รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
19 เมษายน 2554
 
All Blogs
 

ธรรมสิ่งที่ใกล้ตัว

เมื่อท่านฝึกฝนการลูบแขนด้วยกฏ 3 ข้อที่ผมได้เสนอไปแล้วนั้น ท่านเคยสังเกตใหมครับว่า

1..เมื่อท่านลูบ มีความรู้สึกที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการลูบนั้น นี่คือ สัมผัส หรือ ภาษาพระเรียกว่า ผัสสะ

2..แต่เมื่อท่านหยุดลูบ ความรู้สึกในข้อ 1 นั้นจะหายไป ถ้าท่านไม่ไปติดใจ ไม่ไปคิดถึงมัน

ทั้งข้อ 1 และ 2 นี่แหละคือธรรม

ท่านอาจเข้าใจว่าธรรมนี่แหละลึกซึ้ง แต่ทำไมสิ่งที่ผมเขียนในข้อ 1 และ 2 นี่มันช่างธรรมดาเหลือเกิน ไม่เห็นลึกซึ้งตรงไหน

ผมจะชี้ให้ท่านเห็นครับ...

ความลึกซึ้งหรือธรรมดานั้น มันขึ้นอยู่กับว่า มันเข้าไปลึกแค่ไหนในจิตใจ ทั้ง ๆที่สิ่งที่ได้รับมันเหมือนกัน

เด็กที่เขามีพ่อแม่ เขาจะรู้สึกว่า พ่อแม่นี่คือธรรมดาที่สุด ไม่เห็นมีอะไรพิเศษ
แต่เด็กที่กำพร้าพ่อแม่ เขาจะรู้สึกว่า พ่อแม่นี่คือสิ่งที่พิเศษที่สุด
นี่เพราะการเข้าไปในจิตใจของเด็กทั้ง 2 ประเภทนี้ต่างกัน

คนส่วนมาก เขาก็รู้จักข้อ 1 และ 2 กันทั้งนั้น แต่มันไม่ลึกซึ้ง เพราะจิตเขาไม่ได้สัมผัสมันอย่างจริงจัง วัน ๆ คนส่วนมากจะหลุมหลงอยู่กับโมหะ อยูุ่กับความคิดในเรื่องราวต่างๆ ซึ่งโมหะและความคิดนี้แหละที่เป็นตัวกั้นไม่ให้จิตไปสัมผัสความลึกซึ้งของข้อ 1 และ 2 ข้างต้น

เมื่อผมแนะนำท่านให้รู้จักกับฏก 3 ข้อที่ใช้ในการฝึกฝนเพื่อการรู้กาย นั้นผมกำลังแนะนำให้ท่านให้สัมผัสกับข้อ 1 และ 2 ด้วยจิตของท่านโดยตรง เมื่อจิตมีการสัมผัสข้อ 1 และ 2 บ่อย ๆ ผลที่ตามมาคือความตั้งมั่นแห่งสัมมาสมาธิและจะนำไปสู่ปัญญาให้แก่จิตให้เห็นข้อ 1 และ 2 อย่างลึกซึ้ง ด้วยการเข้าใจไตรลักษณ์แห่งผัสสะ การไม่ยึดติดด้วยจิตเพราะท่านกำลังดำเนินด้วยกฏ 3 ข้ออยู่ ซึ่งไม่ใช่การคาดคิดเอาเอง เมื่อจิตสัมผัสความลึกซึ้งและเปล่งความรู้ความเข้าใจออกมาได้เองเมื่อไร นั้นแหละคือผลแห่งการปฏิบัติธรรมที่เป็นปัญญาของจิต

ไม่มีใครชี้ให้จิตของท่านเห็นปัญญานี้ได้ นอกจากเขาจะเห็นเอง เข้าใจเอง อันเป็นปัจจัตตัง

เมื่อจิตเข้าใจเรื่องไตรลักษณ์อย่างลึกซึ้ง จิตเห็นการยึดติดเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดทุกข์ จิตจะปฏิวัติตนเองให้เกิดการปล่อยวางขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การจะเกิดปรากฏการณ์นี้ได้ จิตจำต้องมีสัมมาสมาธิอันเป็นกำลังและความตั้งมั่นด้วย ซึ่งทั้งหมดก็มาจากการฝึกฝนด้วยคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา

การปฏิวัติตัวของตัวจิตนี้แหละคือผลของของการเห็นความลึกซึ้งของจิตที่เป็นปัญญาอย่างแท้จริง

****
เรื่องท้ายบท
ในพระไตรปิฏก มีการเขียนถึงพระรูปหนึ่งที่มีปัญญาทึบ พระรุ่นพี่สอนอย่างไรก็ปฏิบัติไม่ได้
พระพุทธองค์ทรงสอนให้เขาลูบผ้าขาวและบริกรรมไปด้วย จนจิตของพระรูปนี้เข้าใจถึงไตรลักษณ์อย่างแท้จริง ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

****
ในอนัตตลักขณะสูตร ได้กล่าวถึงปัจจวัคคีย์ที่สำเร็จพระอรหันต์ด้วยการเห็นหลักธรรมแห่งอนัตตาเช่นกัน

****
ทุกท่านมีสิทธินี้เช่นกัน เพียงอย่าเดินนอกคำสอนของพระพุทธองค์ในสติปัฏฐานสูตร อาตาปี สัมปชาโน สติมา




 

Create Date : 19 เมษายน 2554
23 comments
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:05:04 น.
Counter : 1399 Pageviews.

 

อนุโมทนาสาธุครับ

 

โดย: ลุง 'บุรีราช' IP: 125.27.180.110 19 เมษายน 2554 15:54:59 น.  

 

อนุโมทนาสาธุครับ ความรู้สึกตอนที่ลูบแขนนั้น นามรูปในปัจจุบันขณะเกิดขึ้นอยู่ ( รูปคือแขนคือกาย เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) ความดับพร้อมก็ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันขณะนั้นด้วยเมื่อหยุดลูบแขน (ความรู้สึกในขณะลูบแขนก็ดับหรือปรากฏว่าหายไป) ผมก็เข้าใจความไม่ใช่ตัวตน(ไม่มีตัวตนใดๆนอกจากปัจจัยคือนามรูปและวิญญาณมาประชุมกันชั่วขณะเท่านั้น) ด้วยนัยยะอย่างเช่นนี้ ท่าน มนสิการสอนถูกต้องแล้ว ขอบคุณมากครับที่เผยแผ่ธรรมมะที่มีประโยชน์จริงๆ

 

โดย: shadee829 19 เมษายน 2554 18:40:19 น.  

 

สาธุะคะ เกือบ 4 เดือนแล้วที่ได้มาพบแนวปฏิบัติที่ง่ายๆจากท่านนมสิการ ด้วยการลูบแขน และขยับนิ้วชี้ ..ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา เหมือนไม่ลึกซึ้งแต่ลึกซึ้งมากคะ อนุโมทนาสาธุคะ..

 

โดย: Nim IP: 124.121.64.125 19 เมษายน 2554 22:14:47 น.  

 

เมื่อจิตพบภาวะอันไม่น่าพึงปรารถนามาก ๆและเป็นระยะเวลานาน ๆแล้ว เกิดปัญญาบ่อยๆ ในการที่จะต้อง
การจะพ้นจากภาวะนั้น ๆ
ขอถามว่า(ในข้อเป็นอนัตตานั้นเข้าใจแล้วครับ) แต่จะทำอย่างไร หรืออุบายใดให้เขาคอยมีสติกระตุ้นให้มีการฝึกการรู้กายได้โดยไม่จดจ่อ(เอกัคคตา)กับการทำงานเพียงอย่างเดียว หรือเป็นภาวะที่หลงลืมสติครับ
ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลเจตนาของท่านครับ

 

โดย: ลุง 'บุรีราช' IP: 125.25.120.126 21 เมษายน 2554 6:48:11 น.  

 

การหมั่นฝึกฝนด้วยสิ่งที่ถูกต้อง จะเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การมีสติที่ต่อเนื่องครับ ซึ่งเรื่องนี้ จะเปรียบได้เหมือนกับฝึกเด็กน้อยให้เดิน ใหม่ๆ เด็กจะเดินไม่เป็น เราก็ต้องประคองเด็กไว้ก่อน แล้วสอนให้เขาหัดเดิน พอเดินไปได้หน่อย เด็กจะล้ม เพราะกำลังและความคุ้นเคยในการเดินของเขายังไม่ดีพอ แต่พอฝึกเขาเดินไปบ่อย ๆ เขาจะคุ้นเคยแล้วก็จะเดินได้ในที่สุด

ในการฝึกฝนให้สติก็เช่นกัน เราต้องเน้นความถูกต้องคือ
**เริ่มด้วยการมีความรู้สึกตัว**
**จิตใจอย่าให้มีความอยากรู้**
แล้วก็ฝึกไปด้วยอาการอย่างนี้ ใหม่ๆ ให้ทำช้า ๆ เช่น สมมุติว่า เราจะฝึกเปิดหน้าหนังสือไปทีละหน้า แต่ไม่ต้องอ่านในตัวหนังสือ เราก็หาหนังสือมาเล่้มหนึ่ง จะหนาจะ้บางก็ได้ แล้วก็เปิดไปช้า ๆ ที่ละหน้า ในขณะที่เปิดพลิกหน้า เราต้องหัดประคองให้มีความรู้สึกตัวเข้าไว้ การเปิดช้า ๆ ทีละหน้าจะทำให้เราไม่เผลอง่าย ถ้ามีความคิดโผล่แว๊บเข้ามา ก็ปัดมันทิ้งไป แล้วก็กลับมารู้สึกตัวใหม่ เปิดหนังสือไปช้า ๆ ต่อไป
(ในการฝึก จะหาพัดลมมาช่วยก็ได้ เปิดพัดลมให้ส่ายไปมา เพื่อให้ลมมาโดนกายบ้าง ไม่โดนกายบ้าง จะช่วยกระตุ้นความรู้สึกตัวได้ดีขึ้น )

การทำกิจวัตรประจำวันในบ้านอื่ีน ๆ ก็เช่นกัน เช่น จะเดินไปห้องน้ำ เราก็เดินช้าลงกว่าเดิมเล็กน้อย พร้อมกับประคองความรู้สึกตัวไปในขณะเดินด้วย

เวลาอาบน้ำ เราก็อาบช้าลงเล็กน้อย ค่อย ๆ ลูบไล้ร่างกายด้วยสบู่ แต่ให้รู้สึกตัวไปด้วย และอื่น ๆ

เวลารับประทานอาหาร ก็ช้าลงเล็กน้อย

การหมั่นฝึกฝนด้วยการทำอะไรก็ตามที่*ช้าลงกว่าเดิมเล็กน้อย*และประคองความรู้สึกตัวไว้ ฝึกอย่างนี้บ่อย ๆ อาศัยความอดทนมาก ๆ ในการฝึก แล้วนิสัยการรู้สึกตัวจะค่อย ๆ พอกเพิ่มขึ้นเองไปทีละนิด ทีละนิด อย่างช้า ๆ ผมยืนยันได้ว่า ช้ามาก ๆ อาจเป็น 1 ปีขึ้นไป พอความรู้สึกตัวเริ่มเคยชินกับเราแล้ว ต่อไปมันจะเร็วขึ้น คือ รู้สึกตัวได้ต่อเนื่องได้มากขึ้น อาการเผลอก็จะน้อยลงไปเอง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้่น ต้องเน้นที่ทำอะไรทุกอย่างให้ประคองความรู้สึกตัวเข้าไว้ ประคองแบบสบาย ๆ อย่างเกร็ง ไม่ต้องพะวงเรื่องสมถะหรือวิปัสสนาในระยะนี้ ฝึกพอกพูลเรื่องความรู้สึกตัวไว้ก่อน พอความรู้สึกตัวมันสะสมมากเข้า ผลก็คือ จิตรู้จะเด่นออกมา ตอนนั้น วิปัสสนาจะเกิดตามมาอีกทีหนึ่ง

เน้นจุดที่สำคัญมาก ๆ ในการฝึก
*รู้สึกตัว*
*อย่าอยากรู้อะไร แค่เฉยๆ ก็พอ ฝึกไปช้า ๆ สบาย ๆ *
*ไม่ต้องไปสนใจ สมถะหรือวิปัสสนา สนใจแต่ให้รู้สึกตัว สบาย ๆ *

 

โดย: นมสิการ 21 เมษายน 2554 8:52:35 น.  

 

ขอบคุณท่านมากครับ

 

โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.205.165.58 21 เมษายน 2554 9:03:33 น.  

 

ผมขอเพิ่มเติมสำหรับคำตอบคุณลุง.ราชบุรี. ครับ

สิ่งสำคัญทีสุด คือ ***รู้สึกตัว แล้ว อย่าให้มีความอยากรู้ในสิ่งใด**
แต่ไม่ได้หมายความว่า ห้ามทำอะไรนะครับ ทำได้ จะเดิน จะลูบแขน
จะกำมือ แบมือ จะพลิกหนังสือไปมา จะอาบน้ำ หั่นผัก หรือ อื่น ๆ จิปาถะ
ได้หมด

ผมมีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับคุณลุง เรื่องความรู้สึกตัว ขอให้คุณลุงลองดูครับ
เพื่อให้รู้จักกับความรู้สึกตัวที่จะนำมาใช้ในการฝึกฝน

ขอให้คุณลุงหายใจเข้าไปลึก ๆ ปล่อยออกช้า ๆ คุณลุงสังเกตดูครับว่า ในขณะที่หายใจเข้าอยู่นั้น นั่้นแหละความรู้สึกตัวทีใช้ได้ดีมากสำหรับการฝึกฝนสติปัฏฐาน 4 ขอให้คุณลุงจับความแรงความอ่อนความพอดีของความรู้สึกตัวนี้ไว้ หาจุดให้พบกับความพอดีด้วยการหายใจอย่างที่ผมบอกไว้

แล้วเวลาฝึกฝน ก็ให้รู้สึกตัวแบบนี้นะครับ

 

โดย: นมสิการ 21 เมษายน 2554 9:56:32 น.  

 

แต่ถ้าเกิดกำลังจะเผลอ คุณลุงอาจสังเกตได้ว่าความรู้สึกตัวมันจะเบาลงไป นั่นคือมันอ่อนไป พออ่อนมากก็จะเผลอง่าย แต่ถ้าความรู้สึกตัวมากไป มันก็จะเข้มเกินไป มันจะเครียดครับ ระดับความรู้สึกตัวที่พอดีนี้ อธิบายได้ยากลำบาก ต้องหาเองในแต่ละคน แต่ผมแนะวิธีการหาไว้ โดยการหายใจเข้าลึก ๆ แล้วสังเกตอาการรู้สึกตัวว่าระดับเป็นอย่างไร

ลองดูนะครับ คุณลุง มีอะไรให้ช่วย ถามมาได้เลยครับ

 

โดย: นมสิการ 21 เมษายน 2554 10:22:44 น.  

 

เปรียบได้เหมือนกับฝึกเด็กน้อยให้เดิน ใหม่ๆ เด็กจะเดินไม่เป็น เราก็ต้องประคองเด็กไว้ก่อน
+++++
*ช้าลงกว่าเดิมเล็กน้อย* ในทุกกิจกรรม
+++++
สิ่งสำคัญทีสุด คือ ***รู้สึกตัว แล้ว อย่าให้มีความอยากรู้ในสิ่งใด**
+++++
ทั้งหมดนั้น เป็นสิ่งที่ผมจะต้องปรับปรุงและ ทบทวน ตรวจสอบในแต่ละวัน ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาครับ

 

โดย: ลุง 'บุรีราช' IP: 125.27.176.11 21 เมษายน 2554 16:04:10 น.  

 

1. ขณะนั่งรถเมล์เอานิ้วชี้กับนิ้วโป้งแตะกันตามอาจารย์บอกถ้านึกได้ บางทีก็นั่งเฉย ๆ รถวิ่งไป ตัวโยกไหว ก้ม เงย เหลียวซ้ายขวา ลมพัดโดนกายรู้สึก แล้วแต่จะรู้สึกอะไรที่มากระทบ พยายามให้รู้อยู่กับกายให้มาก (รู้ึสึกอยู่ในกาย) บางทีใจก็ส่งไปทางตาที่มองเห็นสิ่งต่างๆ ที่รถวิ่งผ่าน นึกได้ว่าลืมความรู้สึก ก็กลับมารู้สึกที่กายต่อ ใช้ได้ไม๊คะอาจารย์
2. ลงรถ เดินเข้าที่ทำงาน รู้สึกที่เท้าเดินกระทบพื้น ถึงที่ทำงานเจอเพื่อนทักกัน เอ้าลืมไปแล้วความรู้สึก พอคุยกันปั๊บลืมทันที ถ้าอยู่คนเดียวก็จะระลึกได้ ถ้าอยู่ในสังคมพูดคุยก็จะทำความรู้สึกตัวยาก
3. พอทำงานใจก็จะไปอยู่กับงานข้างนอกกาย กว่าจะนึกได้นานเลย

 

โดย: ธรรมชาติ IP: 203.113.0.206 21 เมษายน 2554 16:56:54 น.  

 

เดี๋ยวนี้เหมือนเป็นคนไม่สำรวม. เวลานั่งก็จะเขย่าขาไปมารู้สึกถึงการสั่นไหวทีืชัดเจนมาก. แต่มันก็ดูไม่งามค่ะ. ทำไงดีคะอาจารย์

 

โดย: จิตติ IP: 115.87.4.198 21 เมษายน 2554 17:20:26 น.  

 

คุณจิตติ

ถ้าเราควบคุมได้อยู่ คือ รู้สึกตัวได้อยู่ ก็ควรควบคุมการสั่่นขาได้ครับ
ถ้าเราติดการสั่นขา นี่แสดงว่า มันหลุดจากการควบคุมไปแล้ว คือ ความเคยชินมันเข้ามาแทนที่ความรู้สึกตัว

แนะนำว่า ให้ฝึกด้วยความรู้สึกตัวแบบใหม่ครับ จะเป็นว่าใช้นิ้วถูกัน แตะกันแทน หรือ อย่างไหนที่ทำแล้วคนอื่นเขาจับไม่ได้ เมื่อความรู้สึกตัวมันเข้ามาควบคุมแทนความเคยชินได้ การสั่นขามันก็จะหยุดไป

ผมเสริมอีกนิด ถ้าเราสั่นขาแล้วเน้นการรับรู้ที่การสั่นไหว นี่เป็นการเน้นตัวสติครับ ผมแนะนำว่า การฝึกฝน เราควรเน้นที่ตัวความรู้สึกตัวให้มาก แล้วให้จิตหรือสติไปรับรู้อาการรอบ ๆ ด้วยกฏ 3 ข้อ เช่่น ตามองเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ขาสั่นไหวก็รู้สึกถึงได้ ถ้าเราเน้นที่่การรับรู้ แทนการเน้นที่รู้สึกตัว ความเคยชินก็จะเข้ามาแทนที่ความรูุ้สึกตัวไป

**ถ้าเรารูุ้สึกตัวได้อยู่ เราก็ควบคุมกายได้ เช่นการสั่นขา ถ้าเราควบคุมไม่ได้ ก็แสดงว่า ตอนนั่น เราเสียความรูุ้สึกตัวไปแล้ว**

****
สิ่งที่ผมเขียนต่อไปข้างล่างนี้ ผมมีความเห็นว่าดังนี้..

ในการฝึกฝนสำหรับคนใหม่ ๆ นั้น

พลังแห่งความรูุ้สึกตัว จะทำให้จิตรู้เขาแยกตัวออกได้ง่ายกว่า แต่การรับรู้จะรู้ทั่วๆ ไม่เน้นสิ่งใด ทำให้รู้ได้ไม่ไว

แต่ถ้าเราเน้นสคิคือการรับรู้ จะทำให้รู้ได้ไว แต่การแยกตัวออกของจิตรู้จะยากกว่าการเน้นแบบความรู้สึกตัว

 

โดย: นมสิการ 21 เมษายน 2554 18:22:08 น.  

 

1. ขณะนั่งรถเมล์เอานิ้วชี้กับนิ้วโป้งแตะกันตามอาจารย์บอกถ้านึกได้ บางทีก็นั่งเฉย ๆ รถวิ่งไป ตัวโยกไหว ก้ม เงย เหลียวซ้ายขวา ลมพัดโดนกายรู้สึก แล้วแต่จะรู้สึกอะไรที่มากระทบ พยายามให้รู้อยู่กับกายให้มาก (รู้ึสึกอยู่ในกาย) บางทีใจก็ส่งไปทางตาที่มองเห็นสิ่งต่างๆ ที่รถวิ่งผ่าน นึกได้ว่าลืมความรู้สึก ก็กลับมารู้สึกที่กายต่อ ใช้ได้ไม๊คะอาจารย์

**** ใช่ครับ ดีแล้วครับ หัดไปเรื่อย ๆ จะลืมบ้างรู้บ้างอย่างนั้นแหละ มันเป็นธรรมชาติของการฝึกฝนคนใหม่ อย่าได้กังวลเรื่องลืม ถ้าฝึกไปมาก ๆ ก็จะดีขึ้นเรือ่ย ๆ เอง

2. ลงรถ เดินเข้าที่ทำงาน รู้สึกที่เท้าเดินกระทบพื้น ถึงที่ทำงานเจอเพื่อนทักกัน เอ้าลืมไปแล้วความรู้สึก พอคุยกันปั๊บลืมทันที ถ้าอยู่คนเดียวก็จะระลึกได้ ถ้าอยู่ในสังคมพูดคุยก็จะทำความรู้สึกตัวยาก
3. พอทำงานใจก็จะไปอยู่กับงานข้างนอกกาย กว่าจะนึกได้นานเลย

*** ใช่ครับ เพราะความรูุ้สึกตัวอย่างไม่แน่น ก็จะเป็นอย่างนี้ อย่าได้กังวลกับ ทำตัวให้เป็นธรรมชาติเข้าไว้ ฝึกไปเรื่อย ๆ ก็จะดีขึ้นเองอย่างช้า ๆ

ผมแนะนำว่า อย่าได้กังวลการกับเผลอการลืมครับ ทำใจให้สบาย ให้เวลากับตัวเองในการฝึกฝน ถ้าไม่ท้อถอย จะดีขึ้นเองอย่างแน่นอน

 

โดย: นมสิการ 21 เมษายน 2554 18:27:12 น.  

 

ผมฝากทุกท่านครับ

อาตาปี สัมปชาโน สติมา นั้น คือ การมีสัมปชัญญะ+มีสติ
ผมไม่อยากแยกคำว่า สัมปชาโน และ สติมา ออกจากกัน เพราะว่า

ทั้ง 2 ส่วนนี้ (สัมปชาโน + สติมา ) จะประกอบอยู่กับจิตรู้ จึงจะไปได้ดี

เมื่อฝึกใหม่ สัมปชาโน +สติมา เราใช้.ควบคุมกายได้. แต่จิตยังควบคุมไม่ได้ เนื่องจากความสามารถยังไม่แข็งแกร่ง

ควบคุมกายได้นั้น ถ้าเราย้อนศรกลับ ถ้าเราควบคุมกายได้แล้วก็รู้ได้ทั่วๆ คือ ตาเห็น หูได้ยิน และอื่น ๆ นี่ก็คือ การมี สัมปชาโน+สติมา แล้ว
ดังนั้น การฝึกฝนด้วยการเคลื่อนไหว เช่น การเดินจงกรม การสั่นขา การแตะนิ้ว การลูุบมือหรืออื่นๆ เราต้องควบคุมกายได้ดีอยู่ กายจึงเคลื่อนไหว
นี้คือการมีสัมปชาโน+สติมาแล้วครับ คนใหม่ๆ ฝึกแบบนี้จะได้ผลดีมากทีเดียว

ทีนี้ สำหรับมือเก่าที่ชำนาญแล้ว กำลังแห่งสัมปชาโน+สติมา แข็งแกร่งขึ้น ต่อไปนอกจากการควบคุมกายได้แล้ว มือเก่าก็จะควบคุมจิตใจได้ ซึ่งผมยืนยันครับว่า ควบคุมจิตใจได้แน่นอน ถ้าฝึกได้ถึงระดับแล้ว
การฝึกฝนในระดับมือเก่านี้ ก็ยังต้องการการควบคุมกายในการฝึกฝนอยู่ดี เพราะเราจะไปเพิ่มระดับของ สัมปชาโน+สติมา ให้แข็งแกร่งขึ้นนั้นเอง

การปฏิบัตินั้นจะมาจบทีตรงนี้ครับ การควบคุมจิตใจได้ ควบคุมได้เมื่อไร ก็จบเมื่อนั้น

***
เริ่มต้น...
ควบคุมกาย เพื่อเพิ่มระดับ สัมปชาโน+สติมา
เมื่อระดับสัมปชาโน +สติมา เพิ่มขึ้น ก็จะควบคุมจิตได้
เมื่อควบคุมจิตได้ ก็สิ้นสุดทุกอย่าง

 

โดย: นมสิการ 21 เมษายน 2554 18:46:23 น.  

 

ท่านทีมีแผ่น DVD กิจกรรมครั้งที่ 1 ถ้าไม่มีก็ฟังเสียงเอาก็ได้ครับ

ผมแนะนำว่า ลองมาเปิดดู ฟังดู เพื่อทบทวนบ้าง (1 ชั่วโมงแรก เป็นวิธีฝึกฝน ) บางครั้ง พอฝึก ๆ ไปก็อาจจะมีเขว ๆ ไปบ้างก็เป็นได้ครับ


 

โดย: นมสิการ 21 เมษายน 2554 18:59:10 น.  

 

กราบขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ. จริงๆก็ฝึกหลายๆแบบทีือาจารย์แนะนำค่ะเช่น
แบมือ กำมือ ลูบแขน. แต่รู้สึกเองว่าการสั่นขาเห็นการสั่นไหวได้ชัดเจนดีค่ะ
สงสัยจะเขวแบบอาจารย์ว่า. จะปรับปรุงการฝึกใหม่ค่ะ

 

โดย: จิตติ IP: 115.87.4.198 21 เมษายน 2554 20:05:52 น.  

 

เรียนอาจารย์
"แต่ทั้งนี้ทั้งนั้่น ต้องเน้นที่ทำอะไรทุกอย่างให้ประคองความรู้สึกตัวเข้าไว้ ประคองแบบสบาย ๆ อย่างเกร็ง "
การประคองความรู้สึกตัว กับ อย่าอยากรู้อะไร ในกฎข้อ 3
เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรครับ เพราะผมเกรงว่ามันจะไม่ตรงกับกฎข้อ 3 ครับ

 

โดย: คนใหม่ IP: 223.204.29.198 21 เมษายน 2554 23:00:15 น.  

 

ประคองความรู้สึกตัว คือ การรักษาความรู้สึกตัวไว้ให้มีอยู่

อย่าอยากรู้อะไร คือ การเฉย ๆ ที่ผมบอกอย่างนี้ เพราะจะมีคนบางคนที่เคยฝึกอยู่ แล้วมีการอยากรู้ เช่น บางคนฝึกลมหายใจ ก็อยากรู้ลมหายใจโดยการพยายามเช้าไปจับลมหายใจทีท้องบ้าง ที่ปลายจมูกบ้าง บางคนเวลาเดินจงกรม ก็อยากรู้การกระทบ ก็ส่งจิตไปจับที่เท้าบ้าง ซึ่งการส่งจิตแบบนี้เป็นความอยากรู้ ซึ่งการปฏิบัติไม่ต้องทำอย่างนั้นเลย เพราะเพียงรู้สึกตัวอย่างเดียว ก็รู้ได้แล้ว การอยากรู้ ทำให้จิตเคลื่อนไหลไปมา ทำให้จิตไม่ตั้งมั่น

 

โดย: นมสิการ 21 เมษายน 2554 23:25:39 น.  

 

เรียนอาจารย์ครับ
ประคองความรู้สึกตัว คือ การรักษาความรู้สึกตัวไว้ให้มีอยู่
คือพยายามให้มีการเคลื่อนไหวไว้เพื่อให้รู้สึกว่ามีการเคลื่อนไหว
ไม่ใช่การกำหนดอะไรอย่างหนึงมันคล้าขกับรู้สึกตัวแถวใบหน้าไว้ให้คงอยู่ใช่ไหมครับ

 

โดย: คนใหม่ IP: 223.205.227.110 22 เมษายน 2554 12:03:52 น.  

 

1...ประคองความรู้สึกตัว คือ การรักษาความรู้สึกตัวไว้ให้มีอยู่
คือพยายามให้มีการเคลื่อนไหวไว้เพื่อให้รู้สึกว่ามีการเคลื่อนไหว

>>> ที่เขียนมาอย่างนั้น ก็พอจะได้ แต่ยังไม่ตรงทีเดียวนัก แต่เป็นลักษณะของการ Apply การนำไปใช้ในการฝึกฝน แต่ถ้าคุณจะทำอย่างนั้นก็ได้ครับ ไม่ผิดเลย

แต่จริงๆ แล้ว ความรู้สึกตัว ก็คือ ความรู้สึกตัว (เขียนเหมือนกวนแฮะ) แต่มันเป็นธรรมชาติที่เข้าใจกันอยู่แล้วว่า เป็นอย่างนี้ ความรู้สึกตัวเกิดจากจิตไม่หลงเข้าไปใน.มโนทวาร.เป็นอิสระอยู่ ทีนี้ พอเป็นอิสระ จิตมันก็รู้ของมันเอง เพราะความเป็นอิสระของเขาแล้วเขาจะมีประสิทธิภาพอย่างนี้

ดังนั้นเวลาคุณฝึก คุณต้องระวังว่า อย่าให้จิตมันหลุดเข้าไปใน.มโนทวาร. ซึ่งก็คือความอยากรู้ไม่ต้องมี การที่คุณเคลื่อนไหวแล้วรูุ้สึกของการเคลื่อนไหวนี้ ขอให้รู้การเคลื่อนไหวได้เอง โดยไม่ต้องอยากรู้ จิตเขาจะรู้ได้เองเพราะการเป็นอิสระของเขามีอยู่

แต่ถ้าเกิดอยากรู้เมื่อไร เช่นหลายสำนัก เวลาสอนลมหายใจ ก็บอกว่าส่งจิตไปจับลมที่ปลายจมูก เวลาเดินจงกรมก็ว่าส่งจิตไปจับที่เท้ากระทบ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็เรียบร้อย จิตมีความอยากรู้ จิตวิ่งเข้าไปในมโนทวารแล้ว

2..ไม่ใช่การกำหนดอะไรอย่างหนึงมันคล้ายกับรู้สึกตัวแถวใบหน้าไว้ให้คงอยู่ใช่ไหมครับ

>>> ถ้าคุณสามารถรู้สึกได้ถึงอะไรบางอย่างแถวใบหน้าได้แล้ว ก็ดีมากเลยครับ แต่คุณอย่าไปกำหนดมันเข้าเพื่อให้มันมีตลอด ขอให้มันเกิดแล้วรู้ได้เองว่ามีอยู่นะ ถ้ามันจะหายไป ก็ปล่อยมันหายไป เดียวมันก็จะกลับมาเองอีก ที่มันหาย เพราะกำลังจิตยังไม่่ตั้งมั่นพอ

ถ้าฝึกรู้กายไป กำลังจิตมากขึ้น มันก็จะหายบ้าง มีบ้างสลับไปมาสักระยะหนึ่ง แล้วทีนี้พอยิ่งฝึกมากจนกำลังจิตอยู่ตัว มันก็จะมีมาตลอดไม่หายไปเลย แต่พอฝึกไปอีก เจ้าตัวนี้ก็ยังมี แต่ physical มันไม่เหมือนเดิม

แต่อย่าไปกำหนดให้มีตลอด แต่ขอให้ฝึกรู้สึกตัวด้วยการรู้กายเคลื่อนไหวเข้าไว้เพื่อกำลังจิตให้ตั้งมั่น เดียวจะเห็นได้เองอย่างที่อธิบายไว้

 

โดย: นมสิการ 22 เมษายน 2554 12:28:37 น.  

 

เรียนอาจารย์ครับ
ทำให้เข้าใจได้มากขึ้นครับ
ขอบคุณมากครับ

 

โดย: คนใหม่ IP: 223.205.227.110 22 เมษายน 2554 17:49:23 น.  

 

เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตนจริงๆ

 

โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.206.174.202 24 เมษายน 2554 9:46:07 น.  

 

ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน

 

โดย: นมสิการ 29 มกราคม 2555 15:15:01 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.