รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2557
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
27 พฤษภาคม 2557
 
All Blogs
 
นั่งสมาธิ ดูอะไร ดูอย่างไร (ความรู้ทั่วไป)

บทความนี้เป็นประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนทีต้องการนำมาเสนอแก่ผู้ท่าน
เพื่อประโยชน์ในการศีกษาและฝีกปฏิบัติตามแนวทางทีผู้เขียนได้แสดงไว้แล้วใน bloggang นี้
จึงไม่จำเป็นต้องเหมือนกับครูบาอาจารย์ท่านใด หรือ สำนักกรรมฐานสำนักใด
**********************************



ขอให้ดูภาพข้างบน เป็นภาพของ VU meter ทีใช้วัดระดับสัญญาณความแรงของเสียงในเครื่องเสียง

ในภาพที 1 ซ้ายมือสุด เข็มของ VU meter ไม่ขี้นเลย แสดงว่า ในขณะนั้น ไม่มีสัญญาณเสียงใด ๆ ปรากฏขึ้น คือ เสียงจะเงียบ
ในภาพที 2 ตรงกลาง เข็มของ vu meter ชี้ทีประมาณกลาง ๆ แสดงว่า มีสัญญาณเสียงเข้ามาในระดับหนี่ง
ในภาพที 3 ขวามือสุด เข็มของ vu meter ชี้ไปทางด้านขวา เลยขีดแดงไปแล้ว แสดงว่า สัญญาณเสียงนั้นเข้ามา ดังกว่า ระดับในภาพที 2 และดังมากจนเกินขีดแดงไปแล้ว

1..นั่งสมาธิควรนั่งแบบใด ในท่าใด

การนั่งสมาธินั้นจะนั่งแบบใด ก็ใด ขอแต่ให้นั่งให้สบายเป็นใช้ได้ จะนั่งพื้น นั่งเก้าอี้ หรือ อะไรก็ได้ตามสดวก ขอให้การนั่งแล้ว ถ้าก่อให้เกิดทุกขเวทนาแก่ร่างกายก็สมควรจะหลีกเลี่ยง

2..เมื่อนั่งได้ทีแล้ว สบายแล้ว ต่อไป ก็คือ นั่งเฉยๆ สบาย ๆ ไม่ต้องเกรง นั่งด้วยความรู้สีกตัว ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องบริกรรมอะไรทั้งสิ้น ขอให้สังเกตว่า เมื่อได้ นั่งเฉยๆ สบาย ๆ ด้วยความรู้สีกตัวแล้ว นักภาวนาจะพบกับสภาวะธรรมดังนี้ได้ทันที

A..ก้นสัมผัสพื้น หรือ เก้าอี้ ก็รู้สีกได้
B..เสื้อผ้าโดยตัว ก็รู้สีกได้
C..ถ้านั่งกับเก้าอี้ เท้าสัมผัสพื้นด้วยก็ รู้สีกได้
D..ถ้ามีลมมาโดนกาย ก็รู้สีกได้
E..ตามองเห็นได้ เป็นภาพกว้าง ๆ แบบ panorama เพราะไม่ได้จ้องมองสิ่งใดอยู่
F..หูได้ยินเสียงได้แบบไม่เจาะจงฟังว่าเป็นเสียงอะไร หมายความว่าอย่างไร
G..ถ้ามีกลิ่นลอยมา ก็สามารถสัมผัสกลิ่นได้
H..นักภาวนาบางคน มีกำลังจิตค่อนข้างดี ก็จะสามารถรับรู้ลมหายใจทีกระเพื่อมๆ ได้ด้วย
หรือ บางคนก็รับรู้หัวใจเต็นตีก ๆ ได้ด้วย

สภาวะในข้อ 2 A ถีง H นี้ จะรู้ได้เอง ซึ่งถ้าพิจารณาให้ดี ๆ จะพบว่า ความรู้สีก A ถีง H นี้จะเป็นความรู้สีกแบบรู้รวม ๆ กันคล้าย ๆ กับขนมรวมมิตรทีรวมกันอยู่หลาย ๆ อย่างในถ้วยขนม และนักภาวนาเพียงรู้รวม ๆ โดยไม่ต้องไปแยกแยะว่า อะไรเป็นอะไรเลย และไม่ต้องไปสนใจรู้เป็นส่วน ๆ และ ขอรู้ได้พร้อมๆ กันทีเดียวเป็นใช้ได้แล้ว

สภาวะนี้จะเหมือนกับ Vu meter ในภาพซ้ายมือ ภาพที 1
ซึ่งจิตใจตอนนี้ ไม่มีอะไรเข้ามา จิตใจจึงสบาย ๆ และรับรู้สภาวะธรรมทีเขียนไว้
ในข้อ A ถีง H ได้ทีเป็นแบบรวม ๆ

ขอเรียกจิตใจในสภาวะนี้ จิตใจที **สงบ**
เมื่อนักภาวนาเฉยๆ รู้สึกตัว สบาย ๆ ได้แบบนี้ ก็คือ จิตใจทีสงบ ขอให้ประคองไว้แบบนี้
สบาย ๆ ไปเรื่อยๆ

ข้อควรระวัง อย่าไปทำอะไรเพิ่มขึ้นมาจากทีรู้สภาวะด้วย อาการทีสงบและรู้สีกตัวแบบนี้

สภาวะจิตใจในข้อ 2 นี้เป็นสภาวะมาตรฐานที่เป็น Reference level คือ จิตใจสงบ
ไม่มีอะไร เพียงเฉยๆ สบาย ๆ เท่านั้น

3..เมื่อนักภาวนาที่สามารถอยู่ในสภาวะของข้อ 2 ได้สักพักหนี่ง จะพบว่า
บางครั้ง จะมีความคิดโผล่ขึ้นมาในสมองเองโดยทีนักภาวนาไม่ได้ตั้งใจคิดเลย
ซึ่งความคิดทีโผล่เข้ามานี้ จะเหมือนกับ vu meter ในภาพที 2 หรือ ภาพที่ 3

ถ้าความคิดทีโผล่ขึ้นมามีกำลังไม่แรง ก็เหมือน vu meter ในภาพที 2
ถ้าแรงก็เป็นภาพที 3

คำถามมีว่า แรงอย่างไรก็คือภาพ 2 แรงอย่างไร คือ ภาพ 3
ถ้าความคิดไม่แรงพอ นักภาวนาจะสัมผัสความคิดทีมันโผล่มาได้
แล้วสามารถกลับมาอยู่ในสภาวะของข้อ 2 ทีจิตใจสงบได้อีก

แต่ถ้าเป็นความคิดทีแรง พอความคิดโผล่มา
จิตใจของนักภาวนาจะถูกดูดเข้าไปผสมกับความคิด
ทำให้นักภาวนาไม่สามารถกลับไปอยู่ทีสภาวะข้อ 2 ทีสงบได้อีก
ซี่งพอจิตใจถูกดูดเข้าไปในความคิด นักภาวนาก็จะเกิดการเผลอขึ้นมา
กลายเป็นไม่รู้สีกตัวและไม่สามารถรับรู้สภาวะในข้อ 2 คือ ข้อ A ถีง H ได้

4..นักภาวนาส่วนมาก มักรังเกียจสิ่งทีเกิดในข้อ 3 เพราะคิดว่า
ข้อ 3 คือ สิ่งทีใจไม่สงบ พอข้อ 3 เกิดขึ้น ก็จะตัดพ้อตัวเองว่า
ภาวนาไม่ดีเลย

ผมขอทำความเข้าใจกับท่านนักภาวนาว่า ความเข้าใจดังกล่าว เป็นสิ่งทีไม่ถูกต้อง

ในการภาวนานั้น เริ่มแรก นักภาวนาสมควรอยู่ในข้อ 2 หรือ Reference level ก่อน
พอได้ Reference level แล้ว สิ่งทีเกิดในข้อ 3 คือ สิ่งทีเปลี่ยนแปลงไปจาก Reference level เท่านั้น นักภาวนามีหน้าทีเพียงรู้ว่า **มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ** แค่นี้ก็พอแล้ว แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแล้ว นักภาวนาสามารถกลับมาสู่ Reference level ได้เอง ถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงของ vumeter 2 ( ภาพกลาง ) ก็ขอให้ประคองไว้ที Reference level สบาย ๆ ต่อไป แล้วรอการเปลี่ยนแปลงมันเกิดใหม่อีก แล้วก็กลับมาสู่ Reference level อีก วนเวียนแบบนี้ไปเรื่อยๆ

แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงมันแรงเป็น vumeter 3 (ภาพขวาสุด )นักภาวนาเสียความรู้สึกตัวไป
ถ้าเมื่อไร ทีรู้สีกตัวได้อีก ก็ขอให้กลับมาทีสภาวะ Reference level ใหม่ แล้วก็รอการเปลี่ยนแปลงทีจะเกิดขึ้นอีก

การทีนักภาวนาสามารถสัมผัสสิ่งทีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้เสมอ ๆ จะทำให้เกิดสัมมาสมาธิทีจิตตั้งมั่นมากขึ้นไปเรื่อยๆ ได้

สิ่งทีนักภาวนาสัมผัสได้แบบ vumeter 2 ( ภาพกลาง ) คือ วิปัสสนาปัญญา ของนักภาวนา

5..เมื่อสัมมาสมาธิตั้งมั่นมากขึ้น อาการเป็นอย่างไร

เมื่อนักภาวนาฝีกฝนในข้อ 4 ไป ใหม่ๆ ความคิดจะโผล่ขึ้นมามาก อาจเป็น vumeter 2 หรือ vumeter 3 ก็ได้ แต่เมื่อฝีกไปเรื่อย ๆ เป็นระยะเวลานานๆ จะพบว่า การเกิดของ vumeter 3 จะน้อยลงไปเรื่อย ๆ จนมีแต่ vumeter 2

แต่พอฝีกไปเรื่อยๆ จนนักภาวนาสามารถเห็นจิตของตัวเองได้ จะพบว่า สภาวะของ Reference level จะปรากฏได้นานขึ้น แล้ว vumeter 2 จะมีได้แต่จะน้อยลงไปเอง
ซึ่งสภาวะนี้แสดงว่า จิตค่อนข้างดี มีสมาธิค่อนข้างตั้งมั่นแล้ว

การเกิดขึ้นของปัญญาและสมาธิตั้งมั่น จะต้องใช้เวลาฝีกฝนไปเรื่อย ๆ อย่าไปตั้งความหวังว่า จะต้องได้สมาธิ ได้โสดาบัน หรือ ได้อะไรต่อมิอะไร ซี่งความคาดหวังนี่ ล้วนทำให้จิตใจไม่สงบ
ใน Reference level

6..ข้อสังเกต
ถ้านักภาวนาฝีกไป ยังไม่สามารถเห็นจิตของตนเองได้ แต่ปรากฏว่า ไม่มีความคิดโผล่มาเลย
ขอให้นักภาวนาสำรวจตัวเองว่า
* มีการจ้องสิ่งใดอยู่หรือไม่
* มีการอยากรู้สภาวะธรรมหรือไม่
* มีการเกร็งของร่างกายหรือไม่
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนทำให้ Reference level ผิดไปแล้ว เมื่อผิดไป ก็ทำให้
ความคิดไม่โผล่ออกมาเอง

7..จะเห็นว่า วิธีการภาวนาแบบนี้ จะเป็นการเสริมกำลังจิตและปัญญาแก่นักภาวนา
ถ้านักภาวนาสามารถทำตอนนั่งได้แล้ว จะทำในขณะยืน ขณะเดิน ขณะนอนได้ด้วย




Create Date : 27 พฤษภาคม 2557
Last Update : 27 พฤษภาคม 2557 11:06:23 น. 0 comments
Counter : 4551 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.