สิ่งที่มุสลิมผู้ถือศีลอดละเลย

สิ่งที่ผู้ถือศีลอดละเลย

    โดย วะร่อซะตุซซุนนะฮฺ



งงว




          อัล ฮัมดุลิ้ลลาฮฺ ขอชุโกรฺต่อพระองค์อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา  ที่พระองค์ได้ทรงทำให้เรากำลังจะมีชีวิตอยู่ในเดือนรอมฎอนนี้ อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ทราบดีว่า เดือนรอมฎอนนั้น เป็นเดือนที่มีความยิ่งใหญ่ เป็นเดือนที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในเดือนนี้มีอิบาดะฮฺที่เป็น ภาคฟัรฎ ูที่มุสลิมทุกคนนั้นต้องปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็น คนรวย หรือคนจน คนดำหรือคนขาว คนเอเชีย คนยุโรปหรือคนแอฟริกา ถ้าหากว่าเขานั้นเป็น ผู้ที่ศรัทธามั่นต่ออัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ดังที่พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ

“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้เคยถูกกำหนดแก่กลุ่มชนก่อนหน้าพวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง” (อัลบะกอเราะฮฺ  183)

شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآَنُ هُدًى لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الْهُدَى وَالْفُرْقَانِ فَمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ

“เดือนรอมฎอนนั้น เป็นเดือนที่คัมภีร์อัลกุรอ่านได้ถูกประทานลงมา ในฐานะเป็นทางนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจน เกี่ยวกับทางนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จะจำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น” (อัลบะกอเราะฮฺ  185)

ดังนั้นเมื่อเข้าสู่เดือนรอมฎอนแล้ว มุสลิมทั่วโลกก็เข้าสู่เทศกาลของการถือศีลอดในเดือนนี้กันอย่างเคร่งครัด

      ความสำคัญ ที่ยิ่งใหญ่ของการถือศีลอดนั้น ก็คือ ผลตอบแทนของการถือศีลอดนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ดังที่ท่านนบีนั้น ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ในฮะดีสบทหนึ่ง มีรายงานมาจากอบูฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า

كُلُّ عَمَلِ ابْنِ آدَمَ لَهُ إِلَّا الصِّيَامَ هُوَ لِي وَأَنَا أَجْزِي بِهِ

“การงานทุกประการของมนุษย์นั้น (จะได้รับผลบุญ) ตามส่วนที่เขาได้กระทำ ยกเว้นการถือศีลอด (ผลตอบแทน) การถือศีลอดนั้นเป็น สิทธิของฉัน และฉันจะตอบแทนเอง…” (บันทึกโดยมุสลิม : 1151 อันนะซาอียฺ : 2216,2217)

แน่นอนเหลือเกินว่าผลบุญของผู้ที่ถือศีลอด นั้นมากมายเหลือเกิน ถ้าหากเขารักษาการถือศีลอดของเขาให้มีความสมบูรณ์ตลอดในแต่ละวัน อีกทั้งการถือศีลอด นั้นเป็นตัวช่วยให้ความผิดที่ผ่านมานั้นก็จะได้รับการอภัยโทษเช่นกัน ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้ว่า

مَنْ صَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ

“ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนด้วยความศรัทธาและหวังในผลบุญ เขาจะได้รับการอภัยจากความผิดบาปที่ผ่านมาของเขา”(บันทึกโดยบุคอรีย์  : 38 มุสลิม : 760)

       สิ่งที่ผู้ ถือศีลอดนั้นละเลย ไม่ให้ความสำคัญ มองข้ามในการปฏิบัติ ซึ่งบางอย่างนั้นอาจทำให้ผู้ที่ถือศีลอดนั้น ได้แค่เพียงอดอาหาร อดน้ำ เท่านั้น

ประการที่หนึ่ง : การรับประทานอาหารสะฮูรฺ

   อาหารสะฮูรฺเป็นอาหารที่มีความจำเริญเป็นอย่างมาก ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

تَسَحَّرُوْا فَإِنَّ فِي السَّحُوْرِ بَرَكَةً

“พวกท่านทั้งหลายจงรับประทานอาหารสะหูรฺเถิด เพราะอาหารสะหูรฺมีความจำเริญ” (บันทึกโดยบุคอรี : 1823 มุสลิม : 1095)

หลายคนละเลยอาหารสะฮูรฺ เนื่องด้วยกับอาหารไม่อร่อยบ้าง ง่วงนอนบ้าง เป็นต้น ซึ่งท่านนบีนั้นได้กำชับเราถึงแม้เพียงแค่น้ำหนึ่งอึกก็ยังดี ยังได้รับความจำเริญ จากอาหารสะฮูรฺ นอกจากนั้นการรับประทานอาหารสะฮูรฺ ยังเป็นข้อแตกต่างในการถือศีลอดระหว่างมุสลิมกับการถือศีลอด ของอะฮฺลุลกิตาบ ดังที่ท่านนบี ได้กล่าวไว้ว่า

فَصْلُ مَا بَيْنَ صِيَامِنَا وَ صِيَامِ أَهْلِ الْكِتَابِ أَكْلَةُ السَّحَرِ

“ข้อแตกต่างระหว่างการถือศีลอดของเรากับการถือศีลอดของพวกอะฮฺลุลกิตาบ คือ การรับประทานสะหูรฺ” (บันทึกโดยมุสลิม  : 1096)

ฉะนั้นเราควรให้ความสำคัญกับอาหารสะฮู รฺที่ท่านนบีนั้นได้กำชับไว้ รวมถึงการรับประทานอาหารสะฮูรฺนั้นยังเป็นการรักษาซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อีกด้วย

ประการที่สอง : การไม่ละทิ้งคำพูดและการกระทำที่เป็นเท็จ หยาบคาย ไร้สาระ

      มุสลิมเป็นจำนวนวมากในขณะถือศีลอด นั้น ไม่ละทิ้งคำพูดที่หยาบคาย โกหก หรือ การกระทำที่ไร้สาระต่างๆ ซึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

مَنْ لَمْ يَدَعْ قَوْلَ الزُّوْرِ وَالْعَمَلَ بِهِ فَلَيْسَ للهِ حَاجَةٌ فِي أَنْ يَدَعَ طَعَامَهُ َوَشَرَابَهُ

“ผู้ใดไม่ละทิ้งคำพูดและการกระทำที่เป็นเท็จ อัลลอฮฺก็ไม่ทรงประสงค์การอดอาหารและเครื่องดื่มของเขา”(บันทึกโดยบุคอรี : 1804)

และที่หน้าเศร้าก็คือ หลายคนใช้วิธีจับกลุ่มคุยกันเรื่องไร้ สาระ นินทาใส่ร้ายป้านสี ดุหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ หรือบางที่ก็เปิดทีวีทั้งวันในเดือน รอมฎอนนี้ เพื่อฆ่าเวลาในการถือศีลอดให้หมดไปเร็วๆ จะได้ละศีลอดเร็วๆ ถ้าการถือศีลอดของเราเป็นแบบนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการใช้ชีวิตใน 11 เดือนที่ผ่านมา มิหนำซ้ำ อุตสาห์อดข้าว อดน้ำมาทั้งวัน แต่กับไม่ได้อะไรเลย ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยอิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

رُبَّ صَائِمٍ لَيْسَ لَهُ مِنْ صِيَامِهِ إِلاَّ الجُوْعُ وَالعَطَشُ

“บางทีผู้ที่ถือศีลอดนั้น ส่วนได้ของเขาจากการถือศีลอดของเขาก็คือ ความหิวและความกระหายเท่านั้น” (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ : 1690  เศาะเหี๊ยะหฺตัรฆีบอัลบานียฺ : 1084 เศาะเหี๊ยะหฺอิบนุมาญะฮฺอัลบานียฺ :1380)


รวมถึงถ้าเรายังแยกตัวเราในเดือนรอมฎอนกับเดือนอื่นๆ ไม่ได้แล้ว เราอย่าคิดเลยว่าจะเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่า

إِنَّ اللَّهَ لَا يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّى يُغَيِّرُوا مَا بِأَنْفُسِهِمْ

“อันที่จริงอัลลอฮฺมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของกลุ่มชนใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง” (อัรเราะอฺดุ 11 )

ประการที่สาม : การขอดุอาอฺขณะละศีลอด และขณะที่ถือศีลอด

มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนิ อัมรฺ อิบนิ อาศ เล่าว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

إِنَّ لِلصَّائِمِ عِنْدَ فِطْرِهِ لَدَعْوَةً مَا تُرَدُّ

“แท้จริงสำหรับผู้ถือศีลอดขณะละศีลอดของเขานั้น การวิงวอนขอดุอาอฺจะไม่ถูกปฏิเสธ” (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ : 1753 อัลญามิอฺ อัศเศาะฆีรฺซุญูตียฺ : 2385)

   ผู้ถือศีลอดหลายคนละเลยในการขอดุอาอฺ ทั้งที่ความจริงแล้ว การขอดุอาอฺของผู้ที่ถือศีลอดนั้นเป็นดุอาอฺที่มุสตะญาบ ดังที่ท่านนบี ได้กล่าวไว้ว่า

ثَلَاثَةٌ لَا تُرَدُّ دَعْوَتُهُمْ الْإِمَامُ الْعَادِلُ وَالصَّائِمُ حَتَّى يُفْطِرَ وَدَعْوَةُ الْمَظْلُومِ

“สามคนด้วยกัน ที่การขอดุอาอฺของพวกเขาจะไม่ถูกปฏิเสธ อิหม่ามที่ยุติธรรม คนถือศีลอดจนกว่าจะละศีลอด และการขอดุอาอฺ ของคนที่ถูกข่มเหง” (บันทึกโดยอะหฺมัด :7983)

ดังนั้นเราควรขอดุอาอฺให้มากๆ ในช่วงที่เราถือศีลอดอยู่ หรืออาจจะเป็นในช่วงก่อนละศีลอดเล็กน้อย

ประการที่สี่ : การละศีลอดด้วยอินทผลัม


ซุนนะฮฺในการละศีลอดนั้นคือ การละศีลอดด้วยอินทผลัม ดังฮะดีษที่ว่า

إِذَا أَفْطَرَ َأَحَدُكُمْ فَلْيُفْطِرْ عَلىَ تَمْرٍ فَإِنْ لَمْ يَجِدْ فَلْيُفْطِرْ عَلىَ مَاءٍ فَإِنَّهُ طَهُوْرٌ

“เมื่อคนใดจากพวกท่านได้ละศีลอด ให้เขาจงละศีลอดด้วยอินทผลัม ถ้าหากไม่มีให้เขาละศีลอดด้วยน้ำ เพราะมันสระอาด” (เศาะเหี๊ยะหฺอัลญามิอฺ : 363)

ซึ่งประโยชน์ของอินทผลัมนั้นจะไปช่วยให้ ร่างกายชุ่มชื้นจากการขาดอาหารมาทั้งวัน แต่ผู้ถือศีลอดหลายคนละศีลอดด้วย น้ำอัดลม ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมหวาน หรือ ฯลฯ ซึ่งการละศีลอดแบบนี้นั้นไม่ตรงตามซุนนะฮฺนบี และอาจส่งผลเสียให้ร่างกายอีกด้วย ส่วนดุอาอฺขณะละศีลอด นั้นคือ

ذَهَبَ الظَّمَأُ وَابْتَلَّتِ الْعُرُوْقُ وَثَبَتَ الأَجْرُ إِنْ شَاءَ اللهُ

“ความกระหายได้สูญหายไปแล้ว และเส้นเลือดได้รับความชุ่มชื้น ผลตอบแทนก็ปรากฏ หากอัลลอฮฺทรงประสงค์”(บันทึกโดยอบูดาวุด : 2357 เศาะเหี๊ยะหฺอบูดาวุด : 2357)

ประการที่ห้า : การละหมาดตะรอเวี๊ยะหฺ

     การละหมาดตะรอเวี๊ยะหฺนั้น เป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นอิบาดะฮฺที่เราไม่สมควรละเลย แม้แต่วันเดียว ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยอิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيْمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ

 “ผู้ใดที่ยืนละหมาดในเดือนรอมฎอนด้วยความศรัทธาและหวังในผลบุญ เขาจะได้รับการอภัยจากความผิดบาปที่ผ่านมาของเขา”(บันทึกโดยบุคอรี : 37 มุสลิม : 759)

หลายคนไม่มาละหมาดตะรอเวี๊ยะหฺ เพราะตอนละสีลอดรับประทานมากไป ลุกไม่ไหว ซึ่งการละหมาดตะรอเวี๊ยะหฺนั้นทำให้ผลบุญ ในเดือน รอมฎอนเพิ่มมากขึ้น มากมาย และถ้าเราปฏิบัติทุกคืน แน่นอนต้องมีสักคืน อินชาอัลลอฮฺ อาจจะไปตรงกับคืนลัยละตุ้ลก้อดรฺ ซึ่งผลบุญก็จะ เพิ่มอีกเท่าทวีคูณ

    สิ่งดังกล่าวเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ถือศีลอดละเลยในการปฏิบัติ ไม่สนใจ จริงอยู่หากเราไม่รับประทานอาหารสะฮูรฺ ไม่ละทิ้งคำพูดและการกระทำ ที่หยาบคาย ไร้สาระ ไม่ขอดุอาอฺในขณะถือศีลอด ไม่ละศีลอดด้วยอินทผลัม ไม่ละหมาดตะรอเวี๊ยะหฺ มันไม่ทำให้เสียศีลอด แต่เราก็อาจจะ เหมือนบุคคลที่ไม่ได้รับความดีงามต่างๆ ในเดือนนี้  น่าเสียดายที่เดือนรอมฎอนน่าจะเป็นเดือนที่เพิ่มผลบุญให้กับเรา ฝึกฝนให้เราได้ละหมาด กิยามุลลัยลฺ ได้อ่านอัลกรุอ่าน ได้ปฏิบัติตามซุนนะฮฺของ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยอิวะซัลลัม อินชาอัลลอฮฺ และยังได้ลบล้างความผิดบาป ที่ผ่ามา แต่กับทำให้การใช้ชีวิตของเรานั้นแย่กว่าเดิม ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยอิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

رَغِمَ أَنْفُ رَجُلٍ دَخَلَ عَلَيْهِ رَمَضَانُ ثُمَّ انْسَلَخَ قَبْلَ أَنْ يُغْفَرَ لَهُ

“ความพินาศจงประสบแก่ชายคนหนึ่ง เมื่อเดือนรอมฎอนได้มาหาเขา แล้วมันได้ผ่านพ้นไปก่อนที่เขาจะได้รับการอภัยโทษ (คืออยู่ในสภาพที่ขาดทุน)” (บันทึกโดยติรมีซียฺ : 3545 เศาะเหี๊ยะหฺติรมีซียฺอัลบานียฺ : 3545)

       สุดท้ายนี้ขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺให้พี่น้องผู้ศรัทธาทุกท่านมีสุขภาพร่างกายที่ แข็งแรงเพื่อปฏิบัติอาม้าลในเดือนรอมฎอนนี้ได้อย่างเต็มที่ และก็ขอให้การงานต่างๆ นั้นได้รับการตอบรับจากอัลลอฮฺ และให้พระองค์นั้นอภัยบาปที่ผ่านมาให้กับพวกเราทุกคน


คัดลอกจาก
//www.muslimladkrabang.com/index.php/topic,132.msg498/topicseen.html#new






Free TextEditor



Create Date : 09 สิงหาคม 2554
Last Update : 9 สิงหาคม 2554 14:30:29 น.
Counter : 1744 Pageviews.

1 comments
  
ได้ความรู้มากค่ะ อัลหั้มดุลิ้ลลาฮ
โดย: ms.kohlanta IP: 101.108.37.79 วันที่: 10 สิงหาคม 2554 เวลา:0:09:56 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tonyma
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ชุมพล ศรีสมบัติ

สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

free counters

สิงหาคม 2554

 
2
3
4
5
6
7
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31