รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
16 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
เหตุผลของกฏข้อที่ 3

ตามที่ผมได้แนะนำกฏ 3 ข้อ อันเป็นหลักการปฏิบัติเพื่อให้เดินทางเข้าสู่เส้นทางแห่งการดับทุกข์ได้นั้น สำหรับกฏข้อที่ 3 ที่ผมกล่าวว่า

..อย่าได้อยากรู้อะไร แต่ให้รู้ได้เอง ....

ผมจะอธิบายในเหตุผลแห่งกฏข้อที่ 3 ให้ท่านที่ติดตามอ่าน blog ได้เข้าใจมากขึ้น

ถ้าท่านอยู่ในวงการกรรมฐานของประเทศไทย และท่านได้ศึกษาการอบรมกรรมฐานมาพอสมควรจากอาจารย์ต่าง ๆ ในประเทศไทย เมื่อท่านมาอ่านพบกฏ 3 ข้อที่ผมนำเสนอ โดยเฉพาะข้อที่ 3 นั้น ท่านจะเห็นได้ชัดว่า กฏข้อที่ 3 ที่ผมนำเสนอนั้น จะแตกต่างกับท่านที่สอนกรรมฐานในประเทศไทยหลาย ๆ ท่านแบบหักกลับ 180 องศา ชนิดที่เรียกว่า ไปด้วยกันไม่ได้เลย เพราะอาจารย์ส่วนมากในประเทศไทยมักจะสอนว่า ..ต้องรู้นะ... ต้องรู้ให้ชัด... เอาไปจ้องที่ปลายจมูกนะ เพื่อจะได้รู้ลมชัด ๆ เพราะลมมันเบา... เอาจิตไปจ่อทีเท้านะ เพื่อจะได้รู้กระทบที่เท้า เวลาเดินจงกรม จะได้รู้ชัด ๆ ...

ท่านคงเห็นความแตกต่างระหว่างการสอนที่ผมยกมาแสดงไว้ และ ในกฏข้อที่ 3 ที่ผมนำเสนอ

ก่อนอื่น ผมจะบอกท่านก่อนว่า ผมไม่ได้บอกว่า อาจารย์เหล่านั้นสอนผิดนะครับ มันเป็นเทคนิคการสอนของเขา ซึ่งผมไม่ขอยุ่งเกี่ยวด้วยครับ

แต่สิ่งที่ผมบอกท่านในกฏ 3 ข้อ โดยเฉพาะกฏข้อที่ 3 นั้น ผมได้บอกท่านแล้วว่า นี่คือหนทางแห่งการดับทุกข์อย่างสิ้นเชิงเพื่อการพ้นไปจากสังสารวัฏ นี่คือเป้าหมายหลักใน blog ของผม ที่ไม่ใช่ไปหยุดอยู่ที่สวรรค์ หรือ พรหมโลก

ในขบวนการทางจิตนั้น คนที่เขาปฏิบัติได้ถึง เขาจะพบกันทุกคนที่เหมือนกันว่า ถ้าคนเราอยากจะรู้อะไร จะมีการปรุงแต่งเกิดขึ้น ที่ภาษาพระเรียกว่า จิตตสังชาร หรือ เรียกว่า สังขารขันธ์ ก็ได้
และความอยากนี้คือ ตัณหา ครับ ซึ่ง ตัณหา นี้ก็คือ กาวตราช้างที่มีพลังแห่งการเกาะติดได้

เมื่อท่านเกิดความอยากรู้ลมกระทบที่ปลายจมูกขึ้นมา เพราะลมมันเบา เมื่อท่านเป็นมือใหม่ ท่านรู้ลมไม่ได้ ท่านก็พยายามจะรู้ลมโดยการไปรับความรู้สึกที่ปลายจมูก นี่คือสภาวะแห่งตัณหาเกิดแล้ว และตัณหานั้น จะนำพา.จิตรู้.ให้วิ่งไปเกาะติดที่ปลายจมูกทันทีเพื่อที่จะรู้ลมกระทบที่นั้น

อาการที่จิตรู้วิ่งไปเกาะติดที่ปลายจมูกนี้ นี่คือสภาวะแห่ง .จิตไม่ตั้งมั่น. เพราะมันไหล มันวิ่งออกจากฐานของจิตไปเกาะติดที่ปลายจมูกนั้นเอง


ในทำนองเดียวกัน เมื่อท่านเดินจงกรม ท่านต้องการรู้การกระทบที่เท้า ท่านก็มีตัณหามีความอยากจะรู้ จิตก็จะถูกตัณหานั้นดึงไปเกาะที่เท้าอีก นี่ก็คือจิตไม่ตั้งมั่นอีก ที่วิ่งจากฐานแล้วไปเกาะที่เท้า

สรุปก็คือว่า เมื่อเกิดความอยากรู้เกิดขึ้น ซึ่งก็คือตัณหา จิตจะถูกตัณหานั้นดึงไปยังแห่งที่ท่านต้องการอยากจะรู้ เช่น ท่านอยากรู้ที่ปลายจมูก จิตก็จะวิ่งไปที่นั่น ถ้าท่านอยากรู้ที่เท้า จิตก็จะวิ่งไปที่นั้น ถ้าท่านอยากรู้ที่ท้อง จิตก็จะวิ่งไปที่นั้น ถ้าท่านอยากรู้ทีมือ จิตก็จะวิ่งไปที่นั้น
ซึ่งทั้งหมดคืออาการที่จิตไม่ตั้งมั่นทั้งสิ้น

ในพระไตรปิฏก สมาธิสูตร พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนไว้ว่า
..ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเจริญสมาธิเถิด เมื่อจิตตั้งมั่น เธอจักเห็นธรรมตามความเป็นจริง..

ท่านอ่านคำสอนของพระพุทธองค์แล้วท่านมองออกไหมครับว่า ความอยากคือตัณหา ทำให้จิตไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็ไม่อาจเห็นธรรมตามความเป็นจริงได้เลย

และในอริยสัจจ์ข้อที่ 2 พระพุทธองค์ยังสอนว่า เหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา ท่านสอนให้ละเสีย
แต่ถ้าท่านมีความอยากรู้ ท่านไม่ได้ละตัณหาตามคำสอน แต่ท่านกลับเดินสวนคำสอนโดยการให้มีตัณหาแทน

มันเป็นซะอย่างนี้ ท่านเห็นไหมครับ

ทีนี้กลับดูกฏข้อที่ 3 ที่ผมนำเสนอ เมื่อท่านไม่มีความอยากรู้ ตัณหามันก็ไม่มี เมื่อตัณหามันไม่มี
ก็ไม่มีอะไรดึงจิตให้วิ่งออกจากฐานไป เมื่อจิตไม่ได้วิ่งออกจากฐานไป จิตก็อยู่ในฐาน เมื่อจิตอยู่ในฐานได้เสมอ ๆ นี่คืออาการของจิตตั้งมั่น ซึ่งตรงตามคำสอนเปะกับบรมครูเช่นพระพุทธเจ้า

เมื่อท่านอยู่ในกฏข้อที่ 1 คือ เพียงรู้สึกตัว และอยู่ในกฏข้อที่ 2 คือ เฉย ๆ ผ่อนคลาย สบาย ๆ ไม่เครียด ไม่เกร็ง ท่านอยู่เพียง 2 ข้อเท่านั้น จิตท่านก็มีความสามารถในการรับรู้ได้เองแล้ว ส่วนกฏข้อที่ 3 นั้น ผมเพียงย้ำว่า ท่านอย่าได้สร้างตัณหาขึ้นในจิตใจ ก็เท่านั้น

เมื่อท่านฝึกฝนโดยการอยู่ในกฏ 3 ข้อเนื่อง ๆ จิตท่านจะคุ้นเคยกับอาการอย่างนี้มากขึ้น ซึ่งก็คือจิตจะค่อย ๆตั้งมั่นมากขึ้นทีละน้อย ทีละน้อย อย่างช้า ๆ และเมื่อท่านคุ้นเคยกับอาการนี้อย่างที่สุดแล้ว จิตก็จะตั้งมั่นอย่างที่สุด แล้วเมื่อนั้น จิตก็จะพบเห็นธรรมตามความเป็นจริง

ซึ่งในพระพุทธศาสนานั้น ธรรมตามความเป็นจริงนั้น จะมีว่า

ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นไตรลักษณ์ เป็นอนัตตา มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
สรรสิ่งเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับ สิ่งนั้นก็ดับ

ผมขยายความแล้ว ท่านคงมองภาพได้ชัดขึ้นครับ



Create Date : 16 มกราคม 2554
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:09:03 น. 7 comments
Counter : 1122 Pageviews.

 
สาธุ สาธุ สาธุ



โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 16 มกราคม 2554 เวลา:10:06:38 น.  

 
ตัณหา เป็นกาวตราช้าง

แหะ คิดได้ไงเนี่ย

ต้องเอาทินเนอร์พระธรรมล้างออก

ซะแล้ว


โดย: Mr.Chanpanakrit วันที่: 16 มกราคม 2554 เวลา:10:12:23 น.  

 
พอเข้าใจแล้วครับ
ขอบคุณอาจารย์มากครับ


โดย: คนใหม่ IP: 117.47.148.146 วันที่: 16 มกราคม 2554 เวลา:17:11:22 น.  

 
สาธุครับ

ผมเวลาปฎิบัติถ้าเริ่มปฎิบัติด้วยความอยากปฎิบัติ อยากดี ทำอย่างไรก็ไม่สงบ ฟุ้งซ่านตลอด ก็ใจแข็งแค่รู้ว่าฟุ้งซ่านแล้วก็ปฎิบัติต่อไป

มีอยู่วันนึงอ่านของคุณมนสิการแล้วลองทำมีความอยากไม่อยากรู้อะไรด้วย ตลกดี ผมว่ามือใหม่หลายคนต้องมีความรู้สึกแบบนี้แน่


โดย: ภัท IP: 58.136.65.96 วันที่: 16 มกราคม 2554 เวลา:18:38:13 น.  

 
สาธุค่ะ

อ่านแล้วทำให้เข้าใจการปฏิบัติมากขึ้น ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ


โดย: bugleg IP: 124.121.114.185 วันที่: 16 มกราคม 2554 เวลา:20:06:40 น.  

 
ขอบพระคุณเจ้าค่ะ


โดย: บนเส้นทางกลับบ้าน IP: 118.175.86.113 วันที่: 17 มกราคม 2554 เวลา:17:16:06 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:15:24:05 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.