สรุปเนื้อหาบทที่ 9 [14 ก.พ.56]
Smiley

E-Government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์
คือการบริการจากภาครัฐเป็นการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปใช้งาน ทำให้การบริหารจัดการของรัฐสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม
ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการคือ
1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
2.ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม

E-Government เป็นวิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานภาครัฐและปรับปรุงการบริการแก่ประชาชนและการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น
การให้บริการของรัฐมุ่งเป้าไปที่กลุ่ม 3 กลุ่ม คือ
ประชาชน
ภาคธุรกิจ
ข้าราชการ

หากเทียบกับ E-Commerce แล้ว E-Government คือ G-to-G1 Transaction มีลักษณะเป็น intranet มีระบบความปลอดภัย เพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ
ขณะที่ E-Service เทียบได้กับ B-to-G2 และ G-to-C3 Transaction ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อในการให้บริการ โดยภาคธุรกิจกับประชาชนคือผู้รับบริการ

หลัก E-Government จะเป็นแบบ G2G , G2B และ G2C
ระบบต้องมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ และประชาชนอุ่นใจในการรับบริการและชำระเงินค่าบริการ ธุรกิจก็สามารถดำเนินการค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่นได้

B2C คือภาคธุรกิจสู่ผู้บริโภค (Business to Consumer)
B2B คือภาคธุรกิจสู่ภาคธุรกิจ (Business to Business)
G2G คือภาครัฐสู่ภาครัฐด้วยกัน (Government to Government) เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นในระบบราชการเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศและลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน
G2C คือภาครัฐสู่ประชาชน (Government to Citizen) เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยการบริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรมผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชำระภาษี การจดทะเบียน การจ่ายค่าปรับ เป็นต้น
G2B คือภาครัฐสู่ภาคธุรกิจ (Government to Business) เป็นการให้บริการของภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพและข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส
G2E คือภาครัฐสู่ภาคข้าราชการและพนักงานของรัฐ (Government to Employee) เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐกับรัฐบาล โดยจะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฏหมายและข้อบังคับในการปฏิบัติราชการ ระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ

การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาล
เป็นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐบนระบบอินเตอร์เน็ตด้วยกิจกรรม
- กาตกลงราคา
- การประกวดราคา
- การจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ
- การประมูล

วัตถุประสงค์การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (E-Procurement)
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
- เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีไม่ว่าจะเป็นกระบวนการตรวจสอบและการเปิดเผยต่อสาธารณชน
- เพื่อประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายจากที่เดิมที่มักจะจัดซื้อจัดจ้างในราคาที่ค่อนข้างสูง

1.ระบบ E-Tending ระบบการยื่นประมูลอิเล็กทรอนิกส์
เป็นระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง กระบวนการสลับซับซ้อน การจัดซื้อจัดจ้างโดยอาศัยวิธีการประกวดราคาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ

2.ระบบ E-Purchasing ระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย
ระบบ E-Shopping ระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าไม่สูง กระบวนการสลับซับซ้อนไม่มาก เช่น การจัดซื้อวัสดุสำนักงานในปริมาณไม่สามารถทำผ่านระบบ E-Catalog
การลงทุนเพื่อจัดทำระบบ E-Shopping มีความคุ้มทุนก็ต่อเมื่อมีความถี่ในการซื้อสินค้าบ่อยครั้ง

3.ระบบ E-Auction
เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่มีมูลค่าสูงหรือปริมาณมาก และมีกระบวนการดำเนินงานที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก เช่น การจัดซื้อคอมพิวเตอร์ การจัดหาบริการทำความสะดวกคุณภาพและบริการของผู้ค้าแต่ละรายไม่มีความแตกต่างกันมากนัก

Smiley



Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2556 15:33:51 น.
Counter : 2563 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

naiz
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



กุมภาพันธ์ 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28