รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
25 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
มีสติ แต่ขาดสัมปชัญญะ

ผมเข้าไปอ่านในกระทู้หนึ่ง ที่มีผู้เขียนถามไว้สรุปโดยย่อได้ดังนี้ว่า
ปฏิบัติธรรมา 3-4 ปีแล้ว เวลานั่งสมาธิ เดินจงกรม จิตสงบได้เร็ว แต่ไฉนเวลาปรกติ จิตใจจึงร้อนรุ่ม ทำไมเป็นแบบนี้

ผมเขียนตอบไปสั้น ๆ ว่า มีสติ แต่ขาดสัมปชัญญะ

ในการฝึกฝนการภาวนานั้นจะมี 2 แนวทาง คือ การฝึกที่ใช้สตินำ และ การฝึกที่ใช้ความรู้สึกตัวนำ 2 อย่างนี้ไม่เหมือนกัน



1..การฝึกที่ใช้ความรู้สึกตัวนำ

สิ่งที่ผมเขียนใน blog นี้ คือ แบบการใช้ความรู้สึกตัวนำ ดังที่ผมกล่าวบ่อย ๆ ว่า "รู้สึกตัว เฉย ๆ สบาย ๆ ไม่เคร่งเครียด ผ่อนคลาย เหมือนฝึกทำเล่น ๆ " เมื่อท่านอยู่ในสภาพนี้ ท่านจะสามารถรับรู้สภาวะัธรรมได้ที่เป็นไปเองที่เป็นแบบ.รู้เบา ๆ เหมือนรู้ไม่ชัด. ทำให้คนที่ฝึกแนวทางนี้.อาจ.เข้าใจผิดไปว่า.ไม่ถูกต้อง.เพราะรู้ไม่ชัดนั้นเอง แต่นี่คือสิ่งที่เป็นการรู้ที่เป็นธรรมชาติ ไม่แทรกแซง ถ้าฝึกแบบนี้โดยใช้กายานุปัสสนาสติปัฏฐานจะเหมาะมาก เพราะว่าการรู้กาย เป็นสิ่งที่รู้ได้ง่ายเพราะหยาบกว่าเวทนา และหยาบกว่าจิตปรุงแต่ง และยังเป็นฐานทำให้สัมมาสมาธิมั่นคงมาก ๆ ได้ต่อไป

เมื่อฝึกแบบนี้ เริ่มจากความรู้สึกตัวนำ ถ้าใช้กายานุัปัสสนา จะใช้ความรู้สึกตัวไปรู้สึกถึงอาการของกาย (ดิน ลม ไฟ ) แต่ผู้ฝึกก็ยังสามารถรับรู้อาการทางอายตนะอื่นได้ดีอยู่ด้วย กล่าวคิือ ตาก็มองเห็น หูก็ได้ยิน จมูกก็ได้กลิ่น นี่คือ การพัฒนากำลังสติที่เป็นไปเอง ใหม่ๆ สติที่ยังอ่อนจะรับรู้อาการกายไม่ดีนัก รู้ได้บ้าง ไม่รู้บ้าง แต่เมื่อฝึกไปมาก ๆ กำลังสติจะมีกำลังมากขึ้น ทำให้รับรู้อาการต่าง ๆ ได้ดีขึ้นและต่อเนื่องมากขึ้นเอง


เนื่องจากเป็นการใช้ความรู้ึสึกตัวนำ และการรู้ที่เป็นไปเองไม่ได้เน้นที่ใดเป็นพิเศษ ทำให้การรับรู้ทางระบบประสาทอื่นๆ จะเป็นไปตามธรรมชาติแบบสมดุลย์ ดังภาพด้านซ้าย เมื่อผู้ฝึกฝนความรู้สึกตัวเป็นตัวนำ ทำให้ผู้ฝึกมีความสามารถที่ดีขึ้นในการรู้สึกตัวในชีิวิตประจำวัน ซึ่งเวลาในชีวิตประจำวันมันจะมากกว่าเวลาที่ฝึกฝนในรูปแบบ เมื่อชีิวิตประจำวันรู้สึกตัวได้ ทำให้เหมือนกับว่า เป็นการฝึกอยู่เสมอ ๆ ตลอดเวลา
การพัฒนาสติและสัมปชัญญะจะเดินควบคู่กันไปอย่างนี้เสมอ จนเกิดความตั้งมั่นได้ในที่สุด

2..การฝึกที่ใช้สตินำ

ฝึกแบบนี้ ผู้ฝึกจะเน้นที่การรู้เป็นตัวนำ เช่น เน้นการรู้ลมหายใจ เน้นรู้การกระทบเวลาเดินจงกรม เนื่องจากเน้นที่การรู้ ดังนั้น ผู้ฝึกจะรู้สึกได้ชัดในสิ่งที่ถูกรู้ เช่น รู้ลมหายใจ รู้ท้องพองยุบ รู้การกระทบสัมผัสเวลาเดินจงกรม แต่การรู้ชัดแบบนี้ จะยังไม่ติดหนึบเป็นปลาท่องโก๋แบบสมาธิแบบฤาษีที่รู้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ผู้ฝึกยังรู้อย่างอื่นได้อยู่ แต่เป็นการรู้ที่ไม่สมดุลย์กับการรู้อย่างอื่น ๆ กล่าวคือ รู้อย่างหนึ่งชัดพิเศษ แต่อย่างอื่นรู้ไม่ชัด (ดังรูปด้านขวา)
ตามสำนักต่างๆ ผู้สอนมักสอนว่า สิ่งไหนชัดให้รู้สิ่งนั้น

เนื่องจากเป็นการเน้นรู้ เมื่อฝึกไปจิตจึงนิ่งสงบได้เร็ว แต่ทว่า..ผู้ฝึกจะชำนาญสิ่งเดียวในสิ่งที่ฝึก ไม่ชำนาญอย่างอื่น
เมื่อผู้ฝึกฝึกรู้กาย จะเก่งรู้กาย แต่พอเกิดการสั่นไหวทางจิต ผู้ฝึกแบบนี้จะไม่เก่งไปรับรู้ที่จิตที่สั่นไหว ทำให้ผู้ฝึกที่ฝึกดี จิตสงบ พอจิตสั่นไหว ก็จะมีปัญหาทันที แก้ไม่ตก

การฝึกแบบนี้ เป็นที่นิยมสอนกันมากหลายสำนักในประเทศไทย เพราะสอนง่ายในคนหมู่มาก เพราะสอนแล้ว คนฝึกจะสัมผัสได้อย่างแน่นอน และเวลาฝึกก็รู้สึกเหมือนดี เพราะจิตจะสงบได้เร็ว ฝึกแล้วมีความสุข

การฝึกแนวนี้ ไม่ใช่ไม่ถูก แต่ผู้ฝึกจะต้องเข้าใจเพิ่มเองว่า เมื่อฝึกแนวนี้มาแล้วในการฝึกรู้ที่เป็นการฝึกในรูปแบบที่เน้นการรู้เป็นหลัก เขาจะต้องฝึกในชีวิตประจำวันด้วย เพราะการฝึกฝนในชีิวิตประำจำวันนั้น จะเป็นแบบที่ 1 คือ การใช้ความรู้สึกตัวเป็นตัวนำ แต่การฝึกแบบใช้การรู้เป็นตัวนำที่ไม่เน้นฝึกความรู้สึกตัวนำ เวลามาอยู่ในชีิวิตประจำวัน ก็จะเหมือนคนไม่เคยฝึก คือ จะไม่รู้สึกตัวอยู่ เนื่องจากไม่ได้ผ่านการฝึกฝนให้รู้สึกตัวมาก่อนนั้นเอง ซึ่งเรื่องนี้ ก็ขึ้นกับบุคคลเช่นกัน บางคนก็รู้สึกตัวได้ บางคนก็มีปัญหามาก ถึงแม้ฝึกในแบบที่ 2 ไปหลาย ๆ ปี ก็ยังไม่รู้สึกตัวอยู่ดีในชีิวิตประจำวัน ทำให้เกิดปัญหา จิตใจร้อนรุ่มได้ง่ายในชีิวิตประจำวัน

******

เมื่อผมสนใจการปฏิบัติธรรมใหม่ๆ ผมเข้าฝึกตามสำนักหลายที่ เขาจะสอนกันแบบที่ 2 นี้เสมอ ผมฝึกหลายปี ความรู้สึกตัวก็ไม่พัฒนา เวลาฝึกในรูปแบบ รู้สึกดีมาก ใจสงบ แต่พอมาอยู่ในชีิวิตประจำวัน ผมก็เหมือนคนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้ฝึก คือ ไม่รู้สึกตัวอยู่นั้่นเอง

พอผมมาฝึกแบบที่ 1 ผมมีการพัฒนาได้ดี ได้เร็ว แต่ใหม่ๆ ก็เป๋ไปมา เพราะไม่เข้าใจ เพราะรู้สึกเหมือนว่า ไม่ได้ผลอะไร แต่เพราะได้รับการชี้แนะจากรุ่นพี่ ครูบาอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ทำให้ผมยังคงฝึกแบบที่ 2 นี้ต่้อไป จนผมเข้าใจขึ้นและได้ผลในเวลาไม่กี่ปีเท่านั้น ผมจึงนำเสนอแนวทางแบบที่ 1 ใน blog แต่ผมก็ไม่ปฏิเสธแบบที่ 2 เช่นกัน ซึ่งก็คงแล้วแต่บุคคลครับ

นำมาเล่าสู่กันฟังในประสบการณ์ส่วนตัวครับ

******
เรื่องท้ายบท

1..ในการฝึกทุกสำนักรวมถึงสายหลวงพ่อเทียนด้วย การฝึกจะเป็นไปแบบที 1 หรือ แบบที่ 2 ก็๋ได้ทั้งสิ้นอยู่ที่ผู้ฝึกว่าจะใช้อะไรนำ ในสายหลวงพ่อเทียนก็ตาม ก็ยังมีผู้สอนที่เน้นการฝึกแบบที่ 2 สอนแก่ผู้มาฝึกเช่นกัน ซึ่งขึ้นกับประสบการณ์ของผู้สอนด้วย

2..ในพระไตรปิฏกเรื่องสติัปัฏฐาน 4 มีเขียนไว้ชัดว่า การปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 นั้นคือ การมีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ (อาตาปี สัมปชาโน สติมา)

การถึงพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะจึงจะสอดคล้องตรงตามคำสอนในพระไตรปิฏก จะมีเพียงสติ หรือ มีเพียงสัมปชัญญะ อย่างใดอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีทั้ง 2 จึงจะครบและได้ผลในการปฏิบัติ

เมื่อผู้ฝึกทีฝึกจนชำนาญและมีพร้อมทั้งสติและสัมปชัญญะที่เป็นธรรมชาติ จึงจะสามารถเห็นธรรมที่เป็นธรรมชาติแท้ ๆ ได้





Create Date : 25 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:11:44 น. 4 comments
Counter : 2246 Pageviews.

 
กิจกรรมการบรรยายและการปฏิบัติธรรมครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นที่บ้านหนังสือชินเขต 1 ในวันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2553 ระหว่างเวลา 13.00 -16.00 น.

ท่านที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม กรุณาลงชื่อได้ที่หน้ากิจกรรม


โดย: นมสิการ วันที่: 25 พฤศจิกายน 2553 เวลา:6:56:36 น.  

 
เรียนอาจารย์
ยังไม่ค่อยเข้าใจดีนัก คือชอบเดินจงกรม ในขณะเดินก็จะดูความรู้สึกที่ร่างกายเคลื่อน แต่สักพักจิตก็ไปรู้เท้าที่กระทบ สักพักก็ไปรู้ตามที่กระพริบ สักพักก็ไปรู้ลมหายใจ แล้วก็ไปรู้ความคิด พอรู้แล้วดิฉันก็จะพยายามกลับมารู้ร่างกายที่เคลื่อนไหว ไม่ทราบว่าดิฉันปฏิบัติถูกตามแนวที่อาจารย์สอนหรือไม่ค่ะ ยังเป็นการปฏิบัติโดยใช้ความรู้สึกตัวนำหรือไม่

กราบขอบพระคุณค่ะ


โดย: bugleg IP: 58.10.88.180 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2553 เวลา:8:35:17 น.  

 
อาการที่ใช้ความรู้สึกนำ จะเป็นอย่างที่คุณเล่ามา คือ จะรู้อย่างโน้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ไม่เจาะจง รู้สลับไปสลับมา

ในขณะที่ฝึกที่ใช้ความรู้สึกตัวนำนั้น จิตใจสบาย ๆ ไม่เน้นการรู้สิ่งใดเป็นพิเศษ เพียงแต่รู้สึกตัวอยู่เท่านั้น ส่วนจะรู้อะไรก็ได้ แล้วแต่ที่เป็นไปเองโดยธรรมชาติ โดยที่เราไม่ต้องไปบังคับใด ๆ ในเรื่องการรู้เลย


โดย: นมสิการ วันที่: 25 พฤศจิกายน 2553 เวลา:9:39:11 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:15:28:08 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.