รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2559
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
15 มีนาคม 2559
 
All Blogs
 

เห็น ความคิด ตลอดเวลา จะทำอย่างไร

ก่อนทีจะอ่านต่อไป ขอให้ทำความเข้าใจกับคำว่า ความคิด กันก่อน
มิฉะนั้น จะเข้าใจไม่ตรงกัน แล้วจะทำให้เกิดการไขว่าเขว

ถ้าเป็นคนไทยทั่ว ๆ จะเข้าใจว่า ความคิด คือ การทีตัวเราคิดเรื่องโน้น เรื่องนี้ จะเป็นเรื่องดีบ้าง เลวบ้าง ไม่ดีไม่เลวบ้าง ก็ได้ นีคือ คนไทยเข้าใจกัน

แต่ในการภาวนานั้น คำว่า ความคิด มันจะกว้างกว่าทีคนไทยทั่วไปเข้าใจกัน
แต่เนื่องจากไม่มีการบัญญัติไว้เป็นทางการจากหน่วยงานด้านศาสนาของไทย
ผมจึงขอบัญญัติเอง ตามความเข้าใจของผม ดังนี้


ชนิดของความคิด มีอะไรบ้าง
หมายเหตุ อย่าลืมนี้ นี่คือ สิ่งทีผมตั้งขึ้นมาเอง ไม่มีอยุ่ในตำราแต่อย่างใด

ประเภทที 1....ความคิด คือ คำทีคนไทยเข้าใจกันทั่วไป เป็นการคิดทีเกิดขึ้นในตัวเรา อาจเป็นเรื่องดี เรื่องไม่ดี หรือ เรื่องกลางๆ ทีไม่ใช่เรื่องดีหรือไม่ดี

ประเภทที 2.... ความคิด คือ ความตั้งใจทีจะกระทำ เช่น เห็นสุนัขกำลังรุมกัดเด็ก เด็กไม่มีทางหนี ท่านเห็น ท่านก็รีบเข้าไปช่วยเด็กโดยการใช้ไม้ฟาดไปทีฝูงสุนัขทีกำลังบ้าคลั่งนั้นอยู่

ประเภทที 3... ความคิด คือ ก้อนพลังงานทีเกิดจากจิตพลังงานทีดีงจิตผู้รู้ให้เคลื่อนออกจากฐานของจิต การเคลื่อนนี้ จะมี 2 ระดับ คือ ระดับเล็กน้อย จิตผู้รู้ถูกเคลื่อนไปแล้วค้างอยุ่ทีใบหน้า ระดับที 2 จิตผู้รู้ถูกเคลื่อนไปแล้วออกไปทางอายตนะต่างๆ เช่น ออกไปทางตา ออกไปทางหู ออกไปทาง มโนทวาร เป็นต้น

มาดูวิธีการปฏิบัติ เมื่อพบกับความคิดแต่ละชนิดกัน

******การจัดการกับความคิดประเภทที่ 1

ความคิดประเภทที่ 1 ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น ความคิดทีไร้สติสัมปชัญญะ และ ความคิดทีมีสติสัมปชัญญะ

**ความคิดท่ไร้สติสัมปชัญญะ เช่น คนทีคิดฟุ่งซ่าน คิดโน้น คิดนี่ หยุดไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น คนทีกำลังอกหัก ทุกข์ใจแสนสาหัสกับความรัก แต่ก็หยุดคิดไม่ได้
การจัดการกับความคิดแบบนี้ ไม่สามารถจัดการได้ในเวลาอันสั้น แต่ต้องปล่อยให้กาลเวลารักษาตัวเอง ให้ความคิดฟุ่งซ่านสลายไปก่อน หรือ อ่อนตัวไปก่อน หลังจากนั้น ให้ไปฝีกฝนการสร้างสติสัมปชัญญะให้แข็งแกร่งขึ้น

***ความคิดทีมีสติสัมปชัญญะ
ความคิดประเภทนี้ ยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้ คือ

ชนิดที 1 ...นักภาวนามองไม่เห็นความคิด แต่ถ้าต้องการหยุด ก็หยุดความคิดได้ เพราะสติสัมชัญญะยังมีอยู่
ถ้าความคิดแบบนี้ ก็เพียงหยุดคิด ความคิดก็หยุดไปเอง เมื่อคิดใหม่ ความคิดก็มาใหม่
ความคิดแบบนี้ ไม่ต้องทำอะไร เพราะทำอะไรไม่ได้ เพียงแต่คิดและหยุดคิดเท่านั้น

ชนิดที 2....นักภาวนามองเห็นความคิดได้ การมองเห็นความคิดได้นี่ จะเห็นความคิดในรูปปรมัตถ์ กล่าวคือ เห็นเป็นก้อนพลังงานเคลื่อนอยู่แถวศรีษะ
ความคิดแบบนี้ บางครั้งนักภาวนาก็หยุดไม่ได้ บางครั้งก็หยุดความคิดได้
แต่ถีงจะหยุดได้หรือไม่ได้ ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะตอนนั้น นักภาวนามีสติสัมปชัญญะอยู่แล้ว ถ้าจะปล่อยให้ความคิดดำเนินไป ก็ทำได้ คือ ปล่อยไปเรื่อยๆ นักภาวนาเพียงเฝ้าสังเกตความคิดต่อไปเท่านั้น

แต่ถ้านักภาวนาต้องการจะหยุดความคิด เพียงให้สนใจรู้กายให้มากขึ้นความคิดก็จะหยุดลงไปเอง

******การจัดการกับความคิดประเภทที่ 2
ความคิดทีเป็นการจงใจในการกระทำ
คนส่วนมาก ไม่เข้าใจกับเรื่องนี้ เพราะคนทั่วไปมองไม่เห็นปรมัตถ์ธรรมของความคิดประ่เทภนี้

เพียงคนมีความจงใจในการกระทำ จิตผู้รู้จะมีพลังงานครอบงำทันที ทำให้จิตผู้รู้เป็นก้อน เป็นดวง นีคือความคิดทีเกิดขึ้น

คนทีไม่รู้จักความคิดประเภทนี้ ตำราเรียกว่า อวิชชา
จิตผู้รู้ทีถูกความจงใจครอบงำ ตำราเรียกว่า สังขาร ในปฏิจสมุปบาท

การจัดการกับความคิดประเภทนี้ นักภาวนาต้องมีปัญญาญาณ มองเห็น สังขารตัวนี้ได้ก่อน พอมองเห็นได้แล้ว ก็จะรู้ว่า การจงใจกระทำของคนเรานี่เองทำให้มีความคิดอย่างนี้เกิดขึ้น

วิธีสลายความคิดนี้ คือ ต้องมีปัญญาญาณ แล้วความคิดประเภทนี้จะเห็นเป็นไตรลักษณ์ เกิดดับไปตามเหตุและปัจจัย

******การจัดการกับความคิดประเภทที่ 3
จิตผู้รู้เคลื่อนออกจากฐานของจิตโดยถูกจิตพลังงานดีงให้เคลื่อนออกไป

คนทั่วไป ก็ไม่รู้จักความคิดประเภทนี้ เพราะเขามองไม่เห็น
แต่นักภาวนาทีภาวนามาพอสมควร และ มีสติสัมปชัญญะพอสมควร จะสังเกตเห็นได้
ว่า เขารู้สีกได้ว่า แถว ๆ หน้าผากมีก้อนอะไรหน่วง ๆ ปรากฏอยู่เสมอ
ก้อนอะไรหน่วย ๆ นี่แหละ คือ ความคิดของประเภทนี้ทียังไม่คลื่นออกไปยังอายตนะ แต่ก็พร้อมจะเคลื่อนไปยังอายตนะทันที ถ้ามีผัสสะเข้ามาทางอายตนะ

พลังงานหน่วง ๆ นี้ ถ้าค้างอยู่นาน บางคนประสาทไว จะรู้สีกหนัก ๆ ทีหัว
แต่บางคนก็รู้สีกไม่ได้ คนทีรู้สีกไม่ได้ มักไม่เข้าใจก้อนพลังงานนี้

การจัดการกับความคิดแบบนี้ ให้รู้สีกลงไปทีกายอย่างทั่ว ๆ รู้สีกลงไปหนัก ๆ ทีกาย
ก้อนพลังงานนี้ จะสลายตัวจางลงไปเอง แต่ก้อนพลังงานพร้อมจะเกิดใหม่ได้เสมออีก ไม่หายไปง่าย ๆ ดังนั้น จึงต้องสลายก้อนพลังงานด้วยการรู้กายไปทุกครั้ง ทีก้อนพลังงานนี้โผล่ขึ้นมา






 

Create Date : 15 มีนาคม 2559
0 comments
Last Update : 15 มีนาคม 2559 9:21:48 น.
Counter : 2432 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.