รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2557
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
2 มิถุนายน 2557
 
All Blogs
 

กลไกการทำงานของ จิตทีอิสระ

บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัว ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปเหมือนใคร ท่านทีศรัทธาใคร ศรัทธาในตำราเล่มใด ถ้าบทความนี้เกิดไม่สอดคล้องด้วย ก็ดำเนินไปตามทางของแต่ละท่านเถิด


แนะนำให้อ่านเรือง ความเป็นอิสระของจิต ก่อนทีจะอ่านเรื่องนี้ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=28-03-2011&group=13&gblog=83

ในหัวใจของนักภาวนาในพุทธศาสนา ต่างตั้งความคาดหวังถีง มรรคผลนิพพาน แต่เป็นทีน่าเสียใจเป็อยางยิ่งว่า สภาวะแท้ของนิพพาน นั้น ไม่มีการกล่าวไว้ในพระไตรปิฏกว่ามีสภาวะอย่างไร
มีเพียงกล่างเชิงเปรียบเทียบว่า สิ่งเหล่านี่ไม่มีในนิพพาน และกล่าวว่า นิพพานไม่ใช่อย่างนี้ แต่นิพพานจริงๆ เป็นอย่างไร มีเพียงกล่าวว่า อธิบายให้เข้าใจไม่ได้ เป็นการรู้ทีเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะคนทีได้นิพพานแล้วเท่านั้น

ถ้านักภาวนาจะเปลี่ยนความคาดหวังเสียใหม่ในการภาวนา ให้เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ เช่น การสิ้นไปของตัณหา หรือ การสิ้นไปของกองทุกข์ หรือ จิตเป็นอิสระ หรือ จิตทีไม่ทุกข์ เป็นต้น จะทำให้นักภาวนาพอจะเข้าใจในความคาดหวังในการภาวนาว่า จะไปถีงจริงๆ ได้แล้วหรือยัง และยังเป็นความเข้าใจในการภาวนาของนักภาวนาเองอีกด้วย

ก่อนอื่น ผมขอทำความเข้าใจในเรื่องคำว่า ไม่มีกิเลส ก่อน มิฉะนั้น ถ้าท่านไม่เข้าใจในจุดนี้ จะทำให้ท่านสับสนได้

สมมุติว่า ท่านอยู่ในห้อง ๆ หนี่งทีปิดสนิทด้วยกระจกรอบด้าน ท่านนั่งอยู่ในห้องนี้ด้วยอาการทีสบาย ๆ เนื่องจากห้องเป็นห้องกระจก ท่านสามารถเห็นสิ่งต่างๆ รอบห้องได้ ต่อมา ได้เกิดฝนตกแรงมากทีข้างนอก ท่านเห็นได้ว่ามีฝนตก อยู่ข้างนอก แต่ตัวท่านไม่เปียกน้ำฝนเลย เพราะท่านอยู่ในห้องกระจก ในสภาพแบบนี้ จะเรียกว่า ไม่มีฝนตก เพราะท่านไม่เปียกน้ำฝน
อ่านแล้วทะเม่งทะแม่งไหมครับ

ในพุทธศาสนา มีการพูดถีงกิเลสมากมายว่า กิเลสมันเลวอย่างโน้น เลวอย่างนี้ จิตอย่าให้มีกิเลสนะ ซึ่งคำว่า จิตอย่าให้มีกิเลส ท่านต้องเข้าใจให้ดีว่า มันจะหมายถีง ฝนตก แต่ตัวท่านไม่เปียก เพราะท่านอยู่ในห้องกระจก แต่ถ้าพูดกันในเชิงภาษาไทย จะเป็นว่า ฝนนะตกนะ แต่ไม่เปียก เพราะตัวไม่ได้ไปสัมผัสน้ำฝน

เช่นเดียวกัน กิเลสนะมีนะ แต่ทีบอกว่า ไม่มีกิเลส คือ จิตไม่ไปจับยีดกับกิเลสทีเกิดขึ้น
ซึ่งการอธิบายนี้ ผมเชื่อว่า นักอ่านตำราหรือนักฟังธรรมจะแย้งคอเป็นเอ็น เอาเป็นว่า ไม่ต้องเชื่อผม ขอให้ท่านภาวนาต่อไป เมื่อจิตท่านตั้งมั่นเมื่อไร ท่านค่อยมาตัดสินใจใหม่ในตอนนั้นก็ยังไม่สายไป แต่ถ้าท่านภาวนาไป แล้วพบว่า กิเลสไม่เห็นจะหมดไปได้เลย ท่านจะเป็นทุกข์เพราะความเชื่อของท่าน ท่านก็สมควรจะมาใคร่ครวญในความเชื่อของท่านใหม่ก็ได้เช่นกัน

ผมจะะอธิบาย สภาพของความเป็นอิสระของจิต ให้ท่านเพิ่มเติมด้วยรูปภาพข้างล่างนี้

สภาพทีจิตเป็นอิสระ จะเกิดเพราะ จิตไม่มีตัณหา เมื่อจิตไม่มีตัณหาเสียแล้ว จิตจะไม่มีการเคลื่อนตัว (ภาษาพระจะพูดว่า จิตไม่แล่นไป )หรือจะพูดว่า จิตได้ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ก็ได้เช่นกัน

ในสภาวะแห่งจิตทีเป็นอิสระ ปลอดจากอวิชชา จิตจะมีสภาวะแห่งการรู้ทีกระจาย รู้สิ่งต่างๆ ได้ทั่ว ๆ หลาย ๆ อย่าง ของกาย ของใจ กล่าวคือ
รู้ว่า ตามีการมองเห็น
รู้ว่า หูได้ยินเสียง
รู้ว่า จมูกได้กลิ่น
รู้ว่า ลิ้นได้รับรส
รู้ว่า มีอาการทางกาย
รุ้ว่า มีอาการทางใจ

ถ้าถามว่า รู้อยู่ทีไหน ไม่อาจตอบได้ เพราะรู้ไม่มีทีตั้งทีแน่นอนว่าอยู่ทีใด เพียงรู้ว่า มีการรู้อยู่

ตา หู จมูก ลิ้น ต่างก็เป็นอายตนะทีทำงานตามหน้าทีของเขาไป ไม่มีอะไรพิศดาร

แต่สิ่งทีน่าสนใจ คือ การรู้ความรู้สีก (ในภาพ คือ สี่เหลื่ยม A)
และ สี่เหลืยม B ทีเป็นการนีกคิด และ ปรุงแต่ง

ในสภาวะแห่งจิตทีอิสระ เมื่อ ไม่มีการนีกคิด ไม่มีการปรุงแต่ง (สี่เหลื่ยม B)
จะพบว่า จิตไปรับรู้ความรู้สีกทีเป็นสี่เหลี่ยม A ได้ ซี่ง สี่เหลี่ยม A จะประกอบด้วย
ความรู้สีกทีเกิดขี้นทีกาย เช่นการสัมผัสต่างๆ ของผิวหนัง อาการต่าง ๆ ของกาย
เช่นการรู้สีกร้อน เย็น สั่นไหว และ ความรู้สีกของใจ ที เฉยๆ สบาย ๆ อยู่

แต่ถ้าเมื่อไร ทีสี่เหลี่ยม B มีการนีกคิด ปรุงแต่ง จะเกิดสภาวะธรรมที่สีเหลี่ยม B ขึ้นมา
แล้วจิตจะไปรับรู้การนีกคิด ปรุงแต่ง ทีเกิดขึ้นทีสี่เหลี่ยม B พอเหตุและปัจจัยหมดลงไป
การนีกคิด ปรุงแต่งใน สี่เหลี่ยม B จะหายไป และจิตไม่ไปจับยีดอาการของสี่เหลี่ยม B จิตก็จะไปรับรู้ความรู้สีกทีสี่เหลี่ยม A ต่อไปอีก
วนเวียนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ

การเกิดการนีกคิด ปรุงแต่งในสี่เหลี่ยม B นีแหละ ถ้าในภาษาไทยจะบอกว่า มีกิเลส แต่
ในการภาวนาจะว่า ไม่มีกิเลส เพราะจิตทีเป็นอิสระนั้น ไม่กินการปรุงแต่งนั้นเข้าไปนั่นเอง ซี่งตรงนี้ ถ้าท่านไม่เข้าใจ ขอให้ย้อนกลับไปอ่านเรื่องฝนตก ทีข้างบนอีกครั้งหนี่ง
ซึ่งครูบาอาจารย์บางท่านจะเรียกอาการนี้ว่า ธรรมชาติ ไม่เรียกว่า กิเลส

ถ้าท่านเพียงหมั่นฝีกฝนไป ไม่ว่าในรูปแบบ หรือ ในชีวิตประจำวัน
ถ้าท่านฝีกฝนไป แล้วท่านพบว่า ตาเห็นได้อยู่ หูได้ยินได้อยู่ กายรู้สัมผัสได้อยู่ จิตใจมีนีกคิด ปรุงแต่ง รู้ได้อยู่ แล้วละก็ ขอให้ท่านเข้าใจไว้ครับว่า นั่นแหละครับ สิ่งทีเป็นจิตอิสระกำลังแสดงสภาวะให้ท่านได้สัมผัสแล้ว แต่ถ้าท่าน มีการนีกคิด ปรุงแต่งเกิดขึ้น แล้วจิตไปกินเข้าไป ก็แสดงว่า ตอนนั้น จิตของท่านไม่เป็นอิสระแล้ว จิตกำลังถูกกิเลสเล่นงานเข้าแล้ว

เพียงท่านหมั่นฝีกฝนไปเรื่อยๆ เช่นนี้เสมอ ๆ กำลังสัมมาสมาธิจะตั้งมั่นมากขึ้น แล้วเมื่อนั้น จิตทีเคยพ่ายแพ้ต่อกิเลสก็จะมีกำลัง ต้านทานกิเลสทีเกิดขึ้นในจิตของท่านได้มากขึ้นไปเรื่อยๆ จนจิตมีกำลังตั้งมั่นมาก ๆ จิตท่านก็จะเป็นอิสระอย่างแท้จริง ถีงกิเลสเกิดขึ้น แต่จิตท่านเป็นอิสระแล้ว จิตจะไม่กินมันเข้าไปอีก

นี่เป็นสิ่งสำคัญในการเข้าถีงแห่งองค์มรรค เพื่อความไม่ทุกข์ เพื่อความเป็นอิสระของจิต เพียงท่านฝีกฝนให้ถูกต้อง ให้เวลากับตนเอง ให้จิตได้สัมผัสความเป็นอิสระเสมอ ๆ จนเกิดจิตตั้งมั่นขึ้นมาได้ ท่านก็พบกับสภาวะแห่งจิตอิสระได้จริงๆ ต่อไป

การฝีกฝนทางแห่งองค์มรรค ต้องใช้หลักการของสติปัฏฐาน 4 ทีมีอริยสัจจ์ 4 เป็นแก่นนำ
ทีว่า ให้รู้ทุกข์ด้วยการละตัณหา จักทำนิโรธให้แจ้งได้

การฝีกฝนใด ๆ ทีไม่สอดคล้องกับอริยสัจจ์ 4 ทีใช้ตัณหาเป็นการนำ ไม่มีทางนำพาให้ท่านพบกับนิโรธได้เลย




 

Create Date : 02 มิถุนายน 2557
0 comments
Last Update : 2 มิถุนายน 2557 14:51:40 น.
Counter : 2451 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.