การแพทย์ล้ำยุค : เรียนรู้และสร้างประสบการณ์ทางการแพทย์พยาบาลที่ทันสมัย อัพเดททุกวัน ทันเหตุการณ์
Group Blog
 
 
มิถุนายน 2559
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
11 มิถุนายน 2559
 
All Blogs
 
ฆ่าเชื้อราในห้อง ด้วยพลาสม่าไฮโดรเจน (Ep.1.3)



ฆ่าเชื้อราในห้อง
ปัญหาเชื้อราเรื้อรังในห้อง
          หลายๆ คนและหลายๆ สถานที่คงได้พบเจอปัญหาเชื้อราตามผนัง ฝ้าเพดาน ใต้วอลเปเปอร์ พรม เฟอร์นิเจอร์ แผ่นไม้ หรือเสื้อผ้า ซึ่งหลายๆ คนสงสัยว่า เชื้อราที่เป็นตระกูลเดียวกับเห็ด จะมีพิษมีภัยต่อมนุษย์หรือสัตว์เลี้ยงหรือไม่? 
          คำตอบเบื้องต้นตอบได้เลยว่า เห็ดมีอยู่หลายสีและหลายชนิด บ้างก็ทานได้และบ้างมีพิษฉันใด เชื้อราก็เป็นฉันนั้น 
          และถ้าเชื้อราที่เป็นอันตรายจะเป็นอันตรายแบบไหน? แล้วมีวิธีแก้อย่างไร? เรามาลองศึกษาเชื้อรากัน เพื่อจะได้นำไปแก้ไขปัญหาที่หมักหมมในสถานที่นั้นมานาน
ฆ่าเชื้อราในห้อง : A collage of five fungi
ราในสิ่งแวดล้อม
รา เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซล มีขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (การที่เห็นเป็นคราบเขื้อรานั่นเท่ากับว่าเชื้อราเจริญเติบโตมีเป็นหมื่นจนถึงเป็นล้านโคโลนีแล้ว, 1 โคโลนีเหมือนเป็น 1 หมู่บ้านซึ่งมีเชื้อราอยู่ตั้งแต่ 1 ตัวจนถึงเป็นล้านตัว) รามีจำนวนสายพันธุ์มากกว่า 100,000 สายพันธุ์ มีหลากหลายสี มีทั้งสีขาว สีเขียว สีแดง และสีดำ 
          การดำรงชีวิตของราต้องอาศัย น้ำ คาร์บอน ไนโตรเจน และสารอาหาร ราขยายพันธุ์โดยอาศัยสปอร์ (spore) ที่ล่องลอยไปตามอากาศและไปตกในที่ที่สภาวะเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ รวมทั้งมีแหล่งอาหารที่ดี อุณหภูมิประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 60% นอกจากนี้  ยังพบว่าในที่ที่แสงแดดส่องไม่ถึงและมีการระบายอากาศไม่ดีจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ราเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
ฆ่าเชื้อราในห้อง : เชื้อราในห้องน้ำ
          วงจรชีวิตของราเกิดจากสปอร์หนึ่งสปอร์ที่เล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ปลิวล่องลอยไปกับสายลม เมื่อสปอร์ตกลงบนแหล่งอาหารที่เหมาะสมรวมทั้งมีองค์ประกอบ เช่น อุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ สปอร์จะงอกเป็นเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายซึ่งเรียกว่า ใยรา (hyphae) ใยราจะรวมกลุ่มกันเป็นก้อนฟู ๆ ที่เรียกว่า กลุ่มใยรา (mycelium) ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 
          ราดำที่ขึ้นบนขนมปัง คือ Rhizopus stolonifer มีจุดสีดำเล็ก ๆ ซึ่งก็คืออับสปอร์ จุดสีดำแค่หนึ่งจุดมีสปอร์มากกว่า 50,000 สปอร์ แต่ละสปอร์สามารถสร้างหลายร้อยล้านสปอร์ภายในเวลาไม่กี่วัน
ฆ่าเชื้อราในห้อง : เชื้อราในชีส
คุณประโยชน์ของรา
-  ในปี ค.ศ.1928 อะเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง ได้ค้นพบโดยบังเอิญว่าเชื้อราสีเขียวสามารถฆ่าแบคทีเรียได้ ต่อมาตั้งชื่อว่า Penicillium notatum โดยไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนายาเพนิซิลลิน ที่มีคุณประโยชน์ต่อการรักษาโรคในมนุษย์อย่างมหาศาล
-  นับแต่นั้นมา มีการนำรามาทำยาชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิด รวมไปถึงยาละลายลิ่มเลือด, ยารักษาอาการปวดศีรษะแบบไมเกรน, และยารักษาโรคพาร์กินสัน.
-  เชื้อราเป็นประโยชน์ต่อการทำอาหาร เช่น เนยแข็ง, ซาลามี, ซอสถั่วเหลือง, ไวน์ขากองุ่น และเบียร์ ผลิตขึ้นโดยใช้เชื้อราในแต่ละชนิด
-  เชื้อราหลายๆ ตัวเกิดมาเพื่อย่อยขยะมูลฝอย และซากพืชซากสัตว์ ไม่ให้ล้นโลก
ฆ่าเชื้อราในห้อง : เชื้อราบนผิวเปลือกส้ม
โทษของรา
          เชื้อรามีทั้งชนิดไม่ก่อให้เกิดโรคและก่อให้เกิดโรค สามารถแยกแยะได้ดังนี้
1.  เชื้อราชนิดไม่ก่อให้เกิดโรค มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ แต่ถ้าราพวกนี้มีมากเกินไป หรือภูมิต้านทานของคนและสัตว์ต่ำ ก็พร้อมที่จะโจมตีก่อให้เกิดโรค เรียกว่า เชื้อราฉวยโอกาส
2.  เชื้อราชนิดก่อให้เกิดโรค มีเชื้อราเพียง 100 ชนิดเท่านั้นที่เป็นสาเหตุของโรคในคนและสัตว์
     2.1  เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคภายนอก มักมีเป็นส่วนมากได้แก่ โรคกลาก เกลื้อน หิต น้ำกัดเท้า เป็นต้น 
     2.2  เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคภายใน ส่วนน้อยที่มีการติดเชื้อในระบบอวัยวะภายใน เช่น เชื้อราในสมอง ในปอด ในทางเดินอาหาร ในต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น โรคอวัยวะภายในที่เกิดจากเชื้อราเป็นการติดเชื้อฉวยโอกาส ส่วนมากเกิดจากผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่น โรคเอดส์ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคไข้หวัดใหญ่ การใช้ยา steroid หรือจมน้ำมาเหมือนกรณีบิ๊ก ดีทูบี
ฆ่าเชื้อราในห้อง : เชื้อรา C. neoformansในปอด
-  เคยมีรายงานของเชื้อราขึ้นสมองในสหรัฐฯ ในปี พ.ศ.2555 จากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) ว่าพบผู้ป่วยรวม 414 ราย ที่มีเชื้อราขึ้นสมองทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และมีผู้เสียชีวิตไป 31 ราย
     2.3  สารชีวพิษ (mycotoxin) เชื้อราบางชนิดสามารถผลิตสารชีวพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์  สามารถจำแนกสารชีวพิษจากเชื้อราตามลักษณะทางพิษวิทยาออกเป็นกลุ่มดังนี้ 
            -  พิษต่อตับ ได้แก่ aflatoxins 
            -  พิษต่อเซลล์และระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ trichothecenes 
            -  พิษต่อระบบประสาท และกล้ามเนื้อ ได้แก่ ergot alkaloids 
            -  พิษต่อไต ได้แก่ ochratoxin A 
            -  พิษต่อระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ zearalenone 
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี)
วิธีการฆ่าเชื้อราในห้อง ด้วยพลาสม่าไฮโดรเจน
          การฆ่าเชื้อราที่เรื้อรังในห้อง ด้วยพลาสม่าไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โดยใช้น้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) <8% พ่นผ่านเครื่อง Cold Plasma (Plasma-X generator) ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นอนุมูลอิสระชนิด Hydroxyl radical (.OH) และ .OOH 
          ไฮดรอกซิลเรดิคอล สามารถโจมตีทะลวงด้วยกลไกทางฟิสิกส์ คือ ดึงอิเล็กตรอน (ทำให้เชื้อไม่เกิดการดื้อยา) ผ่านผนังเซลของเชื้อรา ลงไปถึงไมโตคอนเดรีย และนิวเคลียส ซึ่งจะไปทำลาย DNA และ RNA โดยตรง กระบวนการนี้จะเกิดเป็นลูกโซ่ (Chain Reaction) คือเมื่อไฮดรอกซิลเรดิคอลไปแตะสารประกอบ 1 ตัวสารประกอบจะแยกกันเป็น 2 ตัวซึ่งแต่ละตัวจะขาดอิเล็กตรอน สารประกอบ 2 ตัวนั้นจึงเป็นฟนีเรดิคอลตัวใหม่ เรียกว่า Peroxyl Radical แล้วจะดึงอิเล็กตรอนสารประกอบใหล้เคียงอีกไปเรื่อยๆ จาก 1 ไป 2 จาก 2 ไป 4...
ฆ่าเชื้อราในห้อง : ปฏิกิริยาดึงอิเล็กตรอนแบบลูกโซ่
          จึงเป็นการฆ่าเชื้อราในห้องได้อย่างได้ผลดี เพราะโดยธรรมชาติเชื้อราเมื่อเจริญเติบโตบนพื้นผิวจะหยั่งราก หรือใยรา (hyphae) ลงในเนื้อเยื่อนั้น ทำให้ไม่ว่าจะใช้วิธีเช็ดถู ขัด ลงน้ำยาฆ่าเชื้อ หรืออบแก๊ส ก็ทำได้แค่พื้นผิว ต่อให้ทาสีทับ เชื้อราก็จะเติบโตผุดขึ้นมาใหม่ในเวลาอันสั้น อีกทั้งในอากาศยังมีสปอร์ราที่ยังล่องลอยอยู่
การฆ่าเชื้อราที่เรื้อรังในห้อง ด้วยพลาสม่าไฮโดรเจนจึงเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในโลกในปัจจุบัน เราสามารถรับรองผลได้ในระดับ 6-log (1 ล้านตัว) และการันตีว่าเชื้อราไม่กลับคืนมาใน 6 เดือนได้
ฆ่าเชื้อราในห้อง : ผล swab plate เชื้อราใน รพ.แห่งหนึ่ง (ซ้าย=before, ขวา=after=0)
การป้องกันและเฝ้าระวังเชื้อราไม่ให้กลับมา
  1. ใช้เทคโนโลยี AHPCO ของ Air Oasis ในการฆ่าเชื้อในอากาศและพื้นผิวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งลดฝุ่น ลดความชื้น ลดแก๊สพิษ ลดสารก่อภูมิแพ้ในห้องอีกด้วย
  2. ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ ไม่ให้เกิน 60% 
  3. ถ้าพบแหล่งความชื้น เช่น น้ำรั่วหรือน้ำขัง ให้รีบแก้ไขและทำให้พื้นที่แห้งสนิทภายใน 24-48 ชั่วโมง เชื้อราจะยังไม่เจริญเติบโต
  4. ลดปัญหาพื้นที่เปียกชื้น  โดยการเพิ่มอุณหภูมิพื้นผิวของวัสดุ หรือติดตั้งฉนวนสำหรับวัสดุที่มีพื้นผิวเย็น และที่พบน้ำเกาะ เช่น ฝ้า ผนัง หน้าต่าง และท่อน้ำ 
  5. ตรวจสอบและปรับปรุงระบบหมุนเวียนอากาศและระบายอากาศให้ได้ตามมาตราฐาน และพยายามลดพื้นที่ที่มีอากาศนิ่งและไม่หมุนเวียน  นอกจากนี้ การติดตั้งแผงกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพในระบบหมุนเวียนอากาศจะช่วยกรองฝุ่น และสปอร์ของราออกจากอากาศ ช่วยลดการแพร่กระจายของราได้อีกทางหนึ่ง
  6. ควรใช้งานเครื่องปรับอากาศให้ถูกต้อง เช่น อย่าเปิดประตูห้องเพื่อรับอากาศจากภายนอกภายหลังจากเพิ่งปิดเครื่องปรับอากาศใหม่ๆ เนื่องจากจะทำให้เกิดละอองน้ำขนาดเล็กเกาะที่พื้นผิวที่ยังมีความเย็นอยู่, อย่าเป่าลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศเข้าสู่ผนังโดยตรง เนื่องจากจะทำให้ผนังด้านนั้นเย็นจัดและมีละอองน้ำเกาะอีกด้าน เป็นต้น
  7. ลดการใช้วัสดุที่เป็นแหล่งอาหารของรา เช่น ผ้าเปียก กระดาษ พรม และวอลล์เปเปอร์ 
  8. สำหรับพื้นผิวที่เป็นวัสดุที่ลักษณะเป็นโพรงอากาศขนาดเล็ก หรือดูดซับน้ำ เช่น ฝ้าเพดาน พรมที่เกิดรา ควรจะต้องรื้อพื้นผิวเดิมทิ้งทั้งหมดและเปลี่ยนใหม่ 
  9. อย่าเพิ่งทาสีทับบริเวณที่เกิดเชื้อรา  ควรกำจัดเชื้อราให้หมดสิ้นเสียก่อน
ฆ่าเชื้อราในห้อง : เทคโนโลยี AHPCO ของ Air Oasis
...เพิ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อมสักนิด 
เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน...
เขียนและเรียบเรียง : มงคล  เริงไชยภูมิ
หมายเหตุ
-  เราไม่ได้เขียนเพื่อให้เกิดความหวาดกลัวและหวาดระแวงในการอาศํยอยู่และเดินทางไปในแต่ละสถานที่ แต่เรามีเจตนาเพื่อเป็นวิทยาทานใช้ในประโยชน์ทางการแพทย์พยาบาลและการสืบค้นทางการศึกษาเท่านั้น จากการที่ได้ศึกษารวบรวมองค์ความรู้มาอย่างยาวนาน)
-  รูปภาพทั้งหมดนำมาจาก wikipedia ซึ่งเป็น GNU Free Documentation License คือสามารถนำไปใช้ได้อย่างเสรี โดยไม่สามารถอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ -  ข้อความส่วนใหญ่เขียนขึ้นมาเอง โดยมีแหล่งอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงด้านล่าง จึงถือเป็นลิขสิทธิ์ หากต้องการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ กรุณาขออนุญาติมาที่อีเมล์ myscihitech@gmail.com
เอกสารอ้างอิง
  1. ทรงยศ ภารดี.  หน่วยที่ 7 การควบคุมสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ.  แผนการสอนประจำหน่วย ชุดวิชา สุขศาสตร์อุตสาหกรรม: การควบคุม.  มปป.
  2. วิกิพีเดีย.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : https://th.wikipedia.org/.
  3. ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี, คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล.  สารพิษจากรา.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : //med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/Fungi. (วันที่ค้นข้อมูล : 10 มิถุนายน 2559).
  4. ห้องสมุดออนไลน์ของว็อชเทาเวอร์.  รา—มีทั้งคุณและโทษ!.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : //wol.jw.org/th/wol/d/r113/lp-si/102006005. (วันที่ค้นข้อมูล : 10 มิถุนายน 2559).
  5. Wikipedia.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : https://en.wikipedia.org/. 



Create Date : 11 มิถุนายน 2559
Last Update : 11 มิถุนายน 2559 4:37:06 น. 0 comments
Counter : 4445 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1789320
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1789320's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.