Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2551
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
9 มิถุนายน 2551
 
All Blogs
 
กล้วยไม้พันธุ์แท้ของไทยที่มีบทบาทต่อการทำลูกผสม (ตอนที่ 1)

การขยายพันธุ์กล้วยไม้ให้เกิดลูกผสม นอกจากจะเป็นวิธีช่วยอนุรักษ์กล้วยไม้พันธุ์แท้ของคู่ผสมแล้ว กล้วยไม้ลูกผสมยังสร้างเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้าประเทศอีกด้วย ในบรรดากล้วยไม้พันธุ์แท้ที่พบในประเทศไทยกว่า 1,000 ชนิด คงไม่มีชนิดหนึ่งเด่นดีไปเสียหมดทุกด้าน และในทางกลับกันก็คงไม่มีกล้วยพันธุ์แท้ชนิดใดต่ำต้อยหาคุณค่าไม่ได้เลย หากแต่บทความต่อจากนี้จะหยิบยกกล้วยไม้พันธุ์แท้ของไทยบางชนิดมากล่าวถึงเท่านั้น

กล้วยไม้ที่ทำรายได้ให้ประเทศไทยมากสกุลหนึ่งคือ Vanda และคู่ผสมข้ามสกุลอย่าง Vascocenda และ Ascocenda กล้วยไม้พันธุ์แท้ของไทยที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในกลุ่มนี้ก็คือ "ฟ้ามุ่ย Vanda coerulea" ด้วยลักษณะทางธรรมชาติที่ฟ้ามุ่ยมีโทนสีที่หายากในธรรมชาติ เพราะเราสามารถพบฟ้ามุ่ยในธรรมชาติที่มีโทนสีม่วง ขาว ชมพู ฟ้า และน้ำเงิน ตามภาษาเซียนที่เรียก "สีบลู" ทำให้ฟ้ามุ่ยเป็นกล้วยไม้ที่ทรงอิทธิพลมากชนิดหนึ่งในกล้วยไม้กลุ่มนี้ ฟ้ามุ่ยมีสัญชาติญาณของความเป็นแม่สูง ในการทำลูกผสมมักใช้ฟ้ามุ่ยถือฝัก ลักษณะอื่นที่เป็นข้อดีของฟ้ามุ่ยในการใช้เป็นคู่ผสมคือขนาดดอกใหญ่ ช่อดอกแข็งแรง ไม่หวงดอก ลายและผิวดอกสวยงาม ในธรรมชาติสามารถพบฟ้ามุ่ยในประเทศอินเดีย พม่า ส่วนในประเทศไทยแต่ก่อนพบมากในภาคเหนือฝั่งตะวันตก ทางแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และตาก แต่วันนี้จำนวนฟ้ามุ่ยในป่าธรรมชาติถูกล่าไปเกือบหมดสิ้นแล้ว

เมื่อกล่าวถึงกล้วยไม้ในกลุ่มนี้แล้ว ญาติสนิทของ Vanda ที่นิยมใช้ในการผลิตคู่ผสมก็คือสกุลเข็ม (Ascocentrum) พันธุ์แท้ที่อยากหยิบยกขึ้นมา 3 ชนิดก็คือ "เข็มม่วง Ascocentrum ampullaceum" "เข็มแดง Ascocentrum curvifolium" และ "เข็มแสด Ascocentrum miniatum" หากพบลูกผสมในกลุ่มนี้ที่มีก้านช่อยาวตรง สีออกไปทางแดงหรือส้ม เชื่อได้ว่าจะต้องมีเลือด 3 ตัวที่กล่าวถึงอยู่บ้างไม่ตัวใดก็ตัวหนึ่ง

ที่ห่างออกไปหน่อย แต่ก็พอนับญาติกันได้คือสกุลช้าง (Rhyncostylis) ปัจจุบันกล้วยไม้สกุลนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาหลากหลายมาก ทั้งช้างเผือก ช้างแดง ช้างส้ม ช้างพลาย ช้างการ์ตูน และสารพัดช้างที่จะตั้งชื่อเรียก ทั้งหมดมาจากพื้นฐานพันธุ์แท้ที่ชื่อ Rhyncostylis gigantea ด้วยลักษณะต้นที่แข็งแรง เลี้ยงง่าย ออกดอกไม่ยากนักและแถมกลิ่นหอม ทำให้ช้างมีบทบาทต่อการปรับปรุงพันธุ์มาก สมเป็นกล้วยไม้พันธุ์แท้ของเมืองร้อนอย่างแท้จริง นอกจากนี้เรายังพบเลือด "ไอยเรศ Rhyncostylis retusa" และ "เขาแกะ Rhycostylis coelestis" ในกล้วยไม้ลูกผสมหอมๆ อยู่เสมอ


ยังมีต่อตอนต่อไปจ้า






Create Date : 09 มิถุนายน 2551
Last Update : 9 มิถุนายน 2551 23:17:55 น. 3 comments
Counter : 1202 Pageviews.

 
ตามอ่านของน้าโหดอีกแล้ว

แต่น้าโหดเวลาเอารูปมาต่อกันทำไงครับ...ใช้เทคนิคอย่างไรครับ


โดย: appendiculata191 วันที่: 10 มิถุนายน 2551 เวลา:0:10:19 น.  

 
มาเล็คเชอร์ครับ


โดย: ST.Exsodus วันที่: 10 มิถุนายน 2551 เวลา:22:04:00 น.  

 
มาอ่านคับน้าโหด


โดย: jeabnun วันที่: 17 มิถุนายน 2551 เวลา:13:39:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

น้าโหด
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าโหด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.