Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
14 พฤศจิกายน 2550
 
All Blogs
 

การบ้าน...... แปลสรุป ตัดตอน เกี่ยวกับ กรณีหย่าร้างและการดูแลเด็กวัยก่อนอนุบาล

เล่มแรก ดิฉันคัดบางส่วนที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์มาให้อ่านคะ
The Emotional life of the Toddler by Alicia F. Lieberman

ความเข้าใจของเด็กวัยก่อนอนุบาล เกี่ยวกับการหย่าร้างของพ่อแม่ จะเป็นประมาณนี้
• ในเมื่อพ่อไม่อยู่ด้วยอีกต่อไป คนอื่นๆ ก็จะจากไปด้วยได้เหมือนกัน ถ้างั้น แม่ก็อาจจะไปอีกคนก็ได้
• ถ้าแม่ไม่รักพ่ออีกต่อไป แม่ก็อาจจะหยุดรักนู๋สักวัน
• ถ้าพ่อแม่ทะเลาะกัน มะโหใส่กัน และไม่อยู่ด้วยกันอีกต่อไป บางที พ่อกะแม่อาจจะไม่อยู่กะนู๋หากพวกเค้ามะโหนู๋ขึ้นมา
การหย่าร้าง เป็นการสั่นคลอนความเชื่อมั่นของเด็กๆ ที่ว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น พ่อและแม่จะอยู่เคียงข้างลูกเสมอ
เด็กในวัยนี้ ยังไม่สามารถอธิบายความรู้สึกของตัวเองได้ จึงอาจจะระบายออกในลักษณะต่างๆ เช่น ปฏิเสธที่จะเดิน ชอบที่จะให้อุ้ม
ปีนป่ายในที่สูงและไม่สามารถลงมาได้ (ขาดการบาล้าซ์ อันเนื่องมาจากขาดความมั่นใจ)
ตื่นมาร้องไห้กลางดึก
กรีดร้อง หรือ วิ่งพล่าน เมื่อนึกถึง พ่อ หรือ แม่ ที่จากไป

เช่นเดียวกับสมัยที่เป็นเบบี้ ๆ มีวิธี “บอก” ให้พ่อแม่รู้ถึงความต้องการของเค้า เช่น กินข้าว ก็เอามือทุบโต๊ะ เป็นต้น ในระยะแรกของการหย่าร้าง จะไม่น่าแปลกใจเลย ถ้าพบว่า เด็กๆ สามารถจดจำกิจกรรมต่างๆ ที่ พ่อหรือแม่ที่จากไป ได้เคยทำร่วมกัน และอาจจะเรียกร้อง หรือ เตือนคุณบ่อยๆ เช่น พ่อเคยอาบน้ำให้และหยิบดั๊กกี้ให้เล่นเสมอ เมื่อคุณอาบน้ำให้ลูก ๆ ก็อาจจะเรียกร้องขอให้คุณอาบน้ำและเล่นกับเค้าในลักษณะเดียวกับที่เค้าเคยเล่นกะพ่อ เป็นต้น

จากกรณีศึกษาของ เด็กๆ ที่ได้อยู่กับแม่ หลังการหย่าร้าง พบว่า เด็กมีการแสดงออกสองลักษณะ คือ
1. ลงโทษแม่ ในทุกๆ เรื่องที่ทำให้เด็กอารมณ์เสีย เช่น เด็กต่อบล็อกไม่ได้ ก็ตะโกนออกมาดังๆ ว่า “แม่ไม่ดี” กรณีนี้ แม่ต้องใจเย็นและพยายามเตือนสติลูกว่า
“แม่รู้ว่านู๋โกรธ แต่นี่ไม่ใช่ความผิดของแม่นะ”
2. ปกป้องแม่ เด็กจะพยายามเช็ดน้ำตาให้แม่ กอดแม่ ซึ่งแม่ต้องสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก ด้วยการอธิบาย เช่น “เวลานู๋ไปอยู่กะพ่อ แม่ทำอะไรบ้าง แม่สนุกแค่ไหน” เป็นต้น

ทั้งนี้ทั้งนั้น หนังสือสรุปว่า เด็กจะปรับตัวได้ดีมากน้อยเพียงใด พ่อแม่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ที่ควรจะร่วมมือกันทำให้การเจรจาตกลง และขั้นตอนการหย่าร้างเป็นไปด้วยดี

หนังสือได้แนะนำวิธีช่วยให้การส่งตัวเด็กให้อีกฝ่ายเป็นไปด้วยดี ดังนี้
• หาเวลาคุยส่วนตัวกะอีกฝ่าย ถึงประเด็นต่างๆ ในการใช้เวลากะลูก พยายามหลีกเลี่ยงการปะทะอารมณ์เข้าใส่กัน ให้มุ่งที่การแก้ไขที่สร้างสรรเพื่อลูก
• ก่อนการส่งตัว คุณต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมด้วย พยายามมองอารมณ์ตัวเองให้ออกว่า คุณรู้สึกอย่างไรเวลาลูกต้องจากไป เหงา เศร้า โล่ง
• เตรียมลูกให้พร้อมสำหรับการส่งตัว บอกเวลานัดให้ลูกทราบ และถ้าเป็นไปได้ พยายามใช้เวลาเงียบๆ สองต่อสองกะลูก ก่อนลูกต้องไป
• เมื่อคุยกะลูก ควรใช้โทนเสียงที่เต็มไปด้วยความมั่นใจ และอบอุ่น อย่าบอกลาลูกด้วยเสียงเศร้าสร้อย หรือร้องไห้เป็นอันขาด การบอกลา ควรทำให้ลูกรู้ว่า ลูกจะได้ช่วงเวลาดีๆ ในการอยู่กะอีกฝ่าย
• ให้ลูกมีของรักติดมือ ติดตัวไปด้วย
• ตกลงกับอีกฝ่ายว่า สามารถคุยโทรศัพท์ถึงกันได้
• เมื่อพูดถึงอีกฝ่ายกะลูก ควรพูดในเชิงบวกเสมอ

เนื้อหาของหนังสือเล่มที่สอง มีเค้าโครงคล้ายกะเล่มแรกสุดที่เคยแปลสรุปให้ไปแล้ว
The Truth about Children and Divorce, dealing with the emotions so you and your children can thrive. By Robert E. Emery
เล่มนี้ มีเนื้อหารายละเอียดที่มากกว่า ดิฉันติดใจคำแนะนำ คำพูด ที่จะพูดกะลูก เลยขออนุญาติ มาแปะให้อ่านกันนะคะ

สำหรับเด็กทารกถึงวัยก่อนสามขวบ
วัยนี้ให้บอกแบบง่ายๆ ที่สุด คือ
Momy and Daddy are going to live in different houses.
(พูดแบบนี้ ก็เหมือนอธิบายให้ลูกฟังง่ายๆ ว่า เบบี้มาจาก ท้องของแม่)
แต่การบอกง่ายๆ นี้ ต้อง บอก “ซ้ำๆๆ” ซึ่งเด็กก็จะถาม “ทำไม” บ่อยๆ ซึ่งอาจทำให้คุณสะเทือนใจ แต่พึงรับทราบว่า การที่เด็กถามเพราะเด็กยังไม่มีความเข้าใจเท่านั้น ไม่ได้เป็นสัญญาณบอกถึงปัญหาด้านสุขภาพจิตของเด็ก
การที่ทั้งพ่อและแม่ พยายามมี contact การติดต่อกะเด็กอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ทำบ่อยๆ ก็จะช่วยให้เด็กผ่านขั้นตอนระหว่างการหย่าร้างไปได้ราบรื่น

สำหรับเด็ก สามถึงห้าขวบ
จำเป็นต้องมีการอธิบายอย่างเป็นหลักเป็นฐานมากขึ้น ดังนี้
Mommy and Daddy have been fighting too much, so we decided that we want to live in separate places. Mommy is going to stay here. Daddy is going to move into a new place. He will take you to see his new house and your new room next week. You are going to live most of the time here with Mommy, but you will live some at Daddy’s new house, too. We have worked out a plan so you will never go too long without seeing either Mommy or Daddy.
We also want you to know that you have not done anything wrong. This is not your fault. These are grown-up problems between Mommy and Daddy. We want you to know that we are very sad about this, but Mommy and Daddy can take care of ourselves. We do not want you to try to fix these grown-up problems. That is our job. Most of all, we want you to know that we both love you very much.
(อธิบายแบบนี้ ขยายความมากกว่าการพูดแค่ว่า เด็กที่อยู่ในท้องแม่ จะต้องไปเกิดที่โรงพยาบาล)
ออกจะเป็นการพูดยืดยาวสักหน่อย แต่จำเป็นต้องให้เด็กรับทราบสาระทั้งหมด
คุณจึงควรเฝ้าดูพฤติกรรมตอบรับ เมื่อเด็กฟังจบ อาจจะบอกคุณว่า “กลับไปเล่นของเล่นที่เล่นค้างไว้ได้หรือยัง” คำพูดลักษณะนี้ ไม่จำเป็นที่จะเป็นสัญญาณของเด็กมีปัญหา แต่อาจเป็นเพียงแค่ เด็กแต่ละคนมีความสามารถจำกัดในการรับฟังคำอธิบายยาวๆ เท่านั้น




 

Create Date : 14 พฤศจิกายน 2550
3 comments
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2550 14:24:25 น.
Counter : 766 Pageviews.

 

ขออ่านเก็บไว้เป็นความรู้นะคะ

แม่นู๋มรรคเก่งจังเลยค่ะ อ่านแปลมาได้ละเอียดเลย

ฝากหอมแก้มนู๋มรรค 1 ฟอดด้วยน๊า

 

โดย: นางฟ้าของชาลี 15 พฤศจิกายน 2550 1:13:26 น.  

 

อ่านแล้วก็นะคะ มันเป็นเรื่องยากมากเลย
ถ้าเป็นไปได้ก็ไม่อยากให้กรณีแบบนี้เกิดขึ้นกับใคร
เพราะไม่ว่าจะฝ่ายใดก็ปรับตัวยากกันทุกคน
โดยเฉพาะเด็ก ๆ ด้วยแล้ว
แกคงปรับตัวรับกับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ยากกว่าคนอื่น ๆ
................
มีความสุขและรักษาสุขภาพด้วยค่ะ

myspace codes
Myspace Comments: MyCommentSpace

 

โดย: เราสองคน (ฝากเธอ ) 15 พฤศจิกายน 2550 11:16:09 น.  

 


ฟรีสัมมนา ‘เคล็ดลับพัฒนา 3Q - เชาวน์ปัญญา อารมณ์ คุณธรรม’ ลูกน้อย + workshop


กลับมาอีกครั้งกับสาระและกิจกรรมดีๆสำหรับครอบครัวในงาน RAIS Family Village: Seminar & Workshop ’08 อาทิตย์ที่ 27 เม.ย. 51/ 9.30 - 13.00 น. ณ ร.ร.นานาชาติแอ็ดเวนต์รามคำแหง (ซ.รามคำแหง 119)
ภายในงานประกอบไปด้วยกิจกรรมต่างๆ อาทิ เสวนาในหัวข้อ ‘เคล็ดลับพัฒนา 3Q ลูกน้อย - เชาวน์ปัญญา อารมณ์ คุณธรรม’ โดยจิตแพทย์เด็กชื่อดัง / Workshop สำหรับคุณแม่และคุณหนูๆ / ฟังเคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญเรื่อง ‘เรียนอย่างไรให้เก่งทั้ง 2 ภาษา’ / เกมส์ / การแสดง เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมนี้เปิดกว้างสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีบุตรอายุระหว่าง 0-11 ปี

*รับจำนวนจำกัด! สำรองที่นั่ง 50 ท่านแรกรับ Gift Set จากผู้สนับสนุนใจดี
*มีอาหารว่าง...ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการร่วมงาน!

สำรองที่นั่ง: คุณปุ๊ก / คุณโอ๋ โทร. 02-3700316-7 ต่อ 117, 107
มือถือ 086-9953285, 089-4521679
www.rais.ac.th

 

โดย: rais IP: 203.130.134.100 11 เมษายน 2551 9:02:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


มรรคณิชา
Location :
Sleepless in Seattle United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




สวัสดีคะ
นู๋ชื่อ มรรคณิชา.... เรียกนู๋เต็ม ๆ นะคะ เพราะนู๋ไม่มีชื่อเล่นคะ ... อยากรู้จักนู๋ ก็ต้องตามไปช่วยอ่าน ช่วยคอมเม้นต์นะคะ แม่นู๋จะได้มีกำลังใจ
แก้ไขเพิ่มเติมคะ....
มีคุณน้า คุณพี่ หลายคนมักถามคุณแม่เสมอๆ ว่า "ชื่อของนู๋ แปลว่าอะไร"
บอกเลย ไม่เล่นตัว...อิอิ
มรรค มาจากคำว่า "มรรค 8" ในศาสนาพุทธไงคะ...คุณแม่คงอยากเห็นนู๋เป็นเด็กดี...แถมเวลาสะกดเป็นภาษาปะกิต คุณแม่ใช้ชื่อคุณพ่อสะกดซะเลย...งานนี้ คุณพ่อหน้าบานคะ
ส่วน ณิชา แปลว่า บริสุทธ์
พอมารวมกะ "มรรค" ชื่อนู๋เลยเก๋กู๊ดซ้า

แก้ไขเพิ่มเติม (อีก 5/29/2011)
แขกเค้ามีดาราหญิงชื่อ มานิชา คล้ายชื่อนู๋มากเลย แรกๆ แม่ก็ปลื้มหรอกนะ แต่หลังๆ ชักหวั่นไหว เพราะเพื่อนร่วมงานของพ่อชื่อนี้เปี๊ยบ เป็นตัวป่วนที่ทำคุณพ่อปรี๊ดส์บ่อยๆ

แม่พบว่า เด๋วนี้ เวลาเรียกมรรคณิชาเต็มๆ คือการทำเสียงเข้ม ในเหตุการณ์ปกติ แม่เรียกนู๋ ว่า "ลูก" "นู๋" หรือ ไม่ก็ "ชิชา" "ชา"
Friends' blogs
[Add มรรคณิชา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.