พัฒนาชีวิตด้วยปัญญา และความดี
Group Blog
 
<<
มกราคม 2560
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
31 มกราคม 2560
 
All Blogs
 

#บริหารเงินส่วนบุคคล : “เริ่มต้นปี ชีวิตเปลี่ยน แค่รู้จักวางแผนการเงิน”



“เริ่มต้นปี ชีวิตเปลี่ยน แค่รู้จักวางแผนการเงิน”

ทำงานมานานไม่มีเงินเก็บซักที หลายคนนอกจากไม่มีเงินเก็บ แถมยังมีหนี้สินล้นพ้นตัว อยากเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเอง จากชีวิตติดลบ (ทางการเงิน) กลับมาเสมอตัว กลายเป็นบวก และเริ่มงอกเงย จนมั่งคั่ง อย่างยั่งยืน เริ่มต้นปี ชีวิตเปลี่ยน แค่รู้จักวางแผนการเงิน จะมีแผนอะไรน่าสนใจ และเป็นอย่างไรติดตามกันเลยครับ

แผนที่หนึ่ง “แผนปลดหนี้”

แผนแรกสำหรับการเปลี่ยนชีวิตควรเป็นแผนปลดหนี้ การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ หากเราหมดหนี้หมดสิน ตัวเราก็จะเบา จะทำอะไร ก้าวไปทางไหน ก็ไม่มีอะไรมา “ฉุด” ขา หรือทำให้เรารู้สึกระแวง แผนการปลดหนี้ควรจะมาเป็นอันดับต้นๆ สำหรับคนที่ปลอดหนี้ก็ผ่านแผนนี้ไปแผนต่อไปได้เลยนะครับ

แผนปลดหนี้ที่ดีเราควรแยกประเภทหนี้ออกมาก่อน เริ่มด้วยการแบ่งมูลหนี้ตาม % ดอกเบี้ยเรียงจากสูงที่สุด ไปต่ำที่สุด โดยเฉพาะหนี้สินเงินกู้ส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยสูงหลายสิบเปอร์เซ็นต์ต่อปี อันนี้ควรรีบเคลียร์โดยเร็ว รองลงมาก็เป็นหนี้สินบัตรเครดิต หนี้สินการศึกษา หนี้เหล่านี้ล้วนแต่เป็นหนี้ที่ไม่ดี ไม่ก่อให้เกิดรายได้ แต่สำหรับหนี้ก้อนใหญ่ๆ อย่างหนี้กู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อรถยนต์ อาจปล่อยเอาไว้ได้ถ้าเป็นเรื่องที่จำเป็นจริงๆ

แผนที่สอง “แผนออมเงิน”

เมื่อเราทำแผนปลดหนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ต้องทำแผนออมเงิน แผนออมเงินเปรียบเหมือนเราสร้างฐานให้มั่นคงก่อนที่เราจะต่อยอดจากฐานนั้นให้มันงอกเงย ... ถ้าเปรียบเงินของเราเป็นลูกน้องเรา เราก็ควรรู้ว่าลูกน้อง (หรือเงินของเรา) มีความเป็นไปยังไงบ้าง ... หากเรามีเจ้านายที่คอยติดตามเราอยู่เราก็จะทำงานอย่างขยันขันแข็ง เงินทองก็เช่นกัน ถ้าเราติดตามมันเหมือนเป็นลูกน้องเรา เราก็ควรรู้ว่า เงินไปไหนบ้าง เงินไปอยู่ที่ไหน เงินทำอะไรตอบกลับมาให้เราบ้าง และการทำงานของเงินควรมีประสิทธิภาพสูงสุด เราจึงยอมปล่อยมันออกไปจากมือของเรา

แผนการออมเงินนั้นมีสูตรที่ทุกคนก็รู้อยู่แล้ว สูตรนั้นก็คือ “ออมก่อน ค่อยจ่ายออก” เมื่อเราได้เงินเดือนมา หรือได้รายรับมาจากงานของเรา ธุรกิจของเรา เราควรแบ่งเก็บออมไว้ก่อนอย่างน้อยที่สุด 20% ที่เหลือจึงนำไปใช้จ่าย และควรออมทบต้นสะสมไปเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีรายรับต่อเดือนสองหมื่นบาท หมายความว่าเราควรแบ่งเงินมาเก็บไว้อย่างน้อยที่สุด 4000 บาทต่อเดือน ถ้าทบเป็นปีเราจะมีเงินเก็บปีละ 48,000 บาท ถ้าเก็บแบบนี้ได้ไม่เกินสามปีเราจะมีเงินแสนได้ไม่ยากเลย ... แผนการออมเงินควรแบ่งเงินเป็นก้อนๆ ดังต่อไปนี้

  • ก้อนเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ก้อนนี้ควรเก็บไว้อย่างน้อย 10% ของรายรับทั้งปี เช่นเรามีรายรับทั้งปี 4 แสนบาท ควรมีเงินเก็บก้อนนี้ 4 หมื่นบาท
  • ก้อนเก็บไว้เพื่อการพัฒนาตนเอง หรือการศึกษาต่อ หรือหากใครไม่มีแผนการศึกษาต่อ จะใช้ก้อนนี้ซื้อประสบการณ์ด้วยการท่องเที่ยวก็ได้ ... ก้อนนี้เราควรคำนวณเอาจากการใช้จ่ายจริง และเก็บเอาไว้โดยไม่เอาไปใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ถ้ามีเรื่องฉุกเฉินสามารถใช้ก้อนแรกไปก่อน
  • ก้อนเก็บไว้ลงทุน ทำเงินให้งอกเงย ก้อนนี้เป็นก้อนสำคัญ ที่จะเข้าสู่แผนที่สาม แผนการทำเงินให้งอกเงย

แผนที่สาม “แผนการทำเงินให้งอกเงย”

เมื่อเราผ่านมาได้สองแผนแล้วก็เข้าสู่แผนที่สาม แผนการทำเงินให้งอกเงยนั้นมีหลากหลายวิธี หลายคนชอบเลือกวิธีที่คิดว่าจะทำให้เงินมันงอกเร็วที่สุด แต่ผมอยากจะแนะนำให้เลือกวิธีที่เรารู้จักมันดี และถนัดที่สุดจะดีกว่า เพราะบางคนเลือกวิธีที่อยากให้เงินมันงอกเร็วๆ แต่กลับได้ผลตรงกันข้าม ด้วยความไม่รู้ของเราเอง ทำให้เราพลาด และอาจเสียเงินก้อนที่เราลำบากเก็บมาก็ได้ครับ วิธีที่อยากแนะนำมีดังต่อไปนี้

  • นำเงินไปซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ : สำหรับวิธีการนี้เหมาะกับคนไม่ชอบเสี่ยง สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำๆ ได้แก่ ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน สลาก ธกส. หรือแม้แต่การฝากประจำกับธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่ให้ดอกเบี้ยดีๆ
  • นำเงินไปซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงปานกลาง : วิธีนี้เหมาะกับคนที่พอรับความเสี่ยงได้ แต่ก็พอที่จะหวังผลตอบแทนได้ดีกว่าวิธีแรก สำหรับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงปานกลางในทัศนะของบทความนี้ ได้แก่ การลงทุนในทองคำ ลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ (แตกต่างจากการลงทุนด้วยตนเอง คือ ใช้กองทุนรวมช่วยในการลงทุนแทนเรา) เป็นต้น
  • นำเงินไปซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง : วิธีนี้ต้องใช้ทักษะ และความรู้ความสามารถมากขึ้นไปอีก และที่สำคัญต้องมีใจรักที่จะทำด้วย สำหรับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง แต่ให้ผลตอบแทนดี ได้แก่ การซื้อคอนโดมิเนียมทำเลดีๆ เพื่อเก็งกำไร หรือปล่อยเช่า ... คอนโดมิเนียมทำเลดีนั้นถ้าเราไปซื้อก่อนใครๆ ก่อนที่จะสร้างเสร็จจริงก็จะได้ราคาดีกว่าตอนที่คอนโดนั้นสร้างเสร็จแล้ว และนั่นคือส่วนต่างราคาที่นักเก็งกำไรจะหยิบจับได้
  • นำเงินไปซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงมาก : วิธีการนี้อาจทำได้ไม่ยาก แต่ไม่ง่ายแน่นอน สินทรัพย์ดังกล่าวได้แก่ หุ้น อนุพันธ์ ตราสารอนุพันธ์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามอย่างที่กล่าวมาข้างต้น การลงทุนทำเงินให้งอกเงยนั้น เราควรเลือกวิธีการที่เราถนัด และมีความรู้ หากเราลงทุนด้วยความไม่รู้ ความไม่รู้เหล่านั้นคือความเสี่ยง และจะย้อนกลับมาทำลายเราได้ ... ใครที่วางแผนการเงินได้ดีจนมาถึงจุดที่มีเงินต่อยอดไปลงทุนให้งอกเงยได้ ถือว่าประสบความสำเร็จ พลิกจากลบกลายเป็นบวก และจะมีอนาคตสดใสอย่างไม่ต้องสงสัยเลยครับ

ติดตามเรื่องราวเพิ่มเติม : ลงทุนอย่างไรให้งอกเงย ฉบับ#วัยเกษียณ





 

Create Date : 31 มกราคม 2560
0 comments
Last Update : 31 มกราคม 2560 9:59:08 น.
Counter : 1107 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ตี๋2555
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]




สวัสดีครับผม "นายแว่นธรรมดา" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" หนังสือ "หุ้น 5 พารวย" และเป็นผู้ก่อตั้ง http://www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย
และ http://www.topofliving.com เว็บไซค์เกี่ยวกับการเลือกซื้อบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
หากต้องการข้อมูลข่าวสารการลงทุนอย่างรวดเร็ว และเชื่อถือได้ แวะไปกด LIKE ที่นี่นะครับ https://www.facebook.com/NaiwaenTammada

ผมยินดีที่ได้รู้จักเพื่อนๆ นักลงทุนทุกท่าน ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ
Free counters!
New Comments
Friends' blogs
[Add ตี๋2555's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.