รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
13 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
การรู้สึกตัว ไม่รู้สึกตัว

1..ขณะที่กำลังรู้สึกตัว ขณะนั้นคือไม่เผลอ แต่ทว่า...ไม่ใช่หมายความว่า จิตใจยังดีอยู่ เพราะในขณะที่รู้สึกตัวนั้น จะมีทั้งอาการทีจิตใจที่ดีก็ได้ หรือ จิตใจที่ว้าวุ้นที่ถูกกิเลสครอบงำไปแล้วก็ได้

ขณะที่รู้สึกตัวแต่มีกิเลสครอบงำ มีผู้แย้งผมมาว่าเป็นไปไม่ได้ ผมจะยกตัวอย่างให้เห็นกันชัด ๆ เช่น คนที่กำลังอกหัก กลุ้ม ทุกข์ หนักหนา ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า กลุ้ม ทุกข์ แต่ก็แกะมันไม่หลุด การที่รู้ว่ากำลังกลุ้ม ทุกข์ อยู่ นั่นเขากำลังรู้สึกตัวอยู่แล้ว แต่จิตใจถูกกิเลสครอบงำไว้

ลูกน้องที่กำลังถูกหัวหน้าดุด่าว่ากล่าว ใจเดือดปุด ๆ เขากำลังหักห้ามอารมณ์เต็มที่ เพราะถ้าเกิดน๊อตหลุดออกไป อาจตกงานได้ทันที นี่คืออากาารที่รู้สึกตัวที่รู้จิตใจของตนเองได้อยู่ แต่ถูกกิเลสครอบงำ

2..การรู้สึกตัว แต่ประกอบไปด้วยสติ ภาษาพระเรียกกันว่า การมีสติสัมปชัญญะ ถ้าได้.คู่.แบบนี้ จึงจะสมบูรณ์แบบที่ว่า รู้สึกตัวด้วย จิตใจก็ดีด้วย ไม่มีกิเลสครอบงำจิต

แล้วสตินี่เป็นอย่างไร..

ผมจะไม่พูดแบบตำราว่าสติคืออะไร เพราะผมเอง ก็อ่านตำรามาก่อนเช่นกัน อ่านแล้วก็ไม่สามารจะแปลภาษาออกมาเป็นรูปธรรมได้ ถ้าไปคุยกับคนอื่นในเรื่องสตินี้ ท่านจะพบกับความเข้าใจทีหลากหลายออกไปในเรื่องเดียวกัน

ถ้าจะว่ากันง่าย ๆ สำหรับนักภาวนาก็คือ สติ คือ การที่รู้สึกไปถึงสภาวะในขันธ์ 5 ได้แบบ.สด ๆ. ถ้าไม่สด ถึงแม้ผ่านไปเพียง 1 วินาที ก็ยังไม่ใช่สติแล้ว

ยกตัวอย่างเช่น

ขณะยืนอยู่กลางแจ้ง ลมหนาวพัดมากระทบกาย ก็รู้สึกเย็นวาบทันที
ขณะที่กำลังเคียวอาหารในปาก เคี้ยวพริกขี้หนูสวนเข้าไป ก็รู้สึกได้ทันที

ขณะที่รู้สึกได้แบบสด ๆ นี้แหละ คือ การมีสติ

จังหวะที่รับรู้ได้แบบสด ๆ ในขณะเดียวนั้นเอง นั่นคือ การมีความรู้สึกตัวและมีสติ

แต่ว่า..หลังจากนั้น อาจจะมีการน๊อตหลุด หรือ มีการเผลอตัวขาดสติขึ้นมาก็ได้ ซึ่งขึ้นกับเหตุการณ์และสภาพกำลังจิตใจของแต่ละบุคคล

3..ผมร่ายยาวในข้อ 1 และ 2 เพื่อปูทางเข้าในข้อที่ 3 นี้

ในข้อที่ 2 ผมกล่าวถึง สติสัมปชัญญะ ว่าเป็นสิ่งที่เป็นกุศลจิต แต่หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ แล้ว ถึงแม้ว่า จะผ่านไปเพียง 1 วินาที ถ้านักภาวนาไม่สามารถรักษาสภาพของการมีสติสัมปชัญญะนี้ได้ เขาก็จะกลายเป็น คนขาดสติที่สูญเสียความรู้สึกตัวไปทันที

ตัวอย่างเช่น

ท่านกำลังยืนรอรถเมล์อยู่อย่างสบาย ๆ แล้วจู่ ๆ ก็มีคนที่ไม่ถูกชะตากันมาก่อนมาเหยียบเข้าที่เท้าของท่านอย่างแรง ท่านเจ็บมาก ในวินาทีที่ท่านรู้สึกว่าถูกเหยียบและรู้สึกเจ็บ วินาทีนั้นคือท่านมีสติสัมปชัญญะอยู่ แต่เวลาผ่านไปหลังจากนั้นเพียงเสี้ยววินาทีต่อมา ท่านรู้สึกโกรธขึ้นมาที่ถูกเหยียบเท้าอย่างแรง ตรงเข้าไปชกหน้าคนที่เข้ามาเหยียบเท้าท่านทันที อาการนี้คือท่านขาดสติและสูญเสียความรู้สึกตัวไป หลังจากที่ท่านมีสติสัมปชัญญะในขณะที่ถูกเหยียบเท้าอย่างสด ๆ

ที่น่าสนใจก็คือว่า ทำไมจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วมากจากการมีสติสัมปชัญญะกลายเป็นการขาดสติและสูญเสียความรู้สึกตัวไปได้

4..กลไกการทำงานของจิตใจนั้น พอท่านถูกเหยียบเท้าอย่างแรง นี่คือ การมีการกระทบสัมผัสที่แรง ผลที่ตามมาก็คือ การรู้สึกเจ็บ นี่ภาษาพระเรียกกันว่า การมีเวทนา ในณะที่เกิดเวทนานั้น ถ้าท่านสามารถเห็น .มโน. ได้ ท่านจะเห็นได้เลยว่า มีก้อนพลังงานอย่างหนึ่งที่ขุ่นมัว ปรากฏขึ้นใน มโนทวาร เมื่อก้อนพลังงานนี้เกิดขึ้นใน.มโนทวาร.แล้ว จิตลูกโป่งจะถูกพลังงานนี้เข้าครอบงำทันทีและเกิดแรงดึงยึดเกาะที่เรียกกันว่า .ตัณหา. พาจิตลูกโป่งให้เข้าไปเกาะติดกับพลังงานขุ่นมัวนี้ เมื่อจิตลูกโป่งถูกตัณหาทำให้เกาะติดกับพลังงานขุ่นมัวนี้ จิตลูกโป่งก็ไม่เป็นอิสระและท่านก็จะกลายเป็นคนขาดสติสัมปชัญญะไปทันที

ขอให้ท่านเทียบกับ ปฏิจจสมุปบาท ที่กล่าวไว้ว่า

ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา ----> ถูกเหนียบเท้าแล้วรู้สึกเจ็บ
เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา ----> จิตลูกโป่งเกาะติดกับพลังงานขุ่นมัวของเวทนา
ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน ---> เกิดอาการว่า กูเจ็บ ความเจ็บเป็นของกู
อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ / ชาติ ----> ความเป็นกู ของกู เกิดอยู่ต่อเนื่องต่อไปอีก

5..ที่เขียนในข้อ 4 คือ อาการที่สูญเสียสติและกลายเป็นคนไร้ความรู้สึกตัวไป ที่เป็นแบบนี้ เพราะ จิตลูกโป่ง ไม่มีพลังตั้งมั้นพอที่จะต่อสู้กับแรงของ ตัณหา เลยถูกแรงของตัณหาลากพาไป ภาษาพระเรียกอาการนี้ว่า .การที่จิตไม่ตั้งมั่นอยู่ที่ฐาน.

การที่จะให้จิตตั้งมั่นอยู่ที่ฐาน แล้วมีกำลังเหนือกว่า ตัณหา มีอยู่ทางเดียวก็คือ การฝึกฝนจิตใจให้ตั้งมั่น

6..ถ้าจะเจาะลึกลงไปในขบวนการของ ตัณหา และ สติสัมปชัญญะ จะเห็นว่า

6.1 ตัณหา นั้น เมื่อเริ่มก่อตัวใหม่ ๆ ในวินาทีนั้น กำลังยังมีน้อย แต่ถ้าเวลาผ่านไป มันจะขยายตัวใหญ่ทำให้ยิ่งมีกำลังมาก เปรียบเหมือน เด็กทารกย่อมมีกำลังน้อยกว่าผู้ใหญ๋ที่โตเต็มที่แล้ว ดังนั้น การที่จะสลาย ตัณหา ได้อย่างง่ายดาย ก็คือ ต้องสลายมันทันทีที่มันเริ่มเกิด
อย่าปล่อยไว้ให้มันโต จะแพ้มันอย่างราบคาบ

หมายเหตุ ขั้อ 6.1 พอจะเทียบได้กับอริยสัจจ์ข้อที่ 2 ที่ว่า ตัณหา คือ สาเหตุแห่งทุกข์ ให้ละเสีย

6.2 การทีจะสลายตัณหาได้อย่างรวดเร็ว ก็จะต้องมาจากการมี .สติ. ที่ว่องไว รับรู้อาการแปรเปลี่ยนในจิตใจอย่างรวดเร็ว พอจะกล่าวได้ว่า พอเกิดอาการทางจิตใจสด ๆ สติต้องรู้ทันทีเช่นกัน ไม่ห่างกันเลยแม้เพียงเสี้ยววินาทีเดียว ถ้าสติไวอย่างนี้ ตัณหา ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วและง่ายดาย และ นักภาวนาก็จะคงการมีสติสัมปชัญญะที่ดีได้อยู่ พร้อมกับของแถมอีกอย่างคือ การมีปัญญา เห็นไตรลักษณ์ เห็นความไม่เที่ยงของอาการในจิตใจว่า มันไม่เที่ยง มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

หมายเหตุ ข้อ 6.2 นี้ พอจะเทียบได้กับอริยสัจจ์ข้อที่ 1 ที่ว่า ทุกข์นั้นให้รู้


7..จากข้อ 6 ท่านจะเห็นว่า ตัวแปรสำคัญคือ .สติ.ที่ว่องไว และ .ตัณหา.ที่ยังอ่อนแอ
ดังนั้น ในการฝึกฝนของท่าน ท่านต้องเข้าหลัก 2 ตัวนี้อยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความเคยชินที่ให้มี.สติ.ที่ว่องไว และ ตัณหา ที่ยังอ่อนแอ

มาดูเรื่อง ตัณหา กันก่อน ถ้าจิตใจหมั่นให้.ตัณหา.บริโภคอาหาร ตัณหาก็ยังคงเติบโตอยู่และมีกำลังพร้อมรบอยู่เสมอ ทางแก้ ก็คือ อย่าให้ ตัณหา มันบริโภคอาหารครับ มันจะค่อย ๆ อ่อนแอลงไปทีละนิด ทีละหน่อย แต่ต้องใช้เวลานานสักหน่อย

ทำอย่างไร จึงจะไม่ให้ ตัณหา บริโภคอาหาร ..
ง่าย ๆครับ คือ การกระทำกิจการหน้าที่ทุกอย่าง ขอให้ทำด้วยอาการที่จิตใจเฉยๆ อย่าให้มีความอยาก อย่าให้มีความเร่าร้อน อย่าให้มีความเครียด อย่าให้มีอารมณ์ที่ไม่ดีต่างๆ

เรื่องนี้พูดให้เข้าใจยากมากสำหรับคนทั่ว ๆ ไป เพราะมันขัดกับความรู้สึกในจิตใจ อันความคิดที่ต้องการทำสิ่งใด ต้องการพัฒนาโน้นนี่ให้ดีขึ้นนี่เป็นความอยาก ท่านจะต้องมีก่อน จึงจะมีการกระทำสิ่งใด ๆ ตามมาได้ แต่ว่า เมื่อท่านลงมือกระทำอยู่ ในขณะที่กำลังกระทำ ท่านสมควรกระทำไปด้วยจิตใจที่เรียบ ๆ เฉย ๆ

ซึ่งผมเน้นย้ำอยู่เสมอในเรื่องนี้ครับ เฉยๆ สบาย ๆ อย่าเครียด

****
ทีนี้มาดูเรื่อง สติ กัน

การฝึกสติที่ให้มีกำลังนั้น ท่านสมควรใช้ของที่รู้สึกได้ง่ายเป็นตัวฝึก ให้สติไปรับรู้อาการที่รู้สึกได้ง่าย ๆ นั้นบ่อย ๆ เช่น การลูบตัว ลูบแขน การเดินจงกรม นี่คือของหยาบที่สติรู้สึกถึงได้ง่าย การรู้ของหยาบ ๆ แบบนี้ ทำให้จิตมีกำลังตั้งมั่นได้ดีมาก

การเลือกกรรมฐานการฝึกฝนที่เหมาะสม จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่นักภาวนาต้องพิจารณาให้ดีว่า
จะใช้แบบใหนถึงจะเหมาะกับสภาพของตนเอง

7..เงื่อนเวลาแห่งการมีสติสัมปชัญญะ

ผมได้พูดในข้อ 6 เรื่องการงดอาหารให้ตัณหาและการฝึกสติให้มีกำลังไปแล้ว ท่านต้องหมั่นฝึกในข้อ 6 ก่อน เรียกว่า ฝึกในรูปแบบ พอท่านฝึกไปสักระยะหนึ่ง เช่นสัก 2 อาทิตย์ขึ้นไป จิตใจท่านพอมีกำลังเพิ่มขึ้นบ้างแล้ว ทีนี้ท่านสมควรมาเพิ่มเติมด้วยการฝึกฝนในชิวิตประจำวันกัน

นับเป็นคุณสมบัติที่พิเศษอย่างหนึ่งของคนก็คือ ความต่อเนื่องความเคยชินจะยังคงอยู่ได้ หลังจากสิ่งทีทำนั้นเพิ่งจบใหม่ๆ เช่น ถ้าท่านฝึกฝนในรูปแบบอยู่ พอท่านหยุดฝึกทันที ในเวลาต่อมานั้น ท่านจะพบว่า ท่านยังคงมีสติสัมปชัญญะได้ดีอยู่ แต่พอเวลาผ่านไป ก็จะเสื่อมถอยไป

ผมแนะนำให้ท่านใช้หลักการข้อนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเองในการฝึกฝนในชีวิตประจำวัน
กล่าวคือ ท่านสมควรหมั่นฝึกฝนในรูปแบบเป็นระยะ ๆ แต่อาจฝึกไม่นานนัก เช่่นฝึกสัก 5 นาทีเพื่อให้จิตใจเข้าถึงการมีสติสัมปชัญญะก่อนแล้วก็ไปทำกิจการของท่าน พอผ่านไปสัก 30 นาที ท่านก็มาฝึกในรูปแบบต่อไปอีก 5 นาที แล้วก็ไปทำกิจการต่อไป วนเวียนไปเช่นนี้
ก็จะทำให้การฝึกฝนในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น

ถ้าท่านใช้แบบนี้ ฝึกถี่ ๆ แบบนี้ ทุก 30 นาทีแต่ฝึกสั้น ๆ เพราะท่านมีหน้าทีการงานต้องทำ ก็เท่ากับเป็นการ Refresh สติสัมปชัญญะอยู่เสมอ

8..การที่มี ความคิด/ความคิด เกิดบ่อย ๆ นั้น ซึ่งในคนที่กำลังสติสัมปชัญญะยังอ่อน จะทำให้เขาเกิดการสูญเสียสติสัมปชัญญะไป ดังนั้น ถ้าท่านเป็นคนทีความคิดเกิดบ่อย ๆ ก็สมควรเข้าใจในเรื่องนี้ และ หมั่นฝึกฝนที่กล่าวไว้ข้างต้นไปเรื่อย ๆ แล้วการมีสติสัมปชัญญะก็จะค่อยๆ ตั้งมั่นมากขึ้น

อีกเรื่องหนึ่ง ท่านสมควรทำความเข้าใจก็คือ การฝึกฝนไม่ได้เปลี้ยนให้ท่านเป็นคนไม่คิดอะไร แต่การฝึกฝนนั้น ท่านจะมีทางเลือกได้เพิ่มขึ้น คือ จะคิดก็ได้ ไม่คิดก็ได้ ซึ่งคนที่ไม่ได้ฝึกฝนจะไม่มีทางเลือกแบบนี้ แต่จะมีแบบเดียว คือ จะคิดและเมื่อคิดแล้วจะคิดตลอด จะหยุดคิดก็ทำไม่ได้เลย

ถ้าฝึกฝนสติสัมปชัญญะได้ผลแล้ว การมีความคิดพลุดขึ้นเสมอ ๆ ในจิตใจ จะเป็นปัญญาให้แก่จิตได้เห็นไตรลักษณ์ของความคิด ดังนั้น ความคิด ไม่ได้เป็นสิ่งที่เลยร้ายเสมอไป แต่จะดีหรือจะเลว อยู่ที่ว่า ท่านคุมมันได้หรือไม่เท่านั้น

10.ปัญหาของการฝึกฝนแล้วไม่ได้ผล ท่านสมควรพิจารณาไตร่ตรองให้ดีกันก่อนว่า สิ่งที่ท่านบอกว่า กำลังฝึกฝนสติสัมปชัญญะอยู่นั้น ท่านฝึกฝนถูกต้องหรือไม่ ถ้าท่านฝึกถูกต้อง ก็จะได้ผลอย่างแน่นอน แต่ก็ต้องใช้เวลาสักหน่อย แต่ถ้าฝึกไม่ถูก ฝึกอย่างไรก็ไม่ได้ผลออกมาเลย
และท่านจะเสียเวลาไปเปล่า ๆ
***********
เรื่องท้ายบท
เมื่อนักภาวนาได้ลงทุนลงแรงฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ผลลัพท์สุดท้ายที่เขาได้รับ คือ การเห็นจิตใจที่เฉยๆ ราบ ๆ เรียบ ๆ ไม่มีอะไร
นอกจากนี้ นักภาวนาจะยังเห็น อาการต่าง ๆ ของขันธ์ 5 ล้วนแปรเปลี่ยนเป็นไตรลักษณ์



Create Date : 13 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:12:29 น. 7 comments
Counter : 1160 Pageviews.

 
โดนใจเลยค่ะ. ยังจัดการกับความคิดไม่ได้ดีเท่าที่ควร
ต้องฝึกฝนให้มากขึ้นค่ะ


โดย: จิตติ IP: 110.168.39.136 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2553 เวลา:13:32:50 น.  

 
โดนครับ


โดย: ภัท IP: 58.136.99.251 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2553 เวลา:17:09:38 น.  

 
เรียน อาจารย์

อ่านแล้วทำให้เกิดความเข้าใจและวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติยิ่งขึ้น
กราบขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ


โดย: bugleg IP: 58.10.85.158 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2553 เวลา:8:49:23 น.  

 
ตอนนี้กำลังฝึกลูบแขนอยู่ครับ แต่ในชีวิตประจำวันไม่ค่อยจะรู้สึกตัวเลย ส่วนใหญ่ความคิดจะลากไปกับเรื่องราวต่างซะมากกว่า คงอีกนานกว่าสติจะมั่นคง


โดย: virut IP: 172.16.21.4, 110.164.50.2 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2553 เวลา:13:31:53 น.  

 
ชอบบนความนี้มากคะ ฟ้ากำลังถูกความคิคลากไปบ่อยมากเลยคะ
กราบขอบพระอาจารย์มากคะ


โดย: ฟ้า IP: 202.8.78.49 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา:8:11:36 น.  

 
ขอบคุณนะคะ เข้าใจชัดขึ้นเลยค่ะ ^^


โดย: ดิว IP: 125.25.134.242 วันที่: 31 ตุลาคม 2554 เวลา:9:05:47 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:15:29:51 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.