รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
17 มกราคม 2554
 
All Blogs
 

.จิตรู้.มีทั้งส่วนที่เที่ยง และ ส่วนที่ไม่เที่ยง

บทความนี้ เป็นความเห็นส่วนตัว ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนใครหรือว่าเหมือนตำราเล่มใด
เนื่องจากไม่มีกฏหมานบัญญัิคิไว้ว่า ปฏิบัติแล้วต้องเหมือนเท่านั้น ถ้าไม่เหมือนคือความผิด

ผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อประโยชน์ของนักปฏิบัติจริงเท่านั้น
ส่วนนักปฏิยัติ ผมแนะนำให้ท่านอย่าได้อ่านเลยครับ เพราะไม่มีประโยชน์ใด ๆ แก่ท่านเลย
มีแต่จะทำให่จิตใจท่านขุ่นมัวในข้อเขียนของผมเปล่า ๆ แล้วท่านอาจจะหลุดปากออกมาแบบควมคุมไม่ได้ว่า คนที่พูดว่า จิตเที่ยง คือ มิจฉาทิฐิ

ธรรมชาติของ.จิตรู้. คือ ความสามารถในการรู้ในสิ่งที่ถูกรู้
ซึ่งผมขอเปรียบเทียบเหมือนไฟ ที่ธรรมชาติของไฟคืออุณหภูมิ

1...ในปุถุชน จิตรู้ มักอยู่ในอำนาจของอวิชชา ทำให้โมหะครอบงำจิตอยู่เสมอ ๆ
เมื่อโมหะครอบงำจิตไว้ จิตก็ทำหน้าที่ของเขาไม่ได้อย่างสดวก ในสภาวะเช่นนี้
จิตรู้จะทำหน้าที่.รู้.ได้บ้าง ไม่สามารถทำหน้าที่.รู้.ได้บ้าง แต่ส่วนมากมักจะไม่สามารถทำหน้าที่รู้ได้

2..ในกัลยาณชนที่เป็นนักภาวนาเพื่อการพ้นทุกข์ เนื่องด้วยกำลังสัมมาสติ สัมมาสมาธิ
จิตรู้นี้จะแยกตัวออกมาได้แล้ว แต่เนื่องจากกำลังของสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ยังไม่ตั้งมั่นอย่างที่สุดอย่างแท้จริง เขาจึงยังมีอาการของ.จิตปรุงแต่ง.เกิดขึ้นอยู่เสมอ ๆ โดยที่เขายังควบคุมในส่วนนี้ยังไม่ได้

เมื่อในยามที่เกิดจิตปรุงแต่งขึ้นมาเมื่อใด จิตรู้ ที่มีกำลังสัมมาสติ สัมมาสมาธิมากพอที่สามารถต่อสู้กับแรงดึงของตัณหาได้ จะทำให้จิตรู้แยกตัวออกเป็นอิสระอยู่ได้จากจิตปรุงแต่ง ทำให้ิจิตรู้เห็นจิตปรุงแต่งอยู่อีกส่วนหนึ่ง และในอาการแบบนี้ จิตรู้ จะมีลักษณะของพลังงานที่เป็นดวง หรือ เป็นก้อน ที่กัลยาณชนจะเห็นเองได้

ผมจะอธิบายเปรียบเทียบให้เข้าใจได้ง่ายเข้า ในสภาวะแบบนี้ จิตรู้จะมี 2 สถานะคือ 1.เป็นดวง 2.มีสภาพรู้ได้อยู่

ซึ่งถ้าเทียบกับไฟ จะเหมือนว่า ตอนนี้ 1.มีเปลวไฟให้เห็นได้ 2.มีอุณหภูมิที่รู้สึกถึงได้

กัลยาณชนจะอยู่ในสภาวะแบบนี้ไปเรื่อย ๆ แต่ถ้ากัลยาณชนถ้ามีการฝึกฝนเพื่อเพิ่มกำลังของสัมมาสติ สัมมาสมาธิต่อไปอีกจนตั้งมั่น จิตรู้ก็จะกลายเป็นแบบที่ 3

3..ในกัลยาณชนที่มีกำลังแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิที่ตั้งมั่นอย่างสุด ๆ เขาจะมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนเดิม คือ ตอนนี้เขาจะควบคุมความคิดตนเองได้ คือ จะคิดก็ได้ ไม่คิดก็ได้
ในยามที่เขาไม่คิด ในขณะนั้น จิตปรุงแต่ง จะไม่เกิดขึ้น มันจะว่างเปล่าเป็นความว่าง ที่เขาก็เห็นไ้ด้อยู่ในความว่างเปล่าว่าไร้จิตปรุงแต่ง เมื่อจิตปรุงแต่งเป็นความว่างเปล่า
.จิตรู้.ก็จะไม่เป็นดวงเหมือนอย่างข้อ 2 แต่จิตรู้จะมีสภาพเพียงรู้ เท่านั้น

ซึงผมจะเปรียบเทียบกับไฟ ถ้าไฟดับไป ท่านจะไม่เห็นเปลวไฟ แต่ท่านจะสมารถรู้สึกได้ถึงอุณหภูมิที่ยังคงมีอยู่

*************

ผมเขียนถึงคน 3 จำพวก 1/2/3 ข้างต้น และในสภาพจิตรู้ในคนทั้ง 3 จำพวกแล้ว
ท่านจะเห็นได้ว่า ส่วนที่ไม่เที่ยงของจิตรู้ คือ สภาพของพลังงานที่เป็นดวงเป็นก้อน ส่วนนี้จะไม่เที่ยง มันแปรเปลี่ยนได้ แต่ส่วนที่เทียงของจิตรู้ คือ สภาพแห่งการรู้ ที่ยังมีอยู่ในบุคคลที่ 2 และ ที่ 3

ดังเช่นไฟ ที่ผมยกมาเปรียบเทียบ เปลวไฟที่ท่านเห็นได้ รูปร่างของเปลวไฟมัีนไม่เที่ยง มันเแปรเปลี่ยนไปมาเสมอ แต่สภาพของอุหภูมิมันก็มีอยู่ของมันอย่างนั้น นี่คือสิ่งทีเที่ยง ไม่แปรเปลี่ยนตามรูปร่างของเปลวไฟแต่อย่างใด
(หมายเหตุ ตัวอย่างเรื่องเปลวไฟนี้ก็ยังไม่ดีนัก ไม่เหมือนนักกับ.จิตรู้. เพราะอุหภูมิเองก็มีการเปลี่ยนแปลงได้ คือร้อนขึ้นหรือเย็นลง แต่ขอให้ท่านนึกถึงอุหภูมิก็พอ ไม่ต้องไปนึกถึงว่า กี่องศา ถ้านึกว่า กี่องศา อย่างนี้ก็จะทำให้ไม่เข้าใจได้ )

***
ขอให้นักภาวนาทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ดี เพราะเท่าที่ผมอยู่ในวงการกรรมฐานมา ไม่เคยมีใครพูดถึงรายละเอียดแห่งตัวจิตรู้ มีแต่พูดว่า ใครว่าจิตรู้เที่ยงคือมิจฉาทิฐิ ซึ่งคำพูดแบบนี้ ไม่ก่อประโยชน์ใด ๆ แต่นักภาวนาเลย เพราะนำไปใช้ในการฝึกฝนไม่ได้

ขอให้นักภาวนาได้เข้าใจว่า สภาวะของจิตรู้ นั้นจะแปรเปลี่ยนไปตามจิตปรุงแต่ง กล่าวคือ

AA..ถ้ามีจิตปรุงแต่งเกิดขึ้น จิตรู้จะเป็นดวง
BB..ถ้าจิตปรุงแต่งไม่เกิดขึ้น จิตรู้จะไม่เป็นดวงแต่เป็นความว่างเปล่า แต่คงสภาพแห่งการรู้ได้ที่ยังอยู่ ส่วนที่เป็นสภาพรู้นี้จะเที่ยง ถ้าภาวนาได้ถึงความตั้งมั่นแห่งสัมมาสมาธิแล้ว

เนื่องจากนักภาวนายังเป็นคน ยังต้องมีความคิด มีการทำงานอยู่ ดังนั้น พอเกิดจิตปรุงแต่งขึ้น จิตรู้ก็จะเป็นดวง ถ้าไม่เกิดจิตปรุงแต่ง จิตรู้ก็จะว่างเปล่า นักภาวนาอย่าได้คิดว่า เมื่อภาวนาแล้วจิตรู้จะว่างเปล่าตลอดเวลา ซึ่งไม่ใช่แบบนั้น เพียงแต่ว่า นักภาวนาที่มีกำลังสัมมาสมาธิตั้งมั่นสุด ๆ จะควบความจิตปรุงแต่งได้ซึ่งคนธรรมดาจะควบคุมแบบนี้ไม่ได้ นี่คือความแตกต่าง

ในการเดินทางเพื่อให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์นั้น คือการควบคุมจิตปรุงแต่งนี่เอง ถ้านักภาวนาควบคุมได้อย่างอยู่หมัด เขาก็จะไม่เป็นทุกข์เลยตลอดไป

ขอให้ทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ดี เพราะทั้งหมดนั้นมาจากกำลังความตั้งมั่นแห่งสัมมาสมาธิทั้งสิ้นดังพุทธพจน์ที่ผมยกมาบ่อย ๆ ว่า .... ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเจริญสมาธิเถิด เมื่อจิตตั้งมั่น เธอจักเห็นธรรมตามความเป็นจริง...

การไร้ซึ่งจิตปรุงแต่ง จะทำให้จิตรู้ไม่เป็นดวง นี่คือสภาวะแห่งความว่างเปล่าอันเป็นสุญญตา มีแต่สภาะรู้ และ การทำงานของอายตนะปรากฏอยู่เท่านั้นครับ

***********************

สภาวะแห่งการไร้จิตปรุงแต่ง นักภาวนาจะรู้สึกเฉยๆ ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ แต่ถ้านักภาวนาภาวนาแล้ว รู้สึกว่า มีความสุข นั้นเป็นจิตปรุงแต่งครับ ถ้าเป็นจิตปรุงแต่ง มันก็เป็นไตรลักษณ์ มันไม่เที่ยง มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของ ๆ เรา นักภาวนาจึงไม่สมควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นกับอาการสุขจากการภาวนา เพราะมันคือของเก็ ไม่ใช่ของจริงครับ





 

Create Date : 17 มกราคม 2554
14 comments
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:09:09 น.
Counter : 1143 Pageviews.

 

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์สำหรับบทความ. ช่วยให้การปฏิบัติชัดเจนขึ้น สาธุค่ะ

 

โดย: จิตติ IP: 110.168.45.153 17 มกราคม 2554 12:01:01 น.  

 

ขอบพระคุณเจ้าค่ะ

 

โดย: บนเส้นทางกลับบ้าน IP: 118.175.86.113 17 มกราคม 2554 17:06:09 น.  

 

การเคลื่อนจิตรับรูเวทนาทางกายแนวอ.โกเอ็นก้าเหมือนหรือต่างกับความรู้สึกตัวเวลาเคลื่อนมือแนวหลวงพ่อเทียนหรือไม่ครับ ด้วยความเครพครับ

 

โดย: มนตรี IP: 223.205.35.196 18 มกราคม 2554 11:46:20 น.  

 

เท่าที่ผมได้สอบถามจากคนที่เขาฝึกตามแบบ อ.โกเอ็นก้า ผมเข้าว่า แบบนั้น เขาให้ใช้จิตวิ่งไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อดูอาการทางกายในส่วนต่าง ๆ แนวทางนี้เป็นการจงใจใช้จิตทำงานเพื่อการรับรู้อาการทางกาย

ส่วนแบบหลวงพ่อเทียน ท่านเคลื่อนมือ เพื่อให้รู้สึกตัวเท่านั้น ท่านจะไม่สอนให้ใช้จิตทำอะไร แต่เมื่อรู้สึกตัวแล้ว จิตจะมีความสามารถรับรู้สภาวะธรรมตามธรรมชาติที่จิตจะรับรู้ได้เองที่ไม่ใช่เป็นจงใจใช้จิตทำงาน

จะเห็นว่า 2 แนวทางนี้ไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง

ผมยังทราบมาอีกว่า แนวทาง อ.โกเอ็นก้า มีหลักสูตรที่ 2 และ 3 ที่เป็นขั้นสูงกว่าขั้น 1 ที่เป็นการเคลื่อนจิต ซึ่งผมไม่ทราบว่าวิธีการที่ 2 และ 3 เป็นอย่างไร ถึงไม่สามารถจะบอกอะไรได้มากนัก

 

โดย: นมสิการ 18 มกราคม 2554 14:21:42 น.  

 

อนุโมทนาสาธุครับ

 

โดย: shadee829 20 มกราคม 2554 10:35:50 น.  

 

ผมได้ฝึกในรูปแบบของอาจารย์มาช่วงหนึ่งแล้วครับ อยากเรียน
ถามอาจารย์ในข้อสงสัยบางอย่างครับ
คือเวลาเราฝึกไปเรื่อยๆ ตามกฏ3ข้อของอาจารย์แล้วจิตเกิดเพลอ
บ่อยๆ แล้วผมก็เลิกฝึกไปทำอะไรอย่างอื่นก่อน แต่เวลากลับมาฝึกไหม่เหมือนจิตยังกลับไปยึดติดการเผลอบ่อยๆ ไม่ทราบว่าจะ
แก้วิธีใดดีครับ
สุดท้ายนี้ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยคนครับ

 

โดย: เนื้อนาบุญ IP: 125.26.84.229 20 มกราคม 2554 11:29:41 น.  

 

คนฝึกใหม่ จะเผลอมาก เป็นเรื่องปรกติอยู่แล้ว
ถึงแม้ว่า ฝึกมานานแล้ว ก็ยังเผลออยู่เหมือนกัน เพียงแต่เวลาที่เกิดเผลอนั้นจะสั้นมาก ๆ

ดังนั้น อย่าไปกังวลกับอาการเผลอ มันต้องเผลอ ถ้าไม่เผลอนี่แสดงว่า ฝึกผิดแล้ว คือ พยายามจะไปทำอะไรสักอย่างไม่ให้เผลอ อย่างนี้ใช้ไม่ได้ครับ

เมื่อเราฝึกไป เราจะเผลอ ก็ช่างมัน พอกลับมารู้สึกตัวได้ ก็ประคองต่อไป พอเผลอไปอีกก็ช่างมันอีก ให้ฝึกไปเรื่อยๆ มันจะสลับไปมาอย่างนี้เสมอ ๆ คือ เผลอ ไม่เผลอ

อาศัยลูกอึด ฝึกมาก ๆ แล้วอาการเผลอจะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ เอง ไม่มีทางอื่น นอกจากฝึกไปเรื่อยๆ เท่านั้นครับ
ต้องใช้เวลานานครับ เป็นปีขึ้นไป ถึงจะอาการเผลอค่อย ๆ ลดลงไปเองอย่างธรรมชาติ

อาการเผลอนั้น จะเป็นอย่างนี้ครับ
คือผู้ฝึกจะมีเผลอแน่นอนอยู่แล้ว แต่ใหม่ๆ จะเผลอนาน เผลอทีหนึ่งอาจเป็นเวลา 1 ชั่วโมงหรือมากกว่าก็ได้

แต่พอฝึกไปนาน ๆ เช่นสัก 1 ปี 2 ปี อาการเผลอก็ต้องมี แต่จะเผลอเป็นเวลาที่สั้นลงไปจากเดิมเช่น อาจเผลอสัก 10 นาที แล้วจึงกลับมารู้สึกตัวได้ พอฝึกต่อไปอีก อาการเผลอสั้นลงไปอีก เช่นอาจเผลอสัก 5 นาทีแล้วกลับมารู้สึกตัว พอฝึกต่อไปอีก อาการเผลอก็ยิ่งสั้่นลง สั้นลงไปเรือย ๆ จนสุดท้าย จะเผลอเป็นเสี้ยววินาทีที่สั้นมาก ๆ เหมือนกระพริบตา

ขอให้ฝึกต่อไปอย่าได้ย่อท้อครับ จากประสบการณ์ที่ตัวผม ผมใช้เวลา 5 ปี อาการเผลอก็หดสั้นมาก ๆ เป็นเสี้ยววินาที หรือจะเรียกว่า แทบไม่เผลอเลยก็ได้เช่นกันครับ ซึ่งทุกอย่างล้วนเป็นไปเองตามธรรมชาติของจิตเอง

 

โดย: นมสิการ 20 มกราคม 2554 16:50:17 น.  

 

คุณเนื้อนาบุญ อ่านเรื่องนี้ประกอบด้วยครับ

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=20-01-2011&group=13&gblog=51

 

โดย: นมสิการ 20 มกราคม 2554 18:51:18 น.  

 

เรียนอาจารย์ครับ
"เมื่อเราฝึกไป เราจะเผลอ ก็ช่างมัน พอกลับมารู้สึกตัวได้ ก็"ประคอง" ต่อไป พอเผลอไปอีกก็ช่างมันอีก ให้ฝึกไปเรื่อยๆ มันจะสลับไปมาอย่างนี้เสมอ ๆ คือ เผลอ ไม่เผลอ"

คำว่า ประคอง กับกฎข้อ 3 ที่ว่าไม่อยากรู้อะไร ไปด้วยกันได้ไหมครับหรือต่างกันอย่างไรครับ

 

โดย: คนใหม่ IP: 117.47.148.146 21 มกราคม 2554 8:20:42 น.  

 

ประคอง คือ การรักษาความรู้สึกตัวให้คงอยู่
แต่อย่าให้มีความอยากรู้ คือ แค่รู้สึกตัว และ เฉย ๆ เท่านั้น
ไม่ต้องคิด ไม่ต้องอยาก แต่ให้รู้สึกตัวอยู่

เมื่อรู้สึกตัวอยู่อย่างนี้ที่เฉย ๆ ขอให้สังเกตดู

ตาก็มองเห็นได้อยู่ใช่ใหม เมื่อลืมตาเท่านั้น แต่ไม่ได้อยากมองอะไร
แต่ก็เห็นได้เอง

หูก็ยังได้ยินเสียงอยู่ใช่ใหม่ ในเมื่อไม่อยากจะได้ยินอะไร แต่ก็ได้ยินเอง

ถ้าเวลามีลมพัดมาโดนกาย ก็รู้สึกได้ไหม ในเมื่อไม่อยากจะพยายามจะรู้สึก แต่ก็รู้สึกได้เอง

ถ้าในปาก กำลังเคี้ยวกินอะไร อาการปากขยับขบเคี้ยวของในปาก ก็รู้สึกได้ใช่ใหม ในเมื่อเราไม่ได้อยากจะรู้สึก แต่ก็รู้สึกได้เอง

นี่คือสิ่งที่รับรู้ได้เองทั้งสิ้น จากที่เพียงรู้สึกตัวอยู่และเฉย ๆ ไม่ต้องอยากรู้อะไรเลย

 

โดย: นมสิการ 21 มกราคม 2554 8:45:14 น.  

 

เรียนอาจารย์ครับ
ผมความรู้น้อยและยังคิดมากสงสัยมากขออาจารย์เมตตาสงสารให้มากๆนะครับ
ประคองความรู้สึกตัว ก็เป็นไปตามกฎข้อ 1 ให้รู้สึกตัว
เราควรประคองนิดๆหน่อยๆ ไม่ต้องประองมาก ซึ่งมันจะลอยอยู่แถวใบหน้า โดยทวารทั้ง 6 ก็ยังรับรู้ได้อยู่ หากมันเผลอหลงไปคิด ก็ช่างมัน รู้ตัวก็กลับมารู้สึกตัวใหม่ประคองเบาๆ ใหม่
อย่างนี้ผิดถูกอย่างไร ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยแนะนำด้วยครับ
ขอบพระคุณมากครับ

 

โดย: คนใหม่ IP: 117.47.148.146 22 มกราคม 2554 22:07:11 น.  

 

"การไร้ซึ่งจิตปรุงแต่ง จะทำให้จิตรู้ไม่เป็นดวง นี่คือสภาวะแห่งความว่างเปล่าอันเป็นสุญญตา มีแต่สภาะรู้ และ การทำงานของอายตนะปรากฏอยู่เท่านั้นครับ"


เราเห็นด้วยอย่างนี้ค่ะ ที่จริงก็เห็นด้วยกับทุกๆ เรื่องที่คุณนมสิการเขียนน่ะแหละ แม้ว่าใช้สมมติต่างกัน แต่ก็เห็นในสิ่งเดียวกัน และก็เชื่ออย่างนี้...เช่นกัน เนื่องเพราะครูบาอาจารย์ท่านก็สอนและพาทำมาอย่างนี้

ตอบคำถามในกระทู้ข้างนอกได้เลยแหละ.. แต่ใครจะอ่านเข้าใจ ก็ปัญญาของใครของมัน

โมทนาสาธุค่ะ ยังติดตามอ่านอยู่เรื่อยๆ นะคะ
และก็แนะนำเพื่อนผู้ปฏิบัติให้เข้ามาอ่านเสมอๆ

 

โดย: chaosy IP: 125.27.207.169 22 มกราคม 2554 22:15:02 น.  

 

ตอบคุณคนใหม่ อย่างนั้นแหละครับ
ถ้าธรรมชาติแล้วก็ใฃ่เลย มันจะรู้สึกตัวอยู่ เบาๆ สบาย ๆ ไม่เกร็งไม่เครียด คุณเคยไปนั่งเล่นนอนเล่นชายทะเลไหมครับ สบาย ๆ ลมละเทพัดมาก็รู้สึกได้ เสียงลม เสียงใบไม้ก็ได้ยิน จิตใจสบาย ไม่คิดอะไร อย่างนั้นเลยครับ ให้รักษาสภาพนี้ไว้บ่อยๆ จนชำนาญ

 

โดย: นมสิการ 23 มกราคม 2554 1:03:23 น.  

 

ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน

 

โดย: นมสิการ 29 มกราคม 2555 15:23:54 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.