รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
17 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
เปรียบเทียบ คนไม่ปฏิบัติ และ คนปฏิบัติ -มุมมือใหม่

ผมจะเปรียบเทียบ คนที่ไม่ปฏิบัติสติปัฏฐาน และ คนที่่ปฏิบัติสติปัฏฐานให้ท่านเห็นภาพ เพื่อที่ท่านจะได้.... (ผมจะบอกตอนท้ายของบทความนี้)

1...คนที่ไม่ปฏิบัติสติปัฏฐาน

1.1 ไม่รู้สึกตัว อยู่เสมอ ๆ โดยมากจะหลงคิดอยู่ตลอดเวลา โดยไม่รู้ตัวว่ากำลังหลงคิด
1.2 เมื่อมองสิ่งใด จิตเขาจะไหลออกไปทางตา ทำให้สูญเสียความรู้สึกตัวไป เขาก็จะรู้สึกว่า เขาเป็นคนมอง
1.3 เมื่อได้ยินสิ่งใด จิตเขาจะไหลออกไปทางหู ทำให้เขาสูญเสียความรู้สึกตัวไป เขาก็จะรู้สึกว่า เขาเป็นคนได้ยิน
1.4 เมื่อเขามีอารมณ์ดีใจ เสียใจ โกรธ เขาจะสูญเสียความรู้สึกตัวไป จิตเขาจะจมแช่กับอารมณ์เเหล่านั้น เขาก็จะรู้สึกว่า เขาดีใจ เขาเสียใจ เขาโกรธ เขาจะมีอาการอย่างนั้นอยู่ยาวนาน หยุดก็ไม่ได้ ทั้งที่อยากจะหยุดมัน
1.5 เมื่อร่างกายเขาเจ็บป่วย เขาก็จะรู้สึกว่า เขาเป็นผู้เจ็บป่วยนั้นเอง

ที่เป็นเช่นนี้ เพราะจิตลูกโป่ง(จิตที่มีอวิชชา) เข้าไปยึดติดกับอาการต่าง ๆ ในข้างต้นเพราะแรงยึดของตัณหา

********************

2..คนที่เขาปฏิบัติสติปัฏฐาน

2.1 รู้สึกตัว อยู่เสมอ ๆ เมื่อมีความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิดผุดขึ้น ก็จะไม่หลงเข้าไปในความคิด
แล้วความคิดที่ผุดขึ้นนั้นจะดับลงไปเป็นไตรลักษณ์ให้เขาเห็นได้
2.2 เมื่อมองสิ่งใด จิตเขายังอยู่ที่ฐาน ไม่ไหลออกไปทางตา เขาก็จะรู้สึกว่า มันเป็นสภาวะอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นทางประสาทตา
2.3 เมื่อได้ยินสิ่งใด จิตเขายังอยู่ที่ฐาน ไม่ไหลออกไปทางหู เขาก็จะรู้สึกว่า มันเป็นสภาวะอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นทางประสาทหู
2.4 เมื่อเขามีอารมณ์ดีใจ เสียใจ โกรธ เขาก็จะรู้สึกว่า ดีใจ เสียใจ โกรธ เป็นสภาวะอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยง เป็นไตรลักษณ์ ไม่ใช่ตัวเขา ไม่ใช่ของ ๆ เขา
2.5 เมื่อร่างกายเขาเจ็บป่วย เขาก็จะรู้สึกว่า ความเจ็บป่วยเป็นสภาวะอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของเขา

ที่เป็นอย่างนี้ เพราะ จิตลูกโป่ง (จิตที่มีอวิชชา) มีกำลังแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิที่ตั้งมั่น จนกระทั้งแรงยึดดึงของตัณหาไม่อาจดึง จิตลูกโป่ง เข้าไปติดกับอาการต่าง ๆ เหล่านั้นได้

********
ทีนี้ ผมขอให้ท่านสังเกตความแตกต่าง ระหว่างข้อ 1.1 1.2 1.3 และ 2.1 2.2 2.3
ท่านเห็นความแตกต่างไหมครับ

ความแตกต่างก็คือ
A..ความรู้สึกตัว
B..จิตไม่ไหลออกจากฐาน

ข้อ A และ B ไม่เหมือนกัน แต่ถ้าผลจากข้อ B จะทำให้เกิดข้อ A ได้
แต่ ข้อ A อย่างเดียว อาจทำให้เกิดข้อ B ไม่ได้เสมอไป

ข้อสังเกตสำหรับท่านมือใหม่ ถ้าข้อ B เกิดอยู่ จิตใจท่านจะดี จะสบาย ๆ
ซึ่งถ้าท่านรู้สึกตัว และ จิตใจท่านดี จิตใจสบาย ๆ อยู่ นี่ก็คือ ใช้ได้แล้วครับ

เมื่อท่านเป็นมือใหม่ ที่ยังไม่กระจ่างเรื่องสติปัฏฐาน เวลาท่านปฏิบัติฝึกฝนไม่ว่าในรูปแบบหรือในชีวิตประจำวัน ท่านมือใหม่ส่วนมาก มักจะสับสน เพราะว่า สิ่งที่ตนเองฝึกนั้นดูเหมือนไม่เห็นได้อะไรที่เป็นประโยชน์ ไม่สามารถจะเชื่อมั่นได้ว่า สามารถนำไปดับทุกข์ได้จริง เนื่องด้วย ผมมักบอกเสมอ ๆ ว่า เวลาฝึกนั้นมีข้อปฏิบัติกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดังนี้

***รู้สึกตัว เฉย ๆ สบาย ๆ อย่าเครียด อย่าอยากรู้อะไร แต่ให้รู้เอง ตามองสบาย ๆ ไม่จ้องสิ่งใด ตาจะเห็นภาพเป็นแบบ panorama ***

ท่านจะสงสัยว่า มันจะทำให้เกิดการดับทุกข์ได้อย่างไร ถ้าปฏิบัติตามข้างต้น

เมื่อท่านปฏิบัติอย่างที่ผมกล่าวไว้ในเครื่องหมายดอกจันทร์ หน้า 3 ดอก หลัง 3 ดอก
ท่านก็กำลังเข้าสู่ข้อ 2.1 2.2 2.3 แล้ว ซึ่งหมายความว่า จิตท่าน เข้าสู่สภาวะแห่งข้อ A และ B แล้วเช่นกัน เมื่อท่านฝึกอย่างนี้ไปมาก ๆ บ่อย ๆ ท่านจะเกิดความคุ้นชินขึ้นกับสภาพแบบนี้ ยิ่งฝึกมาก ยิ่งคุ้นชิน เมื่อคุ้นชิน จิตก็จะตั้งมั่นอยู่ที่ฐานเพราะความคุ้นชินเป็นนิสัยนี้เองโดยอัตโนมัติ ยิ่งคุ้นชินมาก ยิ่งตั้งมั่นมาก แต่ว่าในขณะที่ท่านฝึกอยู่ ท่านจะไม่รู้ตัวเลยว่า มันตั้งมั่นหรือไม่ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ข้อ 2.4 2.5 ขึ้นมาเมื่อไร ท่านจึงจะรู้ตัวเองว่า ตั้งมั่นหรือยัง

ในวันกิจกรรม ผมให้ท่านหนึ่ง พับผ้าและคลี่ผ้าออก 2 รอบ ผมเห็นเขาทำท่าแปลกใจเมื่อผมบอกเขาว่า การปฏิบัติก็เป็นแค่นี้แหละคือปฏิบัติแล้ว เพราะในขณะที่เขากำลังพับผ้า คลี่ผ้า จิตใจของเขากำลังเป็นข้อ A และ B อยู่แล้วนั่้นเอง

ในกิจวัตรประจำวันอื่น ๆ เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน ล้างหน้า ใส่เสื้อผ้า รับประทานอาหาร ดื่มน้ำ
ถ่ายหนัก ถ่ายเบา ทำอาหาร ถูบ้าน และ อื่น ๆ ถ้า จิตใจเป็นแบบ A และ B อยู่ ก็เท่ากับได้ปฏิบัติสติปัฏฐานอยู่แล้ว

ผมยกเรื่องนี้ให้ท่านเห็น เพื่อให้ท่านเข้าใจยิ่งขึ้นว่า ลักษณะของการปฏิบัติสติปัฏฐานนั้นคืออย่างไร ทำไมถึงได้ผล และ การรู้ว่าได้ผลรู้อย่างไร

ถ้าท่านเห็นภาพรวมวิธีปฏิบัติ ผลที่ได้ และการวัดผล ท่านจะมั่นใจได้มากขึ้นว่าท่านปฏิบัติตรงทางหรือยัง เมื่อท่านมั่นใจ ความลังเลสงสัยจะได้หมดไปจากสมอง และท่านจะปฏิบัติได้ผลดี

ท่านอย่าได้หวังผลไกลไปถึงการเป็นโสดาบัน เมื่อท่านปฏิบัติได้ผลคือไม่ยึดในทุกข์เพราะจิตตั้งมั่นแล้วมันมีประโยชน์ที่ตรงกับคำสอนในพุทธศาสนาทีว่าเป็นคำสอนเพื่อการดับทุกข์และพ้นทุกข์
ท่านจะเป็นโสดาบันหรือไม่ มันก็เป็นเพียงชื่อเรียกเท่านั้น การไม่ทุกข์ นี่แหละประเสริฐสุดแล้ว






Create Date : 17 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:12:02 น. 10 comments
Counter : 985 Pageviews.

 
เคลียร์ครับ


โดย: pisitH IP: 125.25.44.72 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา:22:03:28 น.  

 
มันง่ายอย่างนี้ นี่เอง


โดย: แจ้งใจ IP: 124.121.114.90 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2553 เวลา:9:48:43 น.  

 
การปฏิบัตินั้น ถ้าเข้าใจแล้ว จะง่ายมาก ๆ
แต่ที่ยากลำบากแสนสาหัส เพราะไม่เข้าใจนั้นเอง



โดย: นมสิการ วันที่: 18 พฤศจิกายน 2553 เวลา:10:10:13 น.  

 
ขอบคุณค่ะ ยิ่งอ่านบทความของคุณนมสิการมากขึ้น ก็เข้าใจมากขึ้น และสามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้องขึ้นค่ะ


โดย: ไตรโสภณ IP: 58.11.85.84 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2553 เวลา:10:26:31 น.  

 
ชีวิตมีแก่นสาร มีสาระ มากขึ้นครับ ไม่เวิ้งว้าง แม้เราจะอยู่ในจักรวาลอันโดดเดี่ยว

ไม่ต้องเข้ารกเข้าพง เพื่อจะหาคำตอบว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร ต้องอยู่บนโลกนี้ได้ ยืน เดินนั่ง นอน ฝึกฝน เพื่อพร้อมขึ้นชกได้ทุกเมื่อ

ขอบคุณครับ วันนี้ได้เคล็ดไม่ลับ สำหรับฝึกฝนอีกแล้ว


โดย: Littleyogi IP: 223.207.15.160 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2553 เวลา:12:18:10 น.  

 
หลังจากร่วมกิจกรรม มาหัดลูบแขนลูบมือตามที่คุณนมสิการสอน รู้สึกถึงการสัมผัสที่แขน, มือ บางครั้งก็รู้สึกหนัก ๆ เลยมาดูการเคลื่อนไหวขอไหล่ อก ขณะหายใจ มีความรู้สึกว่าสบาย ๆ ไม่ต้องทำอะไร ขณะอ่าน หรือทำงานในคอมฯ ก็รู้สึกถึงการหายใจ (อาการเคลื่อนขึ้นลงของไหล่ อกกระเพื่อม แต่อ่านบทความรู้เรื่อง) จนเหมือนจะเคยชิน จะรู้สึกขึ้นเองบ่อยๆ
1. ที่ทำอยู่นี้ถูกไหมคะ
2. ถ้าทำถูก ใช้การหายใจแบบนี้ จะช้ากว่าการเคลื่อนไหวมือไหม


โดย: เสือสุมาตรา IP: 203.113.0.206 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2553 เวลา:13:40:12 น.  

 
1..ถูกครับ
2..อย่างไหนทำแล้วรู้สึกถนัด ให้ใช้แบบนั้นไปเรื่อย ๆ จะดีสำหรับคุณ
แต่ถ้าต่อไป เมื่อชำนาญแล้่ว จิตใจอยู่ตัวแล้ว จะปฏิบัติแบบไหนก็ไม่มีปัญหาเลยในตอนนั้น

ที่ช้าหรือเร็ว นั้นให้ดูว่า มีความเครียดไหม ผ่อนคลายมากไหม
ถ้าไม่เครียด และรู้สึกผ่อนคลายมาก ผลที่ได้นั่นจะเร็วกว่า


โดย: นมสิการ วันที่: 18 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:05:14 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ คุณนมสิการ

อ่านแล้วทำความเข้าใจเพิ่มเติมขึ้นได้อีกมากค่ะ
ทำให้รู้แนวทางที่จะเดินต่อไป

ขอบคุณมากนะคะ


โดย: archa-girl วันที่: 19 พฤศจิกายน 2553 เวลา:18:33:25 น.  

 
ถ่ายทอดการปฏิบัติมาเป็นตัวหนังสือได้เข้าใจง่าย ชัดเจนมาก ครับ อนุโมทนา ขอบคุณครับ


โดย: ทำไม่เป็น IP: 61.90.97.227 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2553 เวลา:20:37:33 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:15:29:07 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.