Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
9 พฤศจิกายน 2550
 
All Blogs
 
การบ้าน ... แปลสรุปหนังสือ Making Divorce Easier on Your Child

Making Divorce Easier on Your Child
Nicholas Long and Rex Forehand

เป็นหนังสือที่รวบรวมขั้นตอนการหย่าเป็นลำดับ อ่านเข้าใจง่าย เขียนครอบคลุมแบบกว้างๆ เลยไม่ได้เจาะลึกด้านจิตวิทยาสำหรับการจัดการกะเด็กเล็ก ยังไงก็ลองอ่านดูสำหรับเป็นแนวทางละกัน
วิธีการสรุปเนื้อหาของหนังสือ จะใช้วิธีเขียนหัวข้อ (ซึ่งก็คือ ขั้นตอนการหย่า) ไล่เรื่อยไป ไม่ลงรายละเอียด ยกเว้น หัวข้อที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับราฟฟี่ ก็จะทำสรุปไว้ให้นะคะ
หนังสือแบ่งขั้นตอนการหย่าไว้ 8 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 การวางแผนการหย่า และการบอกให้ลูกรับรู้
1.1 ทำความเข้าใจกฏหมายและขั้นตอนพิธีการต่างๆ ในเขตที่อาศัย

1.2 จัดการกับเรื่องเร่งด่วนที่ต้องตัดสินใจเสียก่อน ได้แก่
• มีหลายเรื่องเช่น ที่อยู่อาศัย การเงิน ทรัพย์สิน
• ตัดสินใจร่วมกันว่า จะต้องแจ้งให้ใครรู้เรื่องการหย่านี้บ้าง และจะบอกอะไรไปบ้าง
• ให้ปฏิบัติกับลูกโดยส่งเสริมรักษาความสัมพันธ์ของลูกกะอดีตของคุณ และคอยระวัง ไม่ให้ลูกต้องเข้ามาพัวพันกะเรื่องขัดใจระหว่างคุณกะอดีต
• อย่าเร่งตัดสินใจในเรื่องที่มีผลผูกพันระยะยาวในขณะที่สภาพจิตใจคุณยังไม่พร้อมที่จะคิดได้ถี่ถ้วนถึงข้อดี ข้อเสียต่างๆ

1.3 บอกลูกให้รับรู้เมื่อกำหนดการหย่า โดยบอกกล่าวพร้อมกะสามี
ข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับการรับรู้การหย่าของเด็กๆ เป็นดังนี้
เด็กทารก ไม่เข้าใจทั้งสิ้น
2-5 ขวบ เข้าใจว่า พ่อหรือแม่ ไม่อยู่ร่วมกันในบ้านอีกต่อไป แต่ไม่รู้ว่า ทำไม
5-7 ขวบ เข้าใจว่า พ่อแม่โกรธ เศร้าและแยกกันอยู่ แต่ไม่รู้ว่าทำไม
7-12 ขวบ เริ่มเข้าใจความหมาของคำว่า หย่า
12 ปีขึ้นไป เข้าใจความหมาย แต่ไม่จำเป็นว่า ต้องยอมรับ

ตรงนี้ หนังสือมีแนะนำวิธีการบอกลูกว่า ให้ทำแบบเรียบง่าย (ซึ่งไม่ง่ายนะ) ตรงไปตรงมา และซื่อสัตย์ ปราศจากอคติ
Your dad and I have been trying for a long time to work out our differences and problems in our marriage. We have reached a point where we realize we cannot be happy living together anymore and have decided to get a divorce. This is painful for all of us, but it will be OK. We both love you very much and will continue to love and care for you, but it will be from two separate homes.

ความเห็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับในหนังสือนะคะ คิดว่า ก็ควรบอกราฟฟี่ คล้ายๆ กะตัวอย่างข้างบนนี้แหละ ถึงลูกจะไม่เข้าใจก็เหอะ ดิฉันคิดว่า การที่พ่อแม่อยู่ต่อหน้าเค้า และบอกพร้อมๆ กัน ลูกเค้ารับรู้ได้ระดับหนึ่งว่า ต่อไปนี้ ชีวิตที่เห็นแต่ พ่อ หรือ เห็นแต่แม่ ...ไม่ได้เห็นสองคนพร้อมๆ กัน ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเค้า(ลูก) ทำอะไรผิดนะ การบอกพร้อมกัน น่าจะช่วยย้ำให้ลูกรู้ว่า เค้ายังคงได้รับความรัก ความเอาใจใส่จากพ่อแม่นะ และเค้ายังเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว
ถ้าจะให้ดี ค่อยๆ บอกเค้าด้วยว่า อะไรที่ เค้าจะทำเหมือนเดิม อะไรที่จะเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปบ้าง ซึ่งคงต้องย้ำหรือทวนกันบ่อยๆ จนกว่าเค้าจะปรับตัวกับภาวะใหม่ได้ (ถ้าเป็นเด็กโต ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ถามคำถามนะ เค้าจะได้ระบายสิ่งที่เค้าคิดออกมา)
แน่นอน เด็กเล็ก ก็ต้องยอมรับปฏิกิริยาต่อต้านที่จะเกิดขึ้นด้วย ซึ่งในความเห็นของดิฉัน อาจมากหรือน้อย อย่าเพิ่งไปคาดเดา ดิฉันเคยเห็นลูกชายเพื่อนสองครอบครัว ซึ่งเพิ่งย้ายมาจากที่อื่น ปรากฏว่า ลูกชายครอบครัวแรกปรับตัวได้เร็ว ขณะที่อีกครอบครัวหนึ่ง เกือบปีมาแล้ว ลูกชาย(วัยเดียวกับนู๋มรรค) ยังปรับตัวไม่ได้ เอ่ยปากถามถึงเพื่อนๆ ในสนามเด็กเล่นเสมอๆ ชอบชี้รูปบ้านเก่า และชี้บ้านตัวเองว่า ไม่ใช่บ้านเค้า เด็กคนหลังนี่ติดแม่มากกกกกก แงะไม่ออก

1.4 เตรียมพร้อมตอบคำถามของลูกๆ

1.5 พิจารณาเรื่องสิทธิ์การเลี้ยงดูลูก

ขั้นตอนที่ 2 การดูแลตนเองระหว่างและหลังการหย่า

2.1 ตัวคุณเองต้องมีช่วงระยะที่ต้องปรับตัวเองเข้ากับสถานภาพใหม่นี้ ซึ่งหนังสือสรุปไว้ได้น่าสนใจ
Phase Behavior Emotions
Emotional divorcing Growing apart Unhappiness
Making the decision Moving to initiate action to divorce Multiple
Pulling apart One spouse moving out, filing Pain
Divorce papers
Moving beyond Growing into a new life Grief
นอกเรื่องนิดส์คะ ถ้ามีโอกาส (ไม่รู้จะทนดูได้หรือไม่) ดูดีวีดีหนังเรื่อง The Break up ที่เจนนิเฟอร์ อนิสตันแสดง เป็นหนังที่บรรยายสภาพขอคู่ที่กำลังหย่าได้ตรงเลย

2.2 ค้นหารูปแบบตัวเองในการจัดการปัญหา
หนังสือเอ่ยถึงสามรูปแบบมาตรฐาน คือ
1. A problem-focused style คือพยายามจัดการหรือเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ เพื่อลดความเครียด
2. An emotion-focused style คือ พยายามจัดการกับอารมณ์ของตนเอง
3. An avoidant คือ หันเข้าหาสิ่งเสพติดเพื่อให้ลืม
ถ้ารู้ตัวว่าเป็นแบบที่สาม หนังสือแนะให้พยายามแก้ไขปัญหาทีละเปราะ โดยการใช้รูปแบบที่หนึ่ง หรือสอง

หนังสือเน้นว่า คุณควรระลึกเสมอว่า มีหลายสิ่งหลายอย่างที่คุณสามารถควบคุมได้ ขณะเดียวกัน ก็มีหลายอย่างที่คุณคุมไม่ได้ เช่น พฤติกรรมของอดีตของคุณนั่นไง ที่สำคัญคือ ตัวคุณเองนั่นแหละ ที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อลูก
สิ่งใดที่สามารถคุมได้ ให้ใช้ รูปแบบที่หนึ่งในการแก้ปัญหา สิ่งใดที่คุมไม่ได้ ก็ใช้รูปแบบที่สองช่วย

2.3 มองหาความช่วยเหลือสนับสนุน (Support)
หาคนที่สามารถรับฟังอย่างเข้าใจ และให้ความเห็นที่ดี เลือกคนๆ นี้อย่างระวัง เพราะคุณไม่ได้หาเพื่อนขาเม้าท์ และระวัง อย่าโหลดภาระลงที่เพื่อนมากจนเกินไป
อย่ามองหาซัพพอร์ทจากฝ่ายที่ไม่อาจเต็มใจช่วยได้เต็มที่ เช่น ญาติทางอดีตของคุณ
2.4 จัดการกับความเครียดของคุณ

ขั้นตอนที่ 3 Issues between you and your Ex-spouse during and following divorce

3.1 จัดให้มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกะอดีตของคุณ
ตรงนี้เห็นว่ามีประโยชน์ดี เลยขอสรุปสั้นๆ นะคะ เผื่อจะเป็นลิสต์ที่มีไว้ข้างตัว คอยเตือนใจตัวเอง
• เมื่อต้องคุยกัน ให้เลือกสถานที่นัดพบในที่สาธารณะ เช่นร้านกาแฟ มากกว่า การพบกันที่บ้านของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะจะช่วยให้การคุยอยู่ในบรรยากาศเป็นกลาง
• ใช้ความสุภาพให้มาก หลีกเลี่ยงการดูถูก หรือ โบ้ยความผิดไปที่อีกฝ่าย
• เมื่อรู้สึกเศร้า หรือ เริ่มกรุ่นๆ จะทำให้คุณเสียเปรียบในการคุมสถานการณ์ และอาจบรรลุข้อตกลงที่ไม่เป็นผลดี จึงควรระมัดระวัง ควบคุมตัวเองให้สงบมากที่สุด ตลอดเวลา
• หลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์ การกล่าวหากัน ข่มขู่ และ พูดกะทบกระเทียบ
• ตั้งเป้าหมายก่อนการเจรจาและรักษาการพูดคุยให้อยู่ในกรอบหัวข้อเท่านั้น เพราะถ้าเริ่มมัวแต่เอ่ยถึงปัญหาเดิมๆ ของการอยู่ร่มกัน ก็จะไม่สามารถแก้ประเด็นที่ต้องการพูดคุยได้เลย
• แก้ปัญหาครั้งละจุด อย่าพยายามคุยเพื่อแก้หลายๆ ปัญหาในคราวเดียว
• เป็นนักฟังที่ดี
• อย่าสร้างสมมติฐานเอาเอง ให้ถามอตีตของคุณไปเลยว่าเขาคิดเห็นอย่างไร
• พยายามใช้สรรพนาม I มากกว่า You เพื่อหลีกเลี่ยงการโจมตีซึ่งกันและกัน เช่น
แทนที่จะพูดว่า You are always letting him stay upp as late as he wants. You are irresponsible ให้พูดว่า I am worried that he is having a hard time at school because he may not be getting enough sleep what can we both do to help make sure he gets enough sleep?
• ขอฟีดแบคจากอีกฝ่าย และผลัดกันพูด
• มุ่งเป้าในการแก้ไขปัญหา
• อย่าลังเลที่จะขอเวลาเพิ่มขึ้นในการพิจารณาประเด็นต่างๆ หรือ เพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม
• เมื่อบรรลุข้อตกลงได้ในแต่ละครั้ง ควรมีการระบุให้ชัดเจน จะทำให้ทั้งสองฝ่ายต่างรู้สึกเป็นผู้ชนะทั้งคู่
• พร้อมที่จะเจรจาต่อรอง
• Do unto others as you would want them to do unto you

3.2 อย่าเถียงกันต่อหน้าลูก

3.3 อย่าใช้เด็กเป็นตัวสอดแนม
ไม่ต้องไปถามว่า ลูกอยู่ฝั่งโน้นแล้วเป็นไงบ้าง หรือ ถ้าลูกกลับมาบอกอะไร หรือรับฝากคำถามอะไรมา ก็ให้คุณติดต่ออีกฝ่ายเพื่อพูดคุยโดยตรง

3.4 อย่าให้ลูกต้องตกอยู่ในภาวะเลือกพันธมิตร
ตรงนี้สำคัญมาก ถ้าลูกไม่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์น่าอึดอัด กดดัน พอเค้าโตขึ้น เค้าจะสามารถคิด และรู้จักแก้ไขปัญหาตัวเลือกต่างๆ ได้ดี ดังนั้น ระวังให้มาก อย่าพยายามถามลูกว่า “รักใครมากกว่ากัน” เป็นอันขาด

3.5 อย่าตั้งข้อจำกัดว่า ลูกจะพูดหรือบอกอะไร กับอดีตของคุณ ได้บ้าง
ดังนั้น เมื่อคุณต้องการพูดอะไรกะลูก ต่อจากนี้ ก็ต้องคิดให้มากๆ ก่อนพูด ถ้าไม่อยากให้ข้อมูลที่ไม่สมควรผ่านไปถึงอดีตของคุณ
คุณจึงไม่ควรขอให้ลูก สัญญาที่จะเก็บคำพูดบางอย่างของคุณเป็นความลับ ขณะเดียวกัน ให้ตกลงกะอดีตของคุณ เกี่ยวกับเรื่องนี้เสียด้วย

3.6 อย่าวิพากษ์วิจารณ์อดีตของคุณให้กะลูกฟัง

3.7 กำหนดกรอบความสัมพันธ์ระหว่างคุณและอดีตของคุณเสียใหม่
หนังสือได้แนะวิธีการ เริ่มจากสำรวจอารมณ์ ความรู้สึกของตัวคุณเองที่มีต่อ อดีตของคุณ เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับสถานะความสัมพันธ์ จากนั้น ให้ทั้งสองฝ่าย เขียนถึงเป้าหมาย ความสำเร็จที่อยากให้ลูกคุณเป็น ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลก หลายคู่จะตอบข้อนี้ได้ตรงกัน หลังจากนั้น ให้แต่ละฝ่าย เขียนถึงลักษณะความสัมพันธ์ของทั้งคู่หลังการหย่า ซึ่งจะช่วยให้ลูกได้บรรลุเป้าหมายในชีวิตซึ่งทั้งสองต้องการ ... ผลการทำวิธีนี้ ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ ลักษณะความสัมพันธ์ที่ออกมาเป็น ลักษณะ “เชิงธุรกิจ”
เมื่อทั้งสองฝ่ายกำหนดลักษณะความสัมพันธ์ได้ ก็ควรให้มีการทำ Parenting Plan ซึ่งคุณควรยอมรับ อำนาจของคุณที่ลดลงในชีวิตลูกคุณเอง
บ่อยครั้ง ความโรแมนติคอาจจะกลับมาจู่โจม ซึ่งคุณพึงตระหนักให้ดีว่า ความใกล้ชิดชั่วครั้งคราวนี้ มีแต่จะทำให้เกิดความเจ็บปวดเพิ่มขึ้น แทนที่จะช่วยให้ความรู้สึกต่างๆ คลี่คลายไปในแนวทางใหม่ของความสัมพันธ์

ขั้นตอนที่ 4 การพบปะกะลูก

4.1 ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง อดีตของคุณกะลูก
ความเห็นส่วนตัวนะคะ ตรงนี้ดิฉันคิดว่าสำคัญมากๆ ดิฉันเห็นตัวอย่างมาเยอะ คนที่ขาดแม่ มักจะมีพฤติกรรมแย่ๆ อย่างคาดไม่ถึง พอรู้แล้วจะหนาว ส่วนคนที่ขาดพ่อ ก็ใช่ว่า จะแย่น้อยกว่า ถึงแม้สังคมปัจจุบันจะมีซิงเกิ้ลมัมมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ตาม ผู้ใหญ่ที่โตมาโดยขาดพ่อ มักจะขาดความมั่นใจ และว้าเหว่อยู่ลึกๆ
หนังสือ แนะนำการส่งเสริมความสัมพันธ์ไว้ดังนี้คะ
• พยายามลดความเป็นปฏิปักษ์กะอดีตของคุณให้เหลือน้อยที่สุด
• ในความเป็นจริง เป็นการยากที่จะเปลี่ยนแปลงความรู้สึกจงเกลียดจงชังที่คุณมีต่อ อดีตของคุณ แต่ พึงระลึกไว้เสมอว่า จงเก็บความรู้สึกแบบนั้นไว้ให้มิดชิด เพราะสิ่งสำคัญ คือ “การกระทำ” ที่คุณแสดงออกต่างหากที่มีผลใหญ่หลวงต่อลูก ซึ่งคุณต้องคอยระวังไม่ให้ ความรู้สึกด้านลบต่างๆ มามีอำนาจเหนือสิ่งที่คุณจะพูด หรือ ทำ ต่อหน้าลูก
• อย่าวิจารณ์อดีตของคุณ ต่อหน้าลูกๆ
• สนับสนุนให้ลูกๆ คิดกิจกรรมที่จะทำร่วมกะ “อดีตของคุณ”
• เปิดโอกาสให้มีการคุยกันทางโทรศัพท์ อีเมล์ ฯลฯ
• ให้ลูกได้โชว์ผลงานจากที่โรงเรียนให้อีกฝ่ายได้เห็น
• มีไฟล์เก็บข้อมูลต่างๆ ของลูก เช่น สมุดพก รูปภาพ วีดีโอ ฯลฯ เพื่อแบ่งให้อีกฝ่ายได้ดู ทำให้อีกฝ่ายไม่รู้สึกถูกตัดตอน และมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น
• ให้คุยกะ อดีตของคุณ ในสิ่งดีๆ บ้าง ไม่ใช่หยิบยกเอาแต่ปัญหาของลูก มาคุย
• เวลาส่งตัวลูกให้อีกฝ่าย พยายามทำให้ราบรื่นที่สุด
• พยายามให้ อดีตของคุณ ได้มีส่วนร่วมในงาน เทศกาลสำคัญๆ ของลูก เช่น วันเกิด แข่งกีฬา ตรงนี้ จะทำให้เขามีความรู้สึกสำคัญในชีวิตของลูก
• เตือน และช่วยลูกทำของขวัญ หรือการ์ดให้ อีกฝ่ายในเทศกาลสำคัญ
• สื่อให้อีกฝ่ายรู้ว่า คุณดีใจที่เขามีบทบาทร่วมมือในการดูแลลูก

4.2 พยายามรักษาการติดต่อพบปะระหว่างลูกกะ “อดีตของคุณ” ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ และคาดเดาได้ ทั้งนี้ เพราะเด็กๆ ต่างคาดหวัง consistent routines การพบปะที่ขาดตอน จะทำให้เด็กกังวลว่า พ่อ หรือ แม่ ไม่รักอีกต่อไป

4.3 จัดการให้ การส่งตัวลูก เป็นไปอย่างราบรื่น
• จัดทำตารางการพบลูก โดยต้องตกลงวันพบปะในเทศกาลต่างๆ ไว้ด้วยว่า ลูกจะได้อยู่กะใคร
• มีการคอนเฟิร์มวันเวลาที่แน่นอน ก่อนวันจริงเสมอ
• บอกลูกให้ชัดเจนว่า จะได้พบอีกฝ่าย เมื่อไหร่ อย่างไร และนานแค่ไหน
• เตรียมลูกให้พร้อมก่อนเวลานัด ทั้งเสื้อผ้า และข้าวของที่จำเป็น
• ถ้าลูกต้องมีของพิเศษบางอย่างสำหรับการพบปะ ควรแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกค้างคืนกะอีกฝ่าย แล้ววันรุ่งขึ้นซึ่งไปโรงเรียน ลูกต้องมีของสำหรับโชว์แอนด์เทล (ตัวเด็กมักจำไม่ได้ว่าต้องมีอะไรบ้าง)เป็นต้น
• แจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าเสมอ ถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆ จากตารางที่กำหนด อย่าปล่อยให้เป็นภาระของลูกที่จะแจ้งให้อีกฝ่ายทราบเป็นอันขาด และพึงตระหนักเสมอว่า การเปลี่ยนแปลงมีขึ้นได้เพื่อความสะดวกต่อกิจกรรมของลูก
• ตรงต่อเวลาเสมอ มิฉะนั้น ลูกจะคิดว่า คุณไม่ใส่ใจเค้า
• อย่าฉวยโอกาสคุยกะอีกฝ่าย ถึงประเด็นปัญหาบางอย่าง ในจังหวะการส่งตัว

4.4 ตกลงและวางแผนเกี่ยวกับเทศกาล งานสำคัญไว้ล่วงหน้า

ขั้นตอนที่ 5 Divorced Parenting เฮ้อ มาถึงสะที ขั้นตอนที่อยากรู้มากที่สุดในหนังสือ

5.1 เปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับลูก
พ่อแม่ส่วนใหญ่มักรู้สึกผิด เวลาที่ลูกแสดงพฤติกรรมแย่ๆ ออกมา โดยคิดว่า เป็นผลมาจากการหย่าร้าง ทั้งที่ในความเป็นจริง เด็กๆ มักจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตลอดช่วงการเติบโต หนังสือจึงแนะให้พยามยามกำหนดวิธีคิด เป็นดังนี้
I am not a bad parent because I divorced
My child’s negative behavior is not necessarily related to my divorce
My child will misbehave sometimes even when he knows the rules
It is undesirable and irritating when my child misbehaves but it is not terrible
เสริมความเห็นส่วนตัวคะ
ข้อนี้เป็นอะไรที่จริงที่สุด โดยเฉพาะพ่อแม่ที่มีลูกวัย toddler มุมมอง ภาวะอารมณ์ของแม่ในการดูแลลูกจะสำคัญมาก ตัวอย่างเช่น วันนี้ ลูกอาละวาดหนักที่ห้าง ถ้าสภาพจิตใจของแม่เป็นปกติ ก็จะดูออกว่า “อ๋อ ลูกเหนื่อยละ ต้องกลับ” แต่ถ้าแม่เครียดๆ ก็มักจะคิดว่า “ฉันเป็นแม่ที่แย่จัง ดูสิ เลี้ยงลูกจนกลายเป็นเด็กขี้โมโห อารมณ์เสีย” ณ วินาทีนั้น ส่วนใหญ่จะนึกไม่ค่อยออกหรอกว่า จริงๆ แล้วลูกแค่เหนื่อยเท่านั้น สำหรับในแม่ที่กำลังจะหย่าร้าง ดิฉันก็เดาว่า แม่ก็คงโทษตัวเอง โทษภาวะการหย่าร้าง ที่ทำให้ลูกเป็นแบบนี้
ดังนั้น จุดเริ่มต้นของการดูแลลูก จึงน่าจะอยู่ที่แม่จะจัดการกับภาวะอารมณ์ และความคิดของตัวเองให้ได้ก่อนคะ

5.2 เตรียมใจไว้เลยว่า ลูกจะต้องเล่นเกมจับแพะชนแกะ
เด็กๆ ทุกคนเก่งมากในการทดสอบ “ลิมิต” ขอคนเป็นพ่อแม่ ยิ่งในภาวะการหย่าร้าง เด็กจะฉวยโอกาสเรียกร้องในสิ่งที่เค้าอยากได้ สิ่งที่มักจะได้ยินเสมอๆ คือ
“เวลาอยู่กะ พ่อ/แม่ ได้ทำแบบนี้ แบบนั้น” และส่วนใหญ่ เด็กๆ มักจะเว่อร์ในการบรรยาย เช่น “พ่อให้นอนดึกบ่อยๆ” ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง “ดึก” อาจจะหมายถึงเลยเวลานอนแค่ 2-3 นาที
เมื่อคุณเจอแบบนี้ คุณต้องย้ำให้เด็กรู้ว่า เมื่อลูกอยู่กะคุณ ลูกต้องเคารพกฏกติกาในบ้านคุณ

5.3 ทั้งสองฝ่ายควรรักษา child support payments ให้สม่ำเสมอ
ฝ่ายที่รับเงิน ก็พึงมีแผนรองรับเสมอว่า จะทำอย่างไร หากอีกฝ่ายขาดส่งเงินซัพพอร์ท และไม่ควรล้างแค้นคืน ด้วยการกีดกันการพบปะของลูกกะอีกฝ่าย ซึ่งเท่ากับเป็นการทำผิดซ้ำซ้อนลงไปอีก ที่ส่งผลถึงลูกโดยตรง
ฝ่ายที่ส่งเงิน ไม่ควรใช้การประวิงเงินก้อนนี้ เพื่อลงโทษอีกฝ่าย เพราะการประวิงส่งผลกระทบไปที่ลูกโดยตรง

5.4 พยายามลดการเปลี่ยนแปลงให้น้อยที่สุด
อย่างที่ทราบกันดี เด็กๆจดจำ รูทีน วันต่อวัน ซึ่งต้องคาดเดาล่วงหน้าได้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และมั่นคง

ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่จะมี ได้แก่
การที่พ่อ/แม่ ต้องทำงานหนักขึ้น จนไม่มีเวลาเล่นกะลูก หรือ สอนการบ้านลูก อย่างที่เคยทำให้ ย่อมทำให้เด็กๆ รู้สึกหงุดหงิดไม่พอใจ
ดินเนอร์ไทม์ ที่นอน สภาพแวดล้อมของบ้านใหม่
พ่อ/แม่ จึงควรเตรียมลูกให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ

5.5 maintain family tradition and rituals
หาวิธีชดเชย หรือ ร่วมมือ กะ “อดีตของคุณ” เพื่อสืบสาน tradition and rituals ที่ลูกเคยได้ทำ ก่อนการหย่าร้าง ซึ่งอาจจะไม่ง่ายนักเพราะคุณทั้งสองคนไม่ได้อยู่บ้านเดียวกันแล้ว หรือ อาจใช้วิธีสร้าง rituals ชดเชยของเดิม

5.6 จัดทำ Parenting Plan
ซึ่งมักจะมีเนื้อหาครอบคลุม สามประเด็นหลัก คือ
1. Health
2. Education
3. Religion
ในหนังสือมีตัวอย่างเล็กๆไว้ด้วย ถ้าสนใจจะพิมพ์มาให้คะ หรือไม่งั้น จะไปคุ้ยของสามีที่เค้าทำกับเอ็กซ์เค้าไว้มาให้ก็ได้ แต่คาดว่า ไม่น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีได้ เพราะเห็นสามีบ่นอยู่เรื่อยว่าถูกเอาเปรียบ

5.7 Nurture your relationship with your child (ชักดึก เลยมั่วไม่แปลเสียนี่)
• จงเป็นผู้ปกครองที่ลูกสามารถถามได้ทุกคำถาม
• สื่อสาร ติดต่อพูดคุยอย่างใกล้ชิดกะลูก
• ให้เวลากะลูก
• เล่นกะลูก
• แสดงความรักกะลูก ไม่ใช่เพียงแค่คำพูด แต่ “กระทำ” ให้เห็นชัดๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการกอด การชื่นชมผลงานของลูก

5.8 มีกิจกรรมสนุกๆกะลูก
I tried to teach my child with books. He gave me only puzzled looks
I tried to teach my child with words, They passed him by often unheard.
How shall I teach this child, I cried. Into my hand he put the key.
“Come” he said, “Play with me”

5.9 Communicate “I Love You” to your child
มีหลายวิธี ทั้งการบอกรักเค้า กอดจูบ สัมผัส หรือลองวิธีต่อไปนี้
• ให้ลูกได้ยินคุณพูดว่า รักเค้า ในขณะที่คุณคุยกะคนอื่น
• มีรูปของลูก หรือผลงานอาร์ตของเค้า วางประดับทั่วบ้าน
• เขียนจดหมายถึงเค้า

5.10 สนับสนุนให้ลูกแสดงความรู้สึก
ในที่นี้ เนื่องจากราฟฟี่เล็กมาก ขอแนะนำให้ลองหา พวกพิกเจอร์บุ๊คส์ เกี่ยวกับการหย่าร้าง มาพูดคุยกะเค้า
นี่เป็นรายชื่อหนังสือนะคะ
Dinosaurs divorce: A guide for changing families by Brown Lawrence and Marc Brown
Through the eyes of children: Healing stories for children of divorce by Johsnston, Janet a, K.Brunig, C.Garritz and M. Baris
At daddy’s on Saturdays. By Girard Linda
It’s not your fault, Koko Bear by Lansky Vicki
My parents still love me even though they’re getting a divorce by Nightingale, Lois
Let’s talk about it: Divorce by Rogers, Fred
My family’s changing by Thomas, Pat

5.11 รักษากฏในบ้านให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
ส่วนใหญ่เรามักนึกถึงแต่การรักษากฏ ระหว่าง สองบ้าน ให้เหมือนหรือคล้ายกัน และลืมนึกไปว่า การรักษากฏภายในบ้านเราเอง ก็สำคัญมากเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาวะจิตใจระหว่างการหย่าร้าง ทำให้คุณเครียด หรือเหนื่อยจากการทำงานมาก จนบางครั้ง ทำให้เกิดอคติในการทำโทษ หรือตัดสินพฤติกรรมของลูก

5.12 ตรวจสอบ กิจกรรมของลูกทั้งที่บ้าน นอกบ้าน และที่โรงเรียน
ควรแจ้งให้ครูทราบว่า ครอบครัวคุณกำลังหย่าร้าง เพื่อให้ครูช่วยเป็นหูเป็นตา ดูแลลูกคุณเพิ่มจากเดิม พร้อมกับหาโอกาสพูดคุยกะครู
ทำความรู้จักทั้งกับเพื่อนของลูก และผู้ปกครอง
กำหนดเคอร์ฟิวที่สมเหตุสมผล และลูกควรได้รับเวลาเพิ่มพิเศษ หากทำความดีบางอย่าง

5.13 สร้าง self-esteem ให้กะลูก
• สนับสนุนให้ลูกได้ทำกิจกรรมเสริมต่างๆที่ลูกสนใจ หรือมีความสามารถพิเศษ
• หม่ำชมเชยลูกบ่อยๆ
• สนับสนุนให้ลูกกล้าตัดสินใจ
• ปล่อยให้ลูกเสี่ยงได้บ้างเป็นบางครั้ง เพราะเมื่อเค้าทำสำเร็จ เค้าจะมีความภูมิใจ คุณมีหน้าที่คอยเฝ้าระวังให้มั่นใจว่า ความเสี่ยงนั้นเป็นความเสี่ยงที่รับได้
• มองหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ แม้แต่ในเด็กเล็ก ก็สามารถช่วยงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ได้
• อย่าคาดหวัง ความเพอร์เฟ็กต์ จากลูก ให้เค้ารู้ว่าคุณชื่นชมต่อความพยายามของเค้า และยอมรับได้แม้จะมีที่ติบ้างก็ตาม
• อย่าตีตรา พฤติกรรมไม่ดี บนตัวลูก
• พยายามจำกัด ฟีดแบคแง่ลบ

5.14 จงมีความอดทน อดกลั้น
เมื่อคุณโกรธ อย่าระบายกะลูก
พยายามเพิ่มความอดทนในตัวคุณ โดยรู้จักวิเคราะห์พฤติกรรมของลูก
เมื่อคุณเริ่มหมดความอดทน ให้หยุดคิด พิจารณาสถานการณ์ให้ถี่ถ้วน ก่อนบุ่มบ่ามทำอะไรลงไป
เมื่อคุณโมโห จงอย่าขู่ที่จะส่งลูกไปอยู่กะอีกฝ่าย

5.15 อย่าโทษว่าการหย่า เป็นเพราะลูก
ไม่ว่าจะเป็นทางตรง หรือทางอ้อม เช่น ลูกอาจได้ยินคุณคุยกะ อดีตของคุณ แบบผ่านๆ (หรือ คุณอาจจะคุยโดยไม่คิดว่า เด็กสองขวบจะเข้าใจ) ซึ่งจะทำให้เด็กกลับไปคิดและลงโทษตัวเอง
จงย้ำกะลูกเสมอๆ ว่า การหย่าไม่ได้เป็นความผิดของลูก

5.16 อย่าสัญญาอะไร ถ้าคุณไม่สามารถรักษาสัญญานั้นได้

5.17 อย่าชดเชยให้กะลูกมากเกินไป เพียงเพราะคุณเป็นห่วงความรู้สึกของเค้าต่อการหย่าร้าง
พ่อแม่บางคนชดเชยให้ลูกด้วยการซื้อข้าวของ หรือ พาไปเที่ยว หรือ คอยแต่จะขอโทษขอโพยลูกเกี่ยวกับการหย่า
ดังนั้น คุณจึงไม่ควรที่จะขอโทษลูกเกี่ยวกับการหย่าซ้ำแล้วซ้ำเล่า
อย่าปล่อยให้ลูกแบล็กเมล์ (เช่นไม่ยอมไปบ้านอีกฝ่าย ยกเว้นแต่คุณจะซื้อของเล่นให้ เป็นต้น)คุณด้วยการดีมานด์โน่นนี่เพื่อให้คุณชดเชย กับการหย่าร้าง
มองของขวัญ หรือเงินให้กะลูกตามสมควร
อย่าพยามยามชดเชยด้วยการใช้เวลาอยู่กะลูกเพิ่มมากขึ้นจนไม่เป็นอันทำอะไร ลูกต้องเรียนรู้ที่จะเอ็นเทอเทนตัวเองด้วย
การพยายามทำตัวเป็นเพื่อนสนิทของลูกเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าลืมว่า บทบาทหลักของคุณ คือ การเป็นผู้ปกครองของลูก
ความเห็นเพิ่มเติมคะ คือ สรุปแบบสั้นๆ คือ การรักษา “ลิมิต” กะลูกนั่นเองคะ

5.18 อย่าเอาปัญหาทางการเงิน ไปให้ลูกช่วยแบก
ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางคำพูด หรือเวลาที่ให้กะลูก

5.19 จงเป็นตัวอย่างที่ดีของลูก ในการเผชิญกับภาวะการหย่าร้าง
คุณคือ ครูที่ดีที่สุดของลูก และอย่าคาดว่า ลูกจะรับภาวะความเครียดได้มากกว่าคุณ

5.20 คุยกะลูกอย่างตรงไปตรงมา เมื่อลูกสร้างความคาดหวังลมๆ แล้งๆ ที่ไม่อาจเป็นไปได้
คุณควรพร้อมอธิบาย กับลูกถึงความคาดหวังต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งมีหลายอย่าง เช่น พ่อแม่จะกลับมาอยู่ด้วยกันอีก หรือ เมื่อถึงวันฮาโลวีน เราจะออกไปทริกออร์ทรีตด้วยกัน หรือ การไม่ยอมให้พ่อ/แม่ ได้เดทกะใครคนใหม่
ตัวอย่างคำตอบของคำถามแรก
“ไม่จ๊ะ พ่อจะไม่อยู่กะเราอีกต่อไป แต่พ่อยังรักลูกเสมอ และจะเป็นพ่อของหนูตลอดไป ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง”

5.21 อย่า “ว่า” พฤติกรรมไม่ดีๆ ของลูกว่า เหมือน พฤติกรรมแย่ๆ ของ “อดีตของคุณ”

5.22 ยอมรับความรักที่ลูกมีให้ต่อ “อดีตของคุณ”



ขั้นตอนที่ 6 การจัดการกับความสัมพันธ์รูปแบบอื่นๆ

• กรณีที่อีกฝ่ายมีลูกด้วยกัน ควรยกย่องให้เด็กๆ ได้นับถือกันเป็นพี่ เป็นน้อง
• กรณีที่อีกฝ่ายละเลยความเป็นผู้ปกครองให้ลูก
• กรณีที่คุณเริ่มเดทกะคนใหม่ๆ



ขั้นตอนที่ 7 การหา มืออาชีพ ให้ความช่วยเหลือแนะนำ



ขั้นตอนที่ 8 การดำเนินชีวิตต่อไปข้างหน้า
เค้าแนะนำไว้สั้นๆ คะ คือ Think Positive



Create Date : 09 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2550 19:01:39 น. 2 comments
Counter : 812 Pageviews.

 
เป็นงานแปลที่ดีมากเลย

-----------------------------------------

ความเห็นเกี่ยวกับการหย่าร้าง
แม้ว่าจะมีพ่อแม่หลายคนพูดว่า
อยู่ด้วยกันแล้วไร้ความสุขจะมีผลเสียกับลูกมากกว่า

แต่เด็กที่มาจากครอบครัวหย่าร้างที่เราได้สัมผัส
พวกเขาก็พูดด้วยน้ำเสียงสั่นๆ ทุกที
เวลาบอกว่า "พ่อแม่หนูหย่ากัน"


โดย: ริมยมนา วันที่: 9 พฤศจิกายน 2550 เวลา:23:35:09 น.  

 
You essay is well written except for a few punctuation mistakes.
yiwu city //yiwucity.moonfruit.com/


โดย: yiwu city IP: 157.7.52.183 วันที่: 5 กรกฎาคม 2558 เวลา:9:54:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

มรรคณิชา
Location :
Sleepless in Seattle United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




สวัสดีคะ
นู๋ชื่อ มรรคณิชา.... เรียกนู๋เต็ม ๆ นะคะ เพราะนู๋ไม่มีชื่อเล่นคะ ... อยากรู้จักนู๋ ก็ต้องตามไปช่วยอ่าน ช่วยคอมเม้นต์นะคะ แม่นู๋จะได้มีกำลังใจ
แก้ไขเพิ่มเติมคะ....
มีคุณน้า คุณพี่ หลายคนมักถามคุณแม่เสมอๆ ว่า "ชื่อของนู๋ แปลว่าอะไร"
บอกเลย ไม่เล่นตัว...อิอิ
มรรค มาจากคำว่า "มรรค 8" ในศาสนาพุทธไงคะ...คุณแม่คงอยากเห็นนู๋เป็นเด็กดี...แถมเวลาสะกดเป็นภาษาปะกิต คุณแม่ใช้ชื่อคุณพ่อสะกดซะเลย...งานนี้ คุณพ่อหน้าบานคะ
ส่วน ณิชา แปลว่า บริสุทธ์
พอมารวมกะ "มรรค" ชื่อนู๋เลยเก๋กู๊ดซ้า

แก้ไขเพิ่มเติม (อีก 5/29/2011)
แขกเค้ามีดาราหญิงชื่อ มานิชา คล้ายชื่อนู๋มากเลย แรกๆ แม่ก็ปลื้มหรอกนะ แต่หลังๆ ชักหวั่นไหว เพราะเพื่อนร่วมงานของพ่อชื่อนี้เปี๊ยบ เป็นตัวป่วนที่ทำคุณพ่อปรี๊ดส์บ่อยๆ

แม่พบว่า เด๋วนี้ เวลาเรียกมรรคณิชาเต็มๆ คือการทำเสียงเข้ม ในเหตุการณ์ปกติ แม่เรียกนู๋ ว่า "ลูก" "นู๋" หรือ ไม่ก็ "ชิชา" "ชา"
Friends' blogs
[Add มรรคณิชา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.