พัฒนาชีวิตด้วยปัญญา และความดี
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2560
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
28 กุมภาพันธ์ 2560
 
All Blogs
 

#HowtoVI : กลยุทธ์ของคนพอร์ตเล็ก



กลยุทธ์ของคนพอร์ตเล็ก

สำหรับคนที่พอร์ตการลงทุนยังเล็ก ยังไม่ใหญ่มากเหมือนวีไอขาใหญ่ หรือวีไอเก่งๆ ที่ลงทุนมาหลายปี หรือหลักสิบปีที่ทำให้การทบต้นมันบังเกิดผลกันไปแล้ว ข้อแนะนำสำหรับคนที่พอร์ตการลงทุนยังเล็ก แต่อยากให้มันเติบใหญ่มีอะไรบ้าง ห้ามพลาด ติดตามกันเลยดีกว่า

กลยุทธ์พอร์ตเล็ก

ต้นทุนของคนพอร์ตเล็ก vs ต้นทุนของคนพอร์ตใหญ่

อันดับแรกเราต้องมองเห็นสถานะในปัจจุบันของตัวเราเองก่อนว่าเป็นอย่างไร ถ้าเราพอร์ตยังเล็ก แต่เราไปลงทุนตามคนที่มีพอร์ตใหญ่แล้วโอกาสที่จะประสบความสำเร็จเหมือนคนพอร์ตใหญ่คงไม่ใช่เรื่องง่าย ยกตัวอย่างเช่น คนที่มีพอร์ตระดับ 1 แสนบาท ซื้อหุ้นตัวละบาท ได้ 1 แสนหุ้น ถ้าหุ้นขึ้นไป 0.50 บาท เขาจะได้เงินในการลงทุนครั้งนี้ 5 หมื่นบาท ในขณะเดียวกันสำหรับคนพอร์ตใหญ่ มีเงิน 10 ล้านบาท ซื้อหุ้นตัวเดียวกันได้ 10 ล้านหุ้น ถ้าหุ้นขึ้นไป 0.50 บาท เขาจะทำกำไรจากการลงทุนครั้งนี้ได้มากถึง 5 ล้านบาทเลยทีเดียว และนั่นจะทำให้พอร์ตของเขาโตขึ้นไปอีกขั้นกลายเป็น 15 ล้านบาท ในขณะที่คนพอร์ตยังเล็กถ้าคิดเป็นเม็ดเงินที่เติบโตขึ้นจะดูน้อยกว่ามาก

ความเป็นจริงของชีวิตก็คือ โอกาสที่หุ้นจะขึ้นจาก 1 บาท ไปเป็น 1.50 บาทต่อหุ้น หรือขึ้นมา 50% นั้นมีไม่มากแต่ก็ใช่ว่าจะไม่มี และที่สำคัญกว่าก็คือ ระยะเวลาการขึ้นของหุ้นตัวนั้น หากหุ้นตัวดังกล่าวใช้เวลาในการขึ้นจาก 1 บาท ไปเป็น 1.50 บาทต่อหุ้น ภายใน 1 ปี คนที่มีพอร์ตใหญ่จะทำเงินได้ 5 ล้านบาทภายในหนึ่งปี แต่คนที่มีพอร์ตเล็กกว่าจะทำเงินได้เพียง 5 หมื่นบาทในหนึ่งปี สิ่งนี้หมายความว่า “เวลา” ก็เป็นต้นทุนอย่างหนึ่งนั่นเองครับ

กลยุทธ์จับจังหวะลงทุนการลงทุนของคนพอร์ตใหญ่

แน่นอนที่สุดว่าเมื่อมองในแง่เม็ดเงิน คนพอร์ตใหญ่ย่อมได้เปรียบกว่าคนทีพอร์ตเล็ก แต่สำหรับคนพอร์ตใหญ่แล้วอาจรู้สึกว่าตัวเองแบกรับความเสี่ยงมากกว่าตอนที่พอร์ตการลงทุนของตนเองยังเล็กอยู่ เพราะตลาดหุ้นไม่ได้มีด้านเดียว เหมือนเหรียญที่มีสองด้าน ถ้าหุ้นตัวเดิมตั้งต้นซื้อที่ราคา 1 บาท แต่เมื่อเวลาผ่านไปมันกลับตรงกันข้ามกับเคสข้างต้น ก็คือราคาลดลงเหลือ 0.50 บาท หรือลดลงไป 50% คนพอร์ตใหญ่จะบาดเจ็บกว่าคนพอร์ตเล็ก นั่นคือ เงินจะหายไปกว่า 5 ล้านบาท จากเงินต้น 10 ล้านบาท ดังนั้นคนที่มีพอร์ตการลงทุนที่ใหญ่กว่าสิ่งที่เขาจะคำนึงถึงอันดับแรกก่อนที่จะซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งก็คือ “ความเสี่ยงขาลง” คนพอร์ตใหญ่มักจะไม่คิดว่าจะกำไรเท่าไร แต่จะคิดว่าถ้าขาดทุนจะขาดทุนเท่าไร และต้องคิดหนักกว่าคนที่มีพอร์ตเล็กมาก และนั่นคือข้อเสียเปรียบอย่างเห็นได้ชัด

การลงทุนของคนพอร์ตใหญ่จึงไม่สามารถซื้อหุ้นตัวเดียวโดดๆ หรือซื้อหุ้นน้อยตัวได้ เพราะมันเสี่ยงมาก และถ้าเสียหายมันจะไม่คุ้ม ทำให้พอร์ตของเขาจะมีการกระจายความเสี่ยงด้วยการถือหุ้นหลายตัว บางคนถือหุ้นหลายตัวมากจนกลายเป็น “เบี้ยหัวแตก” พูดง่ายๆ ก็คือ กระจายความเสี่ยงมากจนเกินไป ทำให้ไม่เห็นผลลัพธ์ที่ดีเลิศอย่างที่คาดหวังเอาไว้

การลงทุนของคนพอร์ตเล็ก

สำหรับคนที่พอร์ตยังเล็ก ถ้ามองในแง่เม็ดเงินที่น้อยกว่ามาก จะรู้สึกว่าตนเองเสียเปรียบ แต่ความจริงแล้วคนพอร์ตเล็กอาจได้เปรียบคนที่พอร์ตใหญ่กว่า เพราะด้วยเม็ดเงินที่ยังไม่มาก สามารถรับความเสี่ยงได้มากกว่า สามารถทุ่มเทไปกับหุ้นไม่กี่ตัวเพื่อผลลัพธ์ที่ดีเลิศได้ (คำแนะนำของผมก็คือควรมีหุ้น 3-5 ตัว) และเอาต้นทุนเวลาที่ได้เปรียบกว่าคนที่มีพอร์ตใหญ่ ด้วยการ “หมุนหุ้น” หรือหมุนรอบของการทำกำไรไปเรื่อยๆ ดังตัวอย่างง่ายๆ ต่อไปนี้

เริ่มต้น 1 แสนบาท ซื้อหุ้น 1 บาท แสนหุ้น

หุ้นขึ้นไป 1.50 บาท ขายทำกำไรได้เงิน 1.5 แสนบาท

นำเงิน 1.5 แสนบาท ซื้อหุ้น 1 บาท ได้ 1.5 แสนหุ้น

หุ้นขึ้นเป็น 2 บาท ขายทำกำไรได้เงิน 2 แสนบาท

จากตัวอย่างดังกล่าวถ้าเป็นการหมุนหุ้นเพียงสองรอบก็สามารถ “ทบต้นกำไร” ได้เป็นเท่าตัว ถ้าสามารถหมุนรอบได้เร็วภายในหนึ่งปีผลตอบแทนจะเท่ากับ 100% ในขณะที่คนที่มีพอร์ตใหญ่จะไม่กล้าทำแบบนี้ เพราะต้นทุนความเสี่ยงสูงกว่า แต่ต้องระลึกไว้เสมอว่าเหรียญมีสองด้าน ถ้าเราได้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม เงินต้นหดหาย มันจะยากเป็นสองเท่า หรือหลายเท่าในการ Recover เงินต้นกลับมา ยังไม่ต้องคิดด้านกำไรเสียด้วยซ้ำ

สรุปง่ายๆ ก็คือ คนที่มีพอร์ตเล็กมีข้อได้เปรียบที่คนพอร์ตใหญ่ไม่มี และการปิดความผิดพลาดที่ดีที่สุดก็คือ การหาความรู้ การศึกษาจากผู้ที่สำเร็จมาแล้วเป็นทางลัดสู่ความสำเร็จ การไม่หยุดนิ่ง ไม่ท้อแท้ ไม่ยอมแพ้ไปเสียก่อน โอกาสแห่งความสำเร็จอยู่เคียงข้างผู้ที่มีความเพียรเสมอครับ

ใครสนใจลงทุนอสังหา ติดตามอีกเว็บของนายแว่นธรรมดาได้ที่นี่ครับ //www.topofliving.com

ติตดาม "นายแว่นธรรมดา" ได้ที่เว็บ FINNOMENA ได้อีกช่องทางนะครับ

บทความยอดนิยม

สนใจการลงทุนอสังหา "คลิ๊กอ่านที่นี่ครับ"

นายแว่นธรรมดา Profile

ไม่มีเวลาอ่านฟังในรูปแบบคลิ๊ปเสียง "คลิ๊กที่นี่"

อ่านหุ้นรถไฟฟ้าเพิ่มเติม "คลิ๊กเพื่ออ่าน"

คำเตือน การวิเคราะห์หุ้น การลงทุนรูปแบบต่างๆ และเทคนิคการลงทุนในหุ้นเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร ผู้เขียนบทความไม่รับผิดชอบต่อความเสี่ยง หรือความเสียหายในการลงทุนของผู้รับข้อมูลนะครับ

#‎หนังสือน่าอ่าน‬ เจาะหุ้น VI เกาะกระแสเมกะเทรนด์

กระแสเมกะเทรนด์ในยุคใหม่มีอะไรบ้าง และเราจะลงทุนอย่างไรให้เกาะไปกับกระแส เพื่อไม่ให้ตกรถ หนังสือเล่มนี้จะบอกเล่าประสบการณ์ลงทุนในหุ้น จะทำให้คุณไม่ต้องเสี่ยงกับหุ้นที่เราไม่รู้จัก และปลอดภัยจากการลงทุนได้มากขึ้นอย่างแน่นอนครับ

หน้าปก เจาะหุ้นวีไอเกาะกระแสเมกะเทรนด์

บทนำ “จุดเริ่มต้นของการลงทุนแนววีไอ”
บทที่ 1 เลือกหุ้นอย่างไรให้ปลอดภัย
บทที่ 2 เจาะหุ้นเหล็ก
บทที่ 3 ยุคแห่งพลังงานสะอาด และเมกะเทรนด์โรงไฟฟ้า
บทที่ 4 บทเรียนหุ้นพลังงานทดแทน
บทที่ 5 เจาะแก่นหุ้นเล็กโตไว
บทที่ 6 วีไอซื้อหุ้นต้องดูอะไรบ้าง?
บทที่ 7 ประสบการณ์ลงทุนหุ้นโภคภัณฑ์
บทที่ 8 ประสบการณ์ลงทุนหุ้นรถไฟฟ้า และหุ้นคอนโดมิเนียม

ติดตามได้ที่นี่เลยครับ "คลิ๊กเพื่อเข้าสู่หนังสือ"




 

Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2560
0 comments
Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2560 10:35:27 น.
Counter : 1085 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ตี๋2555
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]




สวัสดีครับผม "นายแว่นธรรมดา" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" หนังสือ "หุ้น 5 พารวย" และเป็นผู้ก่อตั้ง http://www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย
และ http://www.topofliving.com เว็บไซค์เกี่ยวกับการเลือกซื้อบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
หากต้องการข้อมูลข่าวสารการลงทุนอย่างรวดเร็ว และเชื่อถือได้ แวะไปกด LIKE ที่นี่นะครับ https://www.facebook.com/NaiwaenTammada

ผมยินดีที่ได้รู้จักเพื่อนๆ นักลงทุนทุกท่าน ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ
Free counters!
New Comments
Friends' blogs
[Add ตี๋2555's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.