for every visit and vote. I will try to find more useful information and fresh news update.