Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
9 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

การสะสมเกลือในเครื่องปลูก



สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนเครื่องปลูกรองเท้านารีบ่อยๆ มี 2 สาเหตุใหญ่คือ ประการแรกเมื่ออินทรียวัตถุเสื่อมสภาพ ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของราก และประการถัดมาคือรากของรองเท้านารีจะชะงักการเจริญเติบโตทันทีที่เครื่องปลูกเริ่มสะสมเกลือ

ขอทำความเข้าใจก่อนครับว่าคำว่า "เกลือ" เป็นไปได้ทั้ง 2 ทางคือเกลือของกรดและเกลือของด่าง ซึ่งกระบวนการสะสมเกลือ (Salinization)ที่ถือเป็นปัญหาที่พบบ่อยในประเทศเขตร้อนอย่างบ้านเราคือเกลือคลอไรด์ เกลือซัลเฟต เกลือโซเดียมคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนต นอกจากนี้เรามักพบกระบวนการสะสมด่าง (Alkalization) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกลือโซเดียมและโปแทสเซียม

เกิดขึ้นได้อย่างไร
1) เกิดจากการรดกล้วยไม้ของเราด้วยแหล่งน้ำใต้ดิน เนื่องจากดินบางแห่งเกิดจากการผุพังของเกลือที่ว่าเหล่านี้ เมื่อฝนตกหรือเกิดการไหลของน้ำผ่านดินเหล่านี้ก็จะละลายเกลือเหล่านี้มาด้วย
2) การใช้ปุ๋ยเคมี ในกระบวนการผลิตปุ๋ยเคมีมีการเติมสารเคมีที่สามารถแปรรูปเป็นเกลือได้ เมื่อใช้เป็นเวลานาน เครื่องปลูกจะค่อยๆ สะสมจนเป็นพิษต่อพืชได้ โดยเฉพาะปุ๋ยในกลุ่มไนโตรเจนและโปแทสเซียม
3) เกิดจากลม ฟังดูแล้วงงว่ามันจะเป็นไปได้อย่างไร แต่จังหวัดที่อยู่ใกล้ทะเล หรือมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยสารพิษมาก เกลือเหล่านี้จะระเหยอยู่ในอากาศ เมื่อฝนตกลงมาจะละลายเอาเกลือเหล่านี้ติดมาด้วย

ส่งผลต่อพืชอย่างไร
การสะสมของเกลือเหล่านี้ทำให้การเจริญเติบโต ผลผลิต สุขภาพ และคุณภาพของพืชลดลง โดย
1) เกิดความเป็นพิษต่อพืช (Ion toxicity) ในรองเท้านารีมักแสดงอาการแรกให้เห็นคือแตกกอแบบกระจุก ระบบรากล้มเหลว และปลายใบเน่าหรือไหม้ ถ้าอธิบายทางสรีรวิทยาแบบง่ายที่สุดก็คือ เมื่อเครื่องปลูกสะสมเกลือพืชจะทำให้ประสิทธิภาพการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง การสังเคราะห์โปรตีนก็ลดลง อธิบายง่ายๆ คือทำลายระบบย่อยและทางเดินอาหารของพืชนั่นแหละครับ
2) ทำลายระบบการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ เนื่องจากแรงดันต่างศักย์ (Water potential) ในบริเวณเครื่องปลูกกับในต้นพืชต่างกันมาก พืชต้องใช้พลังงานมากขึ้นกว่าปกติเพื่อทำให้แรงดันออสโมติก (Osmotic pressure)อยู่ในระดับที่พืชสามารถลำเลียงน้ำเข้ามาได้
3) ทำลายสมดุลธาตุอาหาร (Out-balance nutrient) pH ที่ 7 เป็นระดับความเป็นกรดด่างที่พืชทั่วไปนำธาตุอาหารเอาไปใช้ประโยชน์ได้ดีที่สุด เกลือที่สะสมอยู่นี้จะส่งผลให้ pH ที่เครื่องปลูกสูญเสียสมดุลไป เมื่อเป็นกรดหรือด่างมากเกินไป การดูดธาตุอาหารถูกขัดขวางหรือยับยั้งได้

รู้ได้อย่างไร
ควรหมั่นสังเกตสุขภาพของรองเท้านารีของเราอยู่เสมอ อาการเบื้องต้นที่เป็นตัวบ่งชี้ว่าการสะสมเกลือมากเกินพอดีแล้วคือ ปลายหรือขอบใบไหม้หรือเน่าจากขอบเข้าเส้นกลางใบ สีของใบซีดมองเห็นเป็นตาข่าย ลักษณะใบไม่ยืดยาวออก มีไขบางๆ (Wax) เคลือบมากขึ้น ทรงพุ่มจะแคระ แตกกอมากกว่าปกติ แต่ไม่โต




 

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2553
2 comments
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2553 20:15:10 น.
Counter : 2364 Pageviews.

 

ได้ความรู้ดีจังครับ แล้วเป็นกับกล้วยไม้สกุลอื่นๆไหมครับ

 

โดย: endless man 10 กุมภาพันธ์ 2553 12:53:41 น.  

 

มาเก็บข้อมูล..
ขอบคุณ สำหรับความรู้ดีๆค่ะ

 

โดย: sa (ชาลีเบบี้ ) 15 กุมภาพันธ์ 2553 14:36:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


น้าโหด
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าโหด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.