ตัวของเรา สไตล์ของเรา ทำไมต้องเหมือนใคร
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
17 ตุลาคม 2557
 
All Blogs
 
มารู้จักเสื้อผ้าและการแต่งตัวแนว Outdoor กัน - ตอนที่ 2 ใส่เป็นชั้น (Layering)



มาต่อตอนที่ 2 กับแนว Outdoor กันครับ
จากตอนที่ 1 ......
"มารู้จักเสื้อผ้าและการแต่งตัวแนว Outdoor กัน - ตอนที่ 1 เสื้อผ้าสำหรับ Outdoor"
เราได้รู้กันไปแล้วว่าแนว Outdoor มีอะไรให้เลือกหยิบมาใส่ได้บ้างและที่ผมได้บอกเอาไว้ในตอนที่ 1 แล้วว่า แนว Outdoor จะใส่กันเป็นชั้น และในตอนที่ 2 นี้เราจะมารู้จักการใส่เป็นชั้นกันครับ

การใส่เป็นชั้นหรือที่เรียกว่า "เลเยอริ่ง" นี้ไม่ได้หมายถึงว่าเอาเสื้อมาใส่ซ้อนๆ กันเข้าไปก็พอนะครับ มันมีวิธีของมันอยู่ ซึ่งถ้าเข้าใจวิธีแล้วมันจะมีประโยชน์มากแถมมันยังเข้าใจได้ไม่ยากด้วย ว่าแล้วก็มาดูกันเลยดีกว่าครับ


การใส่เป็นชั้นนั้นก็จะแบ่งเป็น 4 ชั้นหลักๆ คือ

Under Layer/Base Layer
เบสเลเยอร์ หรือ อันเดอร์ เป็นชั้นในสุดที่ติดกับผิวของเราเลย โดยทั่วไปชั้นนี้จะเป็นเสื้อยืดครับ จะเป็นยืดผ้าฝ้าย วูล หรือโพลีเอสเตอร์ก็ได้ หรืออาจเป็นเสื้ออย่างพวกฮีทเทคก็ได้อีกเหมือนกัน หน้าที่หลักๆ ของชั้นนี้คือซับเหงื่อ ระเหยออกได้เร็ว เพื่อช่วยให้ดึงเหงื่อและความชื้นออกจากผิวได้เร็ว ช่วยให้สบายตัวและลดการสูญเสียความร้อนจากความชื้น เพราะเมื่ออยู่ในอากาศหนาวเสื้อผ้าที่ชื้นหรือเปียกจะทำให้รู้สึกหนาวมากขึ้นเป็นเท่าตัว อีกแบบคือใช้เสื้อพวกฮีทเทคหรืออื่นๆ เพื่อช่วยทำให้อุ่นขึ้นในกรณีที่อากาศหนาวและไม่มีกิจกรรมที่ทำให้มีเหงื่อมาก

Inner Layer
อินเนอร์เลเยอร์ หรือเรียกสั้นๆ ว่า อินเนอร์ เป็นชั้นที่ 2 เสื้อสำหรับชั้นนี้คือเสื้อยืด เสื้อเชิ้ต โปโล วัสดุมักเป็นฝ้ายหรือโพลีเอสเตอร์ มีหน้าที่ในการสร้างช่องอากาศเพื่อช่วยเก็บรักษาอุณหภูมิและลดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจากภายนอก

Middle Layer (Mid-Layer)
มิดเดิ้ลเลเยอร์ หรือเรียกอีกอย่างว่า มิดเลเยอร์ เป็นชั้นที่ 3 ชั้นนี้จะเป็นเสื้อพวกแจ๊คเก็ตต่างๆ หรือเวสท์ เช่น ฟลีซแจ๊คเก็ต ดาวน์ หรือซอฟท์เชล มีหน้าที่ในการเก็บรักษาอุณหภูมิทำให้ร่างกายอบอุ่น และเป็นฉนวนระหว่างตัวเรากับอากาศเย็นภายนอก

Outer Layer
เอาท์เตอร์เลเยอร์ หรือเรียกสั้นๆ ว่า เอาท์เตอร์ เป็นชั้นนอกสุด ชั้นนี้จะเป็นพวกแจ๊คเก็ตต่างๆ อย่าง เชล ซอฟท์เชล ฟลีซแจ๊คเก็ต ดาวน์ วินด์เบรกเกอร์ เรนแวร์ ฟีลด์แจ๊คเก็ต ม็อดส์โค้ท วัสดุมักจะใช้เป็นวัสดุสังเคราะห์ต่างๆ ที่ไม่อมน้ำเช่นโพลีเอสเตอร์ ไนลอน และกอร์เท็กซ์ ชั้นนอกนี้จะทำหน้าที่ในการกันลมเพราะลมจะดึงอุณหภูมิออกจากตัวเราได้เร็ว และกันความชื้นเพราะความชื้นจะทำให้เราเสียอุณหภูมิได้เร็วอีกเหมือนกัน ถ้ามีทั้งลมแรงและเสื้อชื้นในสภาพอากาศหนาวจะเป็นผลเสียได้ครับ

ตัวอย่างเวลาใส่จริง เช่น เสื้อยืด(เบส) เชิ้ต(อินเนอร์) ฟลีซแจ๊คเก็ต(มิดเลเยอร์) เชล(เอาท์เตอร์) หรืออาจไม่ใส่เต็มแบบนั้น เช่น ใส่เสื้อฮีทเทค, เสื้อยืด, ฟลีซแจ็คเก็ต กรณีของตัวอย่างนี้ฟลีซแจ็คเก็ตจากที่เคยเป็นมิดเลเยอร์ก็กลายเป็นเอาท์เตอร์แทนและเสื้อยืดที่เคยเป็นเบสก็จะเป็นอินเนอร์ส่วนเบสคือฮีทเทคครับ หรืออีกแบบคือ เสื้อยืด, เชิ้ต, ดาวน์ อันนี้เสื้อยืดเป็นเบส เชิ้ตเป็นอินเนอร์ และดาวน์เป็นเอาท์เตอร์ครับ

ด้วยการใส่เป็นชั้นหรือเลเยอร์นี่เองที่ทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามอากาศของที่ที่จะไป จะใช้กับอากาศเย็นแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเอาอะไรมาใส่เป็นชั้นไหนบ้างแถมเวลาไปจริงถ้าไม่หนาวขนาดที่กะไว้ก็ยังสามารถใส่แค่บางชั้นและไม่ใส่บางชั้นได้ด้วย หรือถ้าใส่ไปแล้วเกิดร้อนขึ้นมาก็สามารถถอดบางชิ้นออกได้เหมือนลอกออกทีละชั้นได้ด้วยครับ


ภาพจากวีดีโอคลิปบน youtube
https://www.youtube.com/watch?v=vQw_CDtjJKM

จากตัวอย่างนี้ นี่คือคนที่ไปปีนภูเขาฟูจิครับ ที่เห็นนี้คือเขาถอดชั้นนอกออกเรื่อยๆ เพราะเริ่มร้อน ซึ่งก็จะเห็นได้ว่ามีการใส่เป็นชั้นอยู่ คือเสื้อยืดไฮเน็ค จูนิค ฟลีซแจ็คเก็ต เรนแจ๊คเก็ตครับ



ซึ่งถ้าไปในที่ที่ไม่ได้หนาวคืออากาศปกติบางครั้งก็สามารถใส่เสื้อยืดและเสื้อเชิ้ตก็ได้ครับ ซึ่งการใส่แบบนี้ก็เป็นวิธีแบบเอาท์ดอร์อย่างหนึ่งเหมือนกัน เสื้อยืดตัวในใส่เพื่อซับเหงื่อและการใส่ 2 ตัวก็จะเป็นการทำให้ลดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิคือทำให้เปลี่ยนอย่างช้าๆ แทนนั่นเอง บางคนไม่รู้จักก็เข้าผิดว่าเป็นแบบสไตล์อเมริกันแต่จริงๆ แล้วมันต้องดูหลายๆ อย่างประกอบด้วย ถ้าเสื้อเชิ้ตติดกระดุมถึงเม็ดบนสุด (ไม่ใช่กระดุมคอนะครับ) ไม่ได้แกะเปิดมาที่อกเพื่อตั้งใจให้เห็นเสื้อยืดข้างใน นั่นคือแนวเอาท์ดอร์ครับ ส่วนกระดุมเม็ดล่างๆ นี่แล้วแต่คน


จากการใส่เป็นชั้นแบบนี้ทำให้มันเป็นข้อดีสำหรับการที่จะไปที่ต่างๆ ที่มีอุณหภูมิต่างกันได้ ถ้าหนาวมากก็ใส่จัดเต็มกันไปเลย แต่ถ้าหนาวไม่มากก็เลือกเอาแค่บางชิ้นไปได้ คือมีไว้เซ็ตเดียวเที่ยวได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในเมืองนอกเมือง ไปได้หมดครับ




ถ้าเกิดสนใจจะใช้เสื้อแบบเอาท์ดอร์แล้วเริ่มซื้อแบบไหนดี....เสื้อแบบเอาท์ดอร์ที่แนะนำให้มีกันเอาไว้เลยคือ ฟลีซแจ๊คเก็ตหรือดาวน์/อินซูเลทแจ๊คเก็ตครับ เพราะใช้ในการเที่ยวได้ทุกที่ทั้งในประเทศ ต่างประเทศ ในเมืองนอกเมือง ถ้าขี้หนาวก็เลือกซื้อแบบดาวน์/อินซูเลทเอาไว้(ใช้ใยสังเคราะห์ดีกว่านะครับไม่ทรมานสัตว์) ถ้าใส่ในกรณีที่ไม่หนาวมากก็เปิดซิปหน้าเอาครับ สำหรับกรณีของผมซึ่งขี้ร้อนผมเลือกใช้ฟลีซดีกว่า





ส่วนเซ็ตที่แนะนำให้มีกันเอาไว้ก็คือ
- ฟลีซหรือดาวน์/อินซูเลทแจ๊คเก็ต (แต่แนะนำเป็นอินซูเลทที่เป็นใยสังเคราะห์ดีกว่าครับ ไม่ทรมานสัตว์)
- ซอฟท์เชลหรือวินด์เบรกเกอร์ หรือเสื้อเอาท์เตอร์ตามที่ชอบ
- เสื้อยืดแบบแห้งเร็ว
- เสื้อเชิ้ตหรือเสื้อยืดสำหรับฤดูหนาว (ส่วนเสื้อฤดูร้อนมีกันอยู่แล้วนี่เนอะ)
อันนี้จะมีอะไรมากกว่านี้ก็แล้วแต่คนนะครับ เพราะความรู้สึกหนาวหรือร้อนของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน แล้วก็จับชนกันเอาตามความเหมาะสมครับ

ตัวอย่างการใช้งานคร่าวๆ ก็เช่นถ้าอุณหภูมิสักประมาณสิบปลายๆ ถึง 20 องศาต้นๆ ก็อาจใส่เสื้อยืดกับเชิ้ตหน้าหนาวเอา ถ้าต่ำกว่า 20 องศาก็ใส่ฟลีซทับไว้อย่างเดียว ถ้าสิบกว่าองศาและลมแรงก็ใช้เสื้อที่เป็นเอาท์เตอร์ทับไว้ตัวเดียวก็ได้ ถ้าถึงเลขตัวเดียวก็เป็นฟลีซกับเอาท์เตอร์คือมีมิดเลเยอร์กับเอาท์เตอร์ แต่ถ้าต่ำลงไปจนถึง 0 ก็ต้องจัดเต็มทุกชั้นตั้งแต่ เบส อินเนอร์ มิดเลเยอร์ เอาท์เตอร์ แล้วก็ปิดปลายประสาทให้ดีประมาณนี้ครับ (อาจแตกต่างกันออกไปตามความขี้หนาวของแต่ละคน)


สำหรับบางคนอาจเกิดคำถามว่าถ้ามีเสื้อสเว็ตเตอร์ คาร์ดิกันที่เป็นวูลอย่างดี เช่น Lamb Wool, Merino, Cashmier ที่ซื้อไว้สำหรับไปเที่ยวที่หนาวๆ อยู่แล้ว จะต้องซื้อใหม่หรือ? ใช้ไม่ได้หรือ? เอาของที่มีอยู่แล้วมาใช้ได้มั้ย?



คำตอบคือใช้ได้ครับ ไม่ต้องห่วง เพียงแต่จะต้องเข้าใจก่อนว่าเสื้อ Knit พวกนี้เป็นเสื้อชนิดที่เก็บอุณหภูมิไม่ได้กันการสูญเสียอุณหภูมิ เพราะงั้นเสื้อพวกนี้จะต้องอยู่ชั้นในครับ คือใช้เป็นมิดเลเยอร์แล้วมีเสื้อตัวนอกมาเป็นเอาท์เตอร์อีกที ไม่สามารถจะใช้เป็นตัวนอกอย่างที่เคยใช้ใส่ทั่วๆ ไปได้ เราอาจซื้อวินด์เบรกเกอร์มาใส่เป็นเอาท์เตอร์อีกทีก็ได้ หรือเลือกเอาท์เตอร์ตามชอบมาใช้แล้วเอาเสื้อ Knit ที่มีอยู่ไว้ใส่ซ้อนด้านในแทน


หลักการของแนวเอาท์ดอร์ก็ประมาณนี้ล่ะครับ อยู่ที่การใส่เป็นชั้นและเลือกให้ถูกว่าอะไรไว้นอกอะไรไว้ใน ถ้าเข้าใจแล้วก็ไม่ยากแถมยังเอาไปปรับใช้กับเสื้อผ้าได้ทุกชนิดอีกด้วย.....คราวหน้าตอนสุดท้าย เราจะมาดูกันว่าสไตล์เอาท์ดอร์นี่สามารถใส่แบบไหนได้บ้าง ส่วนวันนี้จบเท่านี้ครับ

ต่อตอนที่ 3 สไตล์ Outdoor

โดย นาย nyo


ภาพประกอบเนื้อหาจากอินเตอร์เน็ต
webshop.montbell.jp
Google
vdo จาก youtube



Create Date : 17 ตุลาคม 2557
Last Update : 22 มกราคม 2561 8:55:09 น. 0 comments
Counter : 8765 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nyo
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 20 คน [?]




สงวนลิขสิทธิ์ ตามพรบ.ลิขสิทธิ์ 2539 ห้ามผู้ใดทำการคัดลอก ส่วนใดส่วนหนึ่งของบล๊อกนี้ไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบล็อค


ติดต่อผมได้ที่
naai.nyo@gmail.com

____________________

บล๊อกนี้ผมเขียนขึ้นมาจากสิ่งที่ผมไปรู้ไปเห็นมาก็เลยเอามาเล่าต่อเพื่อเป็นการแชร์ความรู้กัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นบ้างไม่มากก็น้อยครับ


กรูณาใช้ภาษาให้เหมาะสมในการแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ
Friends' blogs
[Add nyo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.